Home > Cover Story (Page 178)

ไทยเบฟฯ ติดปีก “C-ASEAN” ขับเคลื่อนธุรกิจด้วย “A-380 Model”

“From soya milk to single malt” วลีข้างต้นคงไม่ใช่เพียงถ้อยความที่เลื่อนลอยขาดนัยความหมาย หากในความเป็นจริงนี่คือเป้าหมายสำคัญของบริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ในการขยายอาณาจักรธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรที่กำลังรุกไล่ตีกินทุกตลาดอย่างไร้ขอบเขตและทุกตลาดทั่วโลก โดยเฉพาะกลุ่มอาเซียนที่เตรียมพลิกโฉมครั้งใหญ่ในปี 2558 กำลังซื้อและเม็ดเงินจำนวนมหาศาล ภายใต้ยุทธศาสตร์ ใหม่ “C-ASEAN” ซึ่งกลุ่มไทยเบฟฯ ประกาศจะเป็นศูนย์กลางธุรกิจเครื่องดื่มครบวงจรของอาเซียน ไม่ใช่แค่นั้น C-ASEAN  จะเป็นศูนย์กลางแลกเปลี่ยนความเป็น “อาเซียน” ทั้งศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษาในลักษณะเดียวกับองค์การสหประชาชาติ (ยูเอ็น) ซึ่งแท้จริงก็คือ เครื่องมือและกลยุทธ์การตลาดที่สำคัญ การสร้างแบรนด์ การขยายเครือข่ายสินค้าและการสร้างความสัมพันธ์เพื่อนำไปสู่การขยายความร่วมมือทางธุรกิจ เนื่องจากศิลปะ วัฒนธรรม กีฬา และการศึกษา สามารถทำให้ทุกอย่างเป็นไปได้ง่ายขึ้น โดยเริ่มสร้างกลยุทธ์อย่างจริงจังตั้งแต่ต้นปีที่ผ่านมาผ่านกิจกรรมแรก การเป็นผู้สนับสนุนจัดคอนเสิร์ตออร์เคสตรา “มนต์เวียงจันทน์” ที่ประเทศลาวเมื่อเดือนมีนาคม 2556 การแสดงในครั้งนั้นมี “ท่านบัวเงิน ชาพูวง” รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแถลงข่าวและวัฒนธรรม ของประเทศลาว มาขับร้องเพลงร่วมกับวงของไทย มีนักธุรกิจไทย นักธุรกิจลาว สื่อมวลชนไทย สื่อมวลชนลาว

Read More

ความน่ากลัวของเออีซี “เมดิคอลฮับ” ในมือต่างชาติ

 “เจตนาในการขยายตัว เพื่อทำให้ฐานของโรงพยาบาลไทยแข็งแกร่ง เออีซีที่น่ากลัวไม่ใช่หมอสมองไหล แต่อยู่ที่กองทุนต่างประเทศที่จะรุกเข้ามาเมื่อไหร่ก็ได้ ถ้าพวกเราอ่อนแอ ตอนนี้มีกระแสอยากเข้ามากอย่างกลุ่ม IHH มีกลุ่มมาเลย์ที่เพิ่งเข้ามาถือหุ้นในโรงพยาบาลไทย เมื่อก่อน ถ้าพวกผมไม่ควบรวมกลุ่มเฮลท์เน็ตเวิร์ค พญาไท เปาโล แยกกัน แข่งกัน โอกาสที่กองทุนต่างชาติจะเข้ามาในกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ทำได้ง่าย แต่ที่ทำไม่ได้เพราะเราแข็งแรง”สัญญาณอันตรายของการรุกเข้ามาของกองทุนต่างชาติ ซึ่ง อัฐ ทองแตง ประธานเจ้าหน้าที่บริหารอาวุโสเครือโรงพยาบาลพญาไทและเครือโรงพยาบาลเปาโล เมโมเรียล  พยายามสะท้อนภาพจากสถานการณ์ล่าสุด การประกาศเป็นพันธมิตรระหว่างบริษัท เวชธานี จำกัด (มหาชน) กับกลุ่มทุน “เคพีเจ เฮลธ์แคร์ เบอร์ฮาด” (KPJ Healthcare Berhad) ซึ่งเป็นผู้ให้บริการสุขภาพรายใหญ่ของมาเลเซีย มีเครือข่ายโรงพยาบาล 22 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลในมาเลเซีย 20 แห่ง อินโดนีเซีย 2 แห่ง และเป็นสถาบันผลิตบุคลากรทางการแพทย์ หรือ KPJ University Collegeรวมทั้งมีเงินสนับสนุนที่แข็งแกร่งจากรัฐบาลของมาเลเซียในฐานะผู้ถือหุ้นใหญ่KPJ เป็นกลุ่มทุนมาเลย์รายแรกที่สามารถเจาะธุรกิจโรงพยาบาลของไทย

Read More

พิษณุโลก เมืองหน้าด่านแห่งการเปลี่ยนแปลง

 หลังจากปล่อยคู่แข่งอย่าง “นกแอร์” ผูกขาดเส้นทางบินกรุงเทพ-พิษณุโลก มานานเกือบ 10 ปี ในที่สุด ผู้นำสายการบินต้นทุนต่ำอย่าง “แอร์เอเชีย” ก็แถลงเปิดตัวเส้นทางบินสู่พิษณุโลก โดยฤกษ์บินไฟลท์แรกวันที่ 30 พฤศจิกายนนี้ ท่ามกลางเสียงเฮของชาวพิษณุโลก นักท่องเที่ยว นักลงทุน และพี่น้องในจังหวัดใกล้เคียง เบื้องต้นแอร์เอเชียจะให้บริการ 2 เที่ยวบินต่อวัน ขณะที่นกแอร์เพิ่งประกาศเพิ่มเที่ยวบินสู่พิษณุโลกเป็น 5 เที่ยวต่อวัน จากเดิมที่บินอยู่ที่วันละ 4 เที่ยว ด้วยเครื่องบิน ATR-72 บรรทุกได้ 66 ที่นั่ง และในไม่ช้าอาจจะได้เห็น “ไทยสมายล์” เข้ามาร่วมแข่งขันในเส้นทางนี้ด้วย เพราะไม่นานมานี้มีการส่งเจ้าหน้าที่มาสำรวจตลาดแล้วจากเมื่อก่อนที่มักถูกมองข้ามในเรื่องการลงทุนและธุรกิจ เพราะดูเหมือนการพัฒนาทุกอย่างจะพุ่งตรงจากกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ แต่นาทีนี้ พิษณุโลกกลายเป็นจังหวัดที่มีความตื่นตัวจากกลุ่มทุนส่วนกลางมากที่สุดจังหวัดหนึ่ง โดยมีโครงการรถไฟความเร็วสูง (Hi-Speed Train) เป็นตัวขับเคลื่อนไม่เพียงรถไฟความเร็วสูง ในแผนพัฒนาโครงสร้างระบบคมนาคมที่เพิ่งมีการอนุมัติโครงการเงินกู้ 2.2 ล้านล้านบาท ยังพบว่าสถานีพิษณุโลกถูกบรรจุอยู่ในแผนพัฒนาโครงการรถไฟรางคู่ด้วยมีความเป็นไปได้ว่าการลงทุนก่อสร้างรถไฟความเร็วสูงสายแรกจะเริ่มต้นที่เส้นทางสายเหนือ โดยเฟสแรกคือ เส้นทางกรุงเทพ-พิษณุโลก ซึ่งหากเป็นจริง พิษณุโลกจะกลายเป็นเมืองท่าที่มีโครงข่ายระบบคมนาคมที่ครอบคลุมมากที่สุดแห่งหนึ่งในเมืองไทย

Read More

“BGH” พลิก 3 โมเดลสยายปีก แผน “แฟรนไชส์คลินิก” รุกตลาด

 อาณาจักรธุรกิจ เครือกรุงเทพดุสิตเวชการ (BANGKOK DUSIT MEDICAL SERVICES: BDMS) หรือกลุ่ม BGH ที่มีมูลค่ารวมในตลาดหลักทรัพย์ (มาร์เก็ตแคป) เกือบ 170,000 ล้านบาท กำลังเปิดเกมรุกสยายปีกครั้งใหม่แบบเจาะทุกชุมชนทั่วประเทศ ซึ่งเป้าหมายของมหาเศรษฐีไทย นพ.ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ ไม่ใช่แค่การเป็นโรงพยาบาลเอกชนที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย แต่ต้องเป็นที่ 1 ในตลาดเอเชียแปซิฟิก เป็นยุทธศาสตร์โค่นล้มและสกัดคู่แข่งยักษ์ใหญ่สายพันธุ์มาเลเซีย ที่พยายามเจาะฐานประเทศไทยและประเทศอื่นๆ โดยรอบ เพื่อยึดตลาดอาเซียนทั้งหมดปัจจุบัน กลุ่ม BGH ประกอบด้วยกลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช โรงพยาบาลบีเอ็นเอช กลุ่มโรงพยาบาลรอยัล กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล กลุ่มโรงพยาบาลที่ลงทุนถือหุ้นใหญ่แต่ไม่ได้มีส่วนร่วมในการบริหารอีก 4 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลรามคำแหง โรงพยาบาลกรุงธน โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ และโรงพยาบาลเอกอุดรนอกจากนี้ ยังมีธุรกิจเกี่ยวเนื่อง ได้แก่ บริษัท เนชั่นแนล เฮลท์แคร์ ซิสเทมส์ ศูนย์วิเคราะห์โลหิตที่ใหญ่และทันสมัยที่สุดของไทยและอยู่ในระดับแนวหน้าของภูมิภาคเอเชียแปซิฟิก บริษัท

Read More

“ชุมชนน่าอยู่” การสร้างแบรนด์แบบ LPN

 พัฒนาการของ LPN ในช่วง10 ปีที่ผ่านมา ต้องยอมรับว่าแม้จะเกิดขึ้นจากผลของ “วิกฤต” แต่วันนี้จุดขายที่ว่า “ชุมชนน่าอยู่” ได้กลายเป็นประหนึ่งแบรนด์ที่มีมูลค่าของ LPN ไปแล้ว เพราะชุมชนน่าอยู่ ของ LPN สอดรับกับรูปแบบการอยู่อาศัยของคนเมืองที่จะมีสัดส่วนเพิ่มมากขึ้น และแนวคิดนี้ยังช่วยให้บริษัทรอดพ้นจากวิกฤตการเงิน วิกฤตศรัทธา แม้กระทั่งวิกฤตแบรนด์ได้ด้วย“ในชั้นต้นพวกเราก็ไม่เข้าใจว่าชุมชนน่าอยู่คืออะไร แปลว่าอะไร เราไม่ได้คิดขึ้น เพื่อใช้เป็นกลยุทธ์การตลาด แต่กำหนดให้เป็นปรัชญาองค์กร และสิ่งที่เห็นในวันนี้ เป็นผลของปลายน้ำที่เราเริ่มทำกันมานาน” ทิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานเจ้าหน้าที่บริหารแอลพีเอ็นกล่าวสมัยที่แอล.พี.เอ็น. เริ่มก่อตั้งเมื่อปี 2532 ทิฆัมพรเองก็มีความคิดไม่ต่างจากนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์รายอื่น พัฒนาโครงการเพื่อขาย หมดแล้วก็ปิดโครงการ วิธีคิดของเขาเริ่มเปลี่ยนเมื่อเจอกับวิกฤตเศรษฐกิจต้มยำกุ้งเมื่อปี 2540 ช่วงฟื้นฟูหลังวิกฤตครั้งนั้นทุกชุมชนที่บริษัทขายห้องชุดให้ ล้วนมีส่วนช่วยบริษัท กู้วิกฤต ด้วยการช่วยหาลูกค้าจากการชักชวนเพื่อนฝูงคนรู้จักมาซื้อโครงการที่ยังเหลือค้างจำนวนมากจนเขาและพนักงานต่างซาบซึ้ง“นั่นคือจุดที่ผมรู้สึกว่าผมได้รับจากลูกค้า เขาช่วยเรา เพราะอะไร ผมเชื่อว่าเป็นเพราะเราเทคแคร์ลูกค้า ถึงเวลาเดือดร้อนเขาก็อยากตอบแทน นี่คือสิ่งที่เราได้จากชุมชนที่ช่วยให้เราอยู่รอด ลองคิดดูว่าถ้าลูกค้าไม่แฮปปี้จะยอมเชียร์ให้คนมาซื้อไหม แต่นี่ลูกค้ามานั่งเซลส์ให้เลย เหตุการณ์นี้ทำให้เราเห็นผลของคุณค่าในตัวเรา และรู้สึกผูกพันกับชุมชน”นั่นเป็นจุดเปลี่ยนผ่านจากที่เน้นดำเนินธุรกิจแค่ขายห้องชุดจำนวนมากแบบเน้นปริมาณอย่างเดียว แอล.พี.เอ็น. ก็หันมาดำเนินงานด้านคุณภาพชีวิตชุมชนควบคู่กันไป โดยกำหนดให้เป็นทิศทางหลักในการแสดงตัวตนขององค์กร และมั่นใจว่าคุณภาพชีวิตชุมชนจะนำไปสู่ความยั่งยืนทางธุรกิจคุณภาพที่ว่านั้น ไม่ใช่แค่ตัวสินค้าอาคารชุด

Read More

24 ปี เส้นทางเจ้าพ่อคอนโด จาก “ชุมชนน่าอยู่” สู่ “ทาวน์ชิป”

 “กลุ่มลูกค้าของ แอล.พี.เอ็น. ยังมีเป้าหมายอยู่ที่ตลาดกลางและล่าง ถ้าจับกลุ่มลูกค้ากลุ่มนี้ได้ แม้จะเจอวิกฤตร้ายแรงแค่ไหน จะเกิดภาวะแบบปี 40 ก็อยู่ได้ กินได้ยาว เพราะฐานกำลังซื้อใหญ่มากและมีความต้องการซื้อที่อยู่อาศัยอย่างแท้จริง”ฑิฆัมพร เปล่งศรีสุข ประธานกรรมการบริหารและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท แอล.พี.เอ็น. ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) ย้ำกับ ผู้จัดการ 360 ํ ในรถส่วนตัวที่เปิดประตูให้นักข่าวขึ้นได้อย่างไม่ถือตัวระหว่างการเยี่ยมชมโครงการ “ลุมพินี ทาวน์ชิป รังสิต-คลอง1” อภิมหาโปรเจ็กต์ที่จะเป็นกลยุทธ์ขับเคลื่อนแบรนด์ “แอล.พี.เอ็น.” เพื่อรุกตลาดอสังหาริมทรัพย์ โดยเฉพาะกลุ่มคอนโดมิเนียมที่มีผู้ประกอบการเจ้าใหญ่ลงมาเล่นมากขึ้นและทุ่มทุนเจาะทุกกลุ่มเซกเมนต์ ไม่ใช่เฉพาะตลาดบนเหมือนในอดีต  นักธุรกิจวัย 64 ปี ฉายา “เจ้าพ่อคอนโด” ชี้ศักยภาพของรังสิต การเติบโตของชุมชนที่มีความต้องการที่อยู่อาศัยใกล้เมือง เพราะส่วนใหญ่เป็นชุมชนอพาร์ตเมนต์ แฟลต ห้องเช่า เรียงรายตลอดตั้งแต่คลอง 1 ยาวถึงคลอง 6 ที่สำคัญมีแนวโน้มขยายตัวมากขึ้น เนื่องจากรัฐบาลกำลังเร่งดำเนินโครงการระบบรถไฟชานเมือง (สายสีแดง) เส้นทางรังสิต-บางซื่อ กลายเป็นที่มาของยุทธศาสตร์ปลุกปั้นต้นแบบ “ทาวน์ชิป” ติดถนนเลียบคลองรังสิต-นครนายก 

Read More

“ซีพี ฟู้ดเวิลด์” โลกทั้งใบ ภายใต้ “แบรนด์” เดียว

 ความพยายามสร้างโมเดลธุรกิจค้าปลีกของเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ถือเป็นยุทธศาสตร์ใหม่ที่เจ้าสัวธนินท์ เจียรวนนท์ ต้องการบรรลุเป้าหมาย เพราะไม่ใช่แค่กลยุทธ์สร้างมูลค่าเพิ่มจากวัตถุดิบอาหารที่มีมากมายอยู่ในมืออีกหลายสิบเท่า หลายร้อยเท่า และหลายพันเท่า แต่ยังเป็นการขยายช่องทางจำหน่ายและหน้าร้าน เพื่อกระจายสินค้าถึงมือกลุ่มเป้าหมายใหม่ทั่วโลก  ปัจจุบันโครงสร้างค้าปลีกของซีพีแยกเป็น 2 ส่วน คือ กลุ่มร้านอาหาร (Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา สแน็กทูโก และอีซี่สแน็ก ซึ่งกลุ่มนี้มีการขยายแบรนด์อย่างต่อเนื่อง โดยเฉพาะกลุ่มเมนูอาหารยอดนิยม และล่าสุดขยายเพิ่มอีก 2 แบรนด์ คือ ข้าวขาหมู “โป๊ยก่ายตือคา” ข้าวไข่เจียว และเพิ่มร้าน Otop thai เข้ามาทดลองขายสินค้ากลุ่มอาหารโอท็อปจากชุมชนต่างๆ  อีกกลุ่ม คือค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ซึ่งช่วง 1-2 ปีที่ผ่านมามีการปรับและยกเครื่องหลายครั้งตั้งแต่เริ่มเปิดร้าน “ซีพีเฟรชมาร์ท” ทดลองตลาดเมื่อ 7 ปีก่อน และปรับใหม่อีกครั้ง แยกเป็น

Read More

10 ปี “ไปรษณีย์ไทย” การดิ้นรนเพื่ออยู่รอด

 หากคิดว่าธุรกิจของไปรษณีย์ไทย (ปณท.) จำกัด อยู่ที่การส่งจดหมายและขายแสตมป์ ถึงวันนี้ ไปรษณีย์ไทย (ปณท.) ได้ขยายการส่งตั้งแต่ลิ้นจี่ ลำไย แหนมเนือง ขนมไหว้พระจันทร์ ไปจนถึงน้ำยาล้างไต ตู้เย็น มอเตอร์ไซค์ ยันสกายแล็ปนอกจากพันธกิจ “การส่ง” ณ ที่ทำการไปรษณีย์ไทยยังมีบริการรับชำระบิล ฝาก-โอนเงิน เติมเงินมือถือ ขายตั๋วรถทัวร์ ขายบัตรละครเวที ฯลฯ กระทั่งรับเช่าพระก็ทำมาแล้ว และในวันที่ 1 พ.ย. ศกนี้ ปณท.ยังจะมีบริการขายประกันเพิ่มด้วยนี่อาจเป็นเพียงบางส่วนของการปรับตัวตลอด 10 ปี หลังแปรสภาพและแยกตัวจาก “การสื่อสารแห่งประเทศไทย” มาเป็น “บริษัท ไปรษณีย์ไทย จำกัด” เมื่อวันที่ 14 สิงหาคม 2546กิจการไปรษณีย์ไทยเป็นหน่วยงานรัฐที่ถือกำเนิดในสมัยรัชกาลที่ 5 ถึงวันนี้ก็มีอายุกว่า 130 ปี แต่ด้วยความเจริญของเทคโนโลยีสื่อสารที่คุกคามการดำรงอยู่ของกิจการฯ รูปแบบเดิม ซึ่งทำให้บริการโทรเลขต้องเลิกไป ถึงแม้วันนี้ จดหมาย

Read More

ถอดบทเรียน ชินเวศ สารสาส…ชีวิตจริงยิ่งกว่าละคร

 นอกเหนือจากข่าวการเสียชีวิตของ ชัยคีรี ศรีเฟื่องฟุ้ง ทายาทรุ่นที่ 3 บริษัทกระจกไทย-อาซาฮี ซึ่งเชื่อว่าเป็นการกระทำอัตวินิบาตกรรม ท่ามกลางความฉงนฉงายถึงความเป็นมาเป็นไปในแวดวงธุรกิจอุตสาหกรรมไทยแล้ว อีกข่าวหนึ่งที่กลายเป็นประเด็น ทอล์คออฟเดอะทาวน์ ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา คงหนีไม่พ้นเรื่องราวของครอบครัวสารสาส ที่ทำให้ชื่อของชินเวศ สารสาส กลับมาสู่ความสนใจของผู้คนทั่วไปอีกครั้ง หลังจากที่ เสาวณีย์ โอสถานุเคราะห์ อดีตภรรยา เดินทางพร้อมด้วยทนายเข้าแจ้งความดำเนินคดีกับชินเวศ สารสาส ข้อหาปลอมแปลงเอกสาร ชินเวศ สารสาส หลบหายไปจากสังคมอยู่นานนับทศวรรษ หลังจากที่ “จีเอฟ” อาณาจักรการเงินครบวงจรที่เขาสร้างมากับมือได้ล่มสลายลงจากวิกฤตการเงินในปี 2540 ก่อนที่ในปี 2553 ผู้จัดการ 360 ํ   จะนำบทสัมภาษณ์และเรื่องราวของเขา “บทเรียนที่ไม่มีในตำราของชินเวศ สารสาส” ขึ้นเป็นปกนิตยสารผู้จัดการ 360 ํ ในเดือนพฤศจิกายน 2553“ผมคงตายไปแล้ว” !?! ชินเวศ กล่าวขึ้นในช่วงหนึ่งของบทสัมภาษณ์ เมื่อย้อนกลับไปพิจารณาเหตุการณ์ในช่วงปี 2540 ซึ่งถือเป็นจุดพลิกผันสำคัญของชีวิต และอาจเป็นส่วนหนึ่งที่ทำให้เขาได้ตกผลึกประสบการณ์และความคิดหลายอย่างเกี่ยวกับ “ชีวิต” จนมองว่าฐานะ เงินทอง

Read More

“โกลด์เด้นแลนด์” บุกสมรภูมิบ้านรับแผนกินรวบ

 เจริญ สิริวัฒนภักดี  กำลังขับเคลื่อนธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ครั้งใหญ่ เพื่อยึดลูกค้าทุกกลุ่มและทุกตลาด หลังจากจับมือ “แคปปิตอลแลนด์” บริษัทพัฒนาที่ดินยักษ์ใหญ่จากประเทศสิงคโปร์ รุกตลาดที่อยู่อาศัย คอนโดมิเนียมและโรงแรมระดับไฮเอนด์มาอย่างยาวนาน จนกระทั่งเทกโอเวอร์บริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท แกรนด์ ยูนิตี้ ดิเวลล็อปเมน์ จำกัด (มหาชน) ขยายเข้าสู่กลุ่มคอนโดมิเนียมระดับกลาง ฮุบบริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์ จำกัด (มหาชน) หรือ “โกลเด้นแลนด์” บุกตลาดออฟฟิศ โดยล่าสุดสั่งขยายทีมผู้บริหาร เพื่อเปิดแนวรบใหม่ในกลุ่มบ้านเดี่ยวและทาวน์เฮาส์ระดับกลางขณะเดียวกัน “โกลเด้นแลนด์” ยังถือเป็นอีก “หัวหอก” ตามแผนสร้างอาณาจักรแห่งใหม่ย่านพระราม 4 ซึ่งกลุ่มทีทีซีแลนด์เพิ่งได้กรรมสิทธิ์ที่ดินแปลงใหม่จากสำนักงานทรัพย์สินส่วนพระมหากษัตริย์ เชื่อมต่อกับแผนขยายศูนย์การประชุมแห่งชาติสิริกิติ์ เฟส 2 และยังยิงยาวไปถึงการพัฒนาโครงการใหญ่ในพื้นที่สวนลุมไนท์บาซาร์เดิม เนื้อที่กว่า 120 ไร่ ซึ่งเสี่ยเจริญประกาศชิงกรรมสิทธิ์แข่งขันกับบรรดาบิ๊กเนมอีกหลายค่ายธนพล ศิริธนชัย ประธานอำนวยการ บริษัท แผ่นดินทอง พร็อพเพอร์ตี้

Read More