Home > On Globalization (Page 18)

Egg Freezing Party

 Column: Women in Wonderland การแช่แข็งไข่เป็นวิธีเก็บรักษาไข่ของผู้หญิงเพื่อไว้ใช้ในอนาคต โดยใช้วิธีแช่แข็ง ซึ่งทำให้สามารถเก็บรักษาไข่ไว้ได้เป็นระยะเวลานาน เป็นทางเลือกใหม่สำหรับผู้หญิงรุ่นใหม่ที่ต้องออกมาทำงานนอกบ้านที่มีการแข่งขันสูง ทำให้เวลาส่วนใหญ่ของผู้หญิงเหล่านี้หมดไปกับการทุ่มเทให้กับการทำงาน และอาจทำให้บางครั้งลืมคิดถึงเรื่องการมีครอบครัว เรื่องนี้สามารถเห็นได้อย่างชัดเจนในสังคมไทยที่ปัจจุบันผู้หญิงจะแต่งงานและมีลูกค่อนข้างช้า ซึ่งการตั้งครรภ์เมื่อมีอายุมากจะส่งผลต่อความแข็งแรงของลูกในครรภ์ด้วย ไม่ใช่เพียงแต่ผู้หญิงไทยเท่านั้นที่ทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงาน แต่ผู้หญิงในอีกหลายๆ ประเทศก็เช่นกันที่ต้องเผชิญกับสถานการณ์แบบนี้  ปัจจุบันที่ประเทศอเมริกา เรื่องการแช่แข็งไข่กลายเป็นหัวข้อยอดนิยมที่กลุ่มผู้หญิงมักจะหยิบยกประเด็นนี้ขึ้นมาพูดคุยและแลกเปลี่ยนความคิดเห็น จนกลายเป็นกระแส Freezing Eggs Party ในประเทศอเมริกาไปเลย ก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า การที่ผู้หญิงอเมริกันส่วนใหญ่ตัดสินใจที่จะใช้บริการแช่แข็งไข่นั้นก็เพราะ พวกเธอต้องทุ่มเทเวลาส่วนใหญ่ให้กับการทำงาน ทำให้ยังไม่แน่ใจว่าจะได้แต่งงานเมื่ออายุเท่าไหร่ และไม่แน่ใจว่าจะตั้งครรภ์เมื่อตอนอายุเท่าไร การแช่แข็งไข่จึงเป็นทางเลือกที่ดีในการเก็บรักษาไข่ของพวกเธอไว้ในขณะที่ยังอายุน้อยอยู่ เพราะไข่ที่ถูกเก็บไว้เมื่ออายุยังน้อยย่อมมีคุณภาพมากกว่าไข่ในอนาคตที่มีอายุเพิ่มมากขึ้น และการทำงานของอวัยวะต่างๆ ในร่างกายก็แย่ลงกว่าเดิม โดยเฉพาะเมื่อผู้หญิงมีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป และต้องการตั้งครรภ์ เพราะคุณภาพของไข่และอายุของผู้หญิงเป็นตัวแปรสำคัญต่อสุขภาพของทารกในครรภ์ อย่างไรก็ตาม การแช่แข็งไข่ไม่ใช่วิธีแก้ปัญหาการต้องการมีลูกแต่ยังไม่พร้อมด้วยสาเหตุต่างๆ แต่วิธีนี้ยังช่วยผู้หญิงที่เป็นมะเร็งตั้งแต่อายุยังน้อยให้สามารถมีลูกได้อีกด้วย เพราะผู้หญิงที่เป็นมะเร็งนั้นอาจจะต้องเข้ารับการรักษาโรคมะเร็งด้วยวิธีการคีโมบำบัด ซึ่งวิธีนี้จะทำให้เกิดอาการข้างเคียง อย่างทำให้หมดประจำเดือน ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยไม่สามารถมีลูกได้ แต่ถ้าพวกเธอเลือกที่จะแช่แข็งไข่ไว้ก่อนที่จะเข้ารับการรักษาโรคมะเร็ง ก็จะทำให้พวกเธอยังมีโอกาสที่จะมีลูกได้ในอนาคต วิธีการแช่แข็งไข่นั้น เริ่มจากแพทย์จะฉีดกระตุ้นไข่ในรังไข่ของผู้หญิงให้ตกไข่มากขึ้นกว่าปกติ เพื่อที่แพทย์จะได้ทำการเก็บไข่ได้เป็นจำนวนมากต่อการเก็บหนึ่งครั้ง เมื่อไข่สมบูรณ์เต็มที่แล้ว แพทย์ก็จะทำการเก็บไข่ออกมาทางช่องคลอด แล้วนำไข่เหล่านี้ไปแช่ไว้ในไนโตรเจนเหลว และต้องแช่ไว้ภายในถังเก็บที่มีอุณหภูมิอยู่ที่ -196 องศา ซึ่งจะทำให้เกิดการเย็นตัวลงอย่างรวดเร็วและหยุดปฏิกิริยาทุกอย่างของเซลล์ไข่ไว้  วิธีนี้จะทำให้สามารถเก็บรักษาไข่ของผู้หญิงเอาไว้ได้เป็นเวลาหลายปี ค่าใช้จ่ายในการเก็บไข่หนึ่งครั้งอยู่ที่ประมาณ

Read More

เทศกาลแห่งการเฉลิมฉลอง

 Column: AYUBOWAN บรรยากาศที่แปรปรวนเหนือท้องนภาแห่งเมืองฟ้าอมรก่อนการเฉลิมฉลองเทศกาลสงกรานต์ในประเทศไทย คงทำให้ใครต่อใครได้ซาบซึ้งและร่วมพรรณนาถึงประสิทธิภาพในการบริหารของผู้มีหน้าที่ในการจัดการของสังคมไทยอยู่ไม่น้อยเลยนะคะ เทศกาลสงกรานต์ของไทยเป็นเทศกาลแห่งการเฉลิมฉลองที่อยู่ร่วมหรือแชร์พื้นฐานความเป็นไปกับอีกหลายประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และรวมถึงอีกฝั่งฟากของของมหาสมุทรในดินแดนเอเชียใต้อีกด้วยนะคะ  ด้วยเหตุที่ประเทศเหล่านี้ต่างมีพื้นฐานและคติความเชื่อที่ยึดโยงกับดวงดาวและกาลเวลา โดยถือว่าปีใหม่เริ่มต้นขึ้นเมื่อดวงอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ และถือเป็นการสิ้นสุดฤดูการเก็บเกี่ยวที่ติดตามมาด้วยการเฉลิมฉลองแห่งการได้มาซึ่งผลผลิตประจำปี แต่การเฉลิมฉลองสงกรานต์ในแต่ละประเทศคงไม่มีที่ใดสนุกครื้นเครงและระห่ำเดือดได้อย่างสุดขีดเท่าที่เกิดขึ้นในประเทศไทยหรอกนะคะ เพราะดูเหมือนว่าแม้ผู้คนในสังคมไทยจะมีความกังวลเรื่องปัญหาทางเศรษฐกิจที่ดูเหมือนจะบีบรัดและเขม็งเกลียวหนักหน่วงขึ้นเป็นลำดับ แต่คุณสมบัติหลักของคนไทยว่าด้วยความรักสนุก ทำให้แม้จะเผชิญปัญหานานาเราก็ยังเฮฮาได้ไม่ขาด แต่สำหรับอีกฟากฝั่งของมหาสมุทรอินเดีย ในดินแดนที่เรียกว่าศรีลังกา ผู้คนที่นี่ก็กำลังเฉลิมฉลอง Aluth Avurudda หรือ Avurudu ด้วยความสงบ พร้อมกับการจับจ่ายซื้อสินค้าทั้งอุปโภคและบริโภคเพื่อการเดินทางกลับภูมิลำเนาและใช้ชีวิตในช่วงวันหยุดนี้อยู่กับครอบครัว กิจกรรมหนึ่งในช่วงเทศกาล Avurudu ที่ร้านรวงต่างๆ นำเสนอต่อผู้บริโภคจึงเป็นกิจกรรมลดราคาสินค้าชนิดที่เรียกว่าลดกระหน่ำ summer sale ไม่ต่างกระแสลมในช่วงเปลี่ยนผ่านแห่งฤดูกาล และเป็นการกระตุ้นกำลังซื้อของผู้คนทุกระดับสถานะในสังคมไปในคราวเดียวกัน ตามประกาศของทางราชการศรีลังกา Avurudu ซึ่งอยู่ในช่วง 13-14 เมษายน ถือเป็นวันหยุดสำคัญประจำปี แต่สำหรับภาคเอกชนทั่วไปวันหยุด Avurudu อาจทอดยาวตลอดสัปดาห์ ซึ่งหมายรวมถึงร้านค้า ร้านอาหารและภัตตาคารด้วยนะคะ เพราะ Avurudu ถือเป็นเทศกาลของครอบครัว และ “home do” ที่ทุกคนในครอบครัวต่างมาร่วมด้วยช่วยกันมากกว่าการออกไปมะเทิ่งตามท้องถนน ภายใต้รูปแบบของสังคมเกษตรกรรม Avurudu ซึ่งถือเป็นการสิ้นสุดฤดูกาลเก็บเกี่ยว ทำหน้าที่เป็นประหนึ่งการสำรวจมาตรฐานและชื่นชมผลผลิตประจำปี เพราะผลผลิตโดยเฉพาะข้าวจากแปลงนาที่ได้หว่านกรำมาตลอดฤดูเพาะปลูกจะได้รับการปรุงเป็นอาหารมื้อแรกแห่งปีใหม่ เมนูอาหารประจำ Avurudu นอกจากจะมีข้าวสารหุงสุกจนเป็นข้าวสวยแล้ว ยังได้รับการปรุงแต่งเป็นผงแป้งเพื่อประกอบเป็นอาหารคาวหวานหลากหลายร่วมสำรับพิเศษในเทศกาลนี้ ในสังคมศรีลังกา ซึ่งก็คงไม่แตกต่างไปจากสังคมอื่นๆ ที่บางครั้งและบางห้วงอารมณ์ก็ตกอยู่ในภาวะที่โหยหาช่วงวันคืนในยุคสมัยบ้านเมืองดี ความเป็นไปของ

Read More

รัตนปุระ-เมืองอัญมณี

 นอกเหนือจากการมีภูมิศาสตร์ว่าด้วยทำเลที่ตั้งซึ่งมีนัยความหมายทางยุทธศาสตร์มาเนิ่นนานในฐานะจุดกึ่งกลางของการสัญจรจากตะวันตกสู่ตะวันออกข้ามมหาสมุทรอินเดียที่กว้างใหญ่แล้ว ความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติของศรีลังกา ก็ยิ่งทำให้ประเทศเกาะขนาดไม่ใหญ่ไม่โตกลางมหาสมุทรแห่งนี้ เป็นชุมทางของกิจการค้ามากมาย การค้าอัญมณีบนแผ่นดินศรีลังกาก็ถือเป็นหนึ่งในกิจกรรมที่มีประวัติการณ์ ความเป็นมายาวนานและอุดมด้วยสีสันเจิดจรัสขึ้นหน้าขึ้นตา ถึงขนาดที่ผู้ค้าอัญมณีทั้งจากตะวันออกกลางและจากดินแดนแห่งอื่นๆ พากันเรียกขานศรีลังกาในกาลก่อนในฐานะที่เป็นรัตนทวีป (Ratna-Dweepa) กันเลยนะคะ นักเดินทางอย่าง มาร์โค โปโล ระบุในเอกสารบันทึกการเดินทางว่า ศรีลังกามีแซฟไฟร์ บุษราคัม และอัญมณีมีค่าหลากหลายที่ล้วนแต่มีคุณภาพดีกว่าที่เคยพบในพื้นที่แห่งอื่น ขณะที่นักเดินเรือที่สัญจรผ่านน่านน้ำแห่งนี้ต่างนำอัญมณีแห่ง Serendib ซึ่งเป็นชื่อดั้งเดิมที่ชาวเปอร์เซียเรียกขานดินแดนแห่งนี้กลับสู่มาตุภูมิด้วยเสมอ ความมั่งคั่งใต้พื้นพิภพของศรีลังกาเกิดขึ้นจากข้อเท็จจริงที่ว่าดินแดนแห่งนี้มีอายุทางธรณีวิทยาเก่าแก่มากที่สุดแห่งหนึ่งของโลก และเป็นแหล่งรวมผลึกแก้วที่รอการขุดขึ้นมาสร้างสีสันความงดงามและมูลค่าในตลาดอัญมณี ความเก่าแก่ของดินแดนแห่งนี้ ได้รับการกล่าวถึงอยู่ในบันทึกของนักปราชญ์และนักดาราศาสตร์ชื่อก้องโลกอย่าง Claudius Ptolemy ซึ่งระบุไว้ว่าดินแดนศรีลังกาอุดมไปด้วยผลึกอัญมณี แม้ในสมัยนั้นเทคโนโลยีการสำรวจทางธรณีวิทยาจะไม่ได้ก้าวหน้าดังเช่นที่ปรากฏอยู่ในปัจจุบันก็ตาม และที่น่าทึ่งยิ่งไปกว่านั้นก็คือการระบุว่าศรีลังกาคือแผ่นดินที่อุดมด้วยผลึกอัญมณีสีฟ้า ที่เรียกว่า Sapphire ซึ่งถือเป็นอัญมณีเลื่องชื่อของศรีลังกาในปัจจุบัน แม้ Sapphire จะเป็นแร่รัตนชาติ หรือ คอรันดัม (Corundum) ประเภทอะลูมิเนียมออกไซด์ ที่มีลักษณะผลึกเป็นทรง 6 หน้า (hexagonal prism) ซึ่งต่างจากเพชรที่ประกอบขึ้นจากคาร์บอนบริสุทธิ์ ที่มีผลึกรูปทรงแปดหน้า (octahedron) และมีคุณสมบัติค่าความแข็งตาม Moh’s scale สูงกว่า  แต่เพราะมลทิน (inpurity) ที่อยู่ภายใน ทั้งเหล็ก ไทเทเนียม โครเมียม

Read More

แอร์โฮสเตสอาชีพในฝันของสาวๆ ที่ไม่สวยงาม และเลิศหรูอย่างที่คิด

 Women in Wonderland อาชีพพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน (ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Flight Attendance หรือ Cabin Crew) ผู้ชายที่ทำหน้าที่ต้อนรับบนเครื่องบินเรียกว่า สจ๊วต ส่วนผู้หญิงที่ทำงานนี้เรียกว่า แอร์โฮสเตส เป็นหนึ่งอาชีพในฝันของผู้หญิงหลายคน เพราะเป็นอาชีพที่สามารถสร้างรายได้อย่างมากมาย (ประมาณ 40,000 บาทต่อเดือน สำหรับผู้ที่เริ่มทำงานแรกๆ และอาจจะมีรายได้มากกว่านี้สำหรับบางสายการบิน) แถมยังได้แต่งตัวสวยๆ มีโอกาสท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ในที่ต่างๆ อยู่เสมอ หน้าที่หลักๆ ของพนักงานต้อนรับบนเครื่องบิน คืออำนวยความสะดวกแก่ผู้โดยสาร โดยเฉพาะเรื่องความปลอดภัยของชีวิตและทรัพย์สินในระหว่างการเดินทาง เช่น ดูแลอุปกรณ์ความปลอดภัยบนเครื่องบิน และสาธิตการใช้อุปกรณ์ต่างๆ เป็นต้น  ในขณะเดียวกันแอร์โฮสเตสก็จะทำงานบริการต่างๆ บนเครื่องบินให้กับผู้โดยสารทุกท่าน เช่น เสิร์ฟอาหารและเครื่องดื่ม เตรียมอาหาร ให้การรักษาพยาบาลเบื้องต้นกับผู้โดยสารที่เกิดเจ็บป่วยระหว่างการเดินทาง จัดหาที่นั่งให้กับผู้โดยสาร แจ้งข้อมูลที่จำเป็นต่างๆ ในการเดินทาง รวมทั้งคอยให้บริการด้านอื่นๆ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งในยามปกติและยามเกิดเหตุฉุกเฉิน ฟังแล้วอาชีพแอร์โฮสเตสดูเหมือนไม่ยาก เพียงแค่คอยบริการและอำนวยความสะดวกต่างๆ ให้ผู้โดยสารตั้งแต่เริ่มเดินทางจนถึงที่หมายปลายทางให้อยู่ในความเรียบร้อย แต่ในความเป็นจริงแล้ว อาชีพแอร์โฮสเตสนั้นเป็นงานที่หนัก เพราะต้องทำงานทั้งกลางวันและกลางคืน ขึ้นอยู่กับว่าสายการบินจะกำหนดให้ทำงานในเที่ยวบินที่จะออกเดินทางตอนกี่โมง จึงไม่สามารถเลือกเวลาทำงานได้เหมือนอาชีพอื่นๆ  นอกจากนี้แอร์โฮสเตสยังต้องทำงานภายใต้ความกดดันสูง เพราะพวกเธอไม่สามารถคาดเดาได้ว่าจะพบเจอลูกค้าแบบไหน และสายการบินยังมีการประเมินและทำการทดสอบต่างๆ อย่างสม่ำเสมอ

Read More

คืนวันพระจันทร์เต็มดวง

 เมื่อต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา สังคมไทยคงได้รำลึกถึงพระพุทธคุณเนื่องในวันมาฆบูชา ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่ โอกาสแรกของปี 2558 นี้ ท่ามกลางกระแสข่าวความเป็นไปในแวดวงพระศาสนา และวงการสงฆ์ ที่อาจทำให้ศาสนิกชนอย่างพวกเรารู้สึกกระอักกระอ่วนในใจไม่น้อยเลยใช่ไหมคะ ลองหันไปพิจารณาสังคมที่ถือศีลถือธรรมตามหลักพุทธศาสนาแห่งอื่นๆ บ้างดีไหมคะว่าพวกเขามีวัตรปฏิบัติในการทำนุบำรุงศาสนาที่พวกเขาเชื่อถือ ศรัทธากันอย่างไร โดยเฉพาะความเป็นไปของพุทธศาสนิกชนในศรีลังกา ซึ่งได้ชื่อว่ามีความเคร่งครัดในเรื่องเหล่านี้เป็นลำดับต้นๆ เลยก็ว่าได้ วันสำคัญทางศาสนาของชาวพุทธศรีลังกา นอกจากจะกำหนดขึ้นคล้ายคลึงกับบ้านเรา ทั้งวันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา ตามแบบประเพณีนิยมแล้ว ยังมีวันพระ วันธรรมสวนะ หรือวันอุโบสถ ไม่แตกต่างกัน แต่ที่แตกต่างอย่างเห็นได้ชัด คงเป็นเรื่องของการให้ความสำคัญกับคืนวันที่พระจันทร์เต็มดวงในแต่ละเดือน ซึ่งชาวพุทธที่นี่เรียกว่า Poya และนับเป็นวันหยุดราชการทั่วทั้งประเทศศรีลังกาด้วย ความเป็นมาของ Poya ในด้านหนึ่งมีรากฐานต้นทางมาจากคำในบาลี-สันสกฤตที่เกี่ยวเนื่องด้วยคำว่า อุโบสถ (Uposatha) ซึ่งมีความหมายตามคำได้ว่า การเข้าถึง (อุปะ) ยาแก้โรค (โอสถ) ที่ขยายความไปสู่การเข้าถึงธรรมซึ่งเป็นยาแก้โรคจากกิเลสนั่นเอง ด้วยเหตุดังนี้ Poya จึงเป็นวันที่ดำเนินไปสู่การลด การละ ซึ่งนอกจากหน่วยราชการและห้างร้านจำนวนมากจะหยุด ไม่ทำการแล้ว ร้านค้าเนื้อสัตว์และเครื่องมึนเมาทั้งหลายก็จะหยุดทำการค้าเป็นการชั่วคราวในวันสำคัญนี้เช่นกัน กิจกรรมของชาวพุทธศรีลังกาในวัน Poya นับเป็นสีสันและเรื่องราวให้ชวนศึกษาติดตามไม่น้อย เพราะในศรีลังกาไม่มีธรรมเนียมให้สงฆ์มาเดินบิณฑบาตโปรดสัตว์ ตามท้องถนนเหมือนกับที่พบเห็นเจนตาในบ้านเรานะคะ แต่ชาวพุทธที่นี่จะเข้าวัดไปฟังเทศน์ ฟังธรรม ด้วยเครื่องแต่งกายสีขาวกันตั้งแต่เช้า และด้วยเหตุที่

Read More

อัตลักษณ์แห่งชา

 ความเป็นไปของชาจากศรีลังกา ซึ่งเป็นหนึ่งในแหล่งที่มาหลักของเงินตราต่างประเทศ และหล่อเลี้ยงเศรษฐกิจศรีลังกาด้วยสัดส่วนมากกว่าร้อยละ 2 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) อีกทั้งผูกพันเชื่อมโยงผู้คนทั้งทางตรงและทางอ้อมจากธุรกิจนี้มากกว่า 1 ล้านคน ยังมีมิติที่น่าสนใจและควรบันทึกไว้เป็นข้อมูลอีกนะคะ โดยเฉพาะประเด็นที่ว่า Ceylon Tea มีคุณภาพหรือคุณลักษณะอย่างไรหรือ ถึงทำให้แปลกแตกต่างจากชาจากแหล่งอื่นๆ และสามารถสร้างเสริมอัตลักษณ์ของชา Ceylon ขึ้นมาได้ หากจะกล่าวอย่างรวบรัด ด้วยเพียงระบุว่า ปัจจัยด้านความชื้น สภาพอากาศที่เย็นสบาย ปริมาณน้ำฝนที่พอเพียง ส่งผลให้ชาซีลอนมีคุณภาพดี ก็คงจะไม่ใช่เรื่องที่เราต้องอธิบายกันให้มากความ แต่ในความเป็นจริงยังมีปัจจัยอื่นๆ ที่สำคัญมากไปกว่านั้น และอาจเป็นข้อต่อสำคัญที่ทำให้สามารถนำเงื่อนไขทางธรรมชาติมาปรับใช้ได้อย่างลงตัว ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ เมื่อชาเดินทางมาถึงและเริ่มจะปักหลักฐานในศรีลังกานั้น ชาได้แพร่หลายและแตกยอดผลิใบอยู่ทั้งในจีน และอินเดีย โดยเฉพาะการเพาะปลูกเชิงพาณิชยกรรมใน Assam และ Darjeering มาก่อนหน้าแล้ว การเป็นผู้มาทีหลังในอุตสาหกรรมชาของศรีลังกา จึงดำเนินไปท่ามกลางข้อจำกัดทั้งในมิติของขนาดพื้นที่เพาะปลูกและการเบียดแทรกเข้าสู่การรับรู้ของตลาดในฐานะผู้ประกอบรายเล็กเจ้าใหม่ ยังไม่นับรวมถึงการช่วงชิงพื้นที่เพาะปลูกกับพืชเศรษฐกิจดาวรุ่งและกระแสวัฒนธรรมของกาแฟ ที่กำลังถั่งโถมเข้าสู่ยุโรปอีกด้วย ประเด็นและมิติที่ว่านี้ ในด้านหนึ่งต้องยกประโยชน์ให้กับอังกฤษ ผู้เป็นเจ้าอาณานิคม ที่ทำให้วัฒนธรรมแห่งชาแพร่หลายไปทั่วทุกมุมโลก และเปิดโอกาสให้ผู้ประกอบการรายเล็กๆ ผู้มาใหม่อย่างศรีลังกาได้มีโอกาส “ผ่านเกิด” บนสังเวียนชาที่เข้มข้นระดับนานาชาติในเวลาต่อมา เพราะในขณะที่เจ้าอาณานิคมอย่างอังกฤษ กำลังรื่นรมย์อยู่กับรสชาติของชาจากแหล่งผลิตใน Assam Darjeering และแหล่งอื่นๆ อย่างเอิกเกริก พร้อมๆ

Read More

กว่าจะมาเป็น CEYLON TEA

 ในบรรดาของฝากของดีจากศรีลังกา เชื่อว่า Ceylon Tea คงเป็นตัวเลือกลำดับแรกๆ ที่ทุกคนคงนึกถึง เนื่องเพราะชาซีลอนได้สร้างชื่อและรุกทำตลาดในระดับนานาชาติได้อย่างมีประสิทธิภาพน่าสนใจ และยังสามารถยืนหยัดเป็นผู้ส่งออกชาอันดับหนึ่งของโลก แม้ว่าหากพิจารณาในมิติของปริมาณที่ผลิตได้จะตามหลังทั้งจีนและอินเดียก็ตาม แต่กว่าที่ศรีลังกาจะกลายเป็นประเทศที่มีชื่อเสียงและมีตราประทับรับรองคุณภาพชาชั้นดี ในนาม Ceylon Tea เช่นทุกวันนี้ ต้องเรียนว่า ผืนแผ่นดินศรีลังกาถูกพลิกและแผ้วถาง เพื่อนำรากเหง้าแห่งพืชพันธุ์นานามีที่มาถึงก่อน เพื่อเปิดทางให้ชาจากต่างแดนเข้ามางอกเงยในดินแดนแห่งนี้ ประวัติการณ์แห่งความเป็นไปของชา ได้รับการระบุถึงต้นทางแหล่งที่มาว่า ถือกำเนิดในแผ่นดินจีน ในฐานะพืชสมุนไพร ที่มีสรรพคุณทางยามาเนิ่นนานนับย้อนไปได้หลายพันปีก่อนคริสตกาลเลยทีเดียว และส่งผ่านรากฐานทางวัฒนธรรมแห่งชาให้ขยายออกไปสู่การรับรู้ของอารยธรรมอื่นๆ ในซีกโลกตะวันออกให้ได้เก็บรับ  แม้ว่าในระยะเริ่มแรกจะจำกัดวงอยู่เฉพาะกลุ่มชนชั้นนำ พระสงฆ์ และอภิสิทธิ์ชนทั้งหลายก็ตาม แต่นั่นก็ทำให้ชามีสถานะทางสังคมที่ผนวกแน่นอยู่กับแบบแผนและรากฐานความคิดความเชื่อแบบตะวันออกอยู่ไม่น้อยเช่นกัน ชาเริ่มเข้าสู่การรับรู้ของผู้คนจากซีกโลกตะวันตกในช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 16 ผ่านทางนักบวชและพ่อค้าชาวโปรตุเกส ที่มาตั้งสถานีการค้าอยู่ในมาเก๊า เพื่อบุกเบิกการค้ากับตะวันออกไกล แต่ก็ไม่ปรากฏว่ามีการบันทึกถึงการส่งชากลับไปยังยุโรป กระทั่ง Dutch East India เริ่มนำใบชาเขียวจากจีนขึ้นสู่ฝั่งยุโรปที่อัมสเตอร์ดัม และทำให้ผู้คนในยุโรปได้ลิ้มลองรสชาติแห่งชามากยิ่งขึ้น แต่ดูเหมือนว่าอังกฤษจะกลายเป็นตัวแปรและกลไกสำคัญที่ส่งให้ชามีสถานะเป็นสินค้าและเครื่องดื่มที่แทรกตัวเข้าสู่วัฒนธรรมตะวันตกอย่างแพร่หลายในเวลาต่อมา ความพยายามของอังกฤษที่จะแข่งขันและขจัดการผูกขาดการค้าชาจากจีน ทำให้อังกฤษนำเมล็ดพันธุ์ รวมถึงเทคนิคการปลูกและเก็บเกี่ยวชาจากจีน มาทำการส่งเสริมการปลูกชาบนดินแดนอาณานิคมอินเดีย ในรัฐอัสสัม และ Darjeering ในเบงกอลตะวันตก พร้อมกับให้สิทธิประโยชน์ในที่ดินทำกินให้กับชาวยุโรปรายใดก็ตามที่จะอพยพเข้ามา ภายใต้เงื่อนไขว่าต้องปลูกชาเพื่อการส่งออกด้วย ในความเป็นจริง ชนพื้นเมืองในแคว้นอัสสัม โดยเฉพาะอย่างยิ่งชนชาว Singpho ก็ทำการเพาะปลูกชามาตั้งแต่ศตวรรษที่

Read More

อบเชย: Cinnamon

 ท่านผู้อ่านคงคุ้นเคยกับเครื่องยาสมุนไพรที่ชื่อ อบเชย หรือ cinnamon กันอยู่บ้างใช่ไหมคะ เพราะนอกจากจะมีสรรพคุณทางยาโดดเด่น เป็นส่วนประกอบในสูตรตำราอาหารคาวหวานหลากหลาย บรรดาคอกาแฟก็คงได้ลิ้มชิมรส cinnamon ผ่านกาแฟ cappuccino  ถ้วยโปรดกันมาไม่น้อยเช่นกัน แต่ความเป็นมาและเป็นไป รวมถึงความสำคัญของอบเชย: Cinnamon นี้ไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องราวข้างต้นนี้เท่านั้นนะคะ หากยังมีมิติทางประวัติศาสตร์ที่มีผลเปลี่ยนแปลงภูมิทัศน์และพัฒนาการทางสังคม เศรษฐกิจ การเมืองของศรีลังกาด้วย cinnamon เป็นสมุนไพรที่มนุษย์รู้จักและนำมาใช้ประโยชน์เป็นเวลานาน ซึ่งสามารถสืบย้อนกลับไปได้ไกลถึงในอารยธรรมโบราณ หรือแม้กระทั่งมีการบันทึกการใช้ประโยชน์ของ cinnamon ไว้ในมหาคัมภีร์ของชาวฮีบรู กันเลยทีเดียว ขณะที่ในอารยธรรมกรีกและอารยธรรมอียิปต์ หรือกว่า 4,000 ปีมาแล้ว ก็กล่าวถึงการใช้ประโยชน์ของ cinnamon โดยในครั้งนั้น cinnamon ถูกขับเน้นในมิติของเครื่องหอมสำหรับบูชาเทพเจ้า และมีสถานะเป็นส่วนหนึ่งในเครื่องบรรณาการสำหรับเจ้าผู้ครองแคว้น ซึ่งทำให้อบเชยกลายเป็นสินค้าสำหรับชนชั้นสูงไปโดยปริยาย แม้ว่า cinnamon จะเป็นที่รู้จักแพร่หลายและมีมูลค่าราคาแพง แต่แหล่งที่มาของสินค้านำเข้าสู่อารยธรรมโบราณชนิดนี้กลับถูกปกปิดเป็นความลับจากเหล่าพ่อค้าคนกลางจากดินแดนอาระเบีย ที่สัญจรและทำการค้าอยู่ในทะเลเมดิเตอร์เรเนียน เพื่อผลในการผูกขาดการค้าเครื่องเทศนี้ต่อไป ความลึกลับในแหล่งกำเนิดของ cinnamon ในครั้งนั้นติดตามมาด้วยเรื่องราวความยากลำบากกว่าจะได้สินค้าชนิดนี้มา ถึงขนาดที่มีการผูกโยงเป็นเรื่องราวมหัศจรรย์ว่าด้วยการใช้ cinnamon สร้างรังของเจ้านกยักษ์ ซึ่งทำให้กว่าจะได้ cinnamon มาจำหน่ายเป็นสินค้าต้องผจญและเสี่ยงภัยจากสิ่งมีชีวิตในจินตนาการนี้ ซึ่งผลักให้ cinnamon มีสนนราคาแพงตามไปด้วย ความพยายามที่จะเสาะหาแหล่งที่มาของ

Read More

ชีวิตของแม่บ้านในกัมพูชา

 Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา และมีรายได้ของประเทศอยู่ในระดับต่ำ (low income countries) หมายความว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ต่อหัวอยู่ในระดับต่ำ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวน้อยกว่า 675 เหรียญสหรัฐต่อปี (หรือประมาณ 22,030 บาทต่อปี ถ้าคิดเป็นรายเดือนก็ตกเดือนละ 1,835 บาท) อาชีพหลักๆ ของชาวกัมพูชายังคงเป็นอาชีพเกษตรกรรม แต่ในช่วงหลังๆ มานี้ อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า การก่อสร้าง และการท่องเที่ยว มีการเจริญเติบโตมากขึ้น และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product หรือที่เรียกย่อๆ ว่า GDP) เพิ่มขึ้นมากกว่า 7% ในแต่ละปี  ในกัมพูชาผู้หญิงมีหน้าที่ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร และดูแลทุกๆ คนในครอบครัว งานบ้านทุกอย่างถูกมองว่าเป็นงานสำหรับผู้หญิง ในขณะที่ผู้ชายจะออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่ปัจจุบันสังคมในประเทศกัมพูชาเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัว และหนึ่งในอาชีพที่ผู้หญิงหลายคนเลือกทำก็คือ อาชีพแม่บ้าน ทำหน้าที่ทำความสะอาด ซักเสื้อผ้า และทำกับข้าว โดยเฉพาะผู้หญิงที่ย้ายมาจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามาหางานทำในเมืองพนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา  ขณะนี้อาชีพแม่บ้านเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงและหางานได้ง่ายในประเทศกัมพูชา เพราะ

Read More

วันแห่งการปลดปล่อย

 ประวัติศาสตร์ที่ยาวนานของดินแดนที่เต็มไปด้วยร่องรอยแห่งความจำเริญทางอารยธรรมและการติดต่อสัมพันธ์กับโลกภายนอกมาอย่างต่อเนื่องเช่นศรีลังกานี้ ย่อมไม่ได้ดำเนินไปท่ามกลางความหอมหวานและราบรื่น หากแต่เต็มไปด้วยประวัติการณ์แห่งการต่อสู้ช่วงชิง ทั้งในมิติของอำนาจ ดินแดนและทรัพยากร การต่อสู้ดิ้นรนเพื่อให้รอดพ้นจากการครอบงำของมหาอำนาจจากภายนอกที่ผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนเข้ามาช่วงชิงโรมรันพันตูของศรีลังกา ในด้านหนึ่งกลายเป็นเรื่องราวเล่าขานในความห้าวหาญและกล้าแกร่งที่มีไว้เพื่อเชิดชูวีรชนที่ต่อสู้อย่างไม่ลดละด้วยหวังให้ดินแดนแห่งนี้ยังสามารถคงความเป็นเอกราช แต่ในขณะเดียวกันก็สะท้อนภาพของความเลวร้าย ตกต่ำ และทุรยุค ที่เกิดจากการปกครองของเหล่ากษัตริยาทั้งหลายที่กลายเป็นทรราช บนบัลลังก์ที่กรุ่นไปด้วยคาวเลือดของการไขว่คว้าราชศักดิ์ ท่ามกลางความเดือดร้อนวุ่นวายซึ่งเกิดขึ้นในทุกหย่อมย่านในห้วงเวลาแห่งการเปลี่ยนผ่าน ความเป็นไปของศรีลังกาในยุคสมัยใหม่ ที่อาจนับเนื่องได้ตั้งแต่เมื่อครั้งที่กองทัพโปรตุเกส ซึ่งนำโดยผู้บัญชาการและนักสำรวจนาม Lourenco de Almeida ขึ้นฝั่งศรีลังกาเมื่อปี ค.ศ. 1505 พร้อมกับครอบครองพื้นที่ชายฝั่งทะเลก่อนประกาศให้ดินแดนเหล่านี้เป็นของจักรวรรดิโปรตุเกส ราชอาณาจักรที่สืบเนื่องและผ่านยุคสมัยที่ยาวนานมากว่า 2,000 ปี ท่ามกลางความเป็นไปของราชสำนักหลากหลายบนแผ่นดินศรีลังกาก็เริ่มเข้าสู่ปฐมบทของการเสื่อมถอยลงอย่างช้าๆ เป็นการเสื่อมถอยที่มีเฮือกของการสะอึกสำลักลมปราณให้ได้เห็นเป็นจังหวะประหนึ่งว่ากำลังมีอาการดีขึ้น ก่อนจะปลดเปลื้องลมหายใจรวยรินให้สิ้นไปอย่างไม่มีวันหวนกลับ ไม่ต่างจากอาการของผู้ป่วยระยะสุดท้ายที่ถูกฤทธ์ยากดทับและกล่อมอาการ จนหลงเข้าใจผิดในฤทธานุภาพที่กลายเป็นมายาภาพให้ยึดกุม การเกิดขึ้นและดำเนินไปของราชอาณาจักรในนาม Kingdom of Kandy ดูจะเป็นประจักษ์พยานในข้อเท็จจริงที่ว่านี้ได้อย่างแจ่มชัดและเป็นตัวอย่างของความเสื่อมที่ไม่ได้เกิดจากภัยคุกคามภายนอกโดยลำพังเท่านั้น หากแต่สนิมย่อมเกิดแต่เนื้อในตนด้วย ความพยายามที่จะรักษาอำนาจของเจ้าผู้ครองแว่นแคว้นต่างๆ ให้รอดพ้นจากผู้รุกรานนำไปสู่การถอยร่นขึ้นสู่เขตป่าดงดอยและเทือกเขาสูงที่อยู่ลึกห่างเข้าไปจากชายฝั่งทะเล ด้วยหวังจะอาศัยสภาพภูมิประเทศทุรกันดารเหล่านี้เป็นประหนึ่งปราการและเกราะคุ้มกันภัย ราชอาณาจักร Kandy สามารถสถาปนาและยืนหยัดตั้งตัวเป็นอิสระจากการครอบงำจากต่างประเทศ ได้อย่างยาวนานถึงกว่า 300 ปี (1521-1815) และกลายเป็นประหนึ่งสัญลักษณ์สุดท้ายในความรุ่งเรืองของยุคราชอาณาจักรบนแผ่นดินศรีลังกา ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจในความเป็นไปของ Kandy ในช่วง 200 ปีแรกของอาณาจักรก็คือแม้อิสรภาพของ Kandy แลกมาด้วยความขมขื่น ท่ามกลางการแข่งขันประลองอำนาจระหว่างโปรตุเกสและดัตช์ ที่ต่างหวังจะครอบครองและแสวงประโยชน์จากทรัพยากรเหนือดินแดนแห่งนี้ แต่การมาถึงของกองกำลังจากอังกฤษเพื่อเข้าแทนที่อิทธิพลของดัตช์ในปี 1739 ต่างหากที่สร้างรอยบาดแผลร้าวลึกและผลักให้อิสรภาพที่ยาวนานกว่า

Read More