Home > On Globalization (Page 13)

การเปลี่ยนแปลงครั้งยิ่งใหญ่ของ Gentlemen’s Clubs ในสหราชอาณาจักร

  คำว่า Gentlemen’s Clubs ในที่นี้ไม่ได้หมายถึงสถานที่เที่ยวพักผ่อนสำหรับผู้ชายในเวลากลางคืนเหมือนที่เราเข้าใจกันในปัจจุบัน แต่คำว่า Gentlemen’s Clubs หมายถึงสถานที่ที่เป็นที่ส่วนตัว มีลักษณะคล้ายบ้าน ที่ผู้ชายจะมารวมตัวกันเพื่อทำความรู้จักและพูดคุยแลกเปลี่ยนความคิดกันในเรื่องต่างๆ  ซึ่งใน Gentlemen’s Clubs นี้ก็จะมีทั้งอาหาร เครื่องดื่มไว้บริการ มีห้องต่างๆ ไม่ว่าจะเป็นห้องอาหาร ห้องสมุด ห้องเล่มเกมส์ ห้องอาบน้ำ และสถานที่สำหรับเล่นกีฬา เป็นต้น เพื่ออำนวยความสะดวกให้กับผู้ที่มาใช้บริการให้รู้สึกเหมือนกับว่าอยู่บ้านของตัวเอง และยังได้ใช้เวลาในการทำกิจกรรมต่างๆ ร่วมกับเพื่อนๆ ได้อีกด้วย Gentlemen’s Clubs ในสหราชอาณาจักร เริ่มมีการก่อตั้งขึ้นตั้งแต่ศตวรรษที่ 18 ซึ่งในช่วงนั้นจะอนุญาตให้คนอังกฤษชั้นสูงเท่านั้นที่สามารถเข้าไปใช้บริการได้ ต่อมาในช่วงปลายศตวรรษที่ 19 และต้นศตวรรษที่ 20 เริ่มอนุญาตให้คนชนชั้นกลางที่ค่อนข้างมีฐานะและทำงานในตำแหน่งผู้บริหารสามารถเข้าเป็นสมาชิกและใช้บริการได้ และแน่นอนว่าตั้งแต่ที่ Gentlemen’s Clubs เริ่มเปิดให้บริการในศตวรรษที่ 18 นั้น มีเพียงผู้ชายเท่านั้นที่ได้รับอนุญาตให้สมัครเข้าเป็นสมาชิกได้ ผู้หญิงไม่สามารถสมัครสมาชิกได้ แต่สามารถเป็นผู้ติดตามได้ อย่างเช่นว่าถ้า Gentlemen’s Clubs มีการจัดงานเลี้ยง ผู้ที่เป็นสมาชิกสามารถพาภรรยาหรือลูกสาวเข้ามาร่วมงานได้ในฐานะของผู้ติดตามเท่านั้น Gentlemen’s Clubs

Read More

รถประจำตำแหน่ง

 Column: AYUBOWAN ข่าวใหญ่ในสังคมศรีลังกานับตั้งแต่ช่วงกลางเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ดูจะมีแต่เรื่องราวและเหตุร้ายแรงที่ส่งผลกระทบต่อผู้คนในวงกว้างต่อเนื่องหลากหลายเหลือเกิน นับตั้งแต่เหตุพายุฝนฟ้ากระหน่ำแบบไม่มีโอกาสให้หยุดพัก จนเป็นเหตุให้ประชาชนในหลายพื้นที่ของศรีลังกาต้องเผชิญกับภาวะน้ำท่วมฉับพลันน้ำป่าไหลหลากและต้องพลัดถิ่นที่อยู่ ซ้ำร้ายปริมาณน้ำฝนที่ถูกดูดซับไว้ในผืนดินยังเป็นเหตุให้เกิดดินถล่มในหลายพื้นที่ติดตามมา การส่งกำลังบำรุงและหน่วยบรรเทาสาธารณภัยเข้าไปในพื้นที่ ซึ่งกระทำได้อย่างยากลำบากอยู่แล้ว ยิ่งต้องเผชิญกับอุปสรรคและความท้าทายยิ่งขึ้นไปอีก ความวัวว่าด้วยอุทกภัยและแผ่นดินถล่มยังไม่ทันจางหายก็เกิดเหตุคลังแสงสรรพวุธระเบิดราพณาสูรแม้จะมีความพยายามปิดข่าวไม่ให้ตกเป็นประเด็นทางการเมือง แต่ข่าวที่ว่านี้ก็สร้างความประหลาดใจให้กับผู้เกี่ยวข้องไม่น้อย และเชื่อมโยงไปสู่ประเด็นว่าด้วยการก่อวินาศกรรมเพื่อหวังผลทางการเมืองระหว่างกลุ่มการเมืองที่ขัดแย้งกันด้วย ความสูญเสียจากเหตุการณ์ทั้งสองข้างต้น แม้จะได้รับคำยืนยันจากหน่วยงานรัฐว่าจะเร่งเข้าไปให้ความช่วยเหลือผู้ประสบภัยทั้งสองกรณี แต่กระบวนการต่างๆ ดูจะวิ่งตามความคาดหวังของประชาชนผู้ได้รับผลกระทบจากเหตุได้ไม่ดีเท่าที่ควรและกลายเป็นความไม่พึงพอใจว่าด้วยความล่าช้าในการจัดการกับปัญหาไปในที่สุด ประเด็นว่าด้วยความไม่พึงพอใจจากประสิทธิภาพในการบริหารจัดการแก้ไขและบรรเทาความเดือดร้อนจากเหตุภัยธรรมชาติและคลังแสงระเบิด ผสมรวมเข้ากับมูลเหตุเดิมว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจชะลอตัวที่นำไปสู่ความฝืดเคืองระดับครัวเรือนกลายเป็นปัจจัยเร่งความไม่พึงพอใจรัฐบาลในหมู่ประชาชนให้เพิ่มมากขึ้นทุกขณะ สถานการณ์ของรัฐบาลและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูจะถูกผลักให้ตกต่ำและมีสถานภาพห่างไกลจากความเป็นอยู่ของประชาชนทั่วไปยิ่งขึ้นไปอีก เมื่อปรากฏข่าวว่าบรรดารัฐมนตรีและข้าราชการในกระทรวงทบวงกรมของศรีลังกา ต่างได้รับการปูนบำเหน็จให้มีรถยนต์ประจำตำแหน่งภายใต้วงเงินงบประมาณรวมกว่า 1.2 พันล้านศรีลังการูปี หรือกว่า 380 ล้านบาท สำหรับสั่งนำเข้ารถยนต์หรูรวมกว่า 30 คัน กรณีดังกล่าวส่งผลให้เกิดการวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางถึงความสำคัญจำเป็นในการจัดสรรงบประมาณขนาดใหญ่เช่นว่านี้ เพียงเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับเหล่าบรรดาท่านผู้นำและผู้ที่เปี่ยมล้นด้วยบุญญาบารมีในคณะรัฐบาล ในขณะที่ประชาชนยังอยู่ในภาวะทุกข์ยากแสนสาหัส ยังไม่นับรวมถึงภาพที่ขัดกันอย่างสิ้นเชิงของการจัดสรรงบประมาณเพื่อช่วยเหลือและบรรเทาสาธารณภัยเร่งด่วน ที่ดูจะมีความสำคัญจำเป็นมากกว่า และยังขัดต่อหลักธรรมาภิบาลที่รัฐบาลศรีลังกาพยายามประกาศกร้าวและใช้เป็นเครื่องมือนำการลดทอนความน่าเชื่อถือของคณะรัฐบาลชุดก่อนอย่างสิ้นเชิง นอกเหนือจากจังหวะก้าวและห้วงเวลาในการสั่งซื้อ ซึ่งดูจะมีความไม่เหมาะสมอย่างยิ่งในความรู้สึกของประชาชนทั่วไปแล้ว ข้อวิพากษ์วิจารณ์ถึงการสั่งซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งที่แหลมคมมากประการหนึ่งก็คือ ในขณะที่รัฐบาลกำลังออกกฎหมายเพิ่มอัตราภาษีจากประชาชน การสั่งซื้อรถยนต์หรูดังกล่าวจะช่วยเพิ่มพูนศักยภาพทางการผลิตให้กับสังคมศรีลังกาโดยรวมอย่างไร  สิ่งนี้ดูจะส่งผลให้รัฐบาลที่ท่องบ่นเรื่องการปราบกลโกงและคอร์รัปชั่น หรือการดำเนินนโยบายสาธารณะอย่างมีธรรมาภิบาลหม่นหมองและต้องราคีเสียเอง และย่อมไม่ใช่สิ่งที่ประชาชนชาวศรีลังกาคาดหวังจากรัฐบาลของพวกเขาอย่างแน่นอน ท่ามกลางความไม่พึงพอใจที่แผ่กว้างในหมู่ประชาชนจากกรณีที่ว่านี้ เหล่าบรรดารัฐมนตรีและข้าราชการที่รับการปูนบำเหน็จรถยนต์หรูประจำตำแหน่งต่างออกมาให้สัมภาษณ์ในลักษณะใกล้เคียงกันว่า รถยนต์ประจำตำแหน่งที่พวกเขากำลังสั่งซื้อนี้ เป็นไปเพื่อผลประโยชน์สาธารณะ โดยเฉพาะอย่างยิ่งจะทำให้พวกเขาสามารถปฏิบัติภารกิจและนำพานโยบายไปสู่การปฏิบัติให้กับประชาชนได้ดียิ่งขึ้น รัฐมนตรีบางรายถึงกับระบุว่า เนื่องจากถนนหนทางในหลายพื้นที่ของประเทศไม่อยู่ในสภาพที่รถยนต์ทั่วไปจะเข้าถึงได้ ดังนั้นพวกเขาจึงจำเป็นต้องมีรถยนต์ประเภทขับเคลื่อนสี่ล้อและเครื่องยนต์กำลังแรงสำหรับปฏิบัติภารกิจกันเลยทีเดียว ได้ยินได้ฟังคำเอ่ยอ้างจากบรรดาผู้อุตส่าห์เสียสละมาทำประโยชน์เพื่อชาติอย่างนี้ ประชาชนผู้กำลังเดือดร้อนจากปัญหาปากท้องว่าด้วยพิษเศรษฐกิจ และข้อเท็จจริงที่ว่าศรีลังกายังมีหนี้สินสาธารณะอีกเป็นจำนวนมากรอการจ่ายคืน ก็คงอยู่ในภาวะที่ “หัวร่อไม่ออก ร้องไห้ก็ไม่ได้” ในแบบที่ท่านผู้อ่านในเมืองไทยอาจคุ้นเคยกันบ้างไหมคะ กระแสวิพากษ์และไม่พอใจอย่างกว้างขวาง ส่งผลให้ในเวลาต่อมา Ranil  Wickremesinghe นายกรัฐมนตรีศรีลังกามีคำสั่งระงับการสั่งซื้อรถยนต์ประจำตำแหน่งที่อื้อฉาวนี้เป็นการชั่วคราว จนกว่าการบูรณะฟื้นฟูและช่วยเหลือผู้ประสบภัยน้ำท่วม ดินถล่ม

Read More

เจ็ดปีหลังสงครามกับปมในใจ

 Column: AYUBOWAN เดือนพฤษภาคม 2016 ที่ผ่านมา หากเป็นช่วงที่ศรีลังกายังมีผู้นำชื่อ Mahinda Rajapaksa หรือผู้คนในเครือข่ายของเขาอยู่ในอำนาจ เชื่อว่าบรรยากาศภายในของศรีลังกาคงเต็มไปด้วยกระแสข่าวโหมประโคมถึงชัยชนะเมื่อปี 2009 เหนือกลุ่มกองกำลังติดอาวุธพยัคฆ์ทมิฬอีแลม (Liberation Tigers of Tamil Eelam: LTTE) ที่เป็นจุดเริ่มต้นศักราชแห่งการพัฒนาและสันติสุข หากแต่ในวันนี้ผู้ครองอำนาจทางการเมืองในศรีลังกา แม้จะเคยร่วมมีบทบาทในกรณีดังกล่าว แต่ด้วยสถานะการเป็นคู่แข่งขันทางการเมือง การกล่าวถึงคุณความดีของคู่ปฏิปักษ์ คงไม่ก่อให้เกิดประโยชน์ใดๆ มากนัก  ในทางกลับกันยังต้องพยายามสืบหาจุดอ่อนและบาดแผลจากเหตุการณ์ครั้งนั้นมาเป็นเครื่องมือในการลดทอนความน่าเชื่อถือของฝ่ายตรงข้ามไปในตัวด้วย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ ภายหลังจากที่รัฐบาลศรีลังกาประกาศชัยชนะเหนือกองกำลังพยัคฆ์ทมิฬ และปิดฉากสงครามกลางเมือง (Civil War) สู่ความสงบเมื่อเจ็ดปีที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งดูเหมือนว่าสถานะของศรีลังกาโดยเฉพาะในมิติของโอกาสทางการค้าการลงทุนแห่งใหม่ก็ฉายโชนออกมาเกือบจะทันที นักธุรกิจและสังคมการเมืองระหว่างประเทศต่างรอคอยจังหวะที่จะเข้ามาเติมเต็มช่องว่างทางเศรษฐกิจและการพัฒนาที่หายไปนานกว่า 3 ทศวรรษ แต่บางส่วนก็ยังหยั่งท่าทีด้วยการตั้งข้อสงวนว่าด้วยการละเมิดสิทธิมนุษยชนและความโปร่งใสทางการเมือง ความเป็นไปของศรีลังกานับตั้งแต่สิ้นสุดสงครามกลางเมือง ติดตามมาด้วยโครงการพัฒนาหลากหลายและการหลั่งไหลเข้ามาลงทุนของนักลงทุนจากต่างประเทศ ที่ร่วมเสริมให้ภาพลักษณ์ของศรีลังกาในช่วงหลายปีที่ผ่านมาเป็นประหนึ่งอัญมณีที่พร้อมจะถูกขัดเกลาแต่งเติมสีสันให้สุกสกาวและเจิดจรัสอย่างเต็มที่ เขตบ้านย่านเมืองโดยเฉพาะในโคลัมโบ ซึ่งเป็นศูนย์กลางในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ และการพัฒนาโครงการลงทุนขนาดใหญ่ที่ทำให้เกิดภูมิทัศน์ใหม่ๆ ไม่เว้นในแต่ละเดือน ขณะที่จำนวนรถยนต์ที่สั่งนำเข้าจากต่างประเทศเพื่อสนองความต้องการและดูดซับปริมาณเม็ดเงินที่เกิดจากภาพรวมเศรษฐกิจที่เติบโตแบบก้าวกระโดด ทำให้ถนนในกรุงโคลัมโบมีสภาพไม่ต่างกับลานจอดรถ หรือโชว์รูมรถยนต์ขนาดใหญ่ ที่มีรถยนต์เบียดแทรกอัดแน่นจนอาจเรียกได้ว่าล้นพื้นที่ก็ว่าได้ การสั่งซื้อและนำเข้ารถยนต์จากต่างประเทศกลายเป็นส่วนหนึ่งของปัญหาในการบริหารและจัดการความเสี่ยงจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ และทำให้รัฐบาลศรีลังกาต้องประกาศชะลอการนำเข้ารถยนต์ เพื่อรักษาเสถียรภาพทางการเงินของประเทศในช่วงที่ผ่านมาอีกด้วย แต่นั่นเป็นเพียงปัญหาทางเศรษฐกิจที่ไม่ต่างจากยอดภูเขาน้ำแข็งที่พ้นระดับน้ำให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ ขณะที่ลึกลงไปเบื้องล่างปัญหาว่าด้วยโอกาสทางเศรษฐกิจสำหรับประชาชนคนรากหญ้าที่เป็นฐานล่างของสังคม กำลังเผชิญกับประเด็นปัญหาที่หนักหน่วงกว่ามาก ประเด็นว่าด้วยการกระจายโอกาสและรายได้ ดูจะเป็นคุณลักษณะร่วมที่เกิดขึ้นในเกือบทุกหนแห่งในกลุ่มประเทศกำลังพัฒนา ซึ่งสำหรับสังคมศรีลังกาที่มีฐานประชากรส่วนใหญ่เป็นชาวสิงหล กรณีที่ว่านี้ก็เป็นส่วนหนึ่งในความไม่พึงพอใจที่ประชาชนมีต่อนโยบายของรัฐมาอย่างต่อเนื่อง เพราะแม้จะเป็นกลุ่มคนส่วนใหญ่ของประเทศแต่โอกาสในการเข้าถึงทรัพยากรกลับเป็นไปอย่างจำกัด โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อภาคธุรกิจขยายตัวอย่างรวดเร็วในระยะหลังจากที่สงครามกลางเมืองสงบลง ชาวสิงหลในท้องถิ่นห่างไกลยิ่งพบว่าพวกเขาถูกละเลยให้ถอยห่างจากกระบวนการพัฒนาที่กำลังโหมประโคมในหัวเมืองใหญ่และพื้นที่ที่ประสบภัยสงครามในช่วงก่อนหน้านี้ด้วย ความไม่สมดุลของการพัฒนาและปัญหาทางเศรษฐกิจ เริ่มส่งผลให้ชาวสิงหลที่เป็นฐานเสียงใหญ่เริ่มแสดงความไม่พึงพอใจต่อกลไกทางการเมือง

Read More

รองเท้าส้นสูง ปัญหาใหม่ในการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในที่ทำงาน

 Column: Women in Wonderland เมื่อเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา ผู้เขียนได้พูดถึงร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks ที่มีสาขาอยู่ทั่วทุกมุมโลก และสาขาที่มีปัญหาตั้งอยู่ที่กรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบีย โดย Starbucks ได้ติดป้ายประกาศว่าจะไม่ขายกาแฟให้กับลูกค้าผู้หญิงและให้ลูกค้าผู้หญิงส่งคนขับรถผู้ชายเข้ามาซื้อแทน เเป็นเรื่องที่ไม่ควรเกิดขึ้นในปัจจุบัน เพราะทุกวันนี้สังคมให้สิทธิผู้หญิงกับผู้ชายแทบจะเท่าเทียมกัน  เรื่องที่จะพูดถึงในบทความนี้ก็เช่นกัน ไม่น่าเชื่อว่าเรื่องการแต่งตัวไปทำงานของผู้หญิงในทุกวันนี้จะยังถูกกำหนดไว้ด้วยกฎระเบียบแบบเก่าๆ ที่มีการแบ่งแยกอย่างชัดเจนว่าผู้หญิงและผู้ชายควรจะแต่งกายอย่างไรในการทำงาน เมื่อกลางเดือนพฤษภาคมได้มีผู้หญิงชาวอังกฤษ อายุ 27 ปี ชื่อ Nicola Thorp ให้สัมภาษณ์กับนักข่าวของ BBC ว่า ในวันแรกที่เธอไปทำงานที่บริษัทให้คำปรึกษาด้านบัญชีใจกลางกรุงลอนดอนนั้น เธอถูกไล่ให้กลับบ้านและจะไม่จ่ายเงินค่าแรงในวันนั้น (ประเทศอังกฤษกำหนดว่า สำหรับพนักงานประจำ ในหนึ่งอาทิตย์จะต้องทำงานให้ครบกี่ชั่วโมง และถ้าทำงานไม่ครบชั่วโมงตามที่กำหนดไว้ รายได้ของอาทิตย์นั้นจะถูกหักให้เหลือเท่ากับจำนวนชั่วโมงที่ทำงานจริง) เพียงเพราะเธอใส่รองเท้าส้นแบนหรือรองเท้าไม่มีส้นไปทำงาน หรือไม่เธอก็ต้องออกไปซื้อรองเท้าส้นสูง 2–4 นิ้ว แล้วกลับมาทำงาน หลังจากได้ยินข้อความนี้จากหัวหน้า เธอก็ปฏิเสธทันที เพราะเธอไม่ต้องการที่จะใส่รองเท้าส้นสูงทำงาน หน้าที่ของเธอคือพนักงานต้อนรับของบริษัท ซึ่งจะต้องยืนถึง 9 ชั่วโมงในการทำงานและจะต้องพาลูกค้าเดินไปยังห้องประชุม  การทำงานที่จะต้องยืนและเดินตลอด 9 ชั่วโมง และถ้าต้องใส่รองเท้าส้นสูงตลอดเวลาที่ต้องทำงาน ก็จะส่งผลต่อสุขภาพของเธอในอนาคต Nicola จึงเกิดคำถามว่า

Read More

ภาษา “ทมิฬ”

 Column: AYUBOWAN ช่วงเดือนเมษายนต่อเนื่องถึงเดือนพฤษภาคมที่ผ่านมา สังคมไทยดูจะอยู่ในช่วงพักร้อนยาวจากปฏิทินวันหยุดต่อเนื่องในเทศกาลงานพิธีหลากหลาย ซึ่งไม่แตกต่างจากความเป็นไปของศรีลังกามากนัก เพราะหลังจากผ่านช่วง Avurudu หรือปีใหม่ของทั้งชาวสิงหลและทมิฬที่ไล่เรียงตั้งแต่ช่วงกลางเดือนเมษายน และหยุดยาวต่อเนื่องกว่าที่สังคมและภาคธุรกิจจะกลับเข้าสู่การทำงานปกติก็ล่วงเลยไปจะถึงสิ้นเดือนกันเลยทีเดียว เหตุที่เป็นดังนั้นก็เพราะนอกจากช่วง Avurudu จะนับเป็นช่วงเวลาของครอบครัวที่ทำให้มีการเดินทางท่องเที่ยวและใช้เวลากับครอบครัวแล้ว บรรษัทห้างร้านก็ถือโอกาสให้เป็นช่วงเวลาของการสังสรรค์ภายใน ยังไม่นับรวมถึงกิจกรรมของแต่ละชุมชนและกลุ่มสมาคมชมรมที่จัดตารางกิจกรรมหนาแน่นไปตลอด 2-3 สัปดาห์ ครั้นพอเข้าสู่ช่วงเดือนพฤษภาคม การประดับโคมประทีปเพื่อเตรียมการเฉลิมฉลองในเทศกาลวันวิสาขบูชา หรือ Vesak ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่สำคัญของชาวพุทธก็เริ่มดำเนินทอดยาวไปอีก ไม่ต่ำกว่า 3-4 สัปดาห์ เรียกได้ว่าหลังจากผ่านช่วงเวลาสนุกหรรษาเถลิงศกใหม่ก็มาถึงงานบุญงานกุศล เพื่อเป็นพุทธบูชาที่สะท้อนอัตลักษณ์ของสังคมชาวพุทธและความเป็นพหุสังคมของศรีลังกาได้เป็นอย่างดี ยิ่งเมื่อเข้าถึงเดือนมิถุนายนซึ่งเป็นเดือนสำคัญแห่งการถือศีลอดของผู้นับถือศาสนาอิสลาม (Holy Month of Ramadan) โดยในปีนี้เริ่มเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ซึ่งนอกจากจะประกอบส่วนด้วยวัตรปฏิบัติของชาวมุสลิมแต่ละท่านแล้วยังมีกิจกรรมแวดล้อมของกลุ่มสมาคมและองค์กรการกุศลเข้าร่วมด้วย ท่ามกลางการเฉลิมฉลองและพิธีกรรมที่หลากหลายของผู้คนแต่ละกลุ่มชาติพันธุ์ที่อยู่ร่วมกันในสังคมศรีลังกา วันที่ 6 มิถุนายนปีนี้ก็นับว่าเป็นวันสำคัญไม่น้อยสำหรับชาวทมิฬ และผู้ใช้ภาษาทมิฬทั้งในศรีลังกาและอีกกว่า 80 ล้านคนทั่วโลก เพราะหากย้อนกลับไปในปี 2004 รัฐสภาอินเดียได้ลงมติยกสถานะภาษาทมิฬให้เป็น Classical Language ของอินเดีย ซึ่งถือเป็นภาษาแรกในภาษาราชการจำนวน 22 ภาษาของอินเดียที่ได้รับสถานะที่ว่านี้ แม้ว่าในอินเดียจะมีผู้ใช้ภาษาทมิฬอยู่เพียงประมาณ 70 ล้านคนจากจำนวนประชากรรวมกว่า 1,200 ล้านคนก็ตาม นัยความหมายของการเป็น Classical Language หรือภาษาคลาสสิกในด้านหนึ่งก็คือการยอมรับว่าภาษาทมิฬมีส่วนเป็นรากฐานให้กับภาษาอื่นๆ และมีคุณค่าในมิติของวรรณกรรม

Read More

ร่างกฎหมายต่อต้านเรื่องเพศและเชื้อชาติในการทำแท้งในประเทศอเมริกา

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศอเมริกานั้นการทำแท้งถือเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย รัฐบาลอเมริกามองว่าการทำแท้งเป็นสิทธิที่เสมอภาคกันของผู้หญิง ผู้หญิงจึงมีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าต้องการที่จะเก็บทารกไว้ต่อไป หรือต้องการที่จะทำแท้งเมื่อทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์และอาจจะยังไม่พร้อมในการมีบุตร กฎหมายของแต่ละรัฐในประเทศอเมริกานั้นมีการอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายตามระยะเวลาการตั้งครรภ์ ซึ่งจะถูกกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละรัฐ การเลือกเพศทารกในครรภ์นั้นมีมานานแล้ว โดยเฉพาะที่ประเทศจีนและอินเดีย ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่อยากได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว หลายคนน่าจะยังจำได้ว่าที่ประเทศจีนนั้น ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุญาตให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้แค่คนเดียวเท่านั้น เพื่อเป็นการคุมจำนวนประชากร คนจีนในหลายครอบครัวที่รู้ว่าได้ลูกสาวก็เลือกที่จะไม่แจ้งรัฐบาลว่ามีลูกและให้เด็กคนนั้นอยู่แบบผิดกฎหมาย หรือเลือกที่จะฆ่าเด็กทิ้ง และตั้งท้องใหม่จนกว่าจะได้ลูกชาย  ในปัจจุบันเรื่องการคุมจำนวนประชากรของแต่ละประเทศไม่ได้เป็นเรื่องที่สำคัญมากแล้ว อย่างประเทศจีนเองก็ยกเลิกให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้แค่หนึ่งคนเท่านั้น แต่เรื่องที่มีความสำคัญต่อจำนวนบุตรในแต่ละครอบครัวคือการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลงอย่างเวลานี้ แต่ละครอบครัวก็จะมีการวางแผนมากขึ้นว่าควรจะมีลูกกี่คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีลูกน้อยลงประมาณ 1–2 คนต่อครอบครัว ในขณะเดียวกันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถอัลตราซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และดูเพศของทารกได้ การที่พ่อแม่รู้เพศของทารกได้ก่อนและด้วยสภาพเศรษฐกิจทำให้หลายครอบครัวตัดสินใจทำแท้งหลังจากรู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาว อย่างที่ประเทศอินเดียก็มีค่านิยมรักและอยากได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว ดังนั้นในอินเดียจึงมีการทำแท้งที่มีสาเหตุมาจากการเลือกเพศทารกในครรภ์จำนวนมาก Sital Kalantry ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเลือกเพศทารกในอินเดียและอเมริกาพบว่า จากสถิติในช่วง 10–20 ปีมานี้ จำนวนเด็กหญิงที่เกิดมานั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในอินเดียที่สัดส่วนการเกิดระหว่างเด็กชายและหญิงต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสัดส่วนที่ต่างกันนี้น่าจะมาจากการที่คนอินเดียเลือกที่จะมีลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง โดยตัดสินใจทำแท้งถ้าหากทราบว่าทารกในครรภ์นั้นเป็นเพศหญิง ในช่วง 5–6 ปีที่ผ่านมานี้ หลายรัฐในอเมริกาได้มีการพูดกันถึงเรื่องการเลือกเพศทารกในการทำแท้ง เพราะมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจทำแท้งหลังจากที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีเพศที่ไม่ตรงกับที่ตัวเองต้องการก็จะตัดสินใจทำแท้ง ความคิดนี้ทำให้นักสิทธิมนุษยชนในหลายองค์กรเริ่มเรียกร้องไม่ให้มีการทำแท้งเกิดขึ้นในกรณีเหล่านี้  มากกว่า 25 รัฐในประเทศอเมริกาที่มีการพูดกันในร่างกฎหมายฉบับใหม่เกี่ยวกับการทำแท้ง และในปัจจุบันมีอยู่ 5 รัฐที่ห้ามไม่ให้ทำแท้งเพราะการเลือกเพศ คือรัฐเพนซิลเวเนีย อิลลินอยส์ โอคลาโฮมา

Read More

การกีดกันทางเพศในศตวรรษที่ 21

 Column: Women in Wonderland ทุกวันนี้ไม่ว่าจะไปเที่ยวที่ไหนในเมืองไทยหรือต่างประเทศ พวกเราไม่ว่าจะผู้หญิงหรือผู้ชายก็จะได้รับการปฏิบัติที่เท่าเทียมกัน ได้รับบริการจากร้านอาหาร ร้านขายของ และที่พักอย่างเท่าเทียมกัน แต่เมื่อไม่นานนี้เองผู้หญิงในประเทศซาอุดีอาระเบียกลับถูกปฏิเสธที่จะให้เข้าร้านกาแฟ เพียงเพราะเป็นผู้หญิงเท่านั้น เรื่องนี้ฟังแล้วอาจจะดูไม่น่าเป็นไปได้ที่ตอนนี้เราอยู่ในศตวรรษที่ 21 แต่ผู้หญิงกลับถูกเลือกปฏิบัติในสังคมเหมือนในอดีต เมื่อกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา โลกโซเชียลมีการแชร์รูปภาพและข้อความในทวิตเตอร์เป็นจำนวนมากว่าร้านกาแฟชื่อดังอย่าง Starbucks ปฏิเสธที่จะให้ผู้หญิงเดินเข้าไปในร้านกาแฟเพื่อซื้อกาแฟ แต่ให้พวกเธอส่งคนขับรถที่เป็นผู้ชายเข้าไปซื้อกาแฟแทน โดย Starbucks ได้ติดประกาศข้อความนี้ไว้ที่ประตูหน้าร้าน ทำให้ผู้คนจำนวนมากในกรุงริยาด ประเทศซาอุดีอาระเบียถ่ายรูปข้อความที่อยู่บนประตูของร้าน Starbucks ทั้งภาษาอังกฤษและภาษาอารบิกมาเผยแพร่ในโลกโซเชียล  เช่น มีผู้ใช้ทวิตเตอร์ได้ทวีตข้อความเหล่านี้ทันทีที่พวกเขาเห็นป้ายประกาศ ผู้หญิงซาอุดีอาระเบียคนหนึ่งได้เขียนข้อความว่า “Starbucks store in Riyadh refused 2 serve me just because I’m a WOMAN & asked me 2 send a man instead” (ร้าน Starbucks ในกรุงริยาดปฏิเสธที่จะขายกาแฟให้ฉัน

Read More

LAUGFS: เสียงหัวเราะที่ดังขึ้นของศรีลังกา

 Column: AYUBOWAN แม้ว่าความเป็นไปทางเศรษฐกิจของศรีลังกา จะดำเนินอยู่ภายใต้บริบทของบรรษัทที่มีรากฐานและอดีตกาลยึดโยงอยู่กับมรดกแห่งความจำเริญเติบโตจากยุคอาณานิคม ที่ให้ภาพลักษณ์เป็นประหนึ่งกลุ่มทุนธุรกิจผูกขาดไม่กี่กลุ่มตระกูลและเครือข่าย แต่การปรากฏตัวขึ้นของ LAUGFS เมื่อปี 1995 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา กลับให้ภาพที่แปลกแตกต่างออกไปอย่างสิ้นเชิง ขณะที่จังหวะก้าวและแนวความคิดของ W. K. H. Wegapitiya ก็ช่วยจุดประกายความคิดความฝันให้กับสามัญชนคนตัวเล็กๆ ที่จะงอกเงยขึ้นท่ามกลางโครงสร้างใหญ่ที่ปกคลุมบริบทความเป็นไปในสังคมธุรกิจของศรีลังกาด้วย W. K. H. Wegapitiya หรือชื่อเต็ม Wegapitiya Kattiyage Hemachandra Wegapitiya ในวัย 53 ปี (เกิด 1963) ผ่านการใช้ชีวิตวัยเด็กอยู่ในชนบทที่เมือง Balangoda ของอำเภอ Ratnapura (รัตนปุระ) ซึ่งแม้ว่าครอบครัวของเขาจะมีที่ดินปลูกชาแต่ด้วยจำนวนปากท้องของผู้คนในครอบครัวขนาดใหญ่ที่มีพี่น้องรวมกันถึง 9 คน ยังไม่นับรวมภาวะวิกฤตเรื่องการขาดแคลนอาหารของศรีลังกาในช่วงทศวรรษ 1970 นั่นย่อมไม่ใช่เรื่องราวฉากชีวิตที่จะผ่านมาได้โดยง่ายเลย Wegapitiya เข้ารับการศึกษาในโรงเรียนระดับตำบลจนจบการศึกษาชั้น O-Level หรือมัธยมต้น ก่อนที่พ่อของเขาซึ่งเป็นหัวหน้าครอบครัวจะเสียชีวิต และทำให้เขาต้องพักอาศัยอยู่กับพี่สาวที่แต่งงานออกเรือนไปมีครอบครัวอยู่ที่ Kegalle พร้อมกับเข้าศึกษาต่อในชั้น A-Level

Read More

มรดก warehouse สู่ยักษ์ค้าปลีก

 Column: AYUBOWAN ภูมิทัศน์ทางเศรษฐกิจของศรีลังกาคงไม่สมบูรณ์หากไม่เอ่ยถึงชื่อของ Cargills บรรษัทผู้ผลิต และประกอบการค้าปลีกรายใหญ่ที่มีโครงข่ายธุรกิจครอบคลุมตั้งแต่ภาคอุตสาหกรรมการเกษตรที่เป็นเสมือนหนึ่งโรงครัวให้กับผู้คนในดินแดนแห่งนี้ ไปจนถึงสินค้าอุปโภคบริโภค (FMCG: Fast-moving consumer goods) อีกหลากหลายผลิตภัณฑ์ จุดเริ่มต้นของ Cargills ในด้านหนึ่งไม่แตกต่างจากความเป็นไปของบรรษัทรายใหญ่แห่งอื่นๆ ที่โลดแล่นอยู่ในศรีลังกา ซึ่งต่างเป็นผลผลิตหรือมรดกที่สืบเนื่องมาจากนักธุรกิจต่างชาติที่เข้ามาแสวงประโยชน์พร้อมๆ กับเจ้าอาณานิคม และลงหลักปักฐานเติบโตมาจนถึงปัจจุบัน หากแต่ในรายละเอียดทางธุรกิจของ Cargills อาจแตกต่างจากกลุ่มผู้ประกอบการรายอื่นๆ ตรงที่ Cargills เติบโตขึ้นจากการเป็นคลังนำเข้าสินค้าและธุรกิจค้าส่งกระจายสินค้า มากกว่าที่จะเป็นผู้แทนหรือนายหน้าค้าเงินตราและชาออกไปสู่ตลาดโลก ซึ่งเป็นคุณลักษณะหลักของผู้ประกอบการในช่วงอาณานิคม ประวัติการณ์ของ Cargills เริ่มขึ้นเมื่อ William Miller และ David Sime Cargill เปิดดำเนินธุรกิจคลังสินค้า เพื่อนำเข้าและค้าส่งสินค้าจากต่างประเทศป้อนสู่ความต้องการบริโภคของผู้คนในตลาดศรีลังกา ที่บริเวณท่าเรือโคลัมโบ เมื่อปี 1844 หรือเมื่อ 172 ปีที่แล้ว  โดยสถานที่ตั้งกิจการค้าดังกล่าวได้รับการเรียกขานในเวลาต่อมาว่า “House of Cargills” กลายเป็นอาคารประวัติศาสตร์ที่มีความสำคัญไม่เฉพาะต่อเรื่องราวความเป็นไปของ Cargills หากยังสะท้อนวิถีของการพัฒนาและเปลี่ยนผ่านทางเศรษฐกิจของศรีลังกาจากยุคอาณานิคมสู่การเป็นเอกราช สังคมนิยม สาธารณรัฐจนถึงตลาดเสรีในปัจจุบันด้วย ลำดับขั้นของการพัฒนา Cargills ก้าวไปสู่หลักไมล์สำคัญอีกขั้นเมื่อนักธุรกิจชาวทมิฬนาม

Read More

ยุติการทำสุหนัตหญิงอันแสนโหดร้าย

 Column: Women in Wonderland เกือบทุกประเทศในโลกนี้ยอมรับว่าการทำสุหนัตหญิงถือเป็นการละเมิดสิทธิมนุษยชนของเด็กและผู้หญิง ซึ่งนี่ถือเป็นรูปแบบหนึ่งในการเลือกปฏิบัติต่อผู้หญิงในสังคม และยังเป็นการแสดงให้เห็นถึงความไม่เท่าเทียมกันในสังคมระหว่างผู้ชายและผู้หญิงมาเป็นเวลานาน การทำสุหนัตหญิงยังไม่ได้ช่วยให้เกิดประโยชน์ใดๆ ต่อสุขภาพของผู้หญิงและเด็ก แต่กลับทำให้เกิดอันตรายอย่างมาก การตัดอวัยวะเพศหญิงนอกจากจะทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นเสียหายแล้ว ยังทำให้ร่างกายทำงานผิดปกติอีกด้วย การทำสุหนัตหญิงหรือการขริบอวัยวะเพศหญิง ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Female Genital Mutilation (FGM) หรือ Female Genital Cutting (FGC) เป็นพิธีการที่โหดร้ายและป่าเถื่อนมาก  การทำสุหนัตหญิงเป็นจารีตของชนกลุ่มน้อยในประเทศแถบตะวันออกกลาง ทวีปแอฟริกา และบางประเทศในทวีปเอเชีย ซึ่งพิธีกรรมนี้เป็นวัฒนธรรมที่สืบทอดกันมายาวนานตามความเชื่อ คนในสมัยก่อนมีความเชื่อว่า อวัยวะเพศหญิงเป็นสิ่งสกปรกและน่าเกลียด จึงควรที่จะตัดทิ้ง นอกจากนี้ผู้หญิงถือว่าเป็นสมบัติของผู้ชาย ผู้หญิงจึงไม่ควรที่จะเกิดอารมณ์ทางเพศจนต้องสำเร็จความใคร่ด้วยตัวเอง ดังนั้นการตัดต้นตอที่ไวต่อความรู้สึกทางเพศออก จะทำให้ผู้หญิงไม่มีความรู้สึกทางเพศใดๆ และยังช่วยให้ผู้หญิงเป็นภรรยาที่จงรักภักดีและอยู่ในโอวาทของสามี ในขณะเดียวกันก็จะเป็นลูกสาวที่เลี้ยงง่าย และเป็นเครื่องช่วยประกันว่าเด็กผู้หญิงคนนี้จะเป็นสาวบริสุทธิ์จนถึงวันแต่งงาน  นอกจากนี้คนโบราณยังเชื่อว่าการขริบอวัยวะเพศหญิงจะช่วยให้เกิดสุขอนามัยที่ดีอีกด้วย เพราะในรุ่นของคนเป็นแม่และญาติๆ ทุกคนต่างก็โดนขริบอวัยวะเพศหญิงกันมาแล้วทั้งนั้น เลยทำให้พวกเขายิ่งเชื่อว่า การขริบอวัยวะเพศหญิงนั้นเป็นเรื่องที่ดี และต้องการสนับสนุนให้ลูกของตัวเองผ่านพิธีการขริบอวัยวะเพศหญิงเช่นเดียวกัน การทำสุหนัตหญิง คือการตัดอวัยวะเพศหญิงบางส่วนหรือทั้งหมดออก ซึ่งการตัดออกนี้ไม่ได้ช่วยให้ผู้หญิงและเด็กมีสุขอนามัยที่ดีขึ้นเลย องค์การอนามัยโลกได้แบ่งการขริบอวัยวะเพศหญิงออกเป็น 4 ประเภทด้วยกันคือ (1) ตัดเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดของคลิตอริส (2) ตัดเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดของคลิตอริสและแคมเล็ก (3) ตัดเฉพาะบางส่วนหรือทั้งหมดของคลิตอริส

Read More