Home > On Globalization (Page 9)

ผู้หญิงมักถูกทำร้ายจิตใจระหว่างคลอดในโรงพยาบาล

Column: Women in Wonderland   เดือนที่แล้วเขียนถึงสิทธิของนักโทษหญิงระหว่างตั้งครรภ์และให้กำเนิดบุตรไปแล้ว ครั้งนี้จะเขียนถึงปัญหาที่คล้ายคลึงกัน เพียงแต่เป็นปัญหาของผู้หญิงทั่วไป ที่เมื่อไปคลอด ลูกที่โรงพยาบาลกลับได้รับการปฏิบัติจากบุคลากรทางการแพทย์ที่แย่มาก หรือในกรณีที่แย่กว่านั้น ถูกทำร้ายจิตใจในช่วงเวลาที่ควรจะเป็นเวลาแห่งความยินดีและความทรงจำที่ดี เป็นเรื่องที่น่าตกใจมาก ที่มีผู้หญิงจำนวนมากทั่วโลกได้รับการปฏิบัติที่แย่มาก หรือถูกทำร้ายจิตใจในขณะที่คลอดลูก และเรื่องนี้ก็เกิดขึ้นในทุกประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว เรื่องนี้ถูกเปิดเผยขึ้นเมื่อหนังสือพิมพ์ The Guardian รายงานว่า มีผู้หญิงจำนวนมากกลัวที่จะพูดเกี่ยวกับการเลือกปฏิบัติ การทำร้ายร่างกายและจิตใจระหว่างที่คลอดลูกในโรงพยาบาล มีหญิงคนหนึ่งให้สัมภาษณ์กับ The Guardian เกี่ยวกับประสบการณ์อันเลวร้ายนี้ เธอเล่าว่า เมื่อเธอตั้งครรภ์ลูกคนแรกและจำเป็นต้องผ่าคลอด เธอตื่นขึ้นมาบนเตียงผ่าตัด และรู้สึกเจ็บมากเพราะหมอและพยาบาลกำลังกรีดมีดลงบนท้องของเธอ ตอนแรกสติของเธอยังไม่ค่อยสมบูรณ์ดีนัก เธอคิดว่าตายไปแล้วและกำลังถูกทรมาน แต่เมื่อผ่านไปสักพัก เธอเริ่มมีสติมากขึ้นและรับรู้ว่าเธออยู่ในห้องผ่าตัด และรู้สึกเจ็บ เธอคิดว่าหมอและพยาบาลให้ยาชาไม่เพียงพอทำให้ยังรู้สึกเจ็บ ถึงแม้ว่าตั้งแต่ช่วงเอวลงมาจะถูกฉีดยาทำให้ไม่สามารถขยับได้ก็ตาม ที่สำคัญเธอไม่สามารถบอกหมอหรือพยาบาลได้ว่า เจ็บมากเพราะยาชาไม่เพียงพอหรือยายังไม่ออกฤทธิ์แบบเต็มที่ เพราะในปากมีท่อสอดอยู่ ระหว่างที่พวกเขากำลังผ่าคลอดให้เธอ หมอและพยาบาลก็ได้พูดเป็นภาษาเยอรมันว่า ตอนนี้เธอสามารถได้รับยาทั้งหมดสำหรับการผ่าตัดได้ แต่เธอฟังที่หมอและพยาบาลพูดออก เพราะเคยอาศัยอยู่ที่เยอรมนีมาก่อน แน่นอนหลังจากได้ยินเธอก็หมดสติ เธอตื่นขึ้นมาอีกทีในห้องพักฟื้น พยายามที่จะพูดกับพยาบาลคนที่เธอจำได้ว่าอยู่ในห้องผ่าตัดเป็นภาษาเยอรมัน เพื่อซักถามสิ่งที่เธอได้ยินในห้องผ่าตัด แต่พยาบาลทำเป็นไม่เข้าใจ พยาบาลเพียงแค่ตบมือเธอเบาๆ และเรียกสามีของเธอเข้ามาในห้องพักฟื้นพร้อมกับลูกของเธอ ไม่มีใครพูดหรืออธิบายให้เธอฟังเกี่ยวกับเรื่องที่เกิดขึ้นและสิ่งที่ได้ยินมาในห้องผ่าตัด ทุกคนทำเหมือนว่าไม่มีอะไรเกิดขึ้น

Read More

สิทธิของผู้ต้องขังหญิงในรัฐ New York

Column: Women in Wonderland องค์กร Prison Policy Initiative ซึ่งเป็นองค์กรที่ไม่หวังผลกำไร มุ่งเน้นที่จะผลิตผลงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับอาชญากรรมที่มีผลกระทบต่อคนส่วนใหญ่ และต้องการรณรงค์โครงการต่างๆ เพื่อให้สังคมดีขึ้น เปิดเผยจำนวนนักโทษของทุกประเทศในปี 2017–2018 Annual Report พบว่า ประเทศที่มีจำนวนผู้ต้องขังสูงที่สุดคือสหรัฐอเมริกา ผู้ต้องขังทั้งชายและหญิงประมาณ 698 คน จะถูกคุมขังต่อประชากรทุกๆ 100,000 คน ขณะที่ผู้ต้องขังหญิงประมาณ 133 คนจะถูกคุมขังต่อประชากรทุกๆ 100,000 คน ซึ่งถือเป็นตัวเลขที่สูงมาก แม้ในภาพรวมจำนวนผู้ถูกคุมขังในสหรัฐฯ จะเริ่มลดลง แต่จำนวนผู้ต้องขังหญิงกลับยังสูงอยู่มาก องค์กร Prison Policy Initiative ยังอธิบายเพิ่มเติมเรื่องผู้ต้องขังหญิงในสหรัฐฯ ว่า มีประชากรหญิงอาศัยอยู่ในประเทศเพียงแค่ 4% เท่านั้นเมื่อเทียบสัดส่วนประชากรจากทั้งโลก แต่สหรัฐฯ กลับมีจำนวนผู้ต้องขังหญิงถึง 30% เมื่อเทียบกับจำนวนผู้ต้องขังหญิงทั่วโลก แสดงให้เห็นว่าผู้ต้องขังหญิงในสหรัฐฯ มีจำนวนสูงมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ โดย 2 รัฐที่มีผู้ต้องขังหญิงสูงสุดคือรัฐ Oklahoma

Read More

ฟรองซัวส์ โอลลองด์ หลังหมดวาระ

Column: From Paris เมื่อลิโอเนล โจสแปง (Lionel Jospin) ได้รับแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีสมัยประธานาธิบดี ฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ผู้มาแทนเขาในตำแหน่งเลขาธิการพรรคสังคมนิยมคือ ฟรองซัวส์ โอลองด์ (François Hollande) ตั้งแต่ปี 1997 จนถึง 2008 ในฐานะเลขาธิการพรรคสังคมนิยม ฟรองซัวส์ โอลลองด์สามารถสมัครเป็นตัวแทนพรรคลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2007 แต่เนื่องจากเซโกแลน รัวยาล (Ségolène Royal) คู่ชีวิตที่กำลังระหองระแหง หาเสียงจนได้รับเลือกเป็นตัวแทนพรรคในปีนั้น แต่พ่ายแพ้แก่นิโกลาส์ ซาร์โกซี (Nicolas Sarkozy) พรรคสังคมนิยมมีตัวเลือกมากมายที่มุ่งหมายตำแหน่งประธานาธิบดีที่โดดเด่นมากคือ โดมินค สโตรส-กาห์น (Dominique Strauss-Kahn) ซึ่งเป็นผู้อำนวยการ IMF ในขณะนั้น แต่ต้องสะดุดขาตัวเองเสียก่อนด้วยความมักมากในกามคุณ ถูกตำรวจนิวยอร์กจับและขึ้นศาล เป็นโอกาสให้ฟรองซัวส์ โอลลองด์เดินหน้าหาเสียงเพื่อเป็นตัวแทนพรรค คราวนี้เขาไม่พลาด จนได้รับเลือกเป็นประธานาธิบดีในปี 2012 ฟรองซัวส์ โอลลองด์เป็นประธานาธิบดีที่ชาวฝรั่งเศสไม่ปลื้มที่สุด ถูกวิพากษ์ว่าไม่กล้าตัดสินใจ ไม่ดำเนินนโยบายตามที่หาเสียงไว้

Read More

สเต๊กเนื้อ

Column: From Paris บ้านคนจีนทั่วไป เนื้อวัวเป็นอาหารต้องห้าม ไม่ทราบว่าทำไมเป็นอย่างนั้น เพื่อนบางคนที่มีเชื้อสายจีนไม่ยอมกินเนื้อวัวมาจนทุกวันนี้ นัยว่าเนื้อวัวมีกลิ่นเหม็น แม่ไม่ปรุงอาหารที่เป็นเนื้อวัว จวบจนเมื่อพวกเราเข้าโรงเรียน ต้องรับประทานอาหารที่โรงเรียน ของกินมีเพียงไม่กี่อย่าง อย่างหนึ่งคือก๋วยเตี๋ยวเนื้อ จำได้ว่าเริ่มกินเพราะแถวสำหรับก๋วยเตี๋ยวหมูยาวเกินไป จำต้องไปที่แผงก๋วยเตี๋ยวเนื้อ และเป็นครั้งแรกที่กินเนื้อวัว กลับบ้านเล่าให้แม่ฟัง แม่ไม่เห็นว่าอย่างไร ในภายหลังแม่ทนเสียงรบเร้าของลูกๆ ไม่ได้ ซื้อเนื้อมาปรุงอาหารให้ลูกกินด้วย จานเด็ดคือคะน้าเนื้อน้ำมันหอย เนื้อวัวจึงเป็นอาหารอร่อยที่พวกเราหากิน แถมข้างบ้านมีก๋วยเตี๋ยวเนื้อแสนอร่อย เป็นร้านที่มีมาจนทุกวันนี้ที่ท่าช้างวังหลวง ไปทางท่าน้ำนั่นแหละ เหล่าจีนที่มาพึ่งบารมีปู่มีฝีมือการทำอาหาร โดยเฉพาะอย่างยิ่งเนื้อตุ๋น นานๆ เข้าครัวสักทีเพื่อปรุงเนื้อตุ๋นหม้อใหญ่ เป็นอาหารสำหรับผู้ใหญ่ในบ้าน เด็กๆ ได้แต่สูดดมกลิ่นหอม ถ้าให้เลือกระหว่างก๋วยเตี๋ยวเนื้อและก๋วยเตี๋ยวหมู ขอเลือกก๋วยเตี๋ยวเนื้อ ไม่ว่าจะเป็นเนื้อสด เนื้อตุ๋นและลูกชิ้น รู้สึกว่าได้รสชาติมากกว่า สมัยทำงาน แถวโรงไม้ข้างโรงเรียนอัสสัมชัญ ซึ่งปัจจุบันรื้อไปหมดแล้วเพื่อสร้างตึกเรียน มีร้านก๋วยเตี๋ยวเนื้อนายปาน เป็นร้านเชลล์ชวนชิม ไม่เคยเข้าไปกินเลยจนกว่า 20 ผ่านไป เพื่อนร่วมงานชักชวนกันไปชิมหลังจากเดินผ่านมานาน ได้ก๋วยเตี๋ยวเนื้อตุ๋นหม้อดินมา ปรากฏว่าอร่อยมาก จนต้องซื้อกลับบ้าน ชี้ชวนให้แม่และน้องๆ รวมทั้งหลานกิน พร้อมกับบอกว่าอร่อยที่สุดในประเทศไทย ทุกครั้งที่ไปร้านนายปาน

Read More

บทบาทของผู้หญิงในแวดวงการเมือง

Column: Women in Wonderland ในช่วงเกือบหนึ่งปีที่ผ่านมา มีการจัดการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับประเทศเกิดขึ้นในหลายประเทศ ไม่ว่าจะเป็นการเลือกตั้งในมาเลเซีย นิวซีแลนด์ และภูฏาน เป็นต้น และในช่วงสิ้นปีนี้จนถึงต้นปีหน้าก็ยังจะมีอีกหลายประเทศที่จะมีการจัดการเลือกตั้ง อย่างเช่นสหรัฐอเมริกาที่เพิ่งจัดการเลือกตั้งกลางเทอมไป และในปีหน้าก็จะมีการจัดการเลือกตั้งในฟิลิปปินส์ อินเดีย ญี่ปุ่น และออสเตรเลีย เป็นต้น ประเทศไทยเองก็อาจจะมีการเลือกตั้งในช่วงต้นปีหน้าด้วยเช่นกัน แน่นอนว่าในช่วงของการเลือกตั้งเราจะได้เห็นสีสันต่างๆ ของการหาเสียง การบอกเล่านโยบายของพรรค และการโต้วาทีที่แต่ละหัวข้อประชาชนให้ความสนใจโดยหัวหน้าพรรค และปัจจุบันแต่ละพรรคการเมืองไม่ได้มีเพียงแค่ผู้สมัครที่เป็นผู้ชาย แต่ผู้สมัครที่เป็นหญิงก็เข้ามามีบทบาททางการเมืองมากขึ้น และได้รับความไว้วางใจให้ทำงานมากขึ้นเช่นกัน ในหลายประเทศมีผู้หญิงจำนวนไม่น้อยที่ชนะการเลือกตั้งทั้งในระดับท้องถิ่นและระดับชาติ และก็ได้ทำงานการเมืองแบบจริงจัง บางครั้งผู้หญิงได้รับความไว้วางใจจากพรรคจนได้รับเลือกให้เป็นหัวหน้าพรรค และยังนำพาพรรคให้ได้รับชัยชนะจากการเลือกตั้ง และได้รับเลือกเป็นผู้นำในการบริหารประเทศ อย่างเช่น Angela Merkel นายกรัฐมนตรีของประเทศเยอรมนี ที่นำพาพรรคสหภาพประชาธิปไตยคริสเตียน (Christian Democratic Union-CDU) ชนะการเลือกตั้ง ขึ้นเป็นนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของประเทศเยอรมนี และยังนำพาพรรค CDU ชนะการเลือกตั้งมาแล้วถึง 4 สมัยด้วยกัน ปัจจุบันผู้หญิงเข้ามามีบทบาทในทางการเมืองมากขึ้น โดยเห็นได้ชัดเจนจากการเลือกตั้งกลางเทอมของสหรัฐฯ ในครั้งล่าสุด เมื่อวันที่ 6 พฤศจิกายนที่ผ่านมา การเลือกตั้งกลางเทอมนี้จะถูกจัดขึ้นเมื่อประธานาธิบดีสหรัฐฯ ดำรงตำแหน่งมาได้ 2

Read More

ชีวิตหลังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ

Column: women in wonderland ทุกปีจะมีการประกาศรางวัลโนเบล หรือ Nobel Prize ให้กับผู้ที่มีผลงานโดดเด่น มีความเชี่ยวชาญ หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติในด้านต่างๆ โดยรางวัลโนเบลจะแบ่งออกเป็น 6 สาขาด้วยกัน คือ สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผู้ที่จะได้รับรางวัลในแต่ละสาขาอาจเป็นบุคคลที่มีผลงานเดี่ยว ผลงานคู่ หรือทำงานเป็นทีมก็ได้ โดยทีมหนึ่งมีได้สูงสุดแค่ 3 คนเท่านั้น และผู้ที่ได้รับรางวัลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเสมอไป อาจจะเป็นองค์กรก็ได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross หรือเรียกสั้นๆ ว่า ICRC) ก็เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในขณะเดียวกัน ถ้าในปีนั้นคณะกรรมการไม่สามารถหาบุคคลเหมาะสมที่ควรจะได้รับรางวัลในสาขานั้นๆ ก็จะไม่มีการมอบรางวัล ปี 2018 รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประกาศชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนจะขึ้นรับรางวัลพร้อมกันในวันที่

Read More

Rolex Daytona

Column: From Paris ถึงแม้พอล นิวแมน (Paul Newman) ดารานัยน์ตาสวย จะเสียชีวิตไปในปี 2008 แต่ยังสามารถสร้างปรากฏการณ์ไว้ให้ชนรุ่นหลังทึ่ง นับตั้งแต่แสดงภาพยนตร์เรื่อง Virages ในปี 1969 พอล นิวแมนคลั่งไคล้การขับรถแข่ง เคยเข้าแข่งแบบอาชีพตั้งแต่ปี 1977 เคยเข้าเส้นชัยเป็นอันดับที่ 2 ในปี 1979 ในรายการ 24 Heures du Mans การขับรถแข่งสร้างความหวาดเสียวให้ภรรยา คือ โจแอน วู้ดเวิร์ด (Joanne Woodward) ซึ่งเป็นดาราดังเช่นกัน ในปี 1972 เธอไปที่ห้าง Tiffany’s ซื้อนาฬิกา Rolex Daytona ให้เป็นของขวัญสามี โดยให้ห้างสลักหลังว่า Drive carefully. Me รูปที่ถ่ายในปี 1981 พอล นิวแมนสวมนาฬิกาเรือนนี้นั่งอยู่หลังพวงมาลัยรถสปอร์ต ทำให้นาฬิการุ่นนี้ขายดีในทศวรรษ

Read More

การตายของเด็กทารกในประเทศสหรัฐอเมริกาสูงที่สุดในประเทศที่พัฒนาแล้ว

Column: Women in Wonderland The Black Infant Remembrance Memorial เป็นโครงการของประเทศสหรัฐอเมริกาที่รณรงค์ให้ทุกคนคิดถึงเด็กทารก โดยเฉพาะเด็กทารกที่เกิดในครอบครัวของคนดำหรือคนที่มีผิวดำที่เสียชีวิต โครงการนี้เป็นโครงการที่ถูกจัดขึ้นทางสังคมออนไลน์ ระหว่างวันที่ 3–9 กันยายน ซึ่งปีนี้ได้ถูกจัดขึ้นเป็นปีแรก พร้อมๆกับการรณรงค์ให้คนผิวดำหรือคนดำเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ ซึ่งเป็นการรณรงค์ตลอดทั้งสัปดาห์เช่นเดียวกันกับโครงการ The Black Infant Remembrance Memorial โดยโครงการและการรณรงค์นี้ได้เกิดขึ้นทั่วทั้งประเทศสหรัฐอเมริกา เพื่อหวังจะเป็นส่วนหนึ่งให้คนในสังคมกลับมาให้ความสำคัญกับเรื่องอัตราการตายของเด็กทารก ประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นประเทศที่มีอัตราการตายของเด็กทารกสูงที่สุด เมื่อเปรียบเทียบกับ 27 ประเทศที่พัฒนาแล้วและมีเศรษฐกิจของประเทศอยู่ในระดับดีมาก อัตราการตายของเด็กทารกในประเทศสหรัฐอเมริกาส่วนใหญ่เป็นเด็กที่เกิดในครอบครัวคนดำ แม้อัตราการตายจะลดลงจากในปี 2005 ที่อยู่ที่ 6.87 ต่อเด็กที่เกิดมา 1,000 คน และในปี 2011 อัตราการตายของเด็กทารกก็ลดลงเหลือ 6.07 ต่อเด็กที่เกิดมา 1,000 คน แต่ก็ยังคงสูงกว่าประเทศพัฒนาแล้วประเทศอื่นๆ อัตราการตายของเด็กทารกเป็นเรื่องสำคัญที่รัฐบาลจะละเลยไปไม่ได้ เนื่องจากอัตราการตายของเด็กทารกเป็นตัวบ่งชี้ถึงสุขภาพของคนในประเทศ เพราะอัตราการตายของเด็กทารกจะเป็นตัวชี้วัดถึงเรื่องสุขภาพของหญิงตั้งครรภ์ คุณภาพด้านการแพทย์ การเข้าถึงบริการด้านการแพทย์ของคนในประเทศ และการได้รับความรู้ ข่าวสารต่างๆ ทางการแพทย์

Read More

Mai 68

Column: From Paris การเปลี่ยนแปลงใหญ่ในแต่ละครั้ง ย่อมมีการสูญเสีย ฝรั่งเศสมีสถาบันกษัตริย์จนถึงปี 1789 ราษฎรที่กรุงปารีสแร้นแค้น ในขณะที่ราชสำนักที่แวร์ซายส์ (Versailles) ไม่ตระหนัก ชาวปารีเซียงจึงลุกฮือเมื่อวันที่ 14 กรกฎาคม 1789 สถาบันกษัตริย์ถูกล้มล้าง กษัตริย์หลุยส์ที่ 16 และ มารี-อองตัวแนต (Marie-Antoinette) รวมทั้งขุนนางผู้ภักดีต่อสถาบันกษัตริย์ถูกประหารด้วยเครื่องกีโยตีน (guillotine) ถือเป็นการปฏิวัติใหญ่ของฝรั่งเศส หากการปฏิวัติครั้งนั้นใช่ว่าจะจบสิ้นลงในเร็ววัน แต่ยืดเยื้ออยู่หลายปี ผู้นำการปฏิวัติเข่นฆ่ากันเอง ฝรั่งเศสเพิ่งกลับมาเป็นหนึ่งเดียวในยุคนโปเลอง (Napoléon) เป็นยุคจักรวรรดิ (Empire) และแม้จะมีความพยายามรื้อฟื้นสถาบันกษัตริย์ แต่ไม่ได้ใช้ว่า กษัตริย์ของฝรั่งเศส – roi de France แต่เป็นกษัตริย์ของชาวฝรั่งเศส – roi des Français แล้วก็มาถึงยุคสาธารณรัฐ (République) ที่ล้มลุกคลุกคลาน จนมีการประกาศใช้รัฐธรรมนูญฉบับปี 1958 การเมืองฝรั่งเศสจึงค่อยมั่นคง ฝรั่งเศสมีการ “ปฏิวัติ” ใหญ่อีกครั้งหนึ่งในปี

Read More

กฎหมายที่ไม่จริงจัง กับความรุนแรงในครอบครัวของบราซิล

Column: Women in Wonderland เมื่อปีที่แล้วเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงานได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคม จากกรณีของ #MeToo ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกจำนวนมากยอมออกจากเงามืดมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกลวนลามในที่ทำงาน ทำให้ผู้คนจากทุกหน่วยงานหันมาให้ความสำคัญ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญ ความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นเดียวกัน หลายหน่วยงานคาดหวังว่าเรื่องนี้จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเหมือนกับเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน และอยากให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากคนรักหรือคนในครอบครัวกล้าที่จะออกมาแจ้งความเพื่อป้องปรามไม่ให้ระดับความรุนแรงในบ้านเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นฆ่ากันตาย ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวเพื่อป้องกันและปกป้องไม่ให้ผู้หญิงต้องถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากสามี คนรัก หรือผู้ชายคนอื่นๆ ในครอบครัว แต่สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวกลับไม่ลดลง องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยสถิติเมื่อปลายปี 2017 ว่ามีผู้หญิง 35% จากทั่วโลกตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์จากสามีหรือคนรัก และมีผู้หญิงถึง 38% ที่ถูกฆ่าตายโดยสามีหรือคนรัก บราซิลเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แม้ว่าบราซิลจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ แต่บราซิลก็ยังไม่ถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีรายได้ต่อหัวที่ค่อนข้างต่ำ มาตรฐานในการดำรงชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดแคลนน้ำสะอาด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทเวลาเจ็บป่วยไม่มีโรงพยาบาลรักษา เป็นต้น และยังมีอัตราการเกิดและการตายของเด็กทารกที่ค่อนข้างสูง เรื่องความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นกัน บราซิลมีการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวในปี 2006 แต่ยังมีผู้หญิงบราซิลจำนวนมากที่ถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ จากสามีหรือคนรัก และส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าแจ้งความเมื่อตกเป็นเหยื่อ ระหว่างปี 2009–2014 สถิติของประเทศบราซิลแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2013–2014 จำนวนผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมีเพิ่มมากขึ้น มากกว่าปี 2009–2010 ถึง

Read More