Home > Cover Story (Page 167)

ชฎาทิพ จูตระกูล รู้ลึก คิดต่าง สร้างการใหญ่

 ในบรรดานักธุรกิจสุภาพสตรีระดับแนวหน้าของเมืองไทยชั่วโมงนี้ หากไม่กล่าวถึง “ชฎาทิพ จูตระกูล” ก็คงต้องถือว่าผิดธรรมเนียมและตกเทรนด์ไปโดยปริยาย ไม่ใช่เพราะเธอเพิ่งเปิดตัวโครงการใหม่ที่หวังสร้างให้เป็นปรากฏการณ์ใหม่ในสังคมไทยในนาม ICONSIAM แต่เพียงลำพังเท่านั้น หากแต่เป็นเพราะแนวความคิดในการบริหารธุรกิจของ ชฎาทิพ จูตระกูล ที่เป็นกรอบโครงให้ศูนย์การค้าแต่ละแห่งในเครือสยามพิวรรธน์ ทั้ง สยามเซ็นเตอร์ สยามดิสคัฟเวอรี่ สยามพารากอน และพาราไดซ์ พาร์ค ดำเนินไปท่ามกลางความไม่หยุดนิ่ง และมีพลวัตอยู่เสมอ “เราอยู่กับที่ไม่ได้ เพราะเมื่อจุดยืนของเราตั้งแต่วันแรก คือการเป็น Trend Setter ฉะนั้นเราต้องทำตัวเองให้ Step ahead เพราะถ้าเราไม่ทำก็เท่ากับเรา Step behind” ชฎาทิพระบุ ชฎาทิพเป็นลูกสาวคนเดียว และเป็นลูกคนสุดท้องของพลโทเฉลิมชัย และแพทย์หญิงลัดดา จารุวัสตร์ มีพี่ชายสองคนที่อายุห่างกันถึง 15 และ 10 ปี คือ ชาญชัย และชาลี เป็นลูกสาวที่เติบโตขึ้นมาท่ามกลางอ้อมอกพ่อแม่ ในขณะที่พี่ชายทั้งสองไปศึกษาต่อต่างประเทศตั้งแต่เล็ก ชฎาทิพเริ่มเข้ามามีส่วนร่วมในการสร้างความยิ่งใหญ่ให้กับสยามเซ็นเตอร์และกลุ่มสยามพิวรรธน์เมื่อปี 2529 ตั้งแต่ที่ไม่เคยรู้ว่าธุรกิจศูนย์การค้าคืออะไร เป็น “โอกาส” ที่เฉลิมชัย จารุวัสตร์ ผู้เป็นบิดา

Read More

ICONSIAM จุดบรรจบของทุนและเทคนิค

 การเปิดตัวอภิมหาโครงการ “ICONSIAM”  ไม่ใช่แค่ความยิ่งใหญ่ของกลุ่มทุนที่ผนึกกำลังกัน ทั้งเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และสยามพิวรรธน์ แต่ยังสะท้อนภาพแนวคิดและการสอดประสานกลยุทธ์ของพันธมิตรคู่ใหม่อย่าง “ทิพาภรณ์ เจียรวนนท์” กับ “ชฎาทิพ จูตระกูล” แม้คนแรกดูใหม่ในวงการค้าปลีก แต่เมื่อได้คนหลังระดับ “Big Idea” เข้ามาแบ็กอัพด้านกลยุทธ์ที่สั่งสมมานานกว่า 30 ปี การรุกเข้าสู่สมรภูมิค้าปลีกระดับลักชัวรี่จึงกลายเป็นแผนก้าวกระโดดล้ำหน้าคู่แข่งหลายขั้น  จุดบรรจบของทั้งคู่เริ่มต้นจากเครือซีพีจับพลัดจับผลูสามารถซื้อที่ดินผืนใหญ่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา เนื้อที่ 40 ไร่ และในฐานะนักพัฒนาอสังหาริมทรัพย์ทำให้ “ทิพาภรณ์” กลายเป็นคนต้นเรื่อง พยายามหาพันธมิตรที่มีประสบการณ์อย่างใจเย็นและวาดภาพการพัฒนาโครงการที่มีทั้งมูลค่า คุณค่า และนวัตกรรม จนกระทั่งศุภชัย เจียรวนนท์ นึกถึงชฎาทิพ จูตระกูล ซึ่งรู้จักมักคุ้นกันในวงการธุรกิจ  บิ๊กโปรเจกต์ 5 หมื่นล้านบาท จึงเปิดฉากแรกเมื่อปี 2555  แน่นอนว่า “ชฎาทิพ จูตระกูล” ถือเป็นมือหนึ่งในวงการค้าปลีก พลิกแนวคิดสู่การทำศูนย์การค้าแบบโมเดิร์นล้ำยุค ไม่ว่าจะเป็นการปรับโฉม “สยามเซ็นเตอร์” นำเสนอคอนเซ็ปต์ใหม่ Ideaopolis เมืองแห่งไอเดียที่ล้ำเทรนด์ ศูนย์กลางแห่งจินตนาการและงานสร้างสรรค์ไร้ขีดจำกัด ศิลปะ แฟชั่น

Read More

ไอคอนสยาม ศึก One Destination

 ทิ้งเวลาห่างเกือบ 2 ปี หลังการประกาศความร่วมมือระหว่าง 3 ยักษ์  ยักษ์ใหญ่ค้าปลีกระดับไฮเอนด์ “สยามพิวรรธน์”, ยักษ์ใหญ่คอนโดมิเนียมระดับซูเปอร์ลักชัวรี่ “แมกโนเลีย” และยักษ์ใหญ่อุตสาหกรรมเกษตร “ซีพี” เมื่อวันที่ 27 มีนาคม 2555 บนที่ดินผืนใหญ่กว่า 40 ไร่ย่านเจริญนคร ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยา ชนิดไร้พิมพ์เขียวโครงการและขอบเขตจินตนาการ  จนกระทั่งได้ฤกษ์ 1 ก.ค. 2557 ทั้ง 3 พันธมิตรเปิดฉากอภิมหาโปรเจกต์ “ไอคอนสยาม (ICONSIAM)” ชนิดที่ทุกวงการต้องตื่นตะลึงกับแผนสร้างสตอรี่เรื่องใหม่ให้ประเทศไทยด้วยเม็ดเงินมูลค่ากว่า 50,000 ล้านบาท  ไม่ว่าจะเป็นแผนการสร้างเมือง พลิกวงการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ หรือเขย่าอาณาจักรค้าปลีกข่มขวัญคู่แข่ง แต่ซีรีส์ “ไอคอนสยาม” ที่กว่าจะเปิดให้บริการอีก 3 ปี เลื่อนจากแผนเดิมปี 2558 กลับยิ่งกดดันให้ 2 หัวเรือใหญ่อย่าง ชฎาทิพ จูตระกูล กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด

Read More

“เมืองไทยฯ” ฮุบช่องทาง จับ “ไลฟ์สไตล์” บุก “อินชัวร์แบงก์”

สาระ ล่ำซำ ออกอาวุธเขย่าวงการอีกครั้ง แผนต่อยอดจุดขายความเป็นบริษัทหัวคิดทันสมัยของคนเจเนเรชั่นใหม่ และกลยุทธ์ “ไลฟ์สไตล์มาร์เก็ตติ้ง” หลังจากเมื่อ 10 ปีก่อน เคยพลิกโฉม “เมืองไทยประกันชีวิต” ชนิดแหวกแนว ปลุกภาพลักษณ์ใหม่ติดอันดับ 1 ในฐานะแบรนด์แห่งความสุข ทะเล้น สนุกสนาน โดยตั้งเป้าหมายใหญ่ 2 ด้าน ยึดตลาด “ไมโครอินชัวรันส์ (Micro Insurance)” และปูทางสู่การเป็น “อินชัวร์แบงก์ (Insure Bank)” เต็มรูปแบบ  2 เป้าหมาย ภายใต้ยุทธศาสตร์ 2 ด้าน  ด้านหนึ่ง ขยายช่องทางจำหน่าย เข้าถึงลูกค้าอย่างกว้างขวางมากที่สุด โดยเฉพาะกลุ่มคนรากหญ้าและกลุ่มคนรุ่นใหม่ที่ยังไม่เคยทำประกันชีวิต ซึ่งถือเป็น “บลูโอเชียน” ที่มีมูลค่ามหาศาล  อีกด้าน ขยายผลิตภัณฑ์เข้าสู่ภาคการเงินตามไลฟ์สไตล์ของคนรุ่นใหม่ ไม่ใช่แค่การขยายผลิตภัณฑ์กรมธรรม์ประกันชีวิตตอบโจทย์ลูกค้า แต่ในอนาคต ตัวแทนเมืองไทยประกันชีวิตจะมีผลิตภัณฑ์หลากหลายและครบมือ ทั้งประกันชีวิตและผลิตภัณฑ์ทางการเงิน โดยเริ่มจาก “บัตรเครดิต” ที่ร่วมมือกับธนาคารกสิกรไทยเป็นสินค้าตัวแรก  ไม่ใช่การขยายช่องทางขายผ่านธนาคารพาณิชย์ หรือ “แบงก์แอสชัวรันส์ (Bancassurance)”

Read More

คลับสร้างยิ้ม สร้างสุข 10 ปี สไมล์คลับ

 หากย้อนเวลาถอยหลังไปเมื่อสิบปีที่แล้ว การดูโฆษณาคั่นเวลารายการโทรทัศน์ คงเป็นเรื่องที่น่าเบื่อหน่ายไม่น้อย เพราะโฆษณาเหล่านั้นต่างก็มุ่งขายสินค้าโอ้อวดสรรพคุณของตัวเองเพียงหวังให้ผู้บริโภคซื้อสินค้า และทำรายได้จากการขายสินค้านั้นๆ ส่วนรายละเอียดที่สำคัญก็เพียงแค่ทำตัวหนังสือเล็กๆ ขึ้นเตือนหน้าจอ ที่ต้องอาศัยแว่นขยายถึงจะเข้าใจ  ยุคสมัยที่หมุนเวียนเปลี่ยนผ่านไปอย่างรวดเร็ว จากเดิมที่บริษัทประกันภัยมักนำเสนอสินค้า โดยใช้ตัวเอกในด้านความมั่นคงในชีวิต หรือหลักประกันในอนาคต นำเอาความเสี่ยงในโรคภัยมาเป็นจุดขาย เนื้อหาโฆษณาที่ดูแล้วชวนให้หดหู่ ถึงจะสนใจอยากซื้อกรมธรรม์ แต่ไม่สนใจอยากจะดูโฆษณา และทัศนะเดิมๆ ของผู้บริโภคคงยังไม่เปลี่ยน  หากแต่เมื่อประโยคที่ว่า “ก็ความบันเทิงมันฝังใจ” กลายเป็นก๊อบปี้ที่ติดหูในเวลาไม่นาน โดยมีเนื้อหามาจากโฆษณาตัวหนึ่ง เริ่มจากคนกลุ่มหนึ่งไปยืนรอกดเงินหน้าตู้ ATM บรรยากาศเคร่งเครียดกลับดูสนุกสนานขึ้นเมื่อทุกคนพร้อมใจเต้นรำ ทำให้เมืองไทยสไมล์คลับ โครงการเรียกยิ้มจากบริษัทเมืองไทยประกันชีวิต ถูกพูดถึงและกลายเป็นทอล์คออฟเดอะทาวน์ในเวลาไม่นาน  1 เมษายน 2547 เมืองไทย Smile Club ถูกก่อตั้งขึ้น พร้อมแนวคิดที่ต้องการมอบความสุขและรอยยิ้มแก่ลูกค้าที่ซื้อกรมธรรม์ นำทัพด้วยหัวเรือคนใหม่อย่างสาระ ล่ำซำ ซึ่งนั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร และแม้จะเป็นวันเอพริลฟูลเดย์ แต่หัวเรือใหญ่ก็ทำให้สโลแกน “เมืองไทย Smile Club ศูนย์รวมกิจกรรมเพื่อความสุขและรอยยิ้มของคนหัวคิดทันสมัย” เป็นจริง พฤติกรรมที่ผู้บริโภคมักเดินเลี่ยงหลีกหนีบูธประกันชีวิตตามห้างสรรพสินค้า หรือภาพลบในทัศนคติที่หลายคนมีต่อตัวแทนประกันนั้นเริ่มลดน้อยลง เพราะสิ่งล่อใจที่เรียกว่าความสุข ที่แบรนด์เมืองไทยฯ จับถูกจุดชูให้เป็นจุดขายหลัก สร้างกระแสทำให้ลูกค้าจับต้องและรู้สึกได้ จากอีเวนต์ที่สร้างเองแล้ว นายใหญ่อย่างสาระยังจับมือกับพันธมิตรมากมายเพื่อจัดอีเวนต์เพิ่ม หวังที่จะตอบสนองไลฟ์สไตล์ของลูกค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด แต่ใช่ว่าลูกค้าจะสามารถเข้าร่วมกิจกรรมหรือได้รับส่วนลดต่างๆ

Read More

ย้อนรอยดีลฮุบ “เจ็ท” สงคราม “จีสโตร์” เดือด

 19 เมษายน 2550 วันบรรลุดีลประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งในวงการน้ำมัน เมื่อบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ทุ่มเม็ดเงินเกือบ 10,000 ล้านบาท เอาชนะการประมูล เซ็นสัญญาฮุบกิจการค้าปลีกน้ำมัน “JET” 147 แห่ง และร้านสะดวกซื้อแบรนด์ "Jiffy” ในประเทศไทยทั้งหมดจากบริษัท  ConocoPhillips ประเทศสหรัฐอเมริกา    การควบรวมกิจการครั้งนั้นเขย่าขวัญคู่แข่ง เพราะ ปตท. มีส่วนแบ่งการตลาดเพิ่มขึ้นทันทีอีก 5-6% หรือประมาณ 34-35% มากกว่า 1 ใน 3 ของตลาด จากเดิมยึดกุมไว้ 1 ใน 4 และมีสถานีบริการน้ำมันเพิ่มขึ้นรวมกว่า 1,300 แห่งทั่วประเทศ ถือเป็นการติดปีกรุกตลาดธุรกิจค้าปลีกน้ำมันแบบครบเครื่องอย่างแท้จริง ทั้งนี้ ดีล “เจ็ท” ไม่ใช่แค่แผนตัดต้นทุนการขยายสถานีบริการน้ำมัน  จากเดิม ปตท. ตั้งเป้าปูพรมผุดปั๊มขนาดใหญ่ระดับ Premium Station ทั่วประเทศเพิ่มอีก 200

Read More

เกมรุกใหม่ ปตท. ยึดตลาดค้าปลีก

 จากบริษัทยักษ์ใหญ่ด้านพลังงาน ปตท. เปิดเกมรุกใหม่ตามนโยบายการขยายธุรกิจกลุ่มนอนออยล์ (Non-oil) เข้าสู่ธุรกิจค้าปลีกชนิดล้ำหน้าคู่แข่งหลายขุม โดยเฉพาะการจับมือร่วมทุนกับกลุ่ม เค.อี.แลนด์ ผุดคอมมูนิตี้มอลล์ “เดอะ คริสตัล พีทีที” สร้างโมเดลธุรกิจที่สามารถเพิ่มส่วนต่างกำไรแบบพุ่งพรวดกว่าเดิมหลายเท่า ทั้งยอดขายน้ำมันและรายได้กลุ่มนอนออยล์นับสิบโปรเจกต์  ที่สำคัญ ปตท. วางแผนขยายโครงการอย่างต่อเนื่อง ในฐานะแลนด์ลอร์ดที่มีที่ดินทั่วประเทศและเงินลงทุนเต็มหน้าตัก  ถ้านับจากปี 2550 หลังบริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) ซื้อกิจการสถานีบริการน้ำมัน “เจ็ท” และร้านค้าสะดวกซื้อ “จิฟฟี่” จากบริษัท ConocoPhillips สหรัฐอเมริกา โดยจัดตั้งบริษัท ปตท. บริหารธุรกิจค้าปลีก จำกัด หรือ PTTRM เป็นผู้บริหารแยกออกจากปั๊ม ปตท. ของบริษัทแม่ รวมถึงบุกขยายธุรกิจกลุ่มนอนออยล์อย่างจริงจังต่อยอดจากแบรนด์ “จิฟฟี่”  ปัจจุบัน PTTRM ดูแลปั๊ม ปตท. รวม 150 แห่ง และธุรกิจนอนออยล์อีก 7 กลุ่ม เริ่มจากกลุ่มร้านค้าสะดวกซื้อ (Convenience

Read More

ปตท. พลังที่ยั่งยืน ในห้วงแห่งการเปลี่ยนผ่าน

 ช่วงเวลา 2-3 สัปดาห์ที่ผ่านมา คงไม่มีหน่วยงานหรือวิสาหกิจแห่งใดได้รับความสนใจและกล่าวถึงมากเท่ากับ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) รัฐวิสาหกิจที่มีรายได้มากที่สุดของประเทศไทย โดยเฉพาะประเด็นว่าด้วยบทบาทและทิศทางขององค์กรแห่งนี้ว่าจะเป็นไปด้วยท่วงทำนองอย่างไร ขณะเดียวกัน การถกแถลงเพื่อหาหนทางจัดการกับอนาคตของ ปตท. กลับทำให้ภาพอดีตขององค์การเชื้อเพลิง ในสังกัดกรมการพลังงานทหารสำนักงานปลัดกระทรวงกลาโหม และ “สามทหาร” ที่เป็นประหนึ่งต้นทางก่อนการก่อร่างสร้างอาณาจักรพลังงานของไทยในนาม ปตท. ผุดพรายขึ้นมาในห้วงกระแสสำนึกของผู้คนอีกจำนวนหนึ่งไปโดยปริยาย ประวัติการณ์และความเป็นไปของ ปตท. ในวันนี้ในด้านหนึ่งดำเนินไปท่ามกลางอุดมการณ์ที่สวนทางและเป็นคู่ขนานระหว่างการเป็นหน่วยงานรัฐวิสาหกิจที่ถือหุ้นส่วนใหญ่โดยรัฐ พร้อมกับหน้าที่ในการประคับประคองให้สามารถพึ่งพาตัวเองในเชิงพลังงานและเอื้อประโยชน์ให้กับประชาชนส่วนใหญ่ แต่ในอีกบริบทหนึ่งของ ปตท. ในฐานะที่เป็นบริษัทมหาชนจดทะเบียนระดมทุนอยู่ในตลาดหลักทรัพย์ สถานภาพดังกล่าวกลับทำให้ ปตท. ต้องแสวงหารายได้รับผิดชอบต่อผู้ถือหุ้น ตามหลักสากลของการประกอบกิจการในเชิงธุรกิจ ความขัดกันในเรื่องผลประโยชน์ในการดูแลส่วนได้ส่วนเสียให้กับประชาชนทั่วไปและผู้ถือหุ้นในตลาดหลักทรัพย์ในลักษณะเช่นว่านี้ จึงกลายเป็นวาทกรรมที่อยู่คู่และครอบงำความเป็นไปขององค์กรแห่งนี้มาเกือบตลอดระยะเวลาของการดำรงอยู่ของ ปตท. เลยก็ว่าได้ หากในความเป็นจริงไม่ว่า ปตท. จะมีทิศทางในอนาคตอย่างไร ดูเหมือนว่าผู้มีความสามารถและเชี่ยวชาญซึ่งได้ถูกสถาปนาให้เป็นผู้บริหารและคณะกรรมการบริษัท กลับกลายเป็นกลุ่มบุคคลกลุ่มแรกๆ ที่จะได้รับการดูแลจาก ปตท. เป็นพิเศษตั้งแต่ต้น และนั่นเป็นเหตุให้ผู้คนจำนวนไม่น้อยต่างมุ่งหมายที่จะได้เข้ามามีบทบาทและตำแหน่งใน ปตท. อย่างต่อเนื่องไม่ต้องนับรวมเรื่องผลประโยชน์รายทางอื่นๆ ที่ยังอภิปรายและหาข้อเท็จจริงมาพิสูจน์ระบุความถูกผิดได้อย่างชัดเจน มิติที่ว่านี้ ดูจะเป็นเรื่องราวที่สะสมและเป็นรากของปัญหาสำหรับ ปตท. มาเนิ่นนาน แม้ว่าจะไม่ใช่ประเด็นทางยุทธศาสตร์ของการพัฒนาธุรกิจก็ตาม ย้อนกลับไปปี 2521 “การปิโตรเลียมแห่งประเทศไทย” หรือ “ปตท.” ก่อตั้งขึ้นเพื่อแก้ไขสถานการณ์และลดความเสี่ยงจากการขาดแคลนพลังงานในช่วงวิกฤตน้ำมันโลก

Read More

อาหารญี่ปุ่น แผ่กว้างและซึมลึก

 ท่ามกลางมูลค่าทางการตลาดที่มีมากกว่า 2 หมื่นล้านบาทและมีอัตราการเติบโตอย่างต่อเนื่องปีละกว่า 10-15% ต่อปี ดูเหมือนว่าธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นจะกลายเป็นอีกหนึ่งธุรกิจที่มีผู้ให้ความสนใจเข้าร่วมช่วงชิงโอกาสและทำให้ธุรกิจร้านอาหารญี่ปุ่นเต็มไปด้วยสีสันมากขึ้นไปอีก ก่อนหน้านี้กลุ่มร้านอาหารในเครือของเซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป หรือ CRG ซึ่งจัดว่าเป็นหนึ่งในผู้นำ ร้านอาหารญี่ปุ่นในสไตล์ QSR (Quick Service Restaurants) จากเหตุที่มีแบรนด์หลากหลาย ทั้งแบรนด์ที่สร้างขึ้นเองหรือการได้สิทธิ์แฟรนไชส์จากต่างประเทศเข้ามาทำตลาด ดูจะครองความได้เปรียบในมิติของหน้าสัมผัสที่สามารถรองรับการเข้าถึงของผู้บริโภคได้อย่างกว้างขวาง โดยที่ผ่านมา ร้านอาหารญี่ปุ่นในเครือของ เซ็นทรัล เรสตอรองส์ กรุ๊ป จำกัด CRG ไล่เรียงรายชื่อไม่ว่าจะเป็นร้านสเต๊กสไตล์ญี่ปุ่น ในนาม เปปเปอร์ ลันช์ (Pepper Lunch) ร้านราเมง ในนาม ชาบูตง (Chabuton) ร้านชาบู ชาบู สไตล์ญี่ปุ่น ในนาม ริว ชาบู ชาบู (RYU Shabu Shabu) หรือแม้กระทั่งร้านข้าวหน้าเนื้อแบบญี่ปุ่น ในนาม โยชิโนยะ (YOSHINOYA) รวมถึงร้านโอโตยะ

Read More

ก้าวรุกแบบเซน

 จากจุดเริ่มต้นของการเป็นหุ้นส่วนในร้านอาหารญี่ปุ่น แบรนด์ดัง “ฟูจิ” ก่อนจะแตกแขนงออกมาเป็นส่วนหนึ่งในงานอดิเรกและธุรกิจส่วนตัว ที่สร้างรายได้ แต่วันนี้ สุทธิเดช จิราธิวัฒน์ กำลังหนุนนำธุรกิจให้ก้าวเดินไปข้างหน้าอีกขั้น และเป็นก้าวย่างที่น่าสนใจ เพราะด้วยสายตาที่มองเห็นเทรนด์การเติบโตของอาหารญี่ปุ่น ซึ่งเริ่มเป็นที่นิยมในหมู่ผู้บริโภคชาวไทยมาอย่างต่อเนื่อง ทำให้ร้านอาหารญี่ปุ่นภายใต้ชื่อ Zen Restaurant เติบโตขึ้นจากร้านแรกในซอยทองหล่อเมื่อ 22 ปีที่ผ่านมา สามารถขยายสาขาเพิ่มจำนวน และดำเนินควบคู่ไปพร้อมกับการขยายตัวของห้างเซ็นทรัลตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมาไปโดยปริยาย เป็นการเติบโตภายใต้แนวความคิด “เรียบ ง่าย เข้าถึงง่าย แต่ใส่ใจเรื่องเล็กๆ น้อยๆ” ที่อาจเรียกได้ว่าถอดร่างมาจากคําว่า ZEN ได้เป็นอย่างดี ควบคู่กับ concept “วิถีแห่งคุณภาพ วิถีแห่งเซน” (Quality is our way of life) ที่สามารถสร้างความแตกต่างจากคู่แข่งขันและผู้ประกอบการรายอื่นได้อย่างชัดเจน ขณะเดียวกัน ZEN ได้ขยายกลุ่มเป้าหมายจากฐานลูกค้าญี่ปุ่นผ่านมายังกลุ่มลูกค้าชาวไทย ที่ใส่ใจเรื่องสุขภาพ และเทรนด์การบริโภคอาหารญี่ปุ่นของคนไทยเพิ่มมากขึ้น และจากจํานวนสาขาที่เพิ่มมากขึ้น ทําให้ธุรกิจที่เป็นงานอดิเรกของสุทธิเดช ต้องหันมาปรับเปลี่ยนวิธีการบริหารเป็นรูปแบบจริงจังมากขึ้น โดย ZEN ปรับภาพลักษณ์ใหม่ทั้งหมดตั้งแต่ปลายปีที่ผ่านมา พร้อมเปิดเกมเชิงรุก ด้วยการตอกย้ำแบรนด์ ZEN

Read More