Home > Darunee Sae-Liew

ลดความดันโลหิตได้ด้วยวิธีธรรมชาติ

Column: Well – Being เมื่อหมอวินิจฉัยว่าคุณมีอาการความดันโลหิตสูง อาจเป็นเรื่องยากที่คุณจะเข้าใจอย่างกระจ่างแจ้งว่า ความดันโลหิตสูงส่งผลกระทบต่อสุขภาพโดยรวมอย่างไรบ้าง ที่สำคัญเมื่อคุณเกิดอาการดังกล่าวขึ้นแล้วจะไม่แสดงอาการให้คุณทราบได้ในชีวิตประจำวัน แต่ความจริงที่ต้องเน้นย้ำคือ ความดันโลหิตสูงเป็นความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างยิ่ง เพราะนำไปสู่โรคที่เป็นเพชฌฆาตเงียบหลายโรค เช่น โรคหัวใจวาย โรคหลอดเลือดสมอง โรคหลอดเลือดแดงโป่งพอง ภาวะสมองเสื่อม และไตวาย ซ้ำร้ายกว่านั้น ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ยังยืนยันว่า ปี 2018 ความดันโลหิตสูงเป็นสาเหตุสำคัญให้เกิดการเสียชีวิตในประชากรร่วม 500,000 คน ซีดีซียังให้ข้อมูลต่อไปว่า ที่น่าตกใจกว่านั้นคือ หนึ่งในห้าของประชากรวัยผู้ใหญ่ในสหรัฐฯ ไม่รู้ตัวว่ามีอาการความดันโลหิตสูง หมอจึงเตือนว่า ถ้าในรอบสองปีที่ผ่านมานี้ คุณไม่เคยวัดความดันโลหิตเลย หมอแนะนำให้ไปวัด โดยค่าความดันที่สูงกว่า 130/80 มม. ปรอทถือว่าเข้าข่ายความดันโลหิตสูง (ค่าตัวบนคือ ความดันโลหิตขณะหัวใจบีบตัว และค่าตัวล่างคือ ความดันโลหิตขณะหัวใจคลายตัว) แม้ว่ายาจะช่วยลดความดันโลหิตได้ แต่อาจก่อให้เกิดอาการข้างเคียง เช่น ตะคริวที่ขา เวียนศีรษะ และนอนไม่หลับ ข่าวดีคือ คนส่วนใหญ่สามารถลดความดันโลหิตได้ด้วยวิธีธรรมชาติโดยไม่ต้องกินยา “การเปลี่ยนวิถีชีวิตเป็นส่วนสำคัญส่วนหนึ่งของการป้องกันและบำบัดความดันโลหิตสูง” ดร. แบรนดี

Read More

จริงไหม … เป็นโควิด-19 ทำให้ปวดหลัง?

Column: Well – Being ศูนย์ป้องกันและควบคุมโรค (ซีดีซี) ของสหรัฐฯ ไม่ได้ระบุเป็นการเฉพาะว่า ปวดหลังเป็นอาการของโรคโควิด-19 แต่ได้รวมเอาอาการปวดกล้ามเนื้อและปวดตัวเป็นสัญญาณที่ต้องระวัง ดังนั้น คุณควรวิตกกังวลหรือไม่ถ้ามีอาการปวดหลัง แพทย์ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าไม่จำเป็น นิตยสาร Prevention แจกแจงข้อมูลที่คุณควรรู้ดังนี้ ปวดหลังเป็นอาการร่วมของโควิด-19? ผลสำรวจโดย Survivor Corps ซึ่งเป็นเฟซบุ๊กที่สนับสนุนผู้รอดชีวิตจากโรคโควิด-19 และ ดร. นาตาลี แลมเบิร์ต แห่งคณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยอินเดียนา พบว่า ผู้ที่ได้ชื่อว่าหายจากโรคโควิด-19ในทางเทคนิคแล้วยังต้องเผชิญกับอาการระยะยาวหรืออาการข้างเคียงต่างๆ เช่น ปวดหลังส่วนล่าง ส่วนบน และส่วนกลาง เป็นไปได้ไหมที่ป่วยโควิด-19 แล้วไม่มีไข้? อาการปวดหลังที่มีสาเหตุจากโควิด-19 ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มอาการเดียวกับการปวดหรือเจ็บกล้ามเนื้อทั่วไป ซึ่งซีดีซีระบุว่าเป็น “อาการที่เป็นทางการ” นอกจากนี้ ยังมีรายงานจากองค์การอนามัยโลกประจำเดือนกุมภาพันธ์ ระบุว่า จากคนไข้โควิด-19 ร่วม 56,000 รายในจีน มีเกือบร้อยละ 15 เผชิญกับอาการปวดและเจ็บกล้ามเนื้อ “โควิด-19 ก็เหมือนโรคจากไวรัสตัวอื่นๆ ที่เป็นสาเหตุของอาการเชิงระบบ” ดร. มาร์คัส ดูดา ศัลยแพทย์ออร์โธปิดิกส์

Read More

สมองล้า … อย่านิ่งนอนใจ

Column: Well – Being “เราทุกคนล้วนทำในสิ่งที่ทำให้สมองเหนื่อยล้า จากนั้นก็สงสัยว่าทำไมสมองของเราจึงไม่แจ่มใสเหมือนที่เคยเป็น” ดร.แซนดรา บอนด์ แชปแมน ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพสมองแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส เมืองดัลลัส ตั้งข้อสังเกต “เมื่อร่างกายของเราอ่อนล้า เรายังตระหนักได้ว่า เราจำเป็นต้องพักผ่อน แต่เมื่อสมองเหนื่อยล้าบ้าง เรามีแนวโน้มจะตะบี้ตะบันใช้งานต่อไป” ดร. เจสสิกา คัลด์เวลล์ นักประสาทวิทยาและผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในสตรีแห่งคลีฟแลนด์ คลินิก ก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกันว่า “คนส่วนใหญ่มักคิดว่าอาการสมองล้าจะไม่เกิดขึ้นกับคุณจนกว่าคุณจะแก่ตัวมากกว่านี้ แต่ฉันกลับได้เห็นในคนไข้ทุกช่วงอายุ และมีความเครียดเป็นตัวการสำคัญ” ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องว่า ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญของความรู้สึกอ่อนล้า โดยความรู้สึกเครียดนิดๆ ก่อให้เกิดสารพิษที่สามารถสะสมในสมองของคุณ และส่งผลกระทบถึงความสามารถในการโฟกัส การมีสมาธิจดจ่อ และการจดจำสิ่งต่างๆ สมองล้าคืออะไร ดร. กายาตรี เทวี ศาสตราจารย์คลินิกด้านประสาทวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์ดาวน์สเตท ซูนี อธิบายว่า สมองของเราประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านล้านเซลล์ แต่มีเพียง 10,000 – 20,000 เซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาท “โอเร็กซิน” ซึ่งผลการวิจัยบ่งชี้ว่า เป็นหนึ่งในบรรดาวงจรไฟฟ้าหลายตัวที่ควบคุมให้เราอยู่ในภาวะตื่นและตื่นตัว “เพราะภาวะตื่นและตื่นตัวของเราถูกควบคุมโดยเซลล์ประสาทจำนวนเล็กน้อยนี่เอง ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ระบบสมองส่วนนี้ได้รับผลกระทบง่ายดายเพียงใด” นิตยสาร Prevention กล่าวว่าสาเหตุของสมองล้ามาจากสิ่งที่เรากำลังประพฤติปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ได้แก่ ความเครียด ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวเมื่อเผชิญกับความเครียดได้อย่างน่าทึ่ง

Read More

สัญญาณมะเร็งเต้านมที่ไม่ใช่คลำพบก้อนเนื้อ

Column: Well – Being บ่อยครั้งที่การวินิจฉัยมะเร็งเต้านมมักมีรูปแบบนี้ : คุณผู้หญิงรู้สึกมีก้อนเนื้อบริเวณเต้านม และนัดพบแพทย์ แพทย์ก็ดำเนินการทดสอบบางอย่าง ซึ่งอาจรวมถึงการตรวจเต้านม การทำแมมโมแกรม การทำอัลตราซาวด์ การตัดชิ้นเนื้อไปตรวจ หรือการทดสอบหลายอย่างผสมกัน และผลการวินิจฉัยระบุว่า ก้อนเนื้อนั้นเป็นเนื้อร้ายหรือมะเร็ง นั่นคือเหตุผลว่า ทำไมผู้หญิงจึงถูกกระตุ้นให้ตรวจสอบตัวเองอย่างสม่ำเสมอ และให้ทำความคุ้นเคยกับเต้านมของตนจนสามารถสังเกตเห็นความเปลี่ยนแปลงใดๆ ที่เกิดขึ้น แต่ก้อนเนื้อไม่ใช่อาการมะเร็งเต้านมเพียงอย่างเดียวที่คุณผู้หญิงต้องเฝ้าจับตาดู จริงๆ แล้วผลการศึกษาปี 2017 ที่ตีพิมพ์ในวารสาร Journal of Cancer Epidemiology พบว่า 1 ใน 6 ของผู้หญิงที่ได้รับการวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งเต้านม มีอาการอื่นอีกหลายอย่างที่นอกเหนือจากก้อนเนื้อบริเวณเต้านม ดร. โจเซฟ เวเบอร์ ศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านมะเร็งเต้านมแห่งออโรรา เฮลท์ แคร์ รัฐมิลวอคกี อธิบายว่า เพราะการไม่ค่อยตระหนักถึงอาการมะเร็งเต้านมที่ไม่ค่อยเป็นอาการร่วม ซึ่งนักวิจัยระบุว่าเป็น “อาการที่ไม่ตรงไปตรงมา” (atypical presentations) ที่สามารถทำให้การวินิจฉัยในคนไข้บางคนล่าช้าออกไป แน่นอนว่า การวินิจฉัยพบโรคเร็วขึ้นจะทำให้มีโอกาสได้รับการบำบัดรักษาเร็วขึ้น ซึ่งนับว่าดีที่สุดทีเดียว แต่นั่นไม่ได้แนะนำว่า คุณควรหยุดการตรวจดูเต้านมของคุณ ผลการศึกษาของ

Read More

เปิดทำเนียบ 10 อันดับผักโปรตีนสูง

Column: Well – Being ถ้าคุณคิดว่าอยากเป็นมังสวิรัติดูบ้าง คุณอาจต้องปวดหัวกับคำถามข้อนี้ครั้งแล้วครั้งเล่า ... “จะกินโปรตีนให้เพียงพอกับความต้องการของร่างกายได้อย่างไร?” แน่นอน เราไม่เถียงว่าผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์มักอุดมด้วยโปรตีน แต่นั่นไม่ได้หมายความว่า ผักไม่สามารถทาบรัศมีเนื้อสัตว์ได้เลย โปรตีนมีความสำคัญในอาหารทุกชนิด โดยเฉพาะกับนักกีฬาและผู้ที่พยายามลดน้ำหนัก โปรตีนสำคัญต่อการสร้างและรักษามวลกล้ามเนื้อ ทำให้คุณรู้สึกอิ่มในระหว่างว่างเว้นจากมื้ออาหาร และให้หลักประกันว่า ทุกเซลล์ในร่างกายของคุณทำงานอย่างถูกต้อง การปรับเปลี่ยนไปหาอาหารที่มีผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์น้อยลง ถือว่าดีต่อสุขอนามัยอย่างยิ่งก็จริง แต่ต้องให้แน่ใจว่า คุณไม่ได้ขาดสารอาหารตัวที่สำคัญต่อร่างกายไปด้วย สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (เอฟดีเอ) ของสหรัฐฯ แนะนำว่า ผู้ใหญ่ควรบริโภคโปรตีนอย่างน้อยวันละ 50 กรัมต่อปริมาณอาหาร 2,000 แคลอรีหรือประมาณ 15-20 กรัมต่อมื้อ (การวิจัยบางชิ้นแนะนำด้วยซ้ำว่าต้องเป็นมื้อละ 30 กรัม โดยเฉพาะมื้อเช้าเพื่อให้สามารถจัดการกับความหิวได้ดีที่สุด) ดังนั้น สำหรับผู้ที่ยังมีข้อข้องใจ ผักสามารถให้โปรตีนทั้งหมดที่คุณจำเป็นต้องได้รับ ร่างกายของคุณอาจต้องรู้สึกขอบคุณกับทำเนียบผักโปรตีนสูงที่ควรบริโภคตามที่นิตยสาร Prevention นำเสนอดังนี้ (1) ถั่วแระต้มสุกครึ่งถ้วย - ให้โปรตีน 9 กรัม ถั่วแระจัดเป็นอาหารเรียกน้ำย่อยที่มีคุณประโยชน์สูงสุด ถั่วแระต้มสุกเพียงครึ่งถ้วย ทำให้คุณได้รับโปรตีนปริมาณมหาศาล จะกินเป็นอาหารว่าง หรือใส่ในซุปหรือผัดผักก็ได้ (2) ถั่วเลนทิลต้มสุกครึ่งถ้วย - ให้โปรตีน 8

Read More

เสริมระบบภูมิคุ้มกัน ทำได้…ไม่ยาก

Column: Well – Being ระบบภูมิคุ้มกัน คือ แนวรับสำคัญของการป้องกันความเจ็บป่วยของคุณ ดังนั้น มันจะเป็นเหตุเป็นผลเท่านั้นที่คุณต้องการรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้อยู่ในระดับสูงสุด ซึ่งจริงแท้เป็นพิเศษในช่วงที่ฤดูกาลไข้หวัดและไข้หวัดใหญ่กำลังระบาด โดยเฉพาะการระบาดอย่างรุนแรงในทั่วโลกของโรคโควิด-19 ดร. จูเลีย แบลงค์ แพทย์เวชศาสตร์ครอบครัวประจำศูนย์สุขภาพของโพรวิเดนซ์ เซนต์ จอห์น, รัฐแคลิฟอร์เนีย กล่าวว่า ตามธรรมชาติแล้วคุณเกิดมาพร้อมระบบภูมิคุ้มกันติดตัวมาด้วย และแต่ละคนก็แตกต่างกันไปเล็กน้อย แต่ที่แน่นอนคือ คุณสามารถลงมือทำเพื่อเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้แก่ร่างกายได้ “การจะรักษาระบบภูมิคุ้มกันให้แข็งแกร่งอยู่ได้ คุณจำเป็นต้องดูแลร่างกายเป็นอย่างดีด้วย” ระบบภูมิคุ้มกันทำงานอย่างไร? ดร. แบลงค์ กล่าวกับนิตยสาร Prevention ว่า จริงๆ แล้วระบบภูมิคุ้มกันของคุณประกอบด้วย “การป้องกันหลายระดับชั้น” ซึ่งรวมถึงด่านทางกายภาพ เช่น ผิวหนัง และซิเลีย (เซลล์ขน) ที่เรียงรายอยู่ในทางเดินหายใจของคุณ เป็นเซลล์ที่เชี่ยวชาญการจดจำและโจมตีสิ่งแปลกปลอม เช่น ไวรัส และแบคทีเรีย ดร.แบลงค์อธิบายต่อไปว่า “เซลล์ภูมิคุ้มกันเหล่านี้บางตัวไม่ได้เจาะจงทำลายทุกอย่างที่ดูเป็นสิ่งแปลกปลอม ส่วนเซลล์อื่นๆ จะผลิตแอนติบอดี (โปรตีนต่อต้านเชื้อโรคในร่างกาย) ที่สามารถจดจำและเล็งเป้าหมายไปที่แอนติเจน (สารก่อภูมิคุ้มกัน) บนพื้นผิวของเชื้อโรค” ระบบภูมิคุ้มกันของคุณยังมีความสามารถในการจดจำเชื้อโรคที่คุณเคยสัมผัสมาก่อน และสร้างการตอบสนองอย่างรวดเร็ว “นี่เป็นเหตุผลว่าทำไมคุณจึงไม่ล้มป่วยหลังจากสัมผัสกับเชื้อโรคที่คุณเคยเผชิญหน้ามาก่อน และเคยต่อสู้ด้วยในอดีต”

Read More

ทำอย่างไรให้หายไอเรื้อรัง?

Column: Well – Being เมื่อคุณหายจากไข้หวัดหรือไข้หวัดใหญ่แล้ว แต่มีอีกอาการหนึ่งที่ดูเหมือนจะไม่ยอมหาย แถมยังมีทีท่าจะอยู่กับคุณตลอดไปซะอีก ... เฮ้อ ... ทำไงดี? ดร. นิโคล เอ็ม ไทเยอร์ ผู้เชี่ยวชาญด้านอายุรศาสตร์ประจำซีดาร์ ไซนาย เมดิคอล กรุ๊ป ในลอสแองเจลิส อธิบายว่า ส่วนใหญ่แล้วอาการไข้หวัดจะหายไปใน 7-10 วัน แต่ผลการวิจัยระบุว่า โดยเฉลี่ยแล้วผู้ป่วยไข้หวัดจะยังมีอาการไอต่อไปอีกจนถึงวันที่สิบแปด “อาการไอสามารถเป็นเรื้อรังยาวนานกว่าอาการอื่นๆ เพราะระบบภูมิคุ้มกันยังพยายามต่อสู้เพื่อให้ทางเดินหายใจกลับมาเป็นปกติ” ขณะที่อาการบวมคั่งของเลือดค่อยๆ ดีขึ้น เสมหะหรือน้ำมูกที่ไหลลงคอยังสามารถกระตุ้นไอได้เช่นกัน อาการนี้ดูเหมือนจะคงอยู่ตลอดไป แต่อาการน่าเบื่อนี้จะหายไปได้ในท้ายที่สุด ถ้ายังไอเรื้อรังนานกว่าสองเดือน ให้พบแพทย์ เพราะมันอาจส่งสัญญาณว่าคุณอาจมีโรคอื่นร่วมด้วย เช่น ภูมิแพ้ หอบหืด หรือกรดไหลย้อน (คุณควรบอกแพทย์ด้วยว่านอกเหนือจากอาการไอ คุณมีอาการใดอาการหนึ่งของโรคโควิด-19 ร่วมด้วย ทั้งนี้เพื่อความปลอดภัย) อย่างไรก็ตาม นิตยสาร Prevention นำเสนอวิธีป้องกันและควบคุมอาการไอเรื้อรังให้อยู่หมัดเสียแต่เนิ่นๆ หรือวิธีทำให้บรรเทาลงในทันทีที่มันเริ่มคุกคามคุณดังนี้ ปกป้องตัวเอง วิธีง่ายที่สุดที่จะปลอดภัยจากอาการไอเรื้อรังคือ หลีกเลี่ยงความเจ็บป่วยให้ได้เป็นลำดับแรก ตั้งแต่ตื่นตัวเกี่ยวกับการล้างมือทุกครั้งหลังออกไปในที่สาธารณะ สัมผัสพื้นผิวที่ใช้ร่วมกัน หรืออยู่ท่ามกลางผู้ป่วย ถ้าคุณรู้สึกมีอาการที่ค่อยๆ

Read More

น้ำยาบ้วนปากฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม?

Column: Well – Being   นับตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ทำให้คนส่วนใหญ่พากันยกระดับอนามัยส่วนบุคคลกันยกใหญ่ ตั้งแต่หมั่นล้างมือ ทำความสะอาดฆ่าเชื้อโรคพื้นผิวต่างๆ ราวกับเป็นมืออาชีพ และมีเจลแอลกอฮอล์ใกล้มือตลอดเวลาเพื่อป้องกันไวรัสโคโรนา กับคำถามที่ว่า น้ำยาบ้วนปากสามารถฆ่าไวรัสโคโรนาได้จริงไหม? ดูจะซับซ้อนกว่าที่คุณคิด ซึ่งนิตยสาร Shape ได้ให้ข้อมูลที่คุณจำเป็นต้องรู้อย่างน่าสนใจทีเดียว ได้ความคิดน้ำยาบ้วนปากฆ่าเชื้อไวรัสโคโรนาจากไหน? บทวิจารณ์ทางวิทยาศาสตร์ที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ Function วิเคราะห์ว่า น้ำยาบ้วนปากมีศักยภาพสามารถลดการแพร่ระบาดของเชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 ในระยะแรกของการติดเชื้อได้หรือไม่ สิ่งที่นักวิจัยอธิบายคือ เชื้อไวรัส SARS- CoV- 2 เป็นไวรัสที่มีเปลือกหุ้ม หมายความว่ามันมีเยื่อหุ้มเซลล์อยู่ชั้นนอกซึ่งมีลักษณะเป็นไขมัน และจนกระทั่งบัดนี้วงการยังไม่ได้ถกกันว่า คุณจะมีศักยภาพในการเพียงแค่ “บ้วนปาก” (ด้วยน้ำยาบ้วนปาก) แล้วจะสามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ชั้นนอกนี้ และทำให้ไวรัสอ่อนแรงลงขณะที่มันอยู่ในปากและลำคอของผู้ติดเชื้อได้หรือไม่ นักวิจัยให้ความสนใจผลการศึกษาครั้งก่อนๆ ที่เสนอแนะว่า ส่วนผสมร่วมที่พบในน้ำยาบ้วนปากทั่วไป คือ เอทานอล (แอลกอฮอล์), โพวิโดน-ไอโอดีน (ยาฆ่าเชื้อที่มักใช้ฆ่าเชื้อบนผิวหนังก่อนและหลังการผ่าตัด) และเซทิลพิริดิเนียม คลอไรด์ (ส่วนประกอบของเกลือที่มีคุณสมบัติต่อต้านเชื้อแบคทีเรีย) ที่สามารถทำลายเยื่อหุ้มเซลล์ของไวรัสที่มีเปลือกหุ้มชนิดอื่นอีกหลายชนิด อย่างไรก็ตาม แต่คราวนี้เราไม่รู้ว่าองค์ประกอบที่อยู่ในน้ำยาบ้วนปากเหล่านี้จะสามารถส่งผลต่อไวรัส SARS- CoV- 2 หรือไม่ ถึงจุดนี้ต้องบอกว่าทุกอย่างยังเป็นทฤษฎี

Read More

จับตามะเร็งลำไส้ใหญ่คุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น

Column: Well – Being การเสียชีวิตของแชดวิค โบสแมน “แบล็คแพนเธอร์” ดาราจอเงินขวัญใจคอหนังทั่วโลกขณะอายุเพียง 43 ปี ด้วยโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ทำให้คนทั่วโลกโดยเฉพาะแฟนคลับผู้ชื่นชอบฝีมือการแสดงของเขาทั้งช็อกทั้งเสียใจและเสียดายไปตามๆ กัน โบสแมนพบว่าตัวเองเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่ระยะ 3 เมื่อปี 2016 และพัฒนาจนเป็นระยะสุดท้ายหรือระยะ 4 กระทั่งเสียชีวิตเมื่อไม่กี่เดือนที่ผ่านมาของปี 2020 นี้ กรณีของโบสแมนทำให้สมาคมมะเร็งแห่งสหรัฐอเมริกา (เอซีเอส) เปิดเผยว่า มะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักเป็นโรคมะเร็งที่วินิจฉัยพบมากที่สุดเป็นอันดับสามของสหรัฐฯ เอซีเอสประเมินว่าปีนี้จะมีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่รายใหม่กว่า 104,610 รายและอีกกว่า 43,000 รายในกรณีของมะเร็งลำไส้ตรง (rectal cancer) นิตยสาร Prevention กล่าวว่า การเสียชีวิตจากมะเร็งลำไส้ใหญ่ของโบสแมนขณะอายุยังน้อยไม่ถือเป็นเรื่องน่าแปลก เพราะขณะที่อัตราการถูกวินิจฉัยว่าเป็นมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักในสหรัฐฯ มีตัวเลขลดลงในหมู่ประชากรอายุ 65 ปีขึ้นไป ที่น่าจับตามองคือ อัตราการป่วยในคนหนุ่มสาวกลับเพิ่มสูงขึ้นเรื่อย ๆ เอซีเอสประเมินว่า มีผู้ป่วยมะเร็งลำไส้ใหญ่และทวารหนักราวร้อยละ 12 (ประมาณ 18,000 ราย) มีอายุต่ำกว่า 50 ปี ทำไมมะเร็งลำไส้ใหญ่จึงคุกคามหนุ่มสาวมากขึ้น? เอซีเอสเปิดเผยว่า ผลการวิจัยระบุว่า

Read More

ไข้หวัดใหญ่ฤดูกาล 2020 ที่คุณต้องรู้

Column: Well – Being ไข้หวัดใหญ่เป็นภาวะติดเชื้อในระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัสไข้หวัดใหญ่ ซึ่งเดินทางผ่านอากาศเข้าสู่ร่างกายผ่านทางจมูกหรือปาก โดยเฉลี่ยแล้วชาวอเมริกันป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ร้อยละ 8 ต่อปี และทุกคนมีความเสี่ยงต่อไวรัสนี้ นิตยสาร Prevention รายงานการเปิดเผยของศูนย์ป้องกันและควบคุมโรคแห่งสหรัฐฯ (ซีดีซี) ว่า นับจากเดือนตุลาคม 2019 ถึงต้นเดือนเมษายน 2020 มีผู้เสียชีวิตจากโรคแทรกซ้อนเพราะไข้หวัดใหญ่ราว 62,000 ราย และต้องเข้ารับการรักษาตัวในโรงพยาบาล 740,000 ราย เทียบกับฤดูกาล 2018-2019 มีผู้เข้าโรงพยาบาลราว 490,000 ราย และผู้เสียชีวิตเพราะโรคแทรกซ้อนจากการป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ 34,200 ราย อาการของไข้หวัดใหญ่มีตั้งแต่เล็กน้อยจนถึงรุนแรง ที่อาจรวมถึงไข้ หนาวสั่น ปวดกล้ามเนื้อ เจ็บคอ ไอ และปวดศีรษะ บ่อยครั้งที่ไข้หวัดใหญ่มักสับสนกับไข้หวัดธรรมดา แต่ไข้หวัดใหญ่จะพัฒนาอาการอย่างเฉียบพลันและรุนแรงกว่ามาก ที่สำคัญอาการยังสามารถซ้ำซ้อนกับโรคโควิด-19 ซึ่งเป็นโรคระบบทางเดินหายใจที่มีสาเหตุจากไวรัสโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ สาเหตุของไข้หวัดใหญ่ เมื่อผู้ป่วยไข้หวัดใหญ่ไอหรือจาม ทำให้ละอองฝอยจากสารคัดหลั่งที่มีเชื้อไวรัสล่องลอยในอากาศ คุณสามารถติดเชื้อไข้หวัดใหญ่ได้ถ้าสูดกายใจเอาละอองฝอยเหล่านี้เข้าทางจมูกหรือปาก หรือถ้าคุณสัมผัสกับพื้นผิววัตถุต่างๆ เช่น ลูกบิดประตู หรือแป้นคีย์บอร์ดปนเปื้อนเชื้อไวรัส จากนั้นก็ใช้มือนั้นสัมผัสจมูก ตา หรือปาก

Read More