Home > Life (Page 48)

จากวันครูสู่การพัฒนาการเรียนรู้ เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญา

 ในห้วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมไทยจะให้ความสำคัญกับอนาคตผ่านกิจกรรมวันเด็ก และการวางรากฐานสู่ความสำเร็จผ่านกิจกรรมวันครู ซึ่งนับเป็นเรื่องที่น่ายินดีไม่น้อย ช่วงเวลาที่คาบเกี่ยวกันนี้ยังมีการประชุมสัมมนาทางวิชาการ ภายใต้ชื่อ “การพัฒนาการเรียนรู้เพื่อสร้างสรรค์ด้วยปัญญาแห่งประเทศไทย ครั้งที่ 1 (The 1st Thailand Constructionism Symposium 2013)” ซึ่งจัดโดยสำนักงานเลขาธิการสภาการศึกษา (สกศ.) ร่วมกับมูลนิธิศึกษาพัฒน์ มูลนิธิไทยคม และภาคเอกชน และมีพิธีเปิดงานที่ตึกสันติไมตรี ทำเนียบรัฐบาล เมื่อวันอังคารที่ 15 มกราคม ที่ผ่านมาหรือก่อนหน้าวันครูเพียง 1 วัน และมีการถ่ายทอดสดผ่านสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) อีกด้วย สาระสำคัญของการประชุมสัมมนาทางวิชาการครั้งนี้ ในด้านหนึ่งนอกจากเป็นเวทีเสวนาแลกเปลี่ยนประสบการณ์ สรุปการเรียนรู้ และเผยแพร่องค์ความรู้เกี่ยวกับกระบวนการการพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนไทยอย่างยั่งยืน ด้วยการพัฒนาศักยภาพในการเรียนรู้ของคนไทย ด้วยการประยุกต์ใช้ทฤษฎี Constructionism ในบริบทต่างๆ แล้ว กิจกรรมดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งการเน้นย้ำให้เห็นถึงทิศทางและการให้ความสำคัญต่อกระบวนการเรียนรู้  ทั้งในการพัฒนาเด็กและเยาวชนในภาคการศึกษา การพัฒนาชุมชนในเขตพื้นที่ห่างไกล และการพัฒนาศักยภาพของพนักงานที่อยู่ทั้งในภาคธุรกิจและอุตสาหกรรม ภายใต้โครงการประภาคารปัญญา หรือ The Lighthouse Project ของมูลนิธิศึกษาพัฒน์ ที่ร่วมงานกับคณาจารย์จาก Massachusetts

Read More

Let it Go, Let it Flow @ ลอยละล่อง

 “อย่างเดียวที่สะท้อนตัวตนของผมกับแฟนคือ ชื่อโรงแรม ตอนนั้นเรากำลังโหยหาอิสรภาพมาก เราอยู่ใน “กรง” มาตลอด แล้ววันหนึ่งที่หลุดออกมา เราก็คงอยากลอยไปเรื่อยๆ ใจเย็นๆ เปรียบเหมือนชีวิตที่ไหลขึ้นลงไปกับน้ำ ไหลไปเรื่อยๆ เอื่อยๆ แต่ไหลไปอย่างมีความสุข"คำบอกเล่าจากเจ้าของโรงแรมที่มีชื่อว่า “ลอยละล่อง” ซึ่งนอกจากบ่งบอกโลเกชั่นของโรงแรมที่อยู่ติดริมแม่น้ำเจ้าพระยา ชื่อนี้ยังสะท้อนสิ่งที่หนุ่มใหญ่วัย 42 ปีคนนี้แสวงหามาตลอดชีวิต ที่ผ่านมาสราวุธ ศาสนนันทน์ เป็นอดีตครีเอทีฟในบริษัทเอเจนซี โฆษณาที่ได้ชื่อว่าเป็นบริษัทชั้นนำระดับโลก ในช่วงชีวิตการทำงานในวงการโฆษณาร่วม 20 ปี เขาฝากผลงานมาแล้วหลาย ร้อยชิ้นงาน เช่น เซ็นทรัลชุด “หนูผี”, สปอนเซอร์, ไวไวควิก, เคาน์เตอร์เซอร์วิส และหม่ำวอยซ์ เป็นต้นขณะที่เรือด่วนเจ้าพระยามุ่งหน้าสู่สาทรได้ขับพ้นท่าเรือ ราชวงศ์ไปได้สักพัก ผู้โดยสารที่ชีวิตไม่เร่งรีบและจดจ่อกับการ เดินทางจนเกินไป หลายคนที่เงยหน้าขึ้นมามองทิวทัศน์สองฝั่งน้ำจะได้ชื่นชมกับภาพเจดีย์จีนทรงแปลกตางดงาม นั่นคือที่ตั้งของสมาคมเผยแผ่คุณธรรม “เต็กก่า จีจินเกาะ”วิวฝั่งตรงข้ามเป็นบ้านไม้สองชั้นอายุ 30 ปี ลอยปริ่มอยู่ เหนือแม่น้ำเจ้าพระยา คือ “ลอยละล่อง” โรงแรมขนาด 7 ห้องพัก บนพื้นที่ที่เคยเป็นโรงงานน้ำปลา คลังสินค้า และท่าเรือทรงวาด ซึ่งอยู่ภายในรั้วของวัดปทุมคงคา ถนนทรงวาดเพราะมีบ้านอยู่ริมน้ำแถวบางลำพู ออฟฟิศอยู่ราชประสงค์ สราวุธชอบเดินทางด้วยเรือด่วน และทุกครั้งที่เห็นบ้านไม้หลังนี้ เขารู้สึกหลงใหล กระทั่งเจ้าของบ้านติดประกาศ ให้เช่า เขาจดเบอร์ไว้ แต่ก็นานกว่าที่จะได้โทรหา“วันที่มาดูบ้านเป็นวันอาทิตย์

Read More

เทศกาล “กินของเน่า” ยิ่งเน่า ยิ่งนัว

 หากร้านอาหารแห่งนี้เสิร์ฟ “แกงเขียวหวาน พริกแกงซากกุ้งเน่า” พร้อมขนมจีนน้ำยาป่าที่น้ำของปลานั้นเน่าค้างปี และน้ำพริกอ่องทำจากแผ่นถั่วรวมแบคทีเรีย ตบท้ายด้วยของหวานเป็นขนมถ้วยฟูที่มีส่วนผสมของจุลินทรีย์ญาติเชื้อรา คุณจะ...ลุกหนีหรือลุยต่อ!!!คุณกิน “ของเน่า”!!! คุณนั่นแหละกินของเน่า ยิ่งเน่าก็ยิ่งอร่อย ยิ่งเน่าก็ยิ่งกิน และคุณกินของเน่าเข้าไปแล้ว ...นี่คือประโยคทักทายแรกที่ผู้ชมจะได้พบทันทีที่ก้าวเข้าสู่ห้องนิทรรศการ “กินของเน่า” ภาพที่เห็นคือบรรยากาศร้านอาหารหรูย่านทองหล่อแทนที่ชั้นวางโหลใส่เส้นพาสต้าสีสันสวยงามตามร้านอาหารอิตาเลียน แต่ร้านจำลองแห่งนี้เลือกที่จะจัดโชว์โหลปลาเน่าปลาหมักที่มีทั้งแบบเป็นต่อนและไม่เห็นตัวปลา สีสันตุ่นๆ กลิ่นก็ฉุนแรง ซึ่งล้วนแล้วแต่คัดมาจาก ไหปลาร้านานาประเทศในประชาคมอาเซียนปลาร้าเขมรเรียก “ปราฮ็อก” ฟิลิปปินส์เรียก “บากุง” เวียดนามเรียกว่า “มาม” มาเลเซียเรียก “เปกาซัม” หรือ “เบลาคัน” ขณะที่อินโดนีเซียเรียก “บากาแช็ง” พม่าเรียก “งาปิ๊” ส่วนลาวและอีสานบ้านเราเอิ้น “ปลาแดก”ว่ากันว่าปลาร้าไหแรกที่มีหลักฐานความเก่าแก่ที่สุดในประเทศใน “ประชาคมปลาร้า” ในภูมิภาคนี้มีอายุราว 2,500 ปี พบในหลุมศพ นี่เป็นพยานยืนยันว่าการกินปลาร้าเป็นวัฒนธรรมที่ถูกสืบสานตกทอดกันมายาวนานแต่ไม่ใช่แค่ดินแดนสุวรรณภูมิ ปลาร้ายังเกิดขึ้นในส่วนอื่นของโลก ด้วยเหตุที่มนุษยชาติ เพิ่งมีตู้เย็นใช้เมื่อไม่นาน แต่ผักปลาก็ไม่ได้มีสมบูรณ์ในทุกฤดูกาล คนรุ่นก่อนจึงจำเป็นต้อง หาวิธีถนอมอาหารไว้กินยามขาดแคลน โดยใช้สิ่งที่มีอยู่รอบตัว อย่างเกลือและข้าวในการหมักปลาเพื่อยืดอายุของปลา แต่ผลพลอยได้คือรสชาติก่อนจะไปชมส่วนอื่น เจ้าหน้าที่ประจำนิทรรศการในชุดพนักงานเสิร์ฟสีดำทำหน้าที่เชิญผู้ชมเข้านั่งที่โต๊ะอาหาร พร้อมกับยื่นเมนูบุฟเฟต์อร่อยไม่อั้นแบบ “เน่าๆ” ประกอบด้วย 4 รายการอาหารของเน่าที่เอ่ยมาข้างต้นไม่ว่าจะเต็มใจเลือกหรือไม่ ทันทีที่บริกรรับออร์เดอร์ เพียงไม่นาน “เชฟชาคริต แย้มนาม” ก็ออกมาพูดถึงวิธีปรุงเมนูดังกล่าวพร้อมอธิบายว่าทำไมอาหารทั้ง 4 เมนูจึงถูกเรียกว่าเป็น “ของเน่า” ผ่านจอมอนิเตอร์ขนาดใหญ่ยกตัวอย่างเมนูแกงเขียวหวาน เพราะแกงเขียวหวานมีส่วนผสมของพริกแกงและกะปิ ซึ่งกะปิเกิดจากการหมักซากเคย (กุ้งตัวเล็ก) กับเกลือ โดยเกลือจะทำหน้าที่คัดกรองเชื้อจุลินทรีย์ที่ไม่ต้องการออก เพราะจุลินทรีย์เชื้อร้ายจำนวนมากจะไม่ทนต่อเกลือ จากนั้นก็คัดกรอง “เชื้อร้าย” อีกครั้งด้วยการตากแดด  ผ่านการคัดกรองสองชั้น จุลินทรีย์ที่เหลือรอดส่วนใหญ่ ซึ่งเป็น “เชื้อดี” จะทำหน้าที่ปราบ “เชื้อร้าย” ที่หลงเหลืออยู่ อันเป็นการยืดอายุให้อาหาร โดยหากยิ่งทิ้งไว้นาน เอนไซม์ในเคยและจุลินทรีย์ที่เหลือรอดจะช่วยทำหน้าที่ปรุงรสให้กะปิหอมและอร่อยยิ่งขึ้นขณะที่ “กะปิ” เป็นตัวแทน “ของเน่าพลิกโลก” จากภาคใต้ ซึ่งใช้เป็นส่วนผสมสำคัญในเครื่องแกงและน้ำพริกหลากหลายชนิด ภาคเหนือก็มี “ถั่วเน่า” ที่เป็นเครื่องปรุง รสชาติที่กลายเป็นอัตลักษณ์ของอาหารพื้นเมืองภาคเหนือ ส่วนภาคอีสานก็มี “น้ำปลาร้า” เป็นน้ำทิพย์ชูรสในแทบทุกเมนูอาหารพื้นบ้านทั้งวัตถุดิบและวิธีการในการทำกะปิ

Read More

สามอารมณ์ทดสอบ new BMW 320d

ฟ้ากว้าง ทางสวยที่เต็มไปด้วยเนินถนนสูงต่ำ ระหว่างเส้นทางตรัง-กระบี่ เหมาะสมกับการทดสอบรถสปอร์ตซีดาน the all-new BMW 320d สีแดงเพลิงคันใหม่หรูปราดเปรียวและโฉบเฉี่ยว เพียงเสียงสตาร์ทก็บ่งบอกเครื่องพลังทวินพาวเวอร์เทอร์โบ 4 สูบ วิ่งไปราวชั่วโมงถึงที่หมาย รถคันนี้กินน้ำมันดีเซลเพียง 22.7 กม.ต่อลิตรเท่านั้น ระดับการปล่อยของเสียคาร์บอนไดออกไซด์ได้มาตรฐาน EU คือเฉลี่ยเพียง 117 กรัม/กิโลเมตร ความมั่นใจจากเครื่องยนต์ที่โดดเด่น เทคโนโลยี Twin Power Turbo 4 สูบ เร่งความเร็วได้สูงสุดถึง 230 กิโลเมตร/ชั่วโมง อัตราเร่งทันใจพุ่งจาก 0-100 กม/ชม.ใน 7.6 วินาที และสามารถเปลี่ยนระบบเกียร์อัตโนมัติ 8 สปีดได้ฉับไว ถือเป็นค่ายรถยนต์แรก ที่ติดตั้งไว้ในรถพรีเมียมระดับกลาง เมื่อนึกอยากจะเปลี่ยนโหมดขับแบบสปอร์ตก็แค่ตบเปลี่ยนเกียร์ในระยะสั้นๆ ทำให้การขับรถคันนี้เร้าใจและนิ่มนวลตามใจต้องการ รูปลักษณ์ภายนอกของ the all-new BMW 320d ตัวถังกว้างกว่าเดิมประมาณ +93

Read More

100 ปี “ไททานิค” มากกว่าเรื่องเรือล่ม

เรื่องราวของผู้โดยสาร 11 คน ต่างที่มาต่างจุดประสงค์ แต่เดินทางสู่จุดหมายเดียวกัน ทว่ากลับมีจุดจบบนเรือโดยสารลำเดียวกัน นี่คือเรื่องสั้นที่ชื่อ “หลายชีวิต” แต่สำหรับผู้โดยสารกว่า 1,500 ชีวิตที่จบชีวิตในเรือ “ไททานิค” นี่คือประวัติศาสตร์และโศกนาฏกรรมของโลก ที่ยังมีเรื่องราวของหลายชีวิตให้ค้นหา เมื่อ 15 ปีก่อนผู้คนทั่วโลกเริ่มรู้จักเรื่องราวของผู้โดยสาร บางส่วนบนเรือ “ไททานิค” ผ่านภาพยนตร์ของผู้กำกับ James F. Cameron ซึ่งถ่ายทอดหายนะของเรือลำใหญ่ที่ได้ชื่อว่า เป็น สิ่งก่อสร้างเคลื่อนที่ได้ที่มีขนาดใหญ่สุดของโลกแห่งศตวรรษที่ 20 ภาพ Leonardo DiCaprio ในบทบาทของแจ๊ค ผู้โดยสารชั้น 3 กับ Kate Winslet ผู้สวมบทโรส สาวตระกูลผู้ดีอังกฤษ ซึ่งเป็นผู้โดย สารชั้น 1 ที่ยืนกางแขนที่หัวเรือไททานิค และบทพูดของแจ๊คที่ยัง ประทับใจใครหลายคน “You jump, I jump” ยังเป็นฉากแห่ง

Read More

Dine in the Dark ลองตาบอดกันสักมื้อ

สำหรับคนตาดี ความมืดนั้นมักจะมืดกว่าที่เคยคาด แต่สำหรับคนตาบอด ความมืดนั้นหาได้มืดอย่างที่ใครคิด สำหรับคนตาดี ความมืดอาจทำให้รู้สึกกลัว แต่สำหรับคนตาบอด ความมืดนั้นมีความงาม ถ้าจะให้คนตาดีเข้าใจคนตาบอดอาจมีเพียงทางเดียวคือต้องลองให้พวกเขาตาบอดดูสักครั้ง “อยากบอกคนทั่วไปว่า คนตาบอด ก็คือคนคนหนึ่ง เรายังปกติดีอยู่ เราแค่มองไม่เห็น เราไม่ต้องการให้ปฏิบัติกับเราจนพิเศษมากเกินไป แค่ช่วยเติมเต็มในสิ่งที่เราขาดหาย แค่ช่วยเป็นตาแทนเราในบางเวลา ไม่ต้องมาทำเหมือนเราทำอะไรเองไม่ได้” ไกด์น้องกล่าว “น้อง” อายุ 32 ปี เธอเคยเป็นพนักงานคอลเซ็นเตอร์ของธนาคารแห่งหนึ่ง ก่อนจะมารับหน้าที่เป็นบริกรประจำร้านอาหารแห่งหนึ่งที่มีชื่อว่า Dine in the Dark ซึ่งเป็นร้านอาหารภายใต้คอนเซ็ปต์ใหม่ “ดินเนอร์ในความมืดมิด” ที่เพิ่งเปิดตัวในประเทศไทยเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา Dine in the Dark หรือ DID เป็นร้านอาหารที่ขายคอนเซ็ปต์การทานอาหารภายใต้ “โลกมืด” ราว คนตาบอด และมีบริกรเป็นคนตาบอดคอยให้บริการ โดย มร.เบนจามิน บาสกิ้นส์ ผู้อำนวยการฝ่ายปฏิบัติการประจำร้านนี้ อธิบายว่าคอนเซ็ปต์นี้ได้รับความนิยม มานานกว่า 10

Read More

“บ้านนพวงศ์” จับตำนานมาปั้นมูลค่า

“ความโบราณ” จะถูกลดคุณค่าเป็นเพียง “ความเก่า” ทันทีที่ไร้ซึ่งเรื่องราวเชื่อมร้อย “อดีต” กับวัตถุแห่งความทรงจำ แต่กลับมี “มูลค่า” ขึ้นทันที เมื่อทุกอย่างเชื่อมโยงกันเป็นตำนาน ถึงจะเป็นเพียงเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ก็ตามที ท่ามกลางความแออัดของรถราบนถนนราชดำเนินกลาง ถนนสายนี้ไม่ได้มีแต่ภาพอดีตความวุ่นวายทางการเมือง แต่ยังอบอวลไปด้วยอดีตทางสังคม ที่สวยงาม เพียงแค่หลบหนีความจอแจบนท้องถนนใหญ่เข้าไปในซอยดำเนินกลางใต้ จนไปหยุดยืนอยู่หน้าบ้านไม้สไตล์โคโลเนียลสีครีมหลังหนึ่ง กลิ่นอาย บ้านโบราณเบื้องหน้าบวกกับบรรยากาศเงียบสงบละแวกนั้น อาจทำให้หลายคนเผลอรู้สึกราวกับได้หลุดเข้ากระจกย้อนเข้าไปอยู่อีกภพ ณ ปัจจุบัน “บ้านนพวงศ์” เป็นโรงแรมบูติกสไตล์บ้านไทยโบราณ ซึ่งเพิ่งเปิดตัวเมื่อเดือนกันยายนในปีที่ผ่านมา “นพวงศ์” เป็นชื่อราชสกุลซึ่งสืบเชื้อสายมาจากพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้านพวงศ์ กรมหมื่นมเหศวรศิววิลาส หรือพระองค์เจ้าชายนพวงศ์ วรองค์อรรคมหามกุฎ ปรมุตมราโชรส ทรงเป็นพระราชโอรสพระองค์ที่ 1 ในรัชกาลที่ 4 ประสูติกับเจ้าจอมมารดาน้อย ธิดาของพระอินทรอำไพ (สมเด็จเจ้าฟ้าทัศไภย พระราชโอรสในสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีกับกรมหลวงบริจาภักดี ศรีสุดารักษ์) มีบุตรธิดารวม 21 คน หนึ่งในนั้นคือ หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ หม่อมเจ้าถนอม นพวงศ์ มีบุตรธิดาอีกมากมาย

Read More