Home > On Globalization (Page 7)

วิวาทะเรื่องดาวมิชแลง

Column: From Paris Michelin เป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ของฝรั่งเศส และยางสำหรับพาหนะอื่นๆ ด้วย รวมทั้งเครื่องบิน พนักงานขายของ Michelin ต้องเดินทางไปทั่วประเทศ จึงคิดทำแผนที่สำหรับการขับรถ และทำหนังสือคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีปกสีเขียว จึงเรียกว่า Guide vert แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละเมือง และไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว พนักงานเหล่านี้ต้องไปพักแรมและรับประทานตามเมืองต่างๆ ที่เดินทางไป จึงเกิด Guide Michelin หรือที่เรียกกันว่า Guide rouge เพราะปกสีแดง แนะนำร้านอาหารตามหมู่บ้าน ตำบลหรือจังหวัดต่างๆ ของฝรั่งเศส และที่พัก ทั้งนี้ โดยแสดงความคิดเห็นด้วย กลายเป็นคู่มือของบรรดานักชิมอาหาร นับตั้งแต่ปี 1900 ถึง 2007 ขายได้ถึง 35 ล้านเล่ม ต่อมามีการให้ดาว Michelin สำหรับร้านอาหารอร่อย บรรยากาศดี การบริการยอดเยี่ยมในฝรั่งเศสและโมนาโก เฉพาะในปี 2016 มีร้านสามดาว 25

Read More

การขริบอวัยวะเพศหญิงที่เพิ่มจำนวนขึ้นในทุกปี

Column: Women in Wonderland การขริบอวัยวะเพศหญิง (Female Genital Mutilation หรือเรียกสั้นๆ ว่า FGM) เป็นขนบที่สืบต่อกันมาเป็นเวลานาน เกิดขึ้นในหลายประเทศในทวีป แอฟริกา ตะวันออกกลาง และเอเชีย ยกตัวอย่างเช่น คองโก โซมาเลีย แทนซาเนีย เคนยา อินเดีย อินโดนีเซีย มาเลเซีย ศรีลังกา ปากีสถาน อิรัก อิหร่าน โอมาน เยเมน ปาเลสไตน์ และสหรัฐอาหรับเอมิเรตส์ เป็นต้น จากการประเมินขององค์การสหประชาชาติเมื่อต้นปี ค.ศ. 2019 พบว่า มีผู้หญิงและเด็กประมาณ 200 ล้านคน หรือ 1 ใน 20 ของผู้หญิงและเด็กจากทั่วโลกตกเป็นเหยื่อการขริบอวัยวะเพศหญิง องค์การอนามัยโลกแบ่งรูปแบบการขริบอวัยวะเพศออกเป็น 4 ประเภท 1. การตัดปุ่มคลิตอริส 2. การตัดปุ่มคลิตอริสและแคมเล็ก 3. การตัดทั้งแคมใหญ่และแคมเล็ก แล้วเย็บปิดอวัยวะเพศให้เหลือเพียงช่องเล็กๆ เท่านั้น 4.

Read More

สิ้นรัฐบุรุษที่ชื่อฌาคส์ ชีรัก

Column: FROM PARIS คืนวันที่ 25 ต่อวันที่ 26 กันยายน 2019 ฝรั่งเศสได้สูญเสียรัฐบุรุษ 1 คน คือ ฌาคส์ ชีรัก (Jacques Chirac) อดีตประธานาธิบดี ครอบครัวได้แจ้งข่าวแก่ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ซึ่งยกเลิกกำหนดการทั้งมวลในหลายวันข้างหน้าเพื่อเตรียมการรัฐพิธีศพของรัฐบุรุษผู้นี้ ฌาคส์ ชีรักเป็นนักการเมืองฝ่ายขวา เริ่มชีวิตการเมืองจากการเป็นผู้แทนราษฎรจังหวัดกอแรซ (Corrèze) แล้วในปี 1967 ได้เป็นผู้ช่วยรัฐมนตรี ประธานาธิบดีวาเลรี จิสการด์ เดสแตง (Valéry Giscard d’Estaing) แต่งตั้งให้เขาเป็นนายกรัฐมนตรีในปี 1974 ระหว่างดำรงตำแหน่ง ได้รับเลือกตั้งเป็นนายกเทศมนตรีกรุงปารีสในปี 1977 เขาลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีในปี 1979 เพราะไม่ลงรอยกับประธานาธิบดี แล้วตั้งพรรคการเมือง Rassemblement pour la République ฌาคส์ ชีรักลงเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 1981

Read More

เหยื่อคนที่ 100 สร้างความตื่นตัวให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ไม่มีรัฐบาลไหนประสบความสำเร็จในการแก้ไข ทุกวันนี้มีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากสามี อดีตสามี หรือสมาชิกในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวไม่เหมือนปัญหาอื่นๆ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม ทุกชนชั้น และทุกศาสนา ดังนั้น แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วผู้หญิงก็ยังคงประสบกับความรุนแรงในครอบครัวเหมือนกัน องค์กร Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016 ว่า ผู้หญิงประมาณ 43,600 คนต่อปีจากทั่วโลกถูกฆาตกรรมโดยคนในครอบครัว 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจากคนในครอบครัวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และมีเพียง 11% เท่านั้นที่มีการดำเนินคดีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำว่า “การฆาตกรรมผู้หญิง” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Femicide ในที่นี้หมายถึงการฆาตกรรมที่ผู้ชายฆ่าผู้หญิงหรือเด็กหญิง เพราะพวกเธอเป็นผู้หญิง การฆาตกรรมนี้มักจะเกิดที่บ้าน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความรุนแรงในครอบครัว OSCE ยังได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฆาตกรรมหญิงว่า เกิดขึ้นในทุกประเทศ ที่เกิดมากคือ ประเทศรัสเซีย เอลซัลวาดอร์

Read More

ความแนบแน่นระหว่างมาครงและซาร์โกซี

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เข้าสู่เวทีการเมืองในยุคประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ด้วยการแนะนำของฌาคส์ อัตตาลี (Jacques Attali) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายหลัง และเป็นผู้ค้นพบความปราดเปรื่องของฝ่ายแรกเมื่อได้ทำงานด้วยกัน โดยฟรองซัวส์ โอลลองด์แต่งตั้งให้เอ็มมานูเอล มาครงเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี และเมื่อตำแหน่งรัฐมนตรีงบประมาณว่างลง ฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่ยอมแต่งตั้งเอ็มมานูเอล มาครงตามความปรารถนาของเจ้าตัว จึงเป็นที่มาของการลาออก หลังจากว่างานอยู่ไม่กี่เดือน ก็ถึงคราวปรับคณะรัฐมนตรี เอ็มมานูเอล มาครงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อันเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่เคยปรารถนา ฟรองซัวส์ โอลลองด์จึงถือเอ็มมานูเอล มาครงเป็นเด็กสร้างของตน แต่แล้วเด็กสร้างก็ลาออกไปเพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2017 แรกทีเดียวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่เชื่อว่าเอ็มมานูเอล มาครงจะทาบรอยเท้า มิไยที่บรรดาคนสนิทจะเตือนก็ตาม และเมื่อเอ็มมานูเอล มาครงประกาศอย่างเป็นทางการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีทีท่าว่าจะได้รับการสนับสนุนมาก ประธานาธิบดีในตำแหน่งมักจะลงสมัครเป็นวาระที่สอง ทว่าคนสนิทของฟรองซัวส์ โอลลองด์แนะนำว่าไม่ควรลง เพราะความปราชัยมองเห็นชัด เมื่อคำนึงถึงคะแนนนิยมที่ตกต่ำมาก เมื่อเอ็มมานูเอล มาครงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

Read More

การปฏิรูปสิทธิผู้หญิงด้วยการยกเลิก Male Guardianship System ในประเทศซาอุดีอาระเบีย

Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศหนึ่งที่มีชื่อเกี่ยวกับการละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงอย่างรุนแรงไปจนถึงเรื่องไร้สาระ อย่างเช่นกฎหมายที่ผู้หญิงถูกควบคุมทุกอย่างจากผู้ชายในครอบครัว ไม่มีกฎหมายปกป้องผู้หญิงจากการถูกสามีทำร้ายร่างกาย การเป็นพลเมืองของประเทศไม่สามารถสืบทอดจากแม่ได้ และคำให้การของผู้หญิงในชั้นศาลให้ถือว่ามีค่าเท่ากับคำให้การในชั้นศาลของผู้ชายครึ่งหนึ่ง เป็นต้น เรื่องไร้สาระที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนผู้หญิงซาอุฯ คือ ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถได้ พวกเธอจะต้องมีผู้ชายขับรถให้ ซึ่งกฎหมายนี้เพิ่งถูกยกเลิกไปเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2018 หลังจากที่ซาอุฯ ประกาศกฎหมายนี้ออกมามีผู้หญิงจำนวนมากออกมาขับรถบนท้องถนนเพื่อเฉลิมฉลองสิทธิเสรีภาพที่เพิ่มขึ้น ถึงแม้ว่าผู้หญิงซาอุฯ จะได้รับอนุญาตให้ขับรถเองได้ แต่กฎหมายอื่นๆ ก็ยังคงละเมิดสิทธิของผู้หญิงซาอุฯ อยู่ดี โดยเฉพาะระบบที่ให้ผู้ชายซึ่งเป็นญาติเป็นผู้ปกครองของผู้หญิง (Male Guardianship System) ภายใต้ระบบนี้แม้ผู้หญิงจะบรรลุนิติภาวะแล้วก็ยังต้องได้รับอนุญาตจากสามี พ่อ พี่ชายหรือน้องชาย และลูกชาย ก่อนที่จะเดินทางไปต่างประเทศ จะทำหนังสือเดินทาง แต่งงาน หรือแม้กระทั่งจะออกจากคุก นอกจากนี้ หากผู้หญิงจะทำงานหรือใช้ประกันสุขภาพ บริษัทอาจเรียกร้องขอจดหมายยืนยันว่าได้รับอนุญาตจากสามีหรือพ่อแล้ว ดังนั้น จึงถือได้ว่าเป็นระบบที่ละเมิดสิทธิมนุษยชนของผู้หญิงซาอุฯ มากที่สุด เมื่อปีที่แล้วผู้หญิงซาอุดีฯ พยายามเรียกร้องให้มีการแก้ไขและปรับเปลี่ยนกฎหมายข้อบังคับเหล่านี้ พวกเธอเรียกร้องให้รัฐบาลยกเลิกระบบ Male Guardianship System นอกจากนี้ UN Committee on Discrimination

Read More

Origine du monde กำเนิดของโลก

Column: From Paris กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) เป็นจิตรกรชื่อดังชาวฝรั่งเศสของศตวรรษที่ 19 เป็นจิตรกรคนแรกที่ “ขบถ” ต่อกฎเกณฑ์ของราชบัณฑิตสาขาวิจิตรศิลป์ ที่กำหนดให้การเขียนภาพขนาดใหญ่ต้องเป็นเรื่องราวของเจ้านายและศาสนาเท่านั้น เขาเป็นคนแรกที่เขียนภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับวิถีของชาวบ้าน เมื่อนโปเลองที่ 3 (Napoléon III) พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ปรัสเซีย และเยอรมนีจึงกรีธาทัพเข้ายึดฝรั่งเศส ชาวกรุงปารีสยอมรับไม่ได้ จึงลุกขึ้นต่อต้านเป็นเวลา 4 เดือน แต่ในที่สุดก็ต้องยอมแพ้ ฝรั่งเศสจัดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรที่มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถลงคะแนนเสียง ได้สมาชิกสภาที่นิยมเจ้าถึง 400 คน และแต่งตั้งผู้นิยมนโปเลองในรัฐบาลหลายคน ชาวกรุงปารีสส่วนหนึ่งที่ต้องการเป็นสาธารณรัฐ ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่แวร์ซายส์ (Versailles) เป็นยุค Commune de Paris เกิดการต่อสู้ระหว่างปารีสและแวร์ซายส์ พวก Commune ที่เรียกว่า Communard เผาทำลายสถานที่หลายแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของนโปเลองและสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuilleries) และเสาวองโดม-Colonne de Vendôme ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัยชนะของนโปเลองที่ 1 ในการสงคราม กุสตาฟ

Read More

การเลือกปฏิบัติ ปัญหาที่ผู้หญิงต้องเจอในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland ช่องว่างของรายได้หรือ Gender Pay Gap เป็นปัญหาที่ผู้หญิงทำงานในทุกประเทศ ทุกวัยต้องพบเจอ เป็นการเลือกปฏิบัติที่เห็นได้ชัดเจน และไม่มีแนวโน้มว่าจะแก้ไขได้ ผู้เขียนเคยเขียนเรื่องนี้มาหลายครั้ง รวมถึงวิธีแก้ปัญหาที่แต่ละประเทศพยายามนำมาใช้เพื่อลดช่องว่างของรายได้ แต่ก็ยังไม่ประสบความสำเร็จ นอกจากประเทศไอซ์แลนด์ที่ผู้เขียนเคยเล่าไปเมื่อไม่นานนี้ เมื่อไม่สามารถแก้ปัญหาได้ ช่องว่างระหว่างรายได้จึงกลายเป็นเรื่องที่ผู้หญิงรุ่นใหม่ หรือคนที่เพิ่งเรียนจบไม่ได้มองว่ามันเป็นปัญหา แต่มองว่ามันคือเรื่องปกติ เมื่อเริ่มทำงานจะได้รับเงินเดือนน้อยกว่าเพื่อนผู้ชายที่เริ่มทำงานพร้อมกัน ทำงานในลักษณะเดียวกัน และรับผิดชอบงานเหมือนกันในบริษัทเดียวกัน หลายประเทศรู้ว่าปัญหาการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานเป็นปัญหาที่มีมายาวนาน แต่ก็ยังไม่มีการแก้ไขปัญหานี้อย่างจริงจัง ดังนั้น ในบทความนี้จะพูดถึงเหตุผลหลักๆ ที่อยู่เบื้องหลังของปัญหานี้ว่า ทำไมปัญหาการเลือกปฏิบัติในที่ทำงานและความเท่าเทียมกันทางเพศในที่ทำงานจึงไม่สามารถทำได้ อย่างที่ทราบกันดีว่า เมื่อผู้หญิงที่เรียนจบระดับปริญญาตรีและทำงานในบริษัทต่างๆ นั้นมีน้อย ผู้หญิงส่วนใหญ่จะมีวุฒิการศึกษาน้อยกว่าผู้ชาย จึงไม่แปลกหากจะมีจำนวนผู้ชายในที่ทำงานมากกว่าและได้รับเงินเดือนมากกว่า นอกจากนี้ ในอดีตผู้หญิงส่วนใหญ่มักจะทำงานไม่นาน เมื่อแต่งงานก็จะลาออกไปอยู่บ้านดูแลลูกและสามี ทำให้บริษัทต่างๆ มองไม่เห็นความสำคัญในการจ้างงานผู้หญิงด้วยค่าจ้างที่สูง เพราะสุดท้ายผู้หญิงก็จะลาออก ดังนั้น แทนที่จะจ้างงานผู้หญิงก็จ้างงานผู้ชาย รวมถึงนำเงินค่าจ้างสูงๆ ไปจ่ายให้ผู้ชาย เพื่อให้ผู้ชายอยู่ทำงานที่บริษัทนานๆ ดีกว่าการจ่ายเงินจ้างผู้หญิงที่มีแนวโน้มจะลาออกสูง แต่ในปัจจุบันเหตุการณ์ที่กล่าวมาแทบจะไม่เกิดขึ้นแล้ว ผู้หญิงส่วนใหญ่จบการศึกษาในระดับปริญญาตรีหรือสูงกว่า Pew Research Global ได้เปิดเผยเมื่อเร็วๆ นี้ว่า ในสหรัฐอเมริกามีผู้หญิงที่อายุตั้งแต่ 25 ปีขึ้นไปจบการศึกษาในระดับปริญญาตรี

Read More

นิทรรศการ Expressionnisme

Column: From Paris Expressionnisme เป็นศิลปะกระแสหนึ่งซึ่งเกิดในต้นศตวรรษที่ 20 ในยุโรปเหนือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมัน ทั้งในด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ ดนตรี และการเต้นรำ แต่เป็นศิลปะที่พวกนาซีประณาม บ้างก็ว่า Expressionnisme ในจิตรกรรมไม่ใช่กระแสแต่เป็นปฏิกริยาต่อต้าน Impressionnisme ของฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนภาพจริงที่ได้เห็น ทว่า Expressionnisme เขียนภาพอย่างที่ใจของอาร์ทิสต์ต้องการแสดงออก Expressionnisme จึงแรงกว่า Aggressive กว่า ใช้สีแรง เสมือนเป็นกระแสที่สืบต่อจาก Fauvisme ดังอาร์ทิสต์อย่างอองรี มาติส (Henri Matisse) เคส วาน โดนเกน (Kees Van Dongen) อัลแบรต์ มาร์เกต์ (Albert Marquet) จอร์จส์ บราค (Georges Braque) อองเดร เดอแรง

Read More

ความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในเทคโนโลยีการสั่งงานด้วยเสียง

Column: Women in Wonderland ปัจจุบันเทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในชีวิตเราอย่างมาก หากย้อนกลับไปในอดีตเมื่อ 20 ปีก่อน อาจจะไม่คาดคิดว่าเราสามารถติดต่อสื่อสารแลกเปลี่ยนข้อมูลกับบุคคลอีกซีกโลกหนึ่งได้เพียงในเวลาไม่กี่วินาที หรือแม้กระทั่งสามารถพูดคุยกับบุคคลที่อยู่อีกซีกโลกหนึ่งโดยเห็นหน้ากันไปด้วยระหว่างพูดคุย ดังนั้น เราจึงเห็นได้ว่า เทคโนโลยีมีการพัฒนาแบบก้าวกระโดดและเข้ามามีบทบาทในชีวิตประจำวันของเรามากขึ้น ทำให้ชีวิตของเราสะดวกสบายขึ้น ทุกวันนี้เทคโนโลยีเข้ามามีบทบาทในทุกภาคส่วน ไม่ว่าจะเป็นด้านการสื่อสาร อย่างโทรศัพท์ การพูดคุยกันใน Social Network เป็นต้น ด้านการศึกษาที่สามารถเรียนได้จากที่บ้าน หรือที่ประเทศอื่น หรือแม้กระทั่งด้านการเงินที่ไม่จำเป็นต้องพกเงินสดอีกต่อไป เราสามารถจ่ายเงินผ่านทางโทรศัพท์ได้ และแน่นอนว่าทางด้านภาคธุรกิจเอง ก็ปรับเปลี่ยนวิธีการขายของ ทุกคนสามารถสั่งซื้อของออนไลน์ได้ ไม่จำเป็นต้องมาที่ร้านค้าหรือห้างสรรพสินค้าอีกต่อไป หรือแม้กระทั่งภาคการเกษตรก็มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในการเพิ่มผลผลิต หนึ่งในเทคโนโลยีที่ถูกนำมาใช้ในชีวิตประจำวันคือ การสั่งงานด้วยเสียง หรือการพูดคุยตอบโต้กับหุ่นยนต์ ในปี 2011 ค่ายโทรศัพท์ Apple ได้เปิดตัว Siri ซึ่งทำหน้าที่เป็นเหมือนผู้ช่วยหรือเลขานุการของผู้ใช้โทรศัพท์มือถือ โดย Siri ถือว่าเป็น Artificial Intelligence (AI) หรือ ปัญญาประดิษฐ์ ที่ทำให้คอมพิวเตอร์หรือหุ่นยนต์สามารถทำทุกอย่างที่มนุษย์ทำได้อย่างมีประสิทธิภาพใกล้เคียงกับมนุษย์ แต่ไม่มีอารมณ์เหมือนกับมนุษย์ ดังนั้น Siri จึงสามารถเข้าใจภาษาพูดของคนและสามารถตอบสนองได้เหมือนคนจริงๆ

Read More