ประเด็นความขัดแย้งระหว่างคนกับช้างถือเป็นปัญหาที่มีมาอย่างยาวนานในชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณพื้นที่โดยรอบ ซึ่งความขัดแย้งส่วนหนึ่งเป็นผลมาจากการที่มนุษย์ได้เข้าไปบุกรุกแหล่งที่อยู่อาศัยของช้าง และด้วยความเฉลียวฉลาดของช้างที่สามารถรู้ได้ว่าพื้นที่เกษตรกรรมของชาวบ้านมีพืชผลที่เป็นแหล่งอาหารอันโอชะ จึงหันมาหาอาหารกินบนพื้นที่เหล่านี้แทน เมื่อการตั้งถิ่นฐานของมนุษย์และแหล่งที่อยู่ของสัตว์ป่าทับซ้อนกัน การเผชิญหน้ากันจึงเป็นเรื่องที่ไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ ดังนั้นจึงเกิดเป็นความร่วมมือในการบรรเทาความขัดแย้งที่มีมาอย่างต่อเนื่อง เราได้เห็นความก้าวหน้าที่เกิดขึ้นจากการจัดการความขัดแย้งเหล่านี้ผ่านพลังแห่งความร่วมมือเพื่องานอนุรักษ์ในกุยบุรี หนึ่งในความก้าวหน้าที่สำคัญคือการบุกรุกของช้างป่าในพื้นที่เกษตรกรรมได้ลดลงอย่างเห็นได้ชัด โดยในปี 2566 ระบบเตือนภัยล่วงหน้า (SMART Early Warning System) ตรวจพบการบุกรุกของช้างป่า 1,104 ตัว พืชผลได้รับความเสียหายเพียง 4 ครั้ง ดังนั้น จากการบุกรุกมีเพียงร้อยละ 0.39 เท่านั้นที่ทำให้เกิดความเสียหาย ประกอบกับระบบมีการป้องกันความเสียหายได้ดีขึ้นเมื่อเทียบกับปี 2564 และ 2565 หัวใจสำคัญของความสำเร็จเหล่านี้อยู่ที่พลังแห่งความร่วมมือระหว่างองค์การกองทุนสัตว์ป่าโลกสากล สำนักงานประเทศไทย (WWF ประเทศไทย) องค์กรไม่แสวงหาผลกำไรดำเนินงานด้านอนุรักษ์เพื่อสัตว์ป่าและสิ่งแวดล้อม รวมถึงหน่วยงานภาครัฐ อย่างกรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช สมาชิกในชุมชนโดยรอบ และภาคเอกชน โดยเราจะพาทุกท่านไปเจาะลึกถึงข้อมูลเชิงอนุรักษ์กันให้มากขึ้นกับ คุณนเรศณ์ เสือทุเรียน ผู้จัดการโครงการอนุรักษ์สัตว์ป่าในกลุ่มป่าแก่งกระจาน WWF ประเทศไทย
คุณนเรศณ์ กล่าวว่า “ตลอดเวลาที่ดำเนินงานนี้มา สิ่งที่ทำให้เรามีกำลังใจไปต่อก็คือรอยยิ้มและคำชื่นชมจากชาวบ้านที่มีต่องานที่เราทำ” และด้วยความที่อยู่ในพื้นที่มานาน คุณนเรศณ์ ยังมีความสัมพันธ์ที่แน่นแฟ้นกับคนในพื้นที่เสมือนสมาชิกในครอบครัว โดยเขาเน้นย้ำว่า เวลาที่เห็นพืชผลของชาวบ้านถูกทำลาย ก็รู้สึกเหมือนผลผลิตของสมาชิกในครอบครัวโดนทำลายไปด้วย
กุยบุรีข้าง Read More