Home > Cover Story (Page 162)

คุณค่าแห่ง “ทอง”

 ทั้งประดับ-เก็บออมและลงทุน  พลันที่คิดจะซื้อทองมาเป็นเครื่องประดับสถานะหรือแม้จะลงทุนในฐานะที่เป็นการเก็บออม เชื่อแน่ว่า เยาวราชเป็นสถานที่แรกๆ ที่ผุดขึ้นมาในความคิด เพราะที่นี่เป็นประหนึ่งศูนย์กลางและย่านการค้าทองคำแหล่งใหญ่ของเมืองไทย ความผันแปรของราคาทองคำในช่วงหลายปีที่ผ่านมาทำให้ประพฤติกรรมของผู้บริโภคทองคำปรับเปลี่ยนไปมาก จากเดิมที่ซื้อทองในฐานะเครื่องประดับกลายมาเป็นการซื้อทองคำเพื่อเก็บออมและมีไม่น้อยที่ซื้อทองคำในลักษณะเป็นการลงทุนหวังผลเก็งกำไรกันเลยทีเดียว “ในอดีตลูกค้าจะซื้อทองคำรูปพรรณ 95% ซื้อทองแท่ง 5% แต่ตอนนี้สลับกัน ซื้อทองคำแท่ง 95% และซื้อทองรูปพรรณ 5%”  จิตติ ตั้งสิทธิ์ภักดี นายกสมาคมค้าทองคำแห่งประเทศไทย ผู้คร่ำหวอดอยู่ในวงการค้าทองคำบนถนนเยาวราชมานานกว่า 50 ปี ขยายความการเปลี่ยนแปลง ย้อนกลับไปในอดีต ทองคำนิยมใช้เป็นเครื่องประดับและเก็บออมบางส่วน ในลักษณะเก็บสะสมทีละเล็กทีละน้อย ผู้บริโภคที่ซื้อทองคำมักมีฐานะปานกลาง ในขณะที่ผู้บริโภคที่มีฐานะไม่นิยมซื้อทองคำเพื่อสวมใส่ แต่ซื้อทองคำเพื่อเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจมากกว่า พฤติกรรมของผู้บริโภคที่หันมาซื้อทองคำแท่งเพิ่มมากขึ้นในช่วงทศวรรษที่ผ่านมา ส่วนหนึ่งอาจเป็นเพราะข่าวสารที่เข้าถึงได้ง่ายแม้อยู่กันคนละซีกโลก รวมถึงการเปิดตลาดซื้อขายทองคำล่วงหน้าและการปรับขึ้นอย่างรวดเร็วของราคาทองคำที่ทำให้เกิดภาวะตื่นทอง สำหรับตลาดทองในไทย มีความผันผวนตามราคาทองคำโลกอย่างไม่อาจเลี่ยงกลไกการขับเคลื่อนธุรกิจทองคำผ่านสมาคมค้าทองคำ (Gold Traders Association) ซึ่งแม้จะมีเป้าประสงค์ในการก่อตั้งสมาคมเพื่อสนับสนุนช่วยเหลือและแลกเปลี่ยนความรู้ ข้อมูลข่าวสาร และความคิดเห็นในระหว่างสมาชิกในอันที่จะอำนวยประโยชน์แก่การประกอบธุรกิจ รวมทั้งให้เกิดประโยชน์ต่ออุตสาหกรรมการเงินและเศรษฐกิจโดยรวมด้วย ตลอดจนสมาคมฯ ยังทำหน้าที่เป็นตัวแทนของผู้ประกอบการค้าทองคำในการเจรจาทำความตกลงกับบุคคลหรือองค์กรต่างๆ ภายนอกเพื่อประโยชน์ร่วมกันในการประกอบธุรกิจของสมาชิก แต่บทบาทสำคัญที่สุดของสมาคมผู้ค้าทองคำก็คือ การกำหนดราคาทองคำแท่งและทองรูปพรรณเพียงรายเดียวในประเทศ โดยคณะกรรมการควบคุมราคาทองของสมาคมฯ หรือที่เรียกว่า “5 เสือเยาวราช” มาจากตัวแทนร้านทองย่านเยาวราช 5  แห่ง อันประกอบด้วยห้างทอง จินฮั้วเฮง ฮั่วเซ่งเฮง

Read More

เรื่องเล่าจากหนามเตย มูลค่าเพิ่มที่ไม่สิ้นสุดของสื่อภาพ

 หากใครเคยมีโอกาสได้ดูภาพยนตร์เรื่อง “The Secret Life of Walter Mitty” ที่เข้าฉายในบ้านเราเมื่อปี 2556 หนังนอกกระแสที่ต้องยอมรับว่าหากใครได้ดูก็ต้องอมยิ้มไปตามๆ กัน อีกทั้งยังได้รับเสียงวิจารณ์ในทางบวกจากบรรดาช่างภาพมืออาชีพและช่างภาพสมัครเล่นที่ให้คะแนนภาพสวยเต็มสิบ The Secret Life of Walter Mitty หนังที่เล่าเรื่องราวของ วอลเตอร์ มิตตี้ ชายหนุ่มช่างฝันที่ทำงานเป็นผู้ลำดับภาพนิ่งให้กับนิตยสารแห่งหนึ่ง ภายใต้สถานการณ์ที่โลกของสื่อสิ่งพิมพ์กำลังเปลี่ยนผ่านไปสู่การเป็นสื่อดิจิตอล ซึ่งแผนกฟิล์มของเขากำลังจะถูกยุบ วอลเตอร์ใช้ชีวิตด้วยความจำเจและผ่อนคลายตัวเองด้วยการสร้างจินตนาการสุดบรรเจิด จุดเปลี่ยนชีวิตของเขาอยู่ที่การที่เขาต้องเดินทางผจญภัยเพื่อตามหาช่างภาพประจำนิตยสารเพื่อนำฟิล์มหมายเลข 25 กลับมาตีพิมพ์ในนิตยสารฉบับสุดท้าย ที่กล่าวถึงหนังเรื่องนี้ไม่ได้หมายความว่าผู้ที่ทำงานเกี่ยวกับฟิล์มจะตกอยู่ในสถานการณ์เดียวกันกับวอลเตอร์ มิตตี้ เสมอไป บางสถานการณ์อาจตรงกันข้ามโดยสิ้นเชิง เพียงแค่ปัดฝุ่นสกัดเอาราที่อาจจะเกาะติดผิวฟิล์มออกไป และผูกเรียงร้อยเรื่องราวใหม่ให้กับแผ่นฟิล์มเหล่านี้ก็ไม่ต่างอะไรกับการทำทองให้เป็นทอง ทำสิ่งที่มีค่าให้มีมูลค่าและมากไปด้วยคุณค่าให้เป็นประโยชน์ในการสืบค้น การแข่งขันในเรื่องความเร็วของการนำเสนอข้อมูลข่าวสาร กลายเป็นอีกหนึ่งตัวแปรสำคัญที่ผลักดันให้เทคโนโลยีด้านการถ่ายภาพถูกนำมาพัฒนาอย่างรวดเร็วในช่วงไม่กี่สิบปีให้หลัง หมดยุคที่ต้องมานั่งถอดฟิล์ม ตัดฟิล์ม จับเวลาเขย่าแท็งก์ล้างฟิล์ม กระทั่งกระบวนการอัดภาพลงกระดาษในห้องมืดแล้ว แม้จะยังมีความคลาสสิก แต่ด้วยขั้นตอนที่ยุ่งยาก ใช้เวลานาน และต้นทุนสูง ฟิล์มที่ใช้บันทึกภาพจึงถูกแทนที่ด้วยเทคโนโลยีที่เรียกว่าดิจิตอล กล้องฟิล์มถูกพัฒนาจนกลายเป็นกล้องดิจิตอล และยังพัฒนาต่อเนื่องอย่างไม่สิ้นสุด การพัฒนาด้านนี้เองที่ทำให้ Color Lab หลายแห่งต้องปิดตัวลง เมื่อความต้องการที่จะใช้บริการล้างอัดภาพเฉกเช่นสมัยก่อนนั้นลดลงอย่างน่าใจหาย จากที่เราสามารถทบทวนเรื่องราวเก่าๆ

Read More

สายการบินราคาประหยัด แอร์เอเชีย ยังทิ้งห่างคู่แข่ง?

 ฤดูการท่องเที่ยวปลายปี กำลังกลายเป็นแนวรบสำหรับสายการบินราคาประหยัดให้ต้องห้ำหั่นและอัดแคมเปญจูงใจนักเดินทางอย่างหนัก ด้วยหวังจะเร่งสร้างยอดรายได้ให้พลิกฟื้นกลับมาหลังจากอยู่ในสภาพซบเซามานานจากทั้งเหตุเศรษฐกิจและการเมืองในช่วงที่ผ่านมา แผนการตลาดช่วงปลายปีที่ว่านี้ ไทยแอร์เอเชีย ดูจะมีระบบและวิธีคิดที่ต่อเนื่องล้ำหน้าคู่แข่งขันทั้งนกแอร์ และไทยสมายล์ อยู่พอสมควร เพราะนอกจากจะมีโปรโมชั่นบัตรโดยสารราคาถูกพิเศษเริ่มต้นที่ 0 บาทออกมาเอาใจนักเดินทางแบบข้ามปีแล้ว ยังมีบริการส่งเสริมการขาย พร้อมกับการเปิดเส้นทางการบินภายในประเทศเพิ่มขึ้นอีก 4 เส้นทางการบิน การเปิดเส้นทางการบินเพิ่มของไทยแอร์เอเชีย ทำให้จำนวนจุดหมายปลายทางของไทยแอร์เอเชีย ครอบคลุมหัวเมืองสำคัญในภูมิภาคมากขึ้นไปอีก และทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถใช้ศักยภาพของฝูงบิน A320-200 ที่ประจำการอยู่ 40 ลำ ได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ และยิ่งทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถบริหารต้นทุนได้อย่างมีประสิทธิผล ประเด็นนี้อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ฉุดรั้งความสามารถของคู่แข่งขันอย่างนกแอร์และไทยสมายล์ไปโดยปริยาย และก่อให้เกิดปัญหาในการให้บริการอย่างหลีกเลี่ยงได้ยาก ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจติดตามอย่างมากในช่วงที่การแข่งขันกำลังเข้มข้นนี้ก็คือ ข่าวที่เครื่องบินของนกแอร์ประสบปัญหาไม่สามารถให้บริการได้ในเที่ยวบินตามตารางการบิน เชียงใหม่-กรุงเทพฯ เมื่อวันที่ 17 พฤศจิกายนที่ผ่านมา โดยระบุเพียงว่าเกิดจากการขัดข้องทางเทคนิค จำนวนเครื่องบินประจำฝูงบินอาจเป็นปัจจัยหนึ่งที่จะชี้วัดความสามารถในการแข่งขัน เพราะหลังจากที่ สายการบินราคาประหยัดเกือบทุกรายย้ายฐานการปฏิบัติการมาอยู่ที่ดอนเมือง ทำให้ข้อแตกต่างของการให้บริการภาคพื้นดินระหว่างสายการบินแต่ละแห่งหดหายไปโดยปริยาย จุดชี้ขาดในการเลือกใช้บริการของผู้โดยสารจึงชี้วัดกันที่ระดับราคาค่าโดยสาร การให้บริการบนเครื่อง และแน่นอนว่าความสะดวกสบายและปลอดภัยของอากาศยานย่อมเป็นปัจจัยที่ผู้โดยสารให้ความสนใจ ไทยแอร์เอเชียใช้ประเด็นดังกล่าวสื่อสารการตลาดให้ผู้โดยสารรับฟังมาโดยตลอด โดยเฉพาะการเน้นนโยบายใช้เครื่องบินที่ใหม่อยู่ตลอดเวลาของไทยแอร์เอเชีย เป็นวิธีการหนึ่งในการดึงดูดใจลูกค้าและสร้างความแตกต่างจากสายการบินต้นทุนต่ำแห่งอื่นๆ และทำให้ไทยแอร์เอเชียสามารถลดต้นทุนในการบำรุงรักษาได้อีกทางหนึ่งด้วย แต่ประเด็นที่สำคัญยิ่งขึ้นไปอีกในสถานการณ์การแข่งขันที่บีบคั้นของอุตสาหกรรมการบินในขณะนี้ก็คือ ความได้เปรียบเรื่องเส้นทางการบินที่หลากหลาย และจำนวนความถี่ในเส้นทางหลัก ที่ดูเหมือนว่าไทยแอร์เอเชียจะบริหารจัดการได้ดี เมื่อเทียบกับคู่แข่งขันรายอื่นๆ ทิศทางการเติบโตของไทยแอร์เอเชียสอดรับและดำเนินไปท่ามกลางโครงสร้างใหญ่ของแอร์เอเชีย ที่กำลังจะครบรอบ 20 ปี ของการให้บริการในปี 2016 และเป็นแบรนด์ที่เติบโตอย่างรวดเร็วในช่วง 2 ทศวรรษที่ผ่านมาอย่างน่าสนใจติดตามไม่น้อย

Read More

ศึกชิงจ้าวเวหา AirAsia ต้นแบบการเติบโต?

 การแข่งขันฟุตบอลพรีเมียร์ลีกของอังกฤษ เมื่อช่วงสัปดาห์แรกของเดือนพฤศจิกายน ระหว่างควีนส์ปาร์คเรนเจอร์กับแมนเชสเตอร์ ซิตี้ แม้ผลออกมาจะเสมอกันไปอย่างสนุกด้วยสกอร์ 2:2 แต่การแข่งขันในแวดวงธุรกิจสายการบิน ที่ทั้ง AirAsia และ Etihad ที่ต่างเป็นสปอนเซอร์รายใหญ่ของทีมฟุตบอลชั้นนำทั้งสองแห่งนี้ ดูเหมือนจะเพิ่งเริ่มต้นขึ้น ความเป็นจริงด้านหนึ่งของการแข่งขันในเกมพรีเมียร์ลีกและธุรกิจการบินก็คือ ทั้งแมนเชสเตอร์ ซิตี้ และ Etihad ไม่ใช่คู่ต่อกรในระดับเดียวกับควีนส์ปาร์คเรนเจอร์ และ AirAsia แต่อย่างใด หากแต่ในสังเวียนของการแข่งขันที่ไม่มีใครยอมใครนี้ เป้าหมายคือการได้มาซึ่งผลลัพธ์ที่น่าพึงใจต่างหาก AirAsia เปิดตัวและเริ่มทำการบินในฐานะสายการบินราคาประหยัด เมื่อวันที่ 18 พฤศจิกายน 1996 หรือเมื่อ 18 ปี ที่ผ่านมา ซึ่งต้องยอมรับว่า แม้จะเคลื่อนผ่านมรสุมหลายครั้งแต่ AirAsia ก็สามารถทะยานผ่านอุปสรรคและเติบโตจนกลายเป็นหนึ่งในแบรนด์ชั้นนำของทั้ง ASEAN และ Asia ไปแล้ว ความสำเร็จของ AirAsia ในด้านหนึ่งอยู่ที่การวางยุทธศาสตร์และตำแหน่งทางธุรกิจที่ชัดเจน โดยเฉพาะการยึดมั่นใน “low cost” ซึ่งทำให้การบริหารและพัฒนาองค์กรดำเนินไปอย่างรัดกุม ทั้งในมิติของการกำหนดกลุ่มเป้าหมาย และการใช้เครื่องบินรุ่นเดียวประจำการในฝูงบิน เพื่อลดต้นทุนการซ่อมบำรุงและเกิดความสะดวกในการให้บริการ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ แม้ว่าทุกประเทศในภูมิภาค

Read More

โรดแมพ ไทยเบฟ ไล่จี้ “คิริน-อาซาฮี”

 ปี 2558 ถือเป็นจุดสตาร์ทครั้งสำคัญตามยุทธศาสตร์ของเจริญ สิริวัฒนภักดี การขยายอาณาจักร “ไทยเบฟเวอเรจ” ขึ้นสังเวียนชิงตำแหน่งผู้นำตลาดธุรกิจเครื่องดื่มของเอเชีย หลังจากใช้เวลาเกือบ 2 ปี ปรับโครงสร้างองค์กร โครงสร้างผู้บริหาร และ Business Model ดึง “เอฟแอนด์เอ็น” เข้ามาเป็น “สปริงบอร์ด” ชิ้นสำคัญ  แน่นอนว่า ฐาปน สิริวัฒนภักดี รับนโยบายโดยตรง เปิดโรดแมพวางแผนการดำเนินธุรกิจในอีก 6 ปีข้างหน้า หรือ “Vision 2020” โดยประกาศเป้าหมายเฟสแรกอย่างชัดเจน คือ การเป็นบริษัทเครื่องดื่มที่ใหญ่ที่สุดและมีผลกำไรสูงสุดในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ภายในปี 2563 ทั้งนี้ หากดูยักษ์ใหญ่ในตลาดเครื่องดื่มเอเชีย อันดับแรกที่ยึดตำแหน่งทำรายได้สูงสุดมานาน คือ “คิรินกรุ๊ป” อันดับ 2 อาซาฮีกรุ๊ป และอันดับ 3 ไทยเบฟเวอเรจที่แซงหน้า “ซานมิเกล” หลังจากฮุบกิจการเฟรเซอร์แอนด์นีซ หรือ “เอฟแอนด์เอ็น” แบบเบ็ดเสร็จได้เมื่อปี

Read More

ช้าง-สิงห์ สงครามทวง “แชมป์”

 แม้ “ไทยเบฟเวอเรจ” แย่งชิงและยึดตลาดเบียร์ระดับล่างได้อย่างเหนียวแน่น แต่เป้าหมายการขยายเข้าสู่ตลาดพรีเมียมยังเป็นโจทย์ข้อใหญ่ที่พยายามต่อสู้กับคู่แข่งหลายรอบจนกลายเป็นภารกิจสำคัญตามแผน “Vision 2020” ดีเดย์ตั้งแต่ปี 2558 โดยเฉพาะเป้าหมายสูงสุด การทวงบัลลังก์แชมป์ตลาดเบียร์ในประเทศไทย หลังจากเสียตำแหน่งให้ค่าย “สิงห์” มานานหลายปี “เราต้องการทวงความเป็นผู้นำในตลาดเบียร์ที่มีมูลค่ากว่า 125,000 ล้านบาท กลับคืนมาให้ได้ภายในปี 2563 ด้วยส่วนแบ่งประมาณ 45% จากปัจจุบันที่มีส่วนแบ่งประมาณ 30%” ฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ประกาศชัดเจนในการแถลงกลยุทธ์ประจำปี 2557 หากเปรียบเทียบภาพรวมตลาดเบียร์เมื่อ 2 ปีก่อน ตลาดเบียร์ในประเทศไทยที่มีมูลค่าประมาณ 100,000 ล้านบาท แบ่งสัดส่วนเป็นเบียร์ระดับพรีเมียม 5% มี “ไฮเนเก้น” เป็นผู้นำตลาด เบียร์สแตนดาร์ด 10% มี “สิงห์” เป็นผู้นำตลาด และเบียร์อีโคโนมี 85% มี “ลีโอ” เป็นผู้นำตลาด  เวลานั้นเบียร์ของไทยเบฟฯ

Read More

F&N เปิดเกมรุกตลาด “100 PLUS” ลุยสมรภูมิ

 ยุทธศาสตร์ใหม่ของ “ไทยเบฟเวอเรจ” หลังจากใช้เวลาจัดกระบวนทัพ Synergy ทั้งบุคลากร ระบบการทำงาน และเครือข่ายทางธุรกิจร่วมกับ “เอฟแอนด์เอ็น” เปิดฉากขึ้นและเป็นเกมรุกตลาดครั้งใหญ่ เพื่อขยายอาณาจักรเครื่องดื่มครบวงจร โดยเฉพาะการสร้างตลาดใหม่จากกลุ่มเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ (นอน-แอลกอฮอล์) ซึ่งฐาปน สิริวัฒนภักดี ถือเป็น “Room of Growth” มูลค่ามหาศาล  คิดเฉพาะตลาดรวมเครื่องดื่มทุกประเภทในประเทศไทย มูลค่าประมาณ 500,000 ล้านบาท และมีอัตราเติบโตทุกปี กลุ่มไทยเบฟเวอเรจสามารถสร้างรายได้ยอดขายเฉลี่ยปีละ 155,000-160,000 ล้านบาท จากผลิตภัณฑ์หลัก 3 กลุ่ม คือ สุรา เบียร์ และเครื่องดื่มไม่มีแอลกอฮอล์ โดยคิดสัดส่วนรายได้มาจากกลุ่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ 75% และนอน-แอลกอฮอล์ 25%  ทั้งนี้ การประกาศนโยบายตามโรดแมพ “Vision 2020” อย่างเป็นทางการของฐาปน สิริวัฒนภักดี กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท ไทยเบฟเวอเรจ จำกัด (มหาชน) ต้องการเพิ่มสัดส่วนยอดขายจากกลุ่มนอน-แอลกอฮอล์อย่างต่อเนื่องจนอยู่ที่ระดับ

Read More

เยือนเสียมเรียบ (2) สำรวจเมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย

 AEC Leisure จากด่านพรมแดนปอยเปต จุดเชื่อมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาไปอีกราวๆ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง เราจะพบกับ “เสียมเรียบ” เมืองที่เป็นที่ตั้งของมรดกโลกอย่างนครวัด เมืองที่รั้งตำแหน่งที่สองของเมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย ประจำปี 2557 เป็นเมืองที่สร้างรายได้หลักด้านการท่องเที่ยวให้กับกัมพูชา และเป็นจุดหมายปลายทางของ AEC Leisure ในครั้งนี้ สภาพของถนนจากด่านพรมแดนปอยเปต มุ่งตรงยังเมืองเสียมเรียบ ณ ปัจจุบัน เป็นถนนลาดยางอย่างดี ต่างจากสมัยก่อนที่ถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ ฝุ่นตลบอบอวล นั่งรถกันที 5-6 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ปัจจุบันระยะทางเท่าเดิมแต่ระยะเวลาการเดินทางสั้นลง เหลือเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะสภาพถนนที่ดีขึ้น เดินทางกันสบายๆ แถมไม่ต้องผจญกับฝุ่นตลบแบบเมื่อก่อน ตลอดสองข้างทางเป็นนาข้าวสลับกับบ้านเรือนที่มีอยู่เป็นระยะ แทบจะไม่มีภูเขาสูงให้เห็น ภาพนาข้าวผืนใหญ่ที่เห็นตลอดเส้นทาง ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม “ข้าว” จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชา โดยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของกัมพูชาเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิด มีดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ นอกจากข้าวแล้วยังมี ข้าวโพด ถั่ว งา

Read More

85 ปี บาจาไทย ก้าวแห่งการเปลี่ยนแปลง

 จุดเริ่มต้นจากร้านขายรองเท้าบนถนนเจริญกรุงเมื่อ 85 ปีที่แล้ว บาจา รองเท้าเแบรนด์อินเตอร์เข้ามามีบทบาทกับชีวิตคนไทย  หากกล่าวถึงรองเท้า บาจา คนส่วนใหญ่จะติดภาพลักษณ์รองเท้านักเรียน ซึ่งในอดีตได้ครองใจเด็ก โดยมีส่วนแบ่งการตลาดถึง 25 เปอร์เซ็นต์ ขณะที่ในปัจจุบันส่วนแบ่งลดลงเหลือ 8% พร้อมกับสัดส่วนรายได้ของบริษัทฯ ที่เปลี่ยนไป โดยมียอดขายรองเท้าแฟชั่นสูงถึง 70% ในขณะที่สัดส่วนรองเท้านักเรียนมีเพียง 30%  ประกอบกับรองเท้านักเรียนมักจะมีช่วงเวลาในการจำหน่าย คือช่วงเปิดเทอมเท่านั้น แต่รองเท้าแฟชั่น สามารถที่จะจำหน่ายได้ทั้งปี  ด้วยมูลเหตุดังกล่าว บาจาจึงได้ทําการปรับปรุงภาพลักษณ์แบรนด์ครั้งใหญ่ เพื่อสร้างภาพลักษณ์ แบรนด์ที่ไม่ได้ขายแค่รองเท้านักเรียน แต่เป็นแบรนด์รองเท้าเพื่อสร้างไลฟ์สไตล์ให้กับกลุ่มลูกค้า ทุกเพศ ทุกวัย และเพื่อให้สอดคล้องกับคอนเซ็ปต์มาตรฐานของบาจา ซึ่งเป็นมาตรฐานโลก และตอกย้ำภาพลักษณ์ใหม่บริษัท บาจาได้แยกการจัดการร้านออกเป็น 2 แบบ โดยดูจากสไตล์ของกลุ่มลูกค้าเป็นหลัก แบบแรก คือ บาจาแฟมี่ลี่ (FAMILY) เน้นกลุ่มลูกค้าระดับ C–B เป็นกลุ่มตลาดกลางและล่างที่ต้องการรองเท้าเพื่อใช้งานโดยตรง และมีสินค้าจำนวนมากให้ลูกค้าได้เลือกผ่านทางไฮเปอร์มาร์เกตติ้ง เช่น ห้างบิ๊กซี เทสโก้

Read More

รอยทางอันยาวนาน ก้าวย่างของ Bata

 “บาจา รู้เฟื่องเรื่องรองเท้า” สโลแกนที่คุ้นหูติดปากกลุ่มเด็กนักเรียนในช่วงที่ครองความป็นเบอร์ 1 ของรองเท้านักเรียน ด้วยสัดส่วนตลาดถึง 25% และครองใจเด็กไทยมาเป็นเวลายาวนาน แบรนด์ “Bata” อ่านว่า บาทา ซึ่งตรงตามความหมายของไทย ที่หมายถึงเท้า เสมือนตอกย้ำภาพลักษณ์การเป็นผู้นําด้านรองเท้า ที่ตั้งชื่อตรงกับสินค้าจนทําให้นึกว่าน่าจะเป็นรองเท้าแบรนด์ไทยที่มีมาเนิ่นนาน แต่ในความเป็นจริง BATA ต้องอ่านว่า บาจา และเป็นแบรนด์โลก โดยคําว่า Bata เป็นภาษาเช็ค สะกด Bat’a มาจากชื่อของผู้ก่อตั้ง Tomas Bat’a แต่เมื่อมาถึงเมืองไทย ด้วยความแตกต่างของพยัญชนะ แบรนด์โลก Bat’a ก็ได้ปรากฏตัวในไทยด้วยแบรนด์ Bata เมื่อ 85 ปีที่ผ่านมา และเป็นแบรนด์รองเท้าที่ย่างก้าวมายาวนานถึง 120 ปี ในปีนี้ หากย้อนรอยแบรนด์รองเท้าชื่อก้องโลกนี้ คงต้องเริ่มจากย่างก้าวจากธุรกิจครอบครัว การทํารองเท้าหนังแบบเย็บมือที่เก่าแก่กว่า 8 ช่วงอายุ (Generations) จากรุ่นลูกสู่รุ่นหลาน ที่ยาวนานและเป็นมรดกตกทอด จนถึงมือมิสเตอร์โทมัส บาจา (Mr.Thomas

Read More