Home > On Globalization (Page 26)

ธุรกิจบริการขุดเจาะน้ำมันรวยเงียบและรุ่ง

ความสำเร็จของ Schlumberger ชี้ให้เห็นการเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจครั้งใหญ่ในอุตสาหกรรมน้ำมันเทคโนโลยีการขุดเจาะน้ำมันแบบ “directional drilling” กำลังเปลี่ยนแปลงสมดุลแห่งอำนาจในธุรกิจพลังงาน เทคโนโลยีที่ว่าสามารถควบคุมทิศทางการขุดบ่อน้ำมันเป็นเส้นตรงได้ลึกหลายกิโลเมตร และสามารถเลี้ยวหักศอกเพื่อขุดต่อไปในแนวนอน ได้อีกไกลถึง 12 กิโลเมตรลองคิดดูเล่นๆ ว่า หาก Schlumberger บริษัทให้บริการขุดเจาะน้ำมัน (oilfield services: OFS) สามารถนำเทคโนโลยีใหม่ นี้ไปประยุกต์สำหรับวางท่อส่งน้ำมันในแนวตั้งตรงดิ่งลงมาจากตึกสูงระฟ้าอย่าง Empire State จากนั้นก็หักเลี้ยวท่อน้ำมันต่อไปในแนวนอน จนไปถึงรถทุกคันที่จอดอยู่ในถนนใกล้เคียงได้ อะไรจะเกิดขึ้นเทคโนโลยีดังกล่าวช่วยขยายการทำงานของแท่นเจาะให้ครอบคลุมพื้นที่ได้มากขึ้น ตัวอย่างเช่นบ่อน้ำมันที่ Schlumberger ขุดให้แก่บริษัทน้ำมันในแคนาดาแห่งหนึ่งมีความลึก 4,000 เมตร (13,000 ฟุต) บวกกับการเจาะในแนวนอนที่สามารถเจาะไปได้ไกลถึง 2,000 เมตร (6,500 ฟุต) ห่างจากแท่นเจาะนอกจากนี้อุปกรณ์ขุดเจาะที่อยู่ในเครื่องมือที่เรียกว่า drill-string ซึ่งเป็นเหล็กกล้ายังสามารถวัดและอ่านค่าต่างๆ ของสภาพแวดล้อมใต้ดินได้มากขึ้นอีกหลายสิบค่า อย่างเช่น ค่ากัมมันตภาพรังสีในหินที่อยู่โดยรอบ ค่าความต้านทานแม่เหล็กไฟฟ้า เป็นต้น นี่คือความสามารถและเทคโนโลยีขั้นเอกอุของ บริษัทประเภท OFS ซึ่งยากจะหา บริษัทใดมาเทียบได้บริษัท OFS อย่างเช่น Schlumberger เป็นเสมือนม้าใช้ที่ปิดทองหลังพระตัวจริงในอุตสาหกรรมน้ำมันโลก บริษัทเหล่านี้รับทำงานหนักส่วนใหญ่ที่เกี่ยวกับการสำรวจ ค้นหาและขุดเจาะน้ำมันและก๊าซเกือบทั้งหมดแต่กลับไม่เคยมีชื่อเสียงเป็นที่รู้จัก เหมือนกับบริษัทน้ำมันข้ามชาติยักษ์ใหญ่ที่เป็นผู้ว่าจ้าง ซึ่งเรารู้จักกันดีอย่างเช่น Exxon-Mobil หรือ BP อย่างไรก็ตาม บริษัท OFS ก็ได้รับผลตอบแทนที่คุ้มค่าจากการมีรายได้ที่งดงามและร่ำรวยมหาศาลแบบเงียบๆSchlumberger ซึ่งมีสำนักงานใหญ่ในปารีสและฮุสตันและ มีสำนักงาน 34 แห่งในเมือง Aberdeen เมืองน้ำมันในสกอตแลนด์ มีผลกำไรสุทธิ 5,000 ล้านดอลลาร์ จากรายได้ก่อนหักค่าใช้จ่าย 40,000 ล้านดอลลาร์เมื่อปีกลาย (2011)

Read More

เศรษฐกิจโลกในกำมือผู้หญิงชื่อ Angela Merkel

เศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายและจะรอดหรือไม่ ขึ้นอยู่กับผู้หญิงเพียงคนเดียว “ทุกคน ไปที่เรือชูชีพเดี๋ยวนี้!!!!” คือสัญญาณอันตรายที่ตลาดกำลังส่งออกมาว่าเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตรายอย่าง ใหญ่หลวง นักลงทุนจึงพากันเร่งรีบกว้านซื้อพันธบัตรรัฐบาลอย่าง สหรัฐฯ เยอรมนี และประเทศที่ถูกมองว่า “ปลอดภัย” ซึ่งมีเพียงหยิบมือเดียว และยังลดจำนวนลงเรื่อยๆ ในขณะที่นักลงทุนยอมควักกระเป๋าจ่ายเงินซื้อพันธบัตรรัฐบาลเยอรมนีอายุ 2 ปี และเต็มใจที่จะจ่ายเงินซื้อพันธบัตรระยะยาวของรัฐบาลอเมริกัน ที่ต้องถือนานถึง 10 ปี ด้วยดอกเบี้ยหน้าตั๋วเพียงน้อยนิดไม่ถึง 1.5% นั้น นักลงทุนเหล่านั้นกำลังแสดงว่าพวกเขากลัวว่าเศรษฐกิจโลกจะซบเซา หรือจะเกิดภาวะเงินฝืดไปอีกนานหลายปี ไม่ว่าสิ่งที่นักลงทุนกลัวจะเกิดขึ้นหรือไม่ แต่ที่แน่ๆ คือมีอะไรบางอย่างที่ผิดปกติมากๆ กำลังเกิดขึ้นกับเศรษฐกิจโลกอยู่ในขณะนี้ “อะไรบางอย่าง” นั้นคือเศรษฐกิจโลกกำลังตกอยู่ในอันตราย และหายนะครั้งใหญ่ทางการเงินโลกกำลังจะเกิดขึ้น ขณะนี้เศรษฐกิจ กำลังอ่อนแอทั่วโลก ภาวะเศรษฐกิจถดถอยในกลุ่มประเทศ euro zone กำลังดิ่งลึก ตัวเลขคนมีงานทำที่เบาหวิวติดต่อกัน 3 เดือนของ สหรัฐฯ แสดงว่าการฟื้นตัวของสหรัฐฯ ก็กำลังมีปัญหา หันไปทางประเทศตลาดเกิดใหม่ขนาดใหญ่ ก็ดูเหมือนหัวจะชนเพดานแล้วเช่นกัน GDP ของบราซิลขณะนี้โตช้ากว่าของญี่ปุ่นเสียอีก ส่วนอินเดียก็กำลังแย่เลยทีเดียว แม้กระทั่งจีน

Read More

ประธานาธิบดีฝรั่งเศสคนใหม่

ตอนแรก เขาเปียกมะล่อกมะแล่ก เพราะฝนที่ตกกระหน่ำ ลงมาอย่างหนัก ขณะนั่งรถเปิดประทุนไปตามถนน Champs-Elysee เพื่อเข้าพิธีสาบานตนรับตำแหน่ง จากนั้นเครื่องบินประจำตำแหน่งของเขาถูกฟ้าผ่า หลังจากเพิ่งบินออกจากฝรั่งเศส เพื่อมุ่งหน้าไปยังกรุงเบอร์ลิน ทำให้ต้องบินกลับไปยังปารีสอีกครั้ง เพื่อเปลี่ยนเครื่องบินลำใหม่ แม้ว่า Francois Hollande ซึ่งสาบาน ตนเป็นประธานาธิบดีคนใหม่ของฝรั่งเศสเมื่อวันที่ 15 พฤษภาคมที่ผ่านมา ในพิธีสาบานตนที่จัดขึ้นอย่างสมถะที่พระราชวัง Elysee Palace ประกาศว่า เขาจะเป็นประธานาธิบดีฝรั่งเศสที่ “ปกติธรรมดา” แต่เพียงช่วงไม่กี่ชั่วโมงแรกที่เขาได้เป็นประธานา ธิบดีฝรั่งเศสก็ไม่ปกติธรรมดาเสียแล้ว อย่างไรก็ตาม Hollande มิได้แสดงอาการสะทกสะท้านและยังคงมุ่งมั่นที่จะเป็นประธานา ธิบดีที่ “สง่างามแต่เรียบง่าย” ตามที่เขาตั้งใจ Hollande เคร่งขรึมสุขุมคล้ายกับประธานาธิบดีที่มาจากพรรค Socialist เพียงคนเดียวของฝรั่งเศส นั่นคือ Francois Mitterrand ก่อนที่ Hollande จะเป็นผู้มาทำลายสถิตินี้ ด้วยการ ก้าวขึ้นบันไดพระราชวัง Elysee Palace ในฐานะประธานาธิบดีจากพรรคสังคมนิยมคนที่ 2 เขาโบกมืออำลา

Read More

Arab Spring สิ้นมนต์ขลัง

การลุกฮือของประชาชนในโลกอาหรับผ่านไป 1 ปีแล้ว แต่ประชาธิปไตยกลับยังคงไม่อาจลงหลักปักฐานในโลกอาหรับได้ เหตุใดจึงเป็นเช่นนั้น   1 ปีผ่านไปแล้ว สำหรับการลุกฮือของประชาชนในหลายประเทศในโลกอาหรับ ที่เรียกกันว่า Arab Spring ซึ่งเคยทำให้โลกต้องจับตามองภูมิภาคนี้อย่างตื่นเต้น และจินตนาการบรรเจิดว่า จะต้องได้เห็นการเปลี่ยนแปลงที่ดีในโลกอาหรับ แต่มาบัดนี้ ดูเหมือนว่า Arab Spring จะไม่ได้ให้ความหวังที่งดงามเท่าที่คิด ความหวังที่จะเห็นการเกิดใหม่ของเสรีภาพในภูมิภาคตะวันออก กลาง ดูหม่นหมองลงไปมาก เมื่อเทียบกับความเป็นจริงที่เกิดขึ้นซึ่งมีแต่ความยุ่งยากลำบาก โดยเฉพาะในอียิปต์ ซึ่งมีทั้งการทำร้าย ชาวคริสต์ ทำร้ายเจ้าหน้าที่บรรเทาทุกข์ต่างชาติจากตะวันตก และทำร้ายผู้หญิง ยิ่งเมื่อการเลือกตั้งประธานาธิบดีในอียิปต์กำลัง ใกล้เข้ามาทุกที เราได้เห็นผู้สมัคร 2 คนที่ล้วนแต่มาจากพรรคการ เมืองมุสลิม คือ Khairat al-Shater และ Hazem Salah Abu Ismail โดยคนแรกเป็นพวกสายกลาง ส่วนคนหลังเป็นพวกหัวรุนแรง แม้ว่าสิ่งที่เราเห็นว่ากำลังเกิดขึ้นในโลกอาหรับในขณะนี้ อาจเป็นเพียงความสับสนอลหม่านเพียงชั่วคราว ซึ่งย่อมเกิดขึ้นได้ หลังจาก การสิ้นสุดยุคเผด็จการที่ครองอำนาจมานานหลายทศวรรษ และการที่เพิ่งผงาดขึ้นมาของพลังที่ถูกกดขี่ไว้มานาน แต่คำถามมีอยู่ว่า ทำไมจึงดูเหมือนเป็นเรื่องที่ยุ่งยากนักที่ประชาธิปไตยจะลงหลักปักฐานลงในโลกอาหรับ   ศาสตราจารย์ Eric Chaney ศาสตราจารย์ด้านเศรษฐ-ศาสตร์ จากมหาวิทยาลัย Harvard ได้ทำการศึกษาที่อาจช่วยตอบ คำถามข้างต้นได้ Chaney ตั้งคำถามว่า ทำไมจึงเกิด “ประชา ธิปไตยขาดดุล” (democracy deficit) ขึ้นในโลกอาหรับ และได้หักล้างทฤษฎีหลายอย่างที่ไม่ใช่คำตอบของคำถามข้างต้น

Read More