Home > On Globalization (Page 6)

เส้นทางของ Didier Raoult

Column: From Paris Covid-19 ทำให้รู้จักชื่อ Didier Raoult ศาสตราจารย์นายแพทย์ผู้เชี่ยวชาญโรคติดเชื้อ ผู้พบว่ายา chloroquine และ hydroxychloroquine สามารถใช้กับผู้ที่ติดเชื้อ Covid-19 จนสร้างความแตกแยกในวงการแพทย์และนักวิทยาศาสตร์ของฝรั่งเศส Didier Raoult เกิดที่เมือง Dakar ประเทศเซเนกัล (Sénégal) พ่อเป็นแพทย์ทหาร พื้นเพชาวนอร์มองดี (Normandie) ผู้ก่อตั้งสถาบันวิจัยอาหารในแอฟริกา ส่วนแม่เป็นพยาบาล ครอบครัวย้ายกลับฝรั่งเศส ตั้งรกรากที่เมืองมาร์เซย (Marseille) ขณะที่เขาอายุ 10 ขวบ เขาเรียนไม่ดี พออายุ 17 ปี ลาออกจากโรงเรียนเพื่อไปทำงานในเรือพาณิชย์เป็นเวลา 2 ปี ในปี 1972 เขากลับมาสอบมัธยมปลายด้านวรรณคดี และเข้าเรียนในคณะแพทยศาสตร์ของมาร์เซย เพราะเป็นวิชาเดียวที่พ่อจะออกค่าใช้จ่ายให้ ผลการเรียนขณะเป็นอินเทิร์นทำให้ไม่ได้เรียนสาขาที่อยากเรียน จึงต้องมาเรียนด้านโรคติดเชื้อเฉกเช่นเดียวกับตา เขาพูดเสมอว่าต้องการเป็นคนเก่งที่สุดในโลก เขาเดินทางไปศึกษาต่อในสหรัฐอเมริกาจนได้รับปริญญาเอก ผลการเรียนดีเลิศจนสถาบันแพทย์แห่งหนึ่งต้องการให้เขาร่วมทีมด้วย แต่เขาเลือกเดินทางกลับฝรั่งเศส ได้เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยเมืองมาร์เซย Didier Raoult

Read More

ทัศนคติในด้านลบต่อผู้หญิง

Column: Women in Wonderland ปีนี้เป็นปีครบรอบ 25 ปีการประกาศใช้ Beijing Declaration and Platform for Action (Beijing+25) ซึ่งได้พูดถึงแนวทางการยุติช่องว่างระหว่างเพศ และส่งเสริมความเท่าเทียมทางเพศในสังคม แต่จากสถานการณ์ปัจจุบันเห็นได้ว่า ทุกประเทศไม่สามารถทำให้ความเท่าเทียมกันทางเพศเกิดขึ้นได้ และแน่นอนว่าทุกประเทศไม่สามารถทำตามเป้าหมายที่วางไว้ว่า ปี ค.ศ. 2030 จะมีความเท่าเทียมกันทางเพศในทุกประเทศ และจากการวิเคราะห์ขององค์การสหประชาชาติพบว่า จากรายงานเรื่องความไม่เท่าเทียมกันทางเพศในด้านของสุขภาพ การศึกษา และสถานะทางการเงินในสังคมนั้น จากข้อมูลปัจจุบันสามารถคาดเดาได้ว่า เราต้องรออีก 257 ปี ความเท่าเทียมกันทางเพศในสังคมถึงจะเกิดขึ้นในทุกประเทศ โดยเฉพาะเรื่องช่องว่างของรายได้ โครงการพัฒนาแห่งสหประชาชาติ (United Nation Development Programme หรือเรียกสั้นๆ ว่า UNDP) ได้จัดทำรายงานเรื่องการแก้ปัญหาเรื่องความเชื่อของคนในสังคม (Tackling Social Norms) โดยรายงานฉบับนี้ทำการสำรวจความเชื่อและทัศนคติของคนในสังคมเกี่ยวกับเรื่องของเพศ (Gender Social Norms Index) ว่าประชาชนส่วนใหญ่ทั้งผู้ชายและผู้หญิงมีความเชื่อและทัศนคติด้านลบต่อเรื่องเพศอย่างไร รายงานฉบับนี้ตีพิมพ์และเผยแพร่เมื่อวันที่

Read More

ผลกระทบจาก Covid-19

Column: FROM PARIS ยุคที่เศรษฐกิจญี่ปุ่นเฟื่องฟู นักท่องเที่ยวญี่ปุ่นเต็มกรุงปารีส แล้วก็มาถึงยุคจีนเปิดประเทศ และเศรษฐกิจเติบโต ชาวจีนพ้นจากความยากจน เริ่มอยากใช้เงิน จึงสรรหาสินค้าต่างประเทศ แล้วพัฒนาไปถึงสินค้าแบรนด์เนม นักท่องเที่ยวจีนคลาคล่ำเต็มห้างสรรพสินค้าในกรุงปารีส และบูติกแบรนด์เนมทั้งหลาย แรกทีเดียว บรรดาแบรนด์เนมรังเกียจนักท่องเที่ยวชาวจีน หลุยส์ วุตตง ถึงกับขายสินค้าให้นักท่องเที่ยวจีนคนละหนึ่งชิ้นเท่านั้น เพราะเกรงชาวจีนซื้อไปก๊อบปี้ออกมาขาย ทำเอานักท่องเที่ยวจีนมองหาใครก็ได้ที่จะอนุเคราะห์ซื้อให้ เคยได้รับการทาบทามขณะเดินเล่นในห้างกาเลอรีส์ ลาฟาแยต แต่ปฏิเสธไป กาลเวลาผ่านไป จำนวนนักท่องเที่ยวจีนเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็ว และเป็นผู้มีกำลังซื้ออย่างแท้จริง แบรนด์เนมทั้งหลายจึงเปิดกว้าง ซื้อได้ไม่อั้น ตามห้างสรรพสินค้า ชาวจีนเข้าแถวรอซื้อแบรนด์เนม ยี่ห้อยอดนิยมคือ หลุยส์ วุตตง ชาแนล กุชชี รองลงมาคือลงชองป์ นอกจากสินค้าแฟชั่นแล้ว การหลั่งไหลมาของนักท่องเที่ยวจีนยังประโยชน์แก่ธุรกิจโดยรวม โดยเฉพาะอย่างยิ่งโรงแรมและร้านอาหาร เมื่อเกิดโรคระบาด Covid-19 จีนปิดประเทศ ห้ามชาวจีนเดินทางออกนอกประเทศ นั่นย่อมกระทบเศรษฐกิจโลก ฝรั่งเศสเป็นประเทศที่เป็นจุดหมายปลายทางของนักท่องเที่ยวจีน เมื่อไร้ซึ่งชาวจีนแล้ว ห้างร้านเงียบเหงา เศรษฐกิจฝรั่งเศสเสียหายถึงสองพันล้านยูโร ห้างสรรพสินค้ากาเลอรีส์ ลาฟาแยตรับทัวร์เป็นหลัก จึงเต็มไปด้วยนักท่องเที่ยวจีนในทุกแผนก มากจนต้องจัดแผนกรับลูกค้าชาวจีนโดยเฉพาะ ในวันนี้กาเลอรีส์ ลาฟาแยตหาหน้าเอเชียแทบไม่ได้เลย ห้างจึงค่อนข้างร้างจนน่าตกใจ

Read More

ผลกระทบจาก Brexit ต่อผู้หญิงในเรื่องความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ตั้งแต่ 1 กุมภาพันธ์ ค.ศ. 2020 ประเทศสหราชอาณาจักรจะออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ ระหว่างนี้จะเป็นช่วงระยะเวลาเปลี่ยนผ่าน (Transition Period) เป็นเวลา 11 เดือน ซึ่งจะสิ้นสุดลงในวันที่ 31 ธันวาคม ค.ศ. 2020 ช่วงเวลาเปลี่ยนผ่านนี้สหราชอาณาจักรจะยังอยู่ภายใต้กฎหมายและข้อบังคับต่างๆ ของสหภาพยุโรป แต่จะไม่มีส่วนเกี่ยวข้องใดๆ กับรัฐสภายุโรป (European Parliament) อีกต่อไป สมาชิกรัฐสภาของยุโรปมาจากการเลือกตั้งโดยตรงของพลเมืองประเทศสมาชิก โดยผู้มีอายุ 18 ปีบริบูรณ์ขึ้นไปจึงจะมีสิทธิ์เลือกตั้ง ในรัฐสภาจะประกอบไปด้วยสมาชิกทั้งหมด 751 คน และตั้งแต่ปี 2019 เป็นต้นมา สมาชิกรัฐสภาจะปรับลดจำนวนลงเหลือเพียง 705 คน หลังจากที่รัฐสภามีมติเห็นชอบเรื่อง Brexit เพราะจำนวนประชากรภายใต้สหภาพยุโรปลดลงจากการออกจากการเป็นประเทศสมาชิกของสหราชอาณาจักร แน่นอนว่าหลังจากสหราชอาณาจักรออกสมาชิกของสหภาพยุโรปอย่างเป็นทางการ นักวิชาการจำนวนมากทำนายทิศทางเศรษฐกิจของสหราชอาณาจักรไปในทิศทางเดียวกันว่า สหราชอาณาจักรจะมีสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลงอย่างเห็นได้ชัด และแน่นอนว่าคนที่ได้รับผลกระทบสูงที่สุดก็คือ ผู้หญิง เพราะผู้หญิงคือกลุ่มคนส่วนใหญ่ที่ทำงานและมีรายได้น้อย ซึ่งแน่นอนว่าเมื่อสภาพเศรษฐกิจย่ำแย่ลง ผู้หญิงจะกลายเป็นคนกลุ่มแรกที่อาจต้องตกงาน หรือหางานได้ยากขึ้น ผลกระทบที่จะเกิดกับผู้หญิงหลังจากสหราชอาณาจักรออกจากการเป็นสมาชิกของสหภาพยุโรปไม่ได้มีเพียงแค่อาจตกงานหรือหางานได้ยากขึ้นเท่านั้น แต่กฎหมายของสหภาพยุโรปซึ่งปกป้องและคุ้มครองผู้หญิงในการทำงาน

Read More

แบร์นารด์ กาซเนิฟ ความหวังของพรรคสังคมนิยม

Column: From Paris เมื่อครั้งเกิดการก่อร้ายในกรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน 2015 ซึ่งเกิดในหลายจุด จุดแรกที่สนาม Stade de France ซึ่งกำลังมีการแข่งฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ประธานาธิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ไปชมด้วย เห็นภาพเจ้าหน้าที่ไปกระซิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ ซึ่งลุกไปรับฟังสถานการณ์ และกลับมานั่งชมการแข่งขันต่อจนจบ เพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต ระหว่างการแข่งขันมีเสียงระเบิดนอกสนาม แต่ผู้คนในสนามเข้าใจว่ามีการจุดประทัด อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หากมีการแข่งฟุตบอลนัดสำคัญ จึงไม่ได้เอะใจ ฟรองซัวส์ โอลลองด์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเลือกที่จะไม่ประกาศเลิกการแข่งขัน เพราะเกรงจะเกิดความโกลาหล และอาจเกิดวามเสียหายถึงชีวิตก็ได้ ความตื่นตกใจอาจทำให้เหยียบกันตายได้ ในตัวกรุงปารีสเองผู้ก่อการร้ายบุกเข้าไปยิงผู้ที่กำลังชมคอนเสิร์ต Eagles of Death Metal ในโรงมหรสพ Bataclan อีกทั้งร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียง เป็นการก่อร้ายที่รุนแรงมาก มีผู้เสียชีวิตนับ 100 คน อีกทั้งผู้บาดเจ็บอีกมากมาย ชาวฝรั่งเศสชื่นชมการบริหารวิกฤตการณ์ของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ และรัฐมนตรีมหาดไทย แบร์นารด์ กาซเนิฟ (Bernard Cazeneuve) เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นความเงียบ สุขุมของรัฐมนตรีผู้นี้ และคิดว่าแบร์นารด์

Read More

ภาษีผ้าอนามัย

Column: Women in wonderland ช่วงปลายปี 2019 ที่ผ่านมา มีข่าวลือเรื่องการจัดเก็บภาษีผ้าอนามัยในอัตราที่สูงขึ้น ซึ่งได้รับการยืนยันแล้วว่าไม่เป็นความจริง ในประเทศไทยนั้นผ้าอนามัยถูกจัดให้เป็นสินค้าควบคุมราคา หมายความว่าหากต้องการปรับราคา จะต้องแจ้งต่อกรมการค้าภายในล่วงหน้าอย่างน้อย 15 วัน ผ้าอนามัยเป็นสินค้าควบคุมมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2551 และยังจัดเก็บภาษีในอัตราปกติคือ 7% เหมือนสินค้าประเภทอื่นๆ ในตอนแรกที่มีข่าวว่าจะมีการปรับขึ้นอัตราการเก็บภาษีผ้าอนามัย ทำให้เกิดความตื่นตระหนกในสังคมอย่างมากว่าผ้าอนามัยจะกลายเป็นภาระหนักของผู้หญิง และบางคนอาจจะไม่สามารถหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้ หากว่ามีการปรับราคาขึ้นจริง BBC ไทยรายงานข้อมูลเกี่ยวกับการใช้ผ้าอนามัยว่า เพื่อสุขอนามัยที่ดีจะต้องเปลี่ยนทุก 2-3 ชั่วโมง เฉลี่ยวันละประมาณ 7 แผ่น ประจำเดือนจะมาประมาณ 4-7 วัน ดังนั้นแต่ละเดือนจะใช้ผ้าอนามัยประมาณ 30 กว่าแผ่น คิดเป็นรายจ่ายประมาณ 2,160 บาทต่อปี จากข้อมูลข้างต้นจะเห็นว่าผู้หญิงทุกคนมีค่าใช้จ่ายในการใช้ผ้าอนามัยเป็นจำนวนไม่น้อยเลย ดังนั้น ภาครัฐจึงควรทำให้ผ้าอนามัยมีราคาถูกและทุกคนสามารถเข้าถึงได้ ปัญหาการเข้าถึงผ้าอนามัยของผู้หญิงและเด็กหญิงนั้นเป็นปัญหาใหญ่ในหลายประเทศ รวมทั้งประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างสหรัฐอเมริกาด้วย เพราะประเทศเหล่านี้เก็บภาษีผ้าอนามัยเท่ากับภาษีแอลกอฮอล์และบุหรี่ และบางประเทศยังจัดผ้าอนามัยเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย ทำให้มีราคาสูงมาก ผู้หญิงและเด็กหญิงหลายคนจึงไม่มีเงินเพียงพอที่จะหาซื้อผ้าอนามัยมาใช้ได้ ยกตัวอย่างประเทศอินเดีย ผ้าอนามัยถือเป็นสินค้าฟุ่มเฟือย จัดเก็บภาษีในอัตรา 12% ทำให้ผู้หญิงและเด็กหญิง 4

Read More

ชองป์เซลีเซส์อาดูร

Column: From Paris ถนนชองป์เซลีเซส์ (avenue des Champs-Elysées) เป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีสที่ชาวฝรั่งเศสภาคภูมิใจ จุดเด่นอยู่ที่ประตูชัย (Arc de triomphe) ด้านหนึ่ง ซึ่งข้างใต้มีหลุมฝังศพของทหารนิรนาม และมีเพลิงไฟที่จุดอยู่ตลอดเวลา ณ ที่นี้เป็นสถานที่รัฐบาลฝรั่งเศสประกอบพิธีรำลึกที่เกี่ยวกับทหาร นอกจากนั้นชองป์เซลีเซส์ยังเป็นถนนที่ประธานาธิบดีทุกคนที่เมื่อได้รับมอบตำแหน่งแล้วจะนั่งรถยนต์ออกมาพบปะกับประชาชนที่มารอเฝ้าชมโฉมหน้าประธานาธิบดีคนใหม่ ประธานาธิบดีบางคนลงจากรถเพื่อไปสัมผัสมือกับประชาชน สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าแก่หน่วยรักษาความปลอดภัย เมื่อถึงวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม จะมีการสวนสนามไปตามถนนชองป์เซลีเซส์ ไปจบสิ้นที่ปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) อันเป็นที่ตั้งปะรำพิธี และเมื่อมีการฉลองที่เป็นความยินดีของชาวฝรั่งเศสทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นวันฉลองปีใหม่ การรวมตัวเพื่อแสดงความยินดีที่ฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์บอลโลก หรือการแห่ถ้วยบอลโลกล้วนแต่มาที่ชองป์เซลีเซส์ทั้งสิ้น การแข่งจักรยาน Tour de France จะมาสิ้นสุดที่ชองป์เซลีเซส์ หรือแม้แต่การรวมตัวในวาระต่างๆ ถนนชองป์เซลีเซส์ก่อสร้างในยุคสมัยของกษัตริย์หลุยส์ 14 ที่ประสงค์จะเดินทางจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Palais des Tuileries) ไปยังแวร์ซายส์ (Versailles) ได้สะดวก เพราะกำลังก่อสร้างปราสาทที่แวร์ซายส์อยู่

Read More

นักบินอวกาศ อาชีพที่ถูกมองว่าไม่เหมาะสำหรับผู้หญิง

Column: Women in Wonderland นักบินอวกาศเป็นอาชีพหนึ่งที่หลาย คนใฝ่ฝัน ไม่ว่าจะเป็นผู้หญิงหรือผู้ชายต่างก็สามารถเป็นนักบินอวกาศได้ หากสิ่งที่เกิดขึ้นในความเป็นจริง การจะเป็นนักบินอวกาศจะต้องผ่านการทดสอบมากมาย รวมถึงการทดสอบสมรรถภาพร่างกายให้พร้อมสำหรับการฝึกอย่างหนักในอนาคตเพื่อไปอาศัยอยู่ในอวกาศ ดังนั้น คนที่ผ่านการคัดเลือกเข้าไปเป็นนักบินอวกาศในแต่ละปีจึงมักจะเป็นผู้ชายมากกว่า องค์กร National Aeronautics and Space Administration หรือ NASA จะคัดเลือกคนที่จะเข้าไปเป็นนักบินอวกาศจากเกณฑ์เบื้องต้น ดังนี้ (1) ผู้สมัครจะต้องถือสัญชาติอเมริกัน (2) เรียนจบในสาขาวิศวกรรม วิทยาศาสตร์ชีวภาพ วิทยาศาสตร์กายภาพ หรือคณิตศาสตร์เท่านั้น สาขาอื่นๆ ที่ถือว่าเป็นสาขาใกล้เคียงไม่สามารถสมัครได้ (3) ต้องมีประสบการณ์ทำงานที่เกี่ยวข้องกับสายงานที่เรียนจบมาอย่างน้อย 3 ปี หรือมีชั่วโมงการบินในเครื่องบินเจ็ตอย่างน้อย 1,000 ชั่วโมง (4) จะต้องมีค่าสายตาปกติ (5) มีค่าความดันไม่เกิน 140/90 และ (6) มีความสูงระหว่าง 157.5-190.5 เซนติเมตร แม้ NASA จะกำหนดคุณสมบัติไว้มากมาย ก็มีผู้ที่สนใจจะเป็นนักบินอวกาศยื่นใบสมัครเป็นจำนวนมาก NASA

Read More

Paris School of Economics

Column: FROM PARIS ฝรั่งเศสภูมิใจมากที่ Esther Duflo ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2019 นี้ เพราะเธอเป็น “ผลผลิต” ของฝรั่งเศส Esther Duflo เกิดที่ปารีสในปี 1972 บิดาเป็นนักคณิตศาสตร์ ส่วนมารดาเป็นกุมารแพทย์ที่ไปร่วมทำงานด้านมนุษยธรรมอยู่เนืองๆ Esther Duflo จึงได้รับความบันดาลใจจากมารดา และเป็นจิตอาสาสำหรับ NGO หลายแห่ง เธอสอบเข้า Ecole normale supérieure ได้เป็นที่ 4 ได้ปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เพื่อนร่วมชั้นคือ Thomas Piketty แนะนำให้เธอเรียนเศรษฐศาสตร์ เธอได้ diplôme d’études approfondies จาก Ecole des hautes études en sciences sociales (EHESS) ได้ agrégation de sciences économiques

Read More

วิกฤตช่องว่างระหว่างรายได้ในประเทศสหราชอาณาจักร

Column: Women in Wonderland ปัญหาช่องว่างของรายได้ หรือ Gender Pay Gap เป็นปัญหาที่มีมานาน แต่รัฐบาลในเกือบทุกประเทศยังไม่สามารถลดช่องว่างรายได้ระหว่างผู้หญิงและผู้ชายที่ทำงานเหมือนกันได้ จากการเก็บรวบรวมข้อมูลใน The Global Gender Gap Report 2018 ซึ่งทำการสำรวจเรื่องช่องว่างของรายได้ โดยการใช้แบบสอบถาม พบว่าประเทศที่มีช่องว่างรายได้น้อยที่สุดในโลกคือ ไอซ์แลนด์ จากทั้งหมด 149 ประเทศ ตามด้วยสิงคโปร์เป็นลำดับที่ 2 สหรัฐอเมริกาอยู่ในลำดับที่ 8 ฟิลิปปินส์ลำดับที่ 9 ประเทศไทยอยู่ในลำดับที่ 20 สหราชอาณาจักรอยู่ในลำดับที่ 64 และลำดับสุดท้ายคือ ปารากวัย ไม่น่าแปลกใจที่ไอซ์แลนด์จะเป็นประเทศที่มีช่องว่างระหว่างรายได้น้อยที่สุดในโลก เพราะไอซ์แลนด์เพิ่งประกาศบังคับให้ทุกบริษัทต้องจ่ายเงินค่าจ้างทำงานระหว่างหญิงและชายที่ทำงานลักษณะเดียวกัน เท่ากัน โดยบริษัทใดก็ตามที่มีลูกจ้างมากกว่า 25 คน จะต้องแจ้งต่อรัฐบาลว่า ลูกจ้างผู้ชายและผู้หญิงในบริษัททำงานในตำแหน่งใด และได้รับค่าจ้างเท่าไร ถ้าหากบริษัทไม่จ่ายเงินเดือนให้ลูกจ้างที่ทำงานเหมือนกันจำนวนเงินที่เท่ากัน ทางบริษัทจะต้องชำระค่าปรับ กฎหมายนี้มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 1 มกราคม พ.ศ. 2562

Read More