Home > On Globalization (Page 19)

ชื่อนั้นสำคัญไฉน?

 จุดเริ่มต้นการค้นหาคุณค่าความหมายของนักเดินทางท่องเที่ยว เพื่อฝ่าผจญไปในโลกกว้างส่วนใหญ่ มักมีที่มาจากความสงสัยในชื่อบ้านนามเมือง เพราะสิ่งเหล่านี้คงสะท้อนความเป็นมาและเป็นไป อีกทั้งยังแฝงเคลือบด้วยเสน่ห์มายาแห่งทัศนคติที่อยู่รายล้อมให้ได้พินิจพิจารณากันอย่างไม่รู้จบและรู้เหนื่อยกันเลย กรณีดังกล่าวนี้ ดูจะสอดรับได้ดีกับวิถีความเป็นมาและเป็นไปของศรีลังกา ซึ่งสามารถสืบย้อนเรื่องราวไปได้ไกลถึงยุคก่อนประวัติศาสตร์นานกว่า 5 แสนปี หรืออย่างน้อยก็ยาวนานกว่า 1.25 แสนปี หรือกล่าวอีกนัยหนึ่งมีหลักฐานปรากฏการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์ในดินแดนแห่งนี้มาตั้งแต่ยุค Paleolithic และยุค Mesolithic ไล่เรียงสู่ยุคโลหะที่ยาวนานในประวัติศาสตร์มนุษยชาติ ความเก่าคร่ำของดินแดนแห่งนี้ ดำเนินไปพร้อมกับคำกล่าวขานเรียกนามที่แตกต่างกันไปในแต่ละยุคสมัย และจากการจดบันทึกของผู้ผ่านทางที่มีมาอย่างหลากหลายชาติพันธุ์ และจากอารยธรรมที่มีจุดหมายและเริ่มต้นมาจากดินแดนที่ไกลออกไป ชื่อเสียงเรียงนามที่ดินแดนแห่งนี้ได้รับการจดจำมีอยู่มากมายหลากหลายชื่อ แต่ที่คุ้นเคยและมีรากฐาน นับถอยหลังกลับไปได้ไกลถึงกว่า 7,000 ปี ก็คงต้องเริ่มจาก “ลังกาหรือลงกา” ที่ปรากฏอยู่และเกี่ยวเนื่องอยู่ในมหากาพย์รามายะนะ ของอินเดีย หากพิจารณาโดยรากศัพท์จากที่มาของคำว่า Lanka ซึ่งเชื่อว่าเป็นคำศัพท์จากกลุ่มภาษา Austro-Asiatic แล้ว ลังกา หมายถึงภูมิประเทศทั่วไปที่เป็นเกาะ ซึ่งดูเหมือนว่าคำว่า Lanka นี้ จะไม่ได้มีใช้เฉพาะในศรีลังกาเท่านั้น หากแต่ชนพื้นถิ่นในหมู่เกาะใหญ่น้อยในมหาสมุทรอินเดียและบางส่วนของเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ได้รับอิทธิพลทางภาษามาใช้แป็นสร้อยคำเรียกขานดินแดนของพวกเขาอยู่ไม่น้อยเช่นกัน แต่สำหรับนักเดินทางสำรวจจากแดนไกล ดินแดนแห่งนี้ได้รับการเรียกขานด้วยชื่ออื่นๆ โดยนักภูมิศาสตร์ชาวกรีกระบุถึงดินแดนแห่งนี้ด้วยคำว่า Taprobane หรือ Taprobana เพื่อระบุถึงอาณาจักร Tambapanni หรือ Thambapanni ซึ่งเป็นราชอาณาจักรแรกๆ ที่ได้สถาปนาอำนาจการปกครองขึ้นในศรีลังกาในช่วง

Read More

พหุสังคม

 การเดินทางเยือนศรีลังกาอย่างเป็นทางการขององค์พระสันตะปาปา Francis (Pope Francis) แห่งคริสตจักรโรมันคาทอลิก หากประเมินอย่างเพียงผิวเผิน ก็คงเป็นเพียงพิธีกรรมการเยือนที่ไม่น่าจะมีสิ่งใดให้ตื่นตาตื่นใจมากนัก และก็คงเป็นเพียงวงรอบของการเยือนที่ผูกพันอยู่กับแบบพิธีทางการทูตเท่านั้น แต่หากประเมินจากห้วงเวลาและสถานการณ์ระดับนานาชาติที่ปรากฏเป็นข่าวตลอดช่วงสัปดาห์ก่อนและหลังการเยือนเอเชีย 6 วัน (ศรีลังกาและฟิลิปปินส์) ดูเหมือนว่าทั่วโลกต่างให้ความสนใจกับการเสด็จเยือนศรีลังกาขององค์สมเด็จพระสันตะปาปาไม่น้อยเลย ในด้านหนึ่งเพราะศรีลังกาเพิ่งผ่านการเลือกตั้งประธานาธิบดีก่อนหน้าการเสด็จเยือนได้เพียง 3 วัน ซึ่งก่อนหน้านี้กำหนดการดังกล่าวได้รับการวิพากษ์วิจารณ์ว่าเป็นความพยายามที่จะให้การรับรองและสร้างความชอบธรรมให้ผลการเลือกตั้งที่คาดหมายว่า Mahinda Rajapaksa อดีตประธานาธิบดีจะได้รับเลือกตั้งกลับเข้ามาอย่างง่ายดาย แต่ผลการเลือกตั้งกลับไม่เป็นไปตามที่คาดการณ์ไว้ ขณะเดียวกันด้วยเหตุที่ศรีลังกาเป็นพหุสังคมที่มีความแตกต่างหลากหลายทั้งในมิติของเชื้อชาติ และความเชื่อทางศาสนาวัฒนธรรม แม้จะมีพื้นฐานจากสังคมพุทธที่แน่นหนาก็ตาม ทำให้ประเด็นการเยือนของสันตะปาปาในห้วงยามที่โลกกำลังระอุไปด้วยทัศนะที่แตกต่างทางความเชื่อและความชิงชังระหว่างผู้ที่อยู่ต่างวัฒนธรรมได้รับความสนใจเป็นพิเศษ ความน่าสนใจของการเยือนครั้งนี้ในด้านหนึ่งอยู่ที่การเชิญผู้นำทางศาสนาหลักๆ ทุกศาสนาในศรีลังกาเข้าร่วมอยู่บนเวทีเดียวกับองค์สันตะปาปา โดยมีฉากหลังเป็นสัญลักษณ์ของศาสนาพุทธ ฮินดู อิสลาม และคริสต์ ปรากฏอย่างเด่นชัดและเป็นภาพที่ได้รับการเผยแพร่ไปทั่วโลก ยิ่งไปกว่านั้น เนื้อความในสุนทรพจน์ที่องค์สันตะปาปามีต่อสาธารณชนที่ให้การต้อนรับ ได้สะท้อนวิถีความคิดว่าด้วยการดำรงอยู่ร่วมกันอย่างสันติและการสร้างความปรองดองท่ามกลางความแตกต่างในความเชื่อและวัฒนธรรมที่ทรงพลังและเป็นแรงบันดาลใจ ไม่เฉพาะกับศรีลังกาที่ดำรงอยู่ท่ามกลางความขัดแย้งและสงครามกลางเมืองมานานเกือบ 3 ทศวรรษเท่านั้น  หากแต่เป็นการสื่อสารไปถึงพลโลกในยุคพหุสังคม ที่กำลังขาดแคลนความเข้าใจในวัฒนธรรมที่หลากหลายรอบข้างด้วย ประวัติการณ์แห่งความเป็นมาและเป็นไปของดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกาในปัจจุบันที่สืบย้อนไปได้ไกลนับพันนับหมื่นปี ประกอบกับสภาพภูมิประเทศที่เป็นประหนึ่งจุดยุทธศาสตร์ในการเดินเรือตามเส้นทางการค้า ทำให้ศรีลังกากลายเป็นที่ต้องการและเป็นเวทีประลองกำลังของชาติมหาอำนาจมาอย่างต่อเนื่อง ไล่เรียงจากโปรตุเกส มาสู่ดัตช์ ก่อนที่อังกฤษจะเบียดแทรกเข้ามาครอบครองและดูดซับความมั่งคั่งจากดินแดนแห่งนี้อย่างยาวนาน ซึ่งต่างทำให้เกิดพหุสังคมที่มีความหลากหลายทั้งในมิติของชาติพันธุ์ ศาสนาและวัฒนธรรมบนดินแดนแห่งนี้ จำนวนประชากรศรีลังกาที่มีอยู่ประมาณ 22 ล้านคน ดำเนินไปท่ามกลางความหลากหลายทั้งในมิติของชาติพันธุ์ ซึ่งประกอบด้วยชาวสิงหล (ร้อยละ 74.88) ชาวศรีลังกาทมิฬ (ร้อยละ 11.2) ศรีลังกันมัวร์

Read More

Femicide – เมื่อผู้หญิงถูกคนรักทำร้ายจนถึงตายในประเทศอิตาลี

 ความรุนแรงในครอบครัวเป็นปัญหาใหญ่ในสังคมของทุกประเทศทั่วโลก จากสถิติขององค์การสหประชาชาติเมื่อปี 2556 พบว่า 35% ของผู้หญิงทั่วโลกเคยตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงในครอบครัวไม่ว่าจะเป็นการถูกทำร้ายร่างกายหรือการถูกบังคับขืนใจจากคนรักหรือคนในครอบครัว และสูงถึงสองเท่าหรือ 70% ในประเทศเอธิโอเปีย  จากสถิติยังพบอีกว่าผู้หญิงที่อยู่อาศัยในเขตชนบทในประเทศกำลังพัฒนาจะมีโอกาสตกเป็นเหยื่อของความรุนแรงมากกว่าผู้ที่อาศัยอยู่ในเมือง ถึงแม้ว่าทุกวันนี้หลายๆ ประเทศทั่วโลกจะหันมาให้ความใส่ใจกับปัญหานี้มากขึ้น ด้วยการประกาศใช้กฎหมายต่างๆ เพื่อยุติปัญหาความรุนแรงในครอบครัว แต่ปัญหานี้ก็ไม่มีแนวโน้มว่าจะลดน้อยลงเลย เมื่อมีจำนวนผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกายจากคนรักมากขึ้น และมีจำนวนไม่น้อยเลยที่ถูกทำร้ายจนถึงขั้นเสียชีวิต คำว่า Femicide ที่มีความหมายว่า ผู้หญิงที่ถูกฆ่าตายด้วยน้ำมือของคนรักหรือคนในครอบครัวจึงได้ถูกนำมาใช้อย่างแพร่หลายทั่วโลก เพื่อแสดงให้เห็นถึงความรุนแรงของปัญหานี้ที่ต้องได้รับการแก้ไข ปัจจุบันนี้มีผู้หญิงที่ถูกฆ่าตายจากคนใกล้ตัวมากกว่า 66,000 คนต่อปี หรือมากกว่า 180 คนต่อวัน องค์การสหประชาชาติได้รายงานเกี่ยวกับเรื่องนี้ว่า มีจำนวนผู้หญิงที่มีอายุระหว่าง 15–45 ปี เสียชีวิตเพราะถูกทำร้ายร่างกายจากคนที่รักมากกว่าจำนวนผู้ที่เสียชีวิตด้วยโรคมะเร็ง ไข้มาลาเรีย และอุบัติเหตุจากทางรถยนต์รวมกันซะอีก ประเทศอิตาลีเป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว แต่ยังคงมีปัญหาเรื่องความรุนแรงในครอบครัวในสัดส่วนที่สูงอยู่ ในปี 2555 องค์การสหประชาชาติได้พูดถึงประเทศอิตาลีเกี่ยวกับเรื่องความรุนแรงในครอบครัวว่า เป็นรูปแบบของความรุนแรงที่ถูกใช้อย่างแพร่หลายมากที่สุดในประเทศอิตาลี เรียกได้ว่าปัญหาความรุนแรงในครอบครัวที่เกิดขึ้นในประเทศอิตาลีนั้นแทบจะกลายเป็นเรื่องธรรมดาสามัญเหมือนกับเหตุการณ์รถชนกันบนถนนในบ้านเรา ที่ประเทศอิตาลี ทุกๆ สองหรือสามวันจะมีผู้หญิงถูกฆ่าตายจากสามีหรืออดีตสามีของพวกเธอ ในปี 2556 มีผู้หญิงที่ถูกฆ่าตายด้วยน้ำมือของคนรักถึง 130 คน กระทรวงมหาดไทยของประเทศอิตาลียังได้เปิดเผยข้อมูลสถิติที่อ้างอิงมาจาก Eures ว่า ในปี 2556

Read More

AYUBOWAN Sri Lanka!

ก่อนอื่นขอกล่าวคำว่า สวัสดีปีใหม่ สำหรับผู้อ่านทุกท่าน เชื่อว่าตลอดช่วงเทศกาลส่งท้ายปีเก่าต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมา ท่านผู้อ่านจะได้ใช้เวลากับครอบครัวและร่วมกิจกรรมการกุศลหลากหลายเพื่อเป็นการเริ่มต้นศักราชใหม่ที่สดใสกว่าเดิมสำหรับดินแดนในมหาสมุทรอินเดียที่มีชื่อเรียกว่าศรีลังกานี้ คำกล่าวทักทายของที่นี่ดูจะเรียบง่ายแต่ให้ความหมายลึกซึ้งไม่ยิ่งหย่อนไปกว่าคำว่า สวัสดี ในภาษาไทยเท่าใดนัก ผู้คนที่นี่ กล่าวคำว่า Ayubowan ซึ่งอ่านออกเสียงเป็นภาษาไทยแบบบ้านเราได้ว่า “อายุบวร” ซึ่งหมายถึงการอำนวยพรให้ผู้รับมีอายุที่ยืนยาว โดยสามารถกล่าวได้ทั้งในฐานะที่เป็นคำทักทายเมื่อได้พบกันและเป็นคำบอกลาในยามที่ต้องแยกย้ายจากกัน อายุบวร เป็นคำที่มีรากฐานมาจากภาษาสิงหลและมีความเกี่ยวเนื่องกับความเป็นสังคมพุทธของศรีลังกาไม่น้อยเลย ขณะที่ท่วงทำนองของการกล่าวคำทักทายนี้ประกอบส่วนด้วยการพนมมือแนบอก และค้อมตัวไปข้างหน้าเล็กน้อย ส่งสัญญาณแห่งความเป็นมิตรไมตรีที่สัมผัสได้ทันทีที่ได้พบเห็น ป้ายประชาสัมพันธ์และต้อนรับที่ปรากฏอยู่โดยรอบท่าอากาศยาน Bandaranaike International Airport หรือ Colombo International Airport ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งด่านหน้าในการทักทายอาคันตุกะผู้มาเยือนจากต่างแดนให้ได้ซึมซับวัฒนธรรมของศรีลังกาตั้งแต่เริ่มเหยียบย่างเข้าสู่ดินแดนที่เปี่ยมด้วยอารยธรรมและวัฒนธรรมแห่งนี้ ที่สำคัญยิ่งไปกว่านั้นก็คือ ท่วงทำนองของวัฒนธรรมที่ว่านี้ไม่ได้สถิตนิ่งงันอยู่เฉพาะในแผ่นป้ายประชาสัมพันธ์ที่ไร้ชีวิต หากแต่ยังเป็นวิถีปฏิบัติที่พบเห็นได้จากผู้คนทั่วไปที่มีชีวิตอยู่จริงทั้งในท้องถนนและสถานที่ต่างๆ ความลื่นไหลของ Ayubowan ยังแผ่ออกไปไกลกลายเป็นชื่อของรายการสดของโทรทัศน์ภาคเช้า Ayubowan Sri Lanka ที่มีความยาวของรายการนานกว่า 4 ชั่วโมงในแต่ละวัน ออกอากาศทางสถานีโทรทัศน์ Swarmavahini ซึ่งถือเป็นสถานียอดนิยมด้านข่าวและรายการบันเทิงชั้นนำของศรีลังกาในปัจจุบัน รวมถึงรายการ Ayubowan Subha Dawasak (Ayubowan, Have a nice day) รายการโทรทัศน์ของ Sri Lanka

Read More

บริบทใหม่

 การเดินทางของชีวิต กำลังจะเปลี่ยนผ่านเข้าสู่หลักไมล์ใหม่อีกครั้ง ในช่วงส่งท้ายปีเก่า-ต้อนรับปีใหม่ ซึ่งคงสร้างแรงบันดาลใจและการกำหนดนิยามสำหรับการดำเนินชีวิตในรอบปีถัดไปไม่น้อย สังคมญี่ปุ่นซึ่งเพิ่งผ่านการเลือกตั้งครั้งใหม่ไปเมื่อกลางเดือนธันวาคมที่ผ่านมา โดย Shinzo Abe และพลพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ของเขาสามารถกลับมาครองที่นั่งในสภาเพื่อเดินหน้า  Abenomics กำลังได้รับการประเมินครั้งใหม่ว่าจะเป็นเพียงมายาภาพที่ถูกสร้างขึ้นหรือเป็นรูปธรรมแห่งการหลุดพ้นจากภาวะเศรษฐกิจถดถอยที่ยาวนานกันแน่ ปรากฏการณ์ทางสังคมของญี่ปุ่นนับจากนี้จึงอยู่ในช่วงหัวเลี้ยวหัวต่อของบริบทใหม่ ที่ทับท่วมด้วยความคาดหวัง และ Shinzo Abe คงต้องตระหนักอย่างมั่นคงว่า “ไม่มีผู้ใดสะดุดภูเขาที่สูงใหญ่จนหกล้ม หากแต่สะดุดหินก้อนเล็กๆ จนหัวคะมำ” เพราะนับจากนี้ การดำเนินกิจกรรมตามนโยบายของ Abenomics จะถูกตั้งคำถามถึงความเหมาะสมและความโปร่งใส โดยเฉพาะในมิติของการคอร์รัปชั่น ซึ่งดูเหมือนจะเป็นมะเร็งร้ายในทุกสังคมที่พยายามบอกกล่าวถึงความดีที่เหนือจริงเสมอ สังคมญี่ปุ่นกำลังก้าวสู่บริบทใหม่ทางเศรษฐกิจจากความพยายามรื้อสร้างตามยุทธศาสตร์การพัฒนาแบบ Abenomics ซึ่งในด้านหนึ่งก็คือการส่งออกความเป็นญี่ปุ่นให้แผ่ซ่านและกลายเป็นสินค้าระดับนำให้ประชาชนนานาชาติได้เลือกเสพรับ แนวทางดังกล่าวสะท้อนมิติของการเป็น creativity society ที่พร้อมจะสอดแทรกลักษณะเฉพาะแบบญี่ปุ่น (Japanese uniqueness) ที่จะก่อรูปเป็นสินค้าเชิงวัฒนธรรมที่สามารถสร้างมูลค่าเพิ่มได้อย่างเป็นกอบเป็นกำ และยังกระตุ้นให้เกิดสำนึกแห่งความเป็นชาติของญี่ปุ่น ที่ดำเนินควบคู่กับความพยายามที่จะปลูกฝังและสร้างให้เกิดแนวความคิดชาตินิยมในหมู่เยาวชนญี่ปุ่นด้วย ความพยายามที่จะมุ่งเน้นให้ประชาชนซึ่งเผชิญอยู่กับเศรษฐกิจที่ถดถอยมายาวนานให้มีสำนึกรักและภาคภูมิใจในความเป็นญี่ปุ่นนี้เอง ที่ทำให้ Shinzo Abe นักการเมืองแนวอนุรักษ์และชาตินิยม ได้รับการประเมินด้วยสายตาที่เคลือบแคลง ว่าจะนำพาความสัมพันธ์กับประเทศเพื่อนบ้านทั้งเกาหลี และมหาอำนาจอย่างจีนไปในทิศทางใด ทรัพยากรทางความคิดและการผลิตของญี่ปุ่น อาจเป็นจุดเด่นและความแข็งแกร่งของญี่ปุ่น ที่ทำให้สินค้าดีที่ไม่มีแบรนด์หรือ MUJI (Mujirushi Ryohin)

Read More

ล่วงละเมิดทางเพศหรือมนุษยสัมพันธ์ดี

  การล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานเป็นเรื่องที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ ถึงแม้ว่าเกือบทุกประเทศจะให้ความสำคัญกับเรื่องนี้และออกกฎหมายมาเพื่อคุ้มครองลูกจ้างทุกคน แต่ก็ยังมีลูกจ้างจำนวนไม่น้อยที่ยังถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงาน ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อมีทั้งออกมาร้องเรียนต่อหัวหน้า และผู้ที่ไม่กล้าร้องเรียนเพื่อเอาผิดผู้ที่พยายามล่วงละเมิดทางเพศพวกเขา  ส่วนหนึ่งที่ทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนไม่กล้ารายงานเกี่ยวกับการถูกล่วงละเมิดในที่ทำงานให้หัวหน้าระดับสูงได้รับรู้ก็เพราะ  1) พวกเขาไม่มั่นใจว่าเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นนั้นถือเป็นการล่วงละเมิดทางเพศหรือไม่ เพราะถ้าพวกเขารายงานไปแล้ว ผู้ที่ทำการล่วงละเมิดทางเพศออกมาแก้ว่า เป็นการเข้าใจผิด เขาไม่ได้ทำการล่วงละเมิดทางเพศใดๆ ทั้งสิ้น เพียงแต่เป็นการหยอกเล่นเท่านั้น ก็อาจจะทำให้ผู้ที่ร้องเรียนเกิดความอับอาย และเพื่อนร่วมงานอาจจะคิดว่าตัวผู้ร้องเรียนอาจจะคิดมากไปเอง และทำให้ในที่สุดไม่มีใครกล้าเข้ามาเล่นด้วย ถึงแม้ว่าในความเป็นจริงแล้วผู้ร้องเรียนอาจจะเข้าใจถูกต้องแล้วว่าตัวเองถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานจริงๆ และ 2) ผู้ที่ทำการล่วงละเมิดทางเพศนั้นเป็นหัวหน้างาน ทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนกลัวที่จะร้องเรียนต่อบริษัทว่าพวกเธอถูกหัวหน้างานล่วงละเมิดทางเพศ เพราะการร้องเรียนอาจจะส่งผลกระทบต่อหน้าที่การงานที่พวกเธอทำอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งถ้าพวกเธอร้องเรียนไปแล้ว เกิดบริษัทตัดสินว่า ไม่เป็นการล่วงละเมิดทางเพศผู้ที่เป็นหัวหน้าก็อาจจะหาทางกดดันจนพวกเธอต้องลาออกจากงานในที่สุด สองเหตุผลที่กล่าวมาข้างต้นนี้ เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้ลูกจ้างส่วนใหญ่ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานตัดสินใจที่จะเก็บเรื่องนี้ไว้กับตัวและไม่แจ้งให้หัวหน้ารับทราบ เรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานเป็นเรื่องที่นายจ้างและเจ้าของบริษัทไม่ควรละเลยหรือวางเฉย เพราะถ้าหากมีการล่วงละเมิดทางเพศเกิดขึ้นในที่ทำงานแล้ว และไม่มีการจัดการเรื่องนี้อย่างจริงจัง ก็อาจจะทำให้ลูกจ้างหลายๆ คนตัดสินใจลาออกจากงานที่ทำอยู่ และทำให้บริษัทอาจจะเสียบุคลากรที่สำคัญไป อย่างที่กล่าวไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า เรื่องการถูกล่วงละเมิดในที่ทำงานนั้นเกิดขึ้นในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างประเทศสหรัฐอเมริกา อังกฤษ นิวซีแลนด์ ออสเตรเลีย และฝรั่งเศส เป็นต้น ซึ่งในบทความนี้จะขอกล่าวถึงเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศในที่ทำงานที่ประเทศนิวซีแลนด์ เพราะเพิ่งเกิดเป็นข่าวใหญ่เมื่อช่วงสิ้นปีที่ผ่านมา  ก่อนอื่นต้องขอบอกก่อนว่า ที่ประเทศนิวซีแลนด์นี้ให้ความสำคัญกับเรื่องการล่วงละเมิดทางเพศเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะในสถานศึกษา เช่นโรงเรียนและมหาวิทยาลัย เป็นต้น หรือในที่ทำงาน ถ้าหากคุณเดินเข้าไปในองค์กรต่างๆ ของภาครัฐ คุณจะไม่แปลกใจเลยว่าคุณจะต้องเห็นโปสเตอร์อย่างน้อยหนึ่งแผ่นที่กล่าวถึงเรื่องของการล่วงละเมิดทางเพศ ที่ให้คำแนะนำวิธีการร้องเรียนไปยังบุคคล

Read More

ABENOMICS

 นับตั้งแต่ต้นปี 2013 ที่ผ่านมา วลียอดฮิตในหมู่นักวิเคราะห์เศรษฐกิจญี่ปุ่นคงหนีไม่พ้น Abenomics ที่เป็นประหนึ่งแนวทางในการบริหารเศรษฐกิจการคลังของรัฐนาวาญี่ปุ่น ภายใต้การนำของ Shinzo Abe ที่หวนกลับมาดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่นอีกครั้ง ภายหลังชัยชนะในการเลือกตั้งเมื่อปลายปี 2012 ที่ผ่านมา Abenomics กลายเป็นความหวังครั้งใหม่ที่ Shinzo Abe และพลพรรคเสรีประชาธิปไตย (LDP: Liberal Democratic Party) ได้ใช้ในการหาเสียง และทำให้พรรค LDP กลับเข้าสู่วงแห่งอำนาจได้อีกครั้งในเวลาต่อมา ภายใต้ความเชื่อที่ว่ากลไกของ Abenomics จะช่วยประคับประคองเศรษฐกิจญี่ปุ่นให้หวนคืนกลับมาสู่ความมั่งคั่งและรุ่งเรืองได้อีกครั้ง  กลไกหลักของ Abenomics หากจะกล่าวอย่างรวบรัดตัดความก็คงจะได้ประมาณว่าประกอบด้วยมาตรการ “ลูกธนู 3 ดอก” คือเริ่มจากการระดมงบประมาณเพื่อโครงการลงทุนขนาดใหญ่ของภาครัฐ ตามด้วยมาตรการทางการเงินเชิงรุกอย่างแข็งขันจากธนาคารกลางแห่งชาติ หรือ Bank of Japan และท้ายที่สุดคือการปรับเปลี่ยนโครงสร้างทางเศรษฐกิจชนิดที่ต้องเรียกว่า “รื้อสร้าง” เพื่อสร้างเสริมความสามารถในการแข่งขันของญี่ปุ่นขึ้นมาใหม่กันเลยทีเดียว ความตกต่ำและซบเซาของเศรษฐกิจญี่ปุ่นเป็นประเด็นปัญหาที่ดำเนินสืบเนื่องยาวนานมากว่า 2 ทศวรรษและมีแนวโน้มจะหนักหนาสาหัสกว่านี้ในช่วงก่อนที่ Shinzo Abe จะกลับมารับตำแหน่งรอบใหม่ หลังจากที่ค่าเงินเยนแข็งค่าเป็นประวัติการณ์ที่ระดับ 70-80 กว่าเยนต่อดอลลาร์

Read More

ชีวิตที่ไม่มีทางเลือกของผู้หญิงมุสลิมในประเทศฝรั่งเศส

 ประเทศฝรั่งเศสถือว่าเป็นประเทศที่สองของประเทศในแถบยุโรปตะวันตก ต่อจากประเทศเบลเยียม ที่ได้ออกกฎหมายห้ามสวมหน้ากากหรือเครื่องอำพรางใบหน้าในที่สาธารณะ ซึ่งรวมไปถึงผ้าคลุมหน้าของชาวมุสลิมด้วย ซึ่งทั้งสองประเทศให้เหตุผลสำหรับการห้ามสวมผ้าคลุมหน้านี้ไว้ว่า เพื่อดูแลความปลอดภัยของประชาชนในประเทศนั้นๆ เพราะการสวมผ้าคลุมหน้านั้นทำให้ระบุตัวตนและมองใบหน้าของผู้ที่สวมผ้าคลุมหน้าได้ยาก ตั้งแต่วันที่ 11 เมษายน 2554 เป็นต้นมา ประเทศฝรั่งเศสได้ประกาศใช้กฎหมายว่าด้วยการห้ามปกปิดใบหน้าในที่สาธารณะ อย่างเช่นตามท้องถนน ร้านค้า พิพิธภัณฑ์ การขนส่งมวลชน สวนสาธารณะ และสถานที่ราชการ เป็นต้น แต่ถ้าหากว่าผู้หญิงคนนั้นกำลังเดินทางอยู่ในรถยนต์ส่วนบุคคล และเธอไม่ได้เป็นคนขับ หรือกำลังอยู่ในบริเวณของมัสยิด กฎหมายนี้อนุญาตให้สวมผ้าคลุมหน้าได้ ซึ่งถ้าหากฝ่าฝืนกฎหมายนี้จะต้องได้รับโทษทั้งจำและปรับ รัฐบาลประเทศฝรั่งเศสภายใต้การนำของประธานาธิบดี Nicola Sarkozy ได้เสนอร่างกฎหมายนี้ และก็ได้รับความเห็นชอบจากสภาผู้แทนราษฎรของประเทศฝรั่งเศส เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2553 และต่อมาวุฒิสภาของประเทศฝรั่งเศสก็มีความเห็นเกี่ยวกับกฎหมายนี้เหมือนกัน จึงได้เห็นชอบให้ผ่านกฎหมายนี้ในวันที่ 14 กันยายน 2553 หลายๆ คนอาจจะยังเข้าใจว่ากฎหมายนี้ของประเทศฝรั่งเศสได้ห้ามไม่ให้ผู้หญิงมุสลิมสวมผ้าคลุมหน้าในที่สาธารณะ แต่ในความเป็นจริงแล้ว กฎหมายนี้ไม่ได้ห้ามเฉพาะผู้หญิงมุสลิมเท่านั้น แต่ยังห้ามทุกๆ คนไม่ให้สวมผ้าคลุมหน้าในที่สาธารณะ นอกจากนี้ยังต้องเข้าใจอีกด้วยว่า คำว่าผ้าคลุมหน้าในที่นี้ของกฎหมายฝรั่งเศสนั้น หมายถึงการห้ามสวมผ้าคลุมทุกประเภทที่จะปิดบังใบหน้าทั้งหมด อย่างเช่นการสวมผ้าคลุมหน้าแบบบูร์กา (Burqas) ที่จะปิดบังใบหน้าทั้งหมด และนิกอบ (Niqab)

Read More

“ฮอกไกโด” โดนบุก

 เมื่อวันคืนบนปฏิทินเริ่มเคลื่อนเข้าใกล้เดือนพฤศจิกายน ดูเหมือนว่าธุรกิจการท่องเที่ยวของญี่ปุ่นก็กลับมามีชีวิตชีวาและเริ่มคึกคักขึ้นอีกครั้งเหมือนกันนะคะ ตามสถานีรถไฟ รวมถึงตัวแทนจำหน่ายบัตรโดยสารและโปรแกรมการท่องเที่ยวที่มีอยู่เกือบจะทุกห้างสรรพสินค้าชั้นนำ ต่างออกมาประชันขันแข่งและเร่งระดมกระตุ้นให้ผู้คนเดินทางท่องเที่ยวกันขนานใหญ่ ซึ่งจุดหมายปลายทางของการท่องเที่ยวในช่วงฤดูใบไม้ร่วง ต่อเนื่องไปถึงฤดูหนาว ก็คงต้องเป็นโปรแกรมที่มีไฮไลต์อยู่ที่การไปออนเซน แช่ตัวในบ่อน้ำพุร้อน หรือการเดินทางไปลุยหิมะเล่นสกีกันเลย ซึ่งฮอกไกโดดูจะเป็นจุดหมายปลายทางยอดนิยมในช่วงหน้าหนาวนี้อย่างยากที่จะหาจุดหมายปลายทางอื่น มาเทียบได้จริงๆ และอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวก็ถือเป็นหัวใจหลักสำคัญในเชิงเศรษฐกิจสำหรับฮอกไกโดเลยทีเดียว เพราะกว่า 3 ใน 4 ของรายได้ที่ประชากรชาวฮอกไกโดได้รับล้วนเกี่ยวเนื่องกับภาคธุรกิจบริการจากอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวทั้งสิ้น แต่ก็ใช่ว่าจะมีแต่คนญี่ปุ่น หรือนักท่องเที่ยวจากเมืองไทย ที่หลงใหลมนต์เสน่ห์ของฮอกไกโด เพราะในวันนี้ฮอกไกโดกำลังโดนบุกและมีแนวโน้มจะถูกยึดไปทีละน้อยแล้วล่ะคะ เพราะจากตัวเลขสถิติล่าสุด ได้สร้างความหวั่นใจให้กับคณะผู้บริหารและปกครองฮอกไกโดพอสมควร ถึงขนาดที่ต้องออกกฎเกณฑ์ควบคุมการทำธุรกรรมสำหรับชาวต่างชาติไปด้วยในตัว เหตุที่มาแห่งความไม่สบายใจของชาวฮอกไกโด มาจากผลสำรวจในช่วงที่ผ่านมา ซึ่งปรากฏว่าพื้นที่ป่าไม้กว่า 1,000 เฮกตาร์ ถ้าเทียบก็เท่ากับ 10 ตารางกิโลเมตร หรือ 6,250 ไร่ของฮอกไกโด ถูกถือครองโดยชาวต่างชาติมากถึง 57% และหากจำแนกลึกลงไปต้องบอกว่า 21% เป็นการถือครองโดยชาวจีนและบริษัทที่จดทะเบียนในประเทศจีน เมื่อปรากฏตัวเลขอย่างนี้ ทำให้หน่วยราชการในฮอกไกโดต้องรับออกมาวางกฎเกณฑ์ใหม่ๆ เพื่อทำให้การเปลี่ยนมือถือครองที่ดินทำได้ช้าลง โดยเฉพาะประเด็นที่สงวนสิทธิให้หน่วยราชการสามารถ “ให้คำแนะนำ” ในการซื้อขายที่ดิน โดยเฉพาะในเขตที่มีพื้นที่ป่าไม้ และเส้นทางน้ำผ่าน การออกกฎเกณฑ์เช่นนี้ ในด้านหนึ่ง ทำให้ฮอกไกโดถูกจับตามองเหมือนกัน ว่ากำลังกีดกันทางการค้า และโต้ตอบท่าทีที่เป็นปฏิปักษ์ระหว่างจีนและญี่ปุ่น ที่กำลังมีกรณีพิพาทว่าด้วยการอ้างสิทธิซ้ำซ้อนเหนือหมู่เกาะในทะเลจีน ที่ต่อเนื่องมาถึงปัจจุบันก็ยังไม่กระเตื้องขึ้น ประเด็นที่เกี่ยวเนื่องและมีความสำคัญมาก แต่อาจไม่ได้รับการหยิบยกออกมาเผยแพร่ต่อสาธารณชน

Read More

ไปทาน “ปู” กันไหม

 ช่วงนี้ผู้เขียนมีโอกาสได้ทานปูบ่อยเป็นพิเศษ แต่ก็นั่นล่ะคะ เรื่องของอาหารการกินบางครั้งถ้าซ้ำกันเกิน 2-3 มื้อ แม้ว่าจะอร่อยเพียงใด ก็อาจทำให้ต้องรีบมองหาวิธีการปรุงในรูปแบบอื่นๆ ได้เหมือนกัน  และก็คงมีแต่คนไทยเท่านั้น ที่จะสรรหาวิธีการปรุงวัตถุดิบชนิดเดียวให้สามารถนำเสนอเป็นเมนูอาหารที่หลากหลายได้อย่างไม่เคอะเขินและลงตัว ทั้ง เผา ทอด ผัด ต้ม นึ่ง หลายครั้งยังมีเทศกาลอาหารเฉพาะทางให้ได้ลิ้มลองอีกด้วย  ในญี่ปุ่นก็มีเทศกาลทานปูเหมือนกันนะคะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งเทศกาลปูยักษ์ฮอกไกโด ซึ่งที่จริงแล้วก็คือ King Crab ที่พบและสามารถจับได้ในแถบอะแลสกาตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคมในแต่ละปี ซึ่งสอดรับกับเทศกาลท่องเที่ยวฤดูหนาวของญี่ปุ่น ซึ่งมักถือโอกาสเดินทางขึ้นเหนือเพื่อสัมผัสอากาศหนาวเย็นและตระเวนเล่นสกีหิมะไปโดยปริยาย Sapporo ดูจะเป็นจุดหมายปลายทางหลักในฤดูหนาวของญี่ปุ่น สำหรับนักเดินทางโดยทั่วไปที่นึกถึงฮอกไกโด หากแต่ถ้าประสงค์จะไปทานปูยักษ์กันอย่างจริงจัง และด้วยความสดใหม่ เมือง Kushiro เมืองท่าและหมู่บ้านชาวประมงด้านทิศตะวันออกของฮอกไกโดนี่ล่ะคะ ที่จะสามารถหาปูยักษ์สดๆ ทานกันได้ด้วยสนนราคาที่ยังไม่ผ่านการบวกเพิ่มจากค่าคนกลางและการขนส่ง King Crab ที่ว่านี้มีอยู่สามสายพันธุ์ แยกเป็น Red King Crab, Blue King Crab และ Brown King Crab (Golden King Crab) แต่ที่ชาวญี่ปุ่นนิยมรับประทานกันก็เพียงสองสายพันธุ์คือ Red

Read More