Home > Cover Story (Page 156)

“เอ็มเค กรุ๊ป” ปรับทัพ ส่งต่อเจเนเรชั่น 3

 การทุ่มทุนเปิดตัวโครงการคอมมูนิตี้ฟู้ดมอลล์ “ลอนดอนสตรีท” นอกจากปลุกสีสันการตลาด ตอกย้ำภาพลักษณ์อาณาจักร “เอ็มเค กรุ๊ป” ในฐานะผู้นำธุรกิจด้านร้านอาหาร และสร้างโมเดลการขยายสาขาในรูปแบบใหม่ โดยผนึกแบรนด์ร้านอาหารในเครือ เพื่อเจาะกลุ่มลูกค้าทุกระดับ ทุกวัย ทุกสไตล์ และทุกเซกเมนต์ เป้าหมายมากกว่านั้น ยังเป็นสนามทดสอบครั้งสำคัญก่อนส่งต่อธุรกิจหมื่นล้านให้ผู้บริหารเจเนเรชั่นใหม่ เปลี่ยนยุคจาก 3 หัวเรือใหญ่ คือ ฤทธิ์ ธีระโกเมน ยุพิน ธีระโกเมน และสมชาย หาญจิตต์เกษม สู่ทายาทรุ่นที่ 3 โดยวางไทม์ไลน์ไว้หลังจากนี้ไม่เกิน 5 ปี “คนรุ่นผม อีก 5 ปี ควรอยู่อย่างสงบ ทำบุญ ช่วยเหลือสังคม วันนี้เป็นยุคของคนรุ่นใหม่ เอ็มเค กรุ๊ป เปิดตัวลอนดอนสตรีทและเปิดตัวผู้บริหารรุ่นใหม่ จากเดิมที่พวกเขาไม่เคยมีตัวตน วันนี้พวกเขามีตัวตน ทุกคนรู้จัก แต่ยังต้องใช้เวลาเรียนรู้สร้างประสบการณ์อีกระยะหนึ่ง เจเนเรชั่นใหม่ทั้งฝั่งผมและฝั่งคุณสมชาย ทุกคนจะมีบทบาทสำคัญมากขึ้น ส่วนผมเป็นที่ปรึกษา” ฤทธิ์ ธีระโกเมน ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท

Read More

เครื่องดื่มชูกำลัง แข่งขันชูภาพลักษณ์?

 “M 150 ขวด, บาว ขวด หรือ กระทิงแดง ขวดหนึ่ง” มักเป็นคำได้ยินทุกวันในร้านโชวห่วยทั้งประเทศ เรียกได้ว่าทุกร้านต้องมีแช่ติดตู้ไว้เลยทีเดียว เครื่องดื่มชูกำลัง (Energy drink) เป็นเครื่องดื่มชนิดหนึ่งที่มีส่วนผสมของสารกาเฟอีนในปริมาณไม่เกิน 50 มิลลิกรัม ต่อ 1 ขวด (100-150 มิลลิลิตร) เครื่องดื่มชนิดนี้ส่วนใหญ่เน้นไปทางด้านพลังงาน นักวิทยาศาสตร์ได้ให้ข้อมูลพื้นฐานของเครื่องดื่มชนิดนี้ว่า “เครื่องดื่มชนิดนี้มีความใกล้เคียงกันกับเครื่องดื่มที่ไม่มีส่วนผสมของกาเฟอีน โดยส่วนใหญ่แล้วเครื่องดื่มชนิดนี้จะนิยมดื่มในหมู่ผู้ใช้แรงงาน และคนที่ทำงานหนักเนื่องจากเมื่อทำงานเสร็จร่างกายจะอ่อนเพลีย จึงต้องการพลังงานชดเชยกลับมา” หากย้อนรอยไปในช่วงแรกเครื่องดื่มชูกำลังจะไม่ออกจำหน่ายในท้องตลาด แต่เริ่มมีเป็นครั้งแรกในประเทศสกอตแลนด์ เมื่อปี พ.ศ. 2444 โดยบริษัทที่ชื่อ “ไอรัล-บลู” โดยผู้ที่คิดค้นคือ “ไอรัล บริว” หลังจากนั้นก็มีการแพร่หลายไปอีกหลายประเทศ และในวงการต่างๆ เช่นโรงพยาบาลเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยให้กลับมาแข็งแรง จนถึงช่วงทศวรรษ 1980 จุดประสงค์ของการดื่มเครื่องดื่มชูกำลังก็ถูกเปลี่ยนเป็น “ดื่มเพื่อชดเชยพลังงานที่เสียไป” เครื่องดื่มชูกำลังออกวางจำหน่ายเป็นครั้งแรกในช่วงทศวรรษ 1960 โดยการปรับปรุงรสชาติให้ดีขึ้น และการโฆษณาเครื่องดื่มชูกำลังโดยใช้นักกีฬาฟุตบอลคนหนึ่งซึ่งสังกัดทีมฟลอริดา โดยใช้ชื่อยี่ห้อว่า “เกตเตอเรท” โดยคราวนี้มีการปรับปรุงสูตรเพื่อให้สามารถรักษาพลังงานให้ยาวนานขึ้น สำหรับประเทศไทยนั้น เครื่องดื่มชูกำลังเข้ามาครั้งแรกโดยลิโพวิตันดี เมื่อปี พ.ศ.

Read More

ระบบนิเวศของสัตว์ป่า จากเมืองกรุง

 ท่ามกลางอากาศที่ร้อนระอุของเดือนเมษายนทำให้หลายคนตัดสินใจหลบร้อนไปพักผ่อนยังต่างประเทศซึ่งทำให้การท่องเที่ยวต่างแดนมีเงินสะพัดไม่น้อย กระนั้นก็ยังมีนักท่องเที่ยวชาวไทยจำนวนหนึ่งเลือกที่จะท่องเที่ยวภายในประเทศ ซึ่งหากเป็นช่วงเวลา High Season แล้วบรรดาโรงแรม รีสอร์ต ที่พักต่างๆ จะถูกจับจองกันจนเต็ม ส่งผลให้แหล่งท่องเที่ยวที่อากาศดีและไม่ห่างจากกรุงเทพฯ มากนัก รวมทั้งยังได้รับความนิยมจากนักท่องเที่ยว กลายเป็นตัวเลือกสำคัญในการเลือกทำเลสำหรับการต่อยอดพัฒนาธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ “เขาใหญ่” จึงเป็นตัวเลือกอันดับต้นๆ ในการปักหมุดของธุรกิจประเภทนี้ อีกเหตุผลหนึ่งที่น่าจะทำให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์บนพื้นที่เขาใหญ่เติบโตขึ้นอย่างก้าวกระโดดคือ ความต้องการมีบ้านหลังที่สองหรือหลังที่สาม จนทำให้ปลายปี 2557 ตลาดอสังหาฯ โซนเขาใหญ่มีมูลค่าตลาดประมาณ 12,000 ล้านบาท ซึ่งหากจะวิเคราะห์ในเชิงธุรกิจอีกแง่มุมหนึ่งแล้ว อาจเป็นเพราะที่ดินทำเลดีย่านธุรกิจใจกลางเมืองนั้นค่อยๆ ลดปริมาณลง ซึ่งทำให้การพัฒนาอสังหาฯ ถูกจำกัดและไม่สามารถเติบโตได้มากไปกว่าที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน  ดังนั้นบรรดานักลงทุนจึงเบนเข็มมายังพื้นที่บริเวณเขาใหญ่ และกำลังเข้ามาเปลี่ยนป่าไม้ให้กลายเป็นป่าเมือง “อากาศดี ใกล้ชิดธรรมชาติ” จุดขายหลักของบรรดาโครงการอสังหาฯ ที่เกิดขึ้นใหม่ราวดอกเห็ดในหน้าฝน นักลงทุนที่อยู่ในแวดวงอสังหาฯ ต่างทุ่มเม็ดเงินจำนวนมหาศาลลงบนพื้นที่สีเขียวดังกล่าว กระนั้นกลิ่นอายความสดชื่นของเขาใหญ่ประหนึ่งเค้กก้อนโตที่มีส่วนผสมของวัตถุดิบหายาก ก็ดึงดูดนักลงทุนวงนอกให้หันมาประชันขันแข่งในสังเวียนนี้ด้วยเช่นกัน เขาใหญ่ พื้นที่ป่าสำคัญของประเทศไทยที่มีอาณาบริเวณกินพื้นที่ถึง 11 อำเภอ 4 จังหวัด ได้แก่ จังหวัดสระบุรี จังหวัดนครราชสีมา จังหวัดปราจีนบุรี และจังหวัดนครนายก ป่าไม้ที่ให้ชีวิตแก่บรรดาสรรพสัตว์น้อยใหญ่ มอบอากาศที่เย็นสบายสดชื่นแก่ผู้คน บัดนี้ ป่าแห่งนี้กำลังร้อนระอุ เมื่อผืนป่ากำลังถูกเปลี่ยนให้เป็นสนามแข่งขันที่สำคัญ หากนับย้อนเวลาไป 20-30

Read More

คาราบาวแดง: ดิ้นรนก่อนถูกสนตะพาย

 ตลอดระยะเวลาเกือบ 13 ปี ที่เครื่องดื่มชูกำลังแบรนด์ คาราวบาวแดงซึ่งเปรียบเสมือนมวยรองสามารถฟันฝ่าก้าวขึ้นมาเป็นเบอร์สองของตลาดเครื่องดื่มชูกำลังด้วยส่วนแบ่งตลาดมากกว่า 21% หรือจากยอดขาย 7,449 ล้านบาท ณ สิ้นปี 2557 ของมูลค่าตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง 34,000  ล้านบาท กับความมุ่งหวังที่จะก้าวขึ้นครองเบอร์หนึ่งในอีก 5 ปีข้างหน้าของตลาดเครื่องดื่มชูกำลัง ความสัมพันธ์ในหมู่มิตรระหว่าง แอ๊ด คาราบาว กับ เสถียร เศรษฐสิทธิ์ แห่งโรงเบียร์เยอรมันตะวันแดง ที่จับมือถอดสมการเป็นชื่อของเครื่องดื่ม แบรนด์ “คาราบาวแดง” กระโจนเข้าสู่สังเวียนตลาดธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลังเมื่อปี 2545 ในครั้งนั้น ถือเป็นก้าวเริ่มต้นของเครื่องดื่มชูกำลังที่มีกลิ่นอายจากบทเพลงการต่อสู้ และเพื่อชีวิต จนเกิดกระแสวิพากษ์ว่าเพื่อชีวิตของใครกันแน่มาโดยตลอด แฟนเพลงคาราบาวกลายเป็นฐานลูกค้ากลุ่มใหญ่ของเครื่องดื่มชูกำลังในขวดสีชา ภายใต้โลโก้ รูปเขาควาย  ซึ่งออกแบบโดย ยืนยง โอภากุล หรือ “แอ๊ด คาราบาว” ซึ่งเป็นทั้ง Brand Ambassador เป็นพรีเซนเตอร์และผู้ร่วมทุนในการเปิดตัวสินค้าสู่ตลาด โดยใช้ความเป็นศิลปินก้าวสู่วงการธุรกิจเครื่องดื่มชูกำลัง พร้อมกับกลยุทธ์ มิวสิก มาร์เก็ตติ้ง จนประสบผลสำเร็จ

Read More

หอมกรุ่นชา TWG จากไลฟ์สไตล์สู่ธุรกิจ Slow Life

 ในฐานะซีอีโอหนุ่มต้องดูแลอาณาจักรธุรกิจหลายหมื่นล้านของครอบครัว ชีวิตอีกมุมหนึ่งของ ยุทธชัย จรณะจิตต์ หลงใหลเสน่ห์อันหอมกรุ่นและรสชาติละเมียดละไมของเครื่องดื่มชา ชนิดที่ดื่มแทนน้ำได้ตลอดทั้งวัน และด้วยความชอบส่วนตัวบวกกับวัฒนธรรมการดื่มชาที่ขยายวงกว้างมากขึ้น กลายเป็นจุดเริ่มต้นธุรกิจ ซึ่งสร้างรายได้เติบโตต่อเนื่องให้กับกลุ่มอิตัลไทยอย่างไม่คาดคิด ย้อนกลับไป 2 ปีก่อนหน้า ยุทธชัยตัดสินใจติดต่อขอทำสัญญาบริหารลิขสิทธิ์แฟรนไชส์ชาหรูระดับโลก TWG Tea salon&Boutique ในประเทศไทย กับ เดอะ เวลเนส กรุ๊ป (The Wellness Group) ประเทศสิงคโปร์ ซึ่งมีเครือข่ายการจัดจำหน่ายชาระดับสากล มีความเชี่ยวชาญและเป็นต้นแบบของร้านบูติคชาค้าปลีก ร้านชาสุดหรู มีประวัติศาสตร์อันยาวนานตั้งแต่ปี ค.ศ.1837 เพราะถือเป็นสถาบันที่ก่อตั้งเพื่อเฉลิมฉลองประวัติศาสตร์อันยิ่งใหญ่ของเกาะสิงคโปร์ ตั้งแต่ยุคเริ่มมีการซื้อขายชากันอย่างเป็นทางการ  ปัจจุบัน TWG มีสาขาร้านทีซาลอนมากกว่า 50 แห่ง ใน 15 ประเทศทั่วโลก ในเมืองใหญ่ๆ เช่น โตเกียว ลอนดอน ดูไบ เซี่ยงไฮ้ โซล และกรุงเทพฯ  ล่าสุด กลุ่มบริษัทอิตัลไทยเปิดสาขารูปแบบทีซาลอน 3 แห่ง ที่

Read More

ยุทธชัย จรณะจิตต์ “ยุคของผม อิตัลไทยจะโตเร็วขึ้น”

 “อิตัลไทยอยู่มา 60 ปี ค่อยๆ โตอย่างมั่นคง 60 ปี แต่การค่อยๆ โตไม่ทันกับการแข่งขัน ไม่ทันกับการขยายตัวอย่างรวดเร็ว เราต้อง Double Scale ในยุคของผม เราจะโตเร็วขึ้น มีเป้าหมายมากขึ้น” คำกล่าวของยุทธชัย จรณะจิตต์ ประธานกรรมการและประธานเจ้าหน้าที่บริหาร กลุ่มบริษัทอิตัลไทย ตอกย้ำถึงก้าวย่างที่ท้าทายจาก 6 ทศวรรษสู่การบริหารงานในยุคเจเนเรชั่นที่ 3 กับสงครามธุรกิจระลอกใหม่ ภายใต้สถานการณ์ที่เรียกว่า “AEC Effect” โดยมีเป้าหมายใหญ่ การเติบโตแบบก้าวกระโดด 2 เท่าในทุกกลุ่มธุรกิจเป็นเดิมพัน แน่นอนว่า ยุทธชัยเข้ามารับไม้ต่อบริหารธุรกิจหมื่นล้านอย่างไม่ทันตั้งตัวจากผู้เป็นพ่อ “อดิศร จรณะจิตต์” ซึ่งเสียชีวิตกะทันหันด้วยอุบัติเหตุเครื่องบินตก ต้องใช้เวลากว่า 10 ปี เรียนรู้กลยุทธ์ต่างๆ จากนิจพร จรณะจิตต์ ซึ่งเป็นทั้งแม่ และบุตรสาวคนเก่งของ นพ.ชัยยุทธ กรรณสูต ผู้บริหารกุมอำนาจหลักในบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน)

Read More

60 ปีสู่อาณาจักรธุรกิจยักษ์ใหญ่

 จุดเริ่มต้นของอาณาจักรธุรกิจกลุ่มอิตัลไทยเปิดฉากตั้งแต่ปี 2487 เมื่อหมอชัยยุทธ กรรณสูตได้รับการขอร้องจากน้องเขย “เผด็จ ศิวะทัต” ซึ่งทำธุรกิจด้านกู้เรือและกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับงานการกู้เรือของกรมเจ้าท่าที่ปากน้ำ เผด็จต้องการว่าจ้างบริษัทมาริโอ เอ็ม โคลัมโบ จากประเทศอิตาลี ซึ่งขณะนั้นมารับจ้างดำเนินงานกู้เรือให้บริษัทสัญชาติฝรั่งเศสในประเทศเวียดนาม เพื่อกู้เรือกรมเจ้าท่า แต่เผด็จไม่มีความรู้ด้านภาษาอิตาเลียน  หมอชัยยุทธจึงรับภาระการติดต่อจนสำเร็จและได้รู้จักกับจิออร์จิโอ แบร์ลิงเจียรี่ ผู้จัดการชาวอิตาลีของบริษัทมาริโอ เอ็ม โคลัมโบ ทั้งสองคนกลายเป็นเพื่อนรักและตัดสินใจร่วมทุนจัดตั้งบริษัท อิตัลไทยอุตสาหกรรม (ITI) ในปี 2498 ทำธุรกิจนำสินค้าจากต่างประเทศเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทย รวมถึงบริการงานด้านวิศวกรรมด้วย  ปี 2501 ทั้งคู่แตกไลน์ทำธุรกิจก่อสร้าง เปิดบริษัทอิตาเลียนไทย ดีเวล็อปเม้นท์ (ไอทีดี) ในช่วงรัฐบาลจอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ ซึ่งกำลังเปิดประเทศรับสหรัฐอเมริกาเข้ามาลงทุนในประเทศไทย เกิดโครงการพัฒนาด้านสาธารณูปโภคจำนวนมาก รวมถึงรัฐบาลเร่งนโยบายปราบปรามคอมมิวนิสต์ กระตุ้นการพัฒนาชนบทผ่านงบประมาณของรัฐและความช่วยเหลือจากสหรัฐฯ ซึ่งทุ่มไปในเรื่องการสร้างถนนหนทางสายยุทธศาสตร์ในชนบท อิตาเลียนไทยได้รับงานจากโครงการรัฐจำนวนมากและเติบโตอย่างรวดเร็วกลายเป็นธุรกิจที่ทำรายได้หลักให้กับกลุ่มอิตัลไทย จากรายได้ปีแรกอยู่ที่ 40 ล้านบาท พุ่งขึ้นเท่าตัวทุกปี  ปี 2509 อิตัลไทยขยายเข้าสู่ธุรกิจโรงแรม โดยซื้อกิจการโรงแรมนิภาลอร์ด พัทยา  ปี 2511 แบร์ลิงเจียรี่เข้าถือหุ้นใหญ่ในโรงแรมโอเรียนเต็ล จากบริษัทหลุยส์ ตี เลียวโนเวนส์

Read More

Discover THAINESS ปีของการค้นหาวิถีไทย?

 หลังจากการจุดพลุภายใต้ ธีม “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 หรือ 2015 Discover THAINESS ซึ่งกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา (ททท.) คาดหวังว่าจะช่วยสร้างรายได้เข้าสู่ภาคอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศไทย ด้วยการตั้งเป้ารายได้สูงถึง 2.2 ล้านล้านบาท โดยคาดหวังจากตลาดท่องเที่ยวในประเทศ 8 แสนล้านบาท และตลาดต่างประเทศ 1.4 ล้านล้านบาท ดึงดูดนักท่องเที่ยวต่างชาติเข้ามาเยือนประเทศไทยเพิ่มขึ้น 13% เป็น 28 ล้านคน ถือเป็นการจุดพลุครั้งใหญ่เพื่อสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของประเทศ และสร้างการรับรู้ความเป็นไทยที่เปี่ยมไปด้วยเอกลักษณ์อันโดดเด่นด้านขนบธรรมเนียมประเพณีไทย, ศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนความเป็นอยู่ในแบบวิถีไทย ที่พบเห็นได้ทั่วทุกถิ่นไทย ทิศทางการพัฒนาการท่องเที่ยวไทยในปี 2558 ภายใต้ธีมดังกล่าว พร้อมเน้นย้ำแบรนด์ “Amazing Thailand: Happiness Within” นำส่งความสนุกสนานแบบไทยๆ พร้อมการขับแคลื่อนของภาครัฐและเอกชน จัดกิจกรรมพิเศษนานาชาติเป็นปฏิทินท่องเที่ยวตลอดทั้งปี ขณะที่ในปีนี้จะเน้นนักท่องเที่ยวคุณภาพมากขึ้นเพื่อสร้างความสมดุลให้เกิดขึ้นระหว่างการส่งเสริมตลาด และการอนุรักษ์ทรัพยากรด้านการท่องเที่ยว ซึ่งเป็นตัวชี้วัดความสำเร็จให้กับอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวอย่างยั่งยืน โดยเชื่อมั่นว่าในปี 2558 นี้ การท่องเที่ยวจะเติบโตอย่างก้าวกระโดดและบรรลุเป้าหมายที่ตั้งไว้ หากมีการวางแผนงานที่ดี โดยจะเน้นการเพิ่มรายจ่ายต่อหัวของนักท่องเที่ยว โดยเฉพาะกลุ่มเอฟไอที (นักท่องเที่ยวเดินทางเอง)  สำหรับทิศทางการดำเนินงานของ ททท.ในปีนี้

Read More

หวังท่องเที่ยวไทยคึก หลังเลิกกฎอัยการศึก

 เสถียรภาพของประเทศไทยในสายตาประชาคมโลกคงจะมีภาพลักษณ์ดีขึ้นอย่างผิดหูผิดตา หลังรัฐบาลประกาศยกเลิกกฎอัยการศึกไปเมื่อช่วงค่ำของวันที่ 1 เมษายน 2558 ซึ่งตรงกับวัน April Fool’s Day “วันโกหก” หรือที่ใครหลายคนอาจจะรู้จักกันในชื่อว่า “เมษาหน้าโง่” ทั้งนี้ยังมีแรงหนุนจากรัฐบาลที่ผุดนโยบายต่างๆ ในการที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้นตามลำดับ ในขณะที่สำนักงานเศรษฐกิจการคลังเปิดเผยตัวเลข GDP ในช่วงไตรมาสแรกของปี 2558 ที่คาดการณ์ว่าจะมีแนวโน้มเติบโตถึงร้อยละ 4.1 แม้หลายๆ ปีที่ผ่านมาการส่งออกของไทยจะสร้างรายได้อย่างมหาศาลให้แก่ประเทศ แต่คงไม่ใช่ปีนี้เนื่องจากเศรษฐกิจโลกที่กำลังชะลอตัวลงส่งผลให้ประเทศคู่ค้าลดปริมาณการใช้จ่ายและการบริโภคสินค้า อุตสาหกรรมที่จะขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศดูจะหนีไม่พ้นเรื่องการท่องเที่ยว ที่ผู้ใหญ่ในบ้านเมืองกำลังพยายามผลักดันจนเกิดนโยบาย “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558” (2015 Discover Thainess) ซึ่งหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่างตอบสนองนโยบายนี้อย่างรวดเร็วเสมือนเครื่องจักรกลชั้นดี เมื่อกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาดำเนินแนวทางนโยบายใหม่โดยส่ง “ขบวนปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558” ให้มาโลดแล่นบนถนนสำคัญย่านธุรกิจเมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา โดยหวังให้นักท่องเที่ยวชาวต่างชาติได้รู้จักประเพณี วัฒนธรรม และเข้าใจวิถีชีวิตความเป็นไทยที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนานภายในระยะเวลา 5 วัน  นับตั้งแต่รัฐบาลมีนโยบาย “ปีท่องเที่ยววิถีไทย” ออกมา หน่วยงานทั้งภาครัฐและเอกชนต่างพากันจัดกิจกรรม โดยนโยบายตั้งกล่าวเป็นโจทย์หลักและกลายเป็นหมุดหมายสำคัญในการจัดงาน กระทั่งล่าสุดการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยและสมาคมถ่ายภาพแห่งประเทศไทยเองได้ผุดโครงการ “เปิดกล้อง ส่องเลนส์ 12 เมืองต้องห้าม....พลาด”  กิจกรรมที่เปิดเส้นทางการท่องเที่ยววิถีไทย โดยนำเสนอผ่านภาพถ่ายจากฝีมือช่างภาพชั้นนำของประเทศไทย ซึ่งบันทึกภาพบอกเล่าเสน่ห์ของเมืองนั้นๆ ที่สร้างความประทับใจให้กับผู้มาเยือน โดย

Read More

การท่องเที่ยวไทย กลางมรสุมของการแข่งขัน

 การท่องเที่ยวเป็นอุตสาหกรรมหนึ่งที่มีความสำคัญต่อเศรษฐกิจไทย ที่สามารถทำรายได้ให้กับประเทศในลำดับต้นๆ ก่อให้เกิดประโยชน์ทางเศรษฐกิจหลายประการ ท่ามกลางเศรษฐกิจโลกที่ซบเซา ภาคการท่องเที่ยวถือเป็นภาคเดียวที่ยังมีแนวโน้มดีขึ้นต่อเนื่อง จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติที่ขยายตัวตั้งแต่เดือนตุลาคมปีที่แล้ว โดยเฉพาะการเพิ่มขึ้นของนักท่องเที่ยวจีนและมาเลเซีย ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติในเดือนธันวาคม 2557 มีจำนวน 2,841,333 คน เพิ่มขึ้นร้อยละ 11.8 ถือว่าเป็นการส่งสัญญาณการเริ่มต้นที่ดีของการท่องเที่ยวไทย  หน่วยงานภาครัฐและเอกชนต่างเร่งทำการตลาดประชาสัมพันธ์การท่องเที่ยวไทยอย่างเข้มข้น ทั้งจัดกิจกรรมภายในประเทศ และทำการตลาดในประเทศที่เป็นกลุ่มเป้าหมายที่สำคัญของไทย ภายใต้แคมเปญ “ปีท่องเที่ยววิถีไทย 2558 หรือ 2015 Discover Thainess” เพื่อเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมไทย  นอกเหนือจากทำการตลาดในจังหวัดท่องเที่ยวหลัก ยังได้ขยายไปยังจังหวัดท่องเที่ยวรอง ซึ่งจากการจัดทำแผนกระตุ้นการท่องเที่ยวไทยเชิงรุกนั้นคาดว่าจะช่วยจูงใจให้นักท่องเที่ยวตัดสินใจเลือกประเทศไทยเป็นหนึ่งในปลายทางท่องเที่ยวอันดับต้นๆ  อิทธิฤทธิ์ กิ่งเล็ก ประธานสภาอุตสาหกรรมการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (สทท.) แจ้งผลดัชนีความเชื่อมั่นผู้ประกอบการท่องเที่ยวไตรมาส 1/2558 เท่ากับ 99 ซึ่งเป็นระดับปกติ ต่อเนื่องจากไตรมาสที่ 2 ปี 2557 สะท้อนให้เห็นสถานการณ์ท่องเที่ยวในประเทศได้เข้าสู่ภาวะปกติ ส่วนในไตรมาสที่ 2/2558 เท่ากับ 101 ซึ่งเป็นการคาดการณ์ที่ดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง แม้จะมีผลจากสภาวะเศรษฐกิจโลกชะลอตัวก็ตาม ขณะเดียวกันท่ามกลางเทศกาลท่องเที่ยว และวันหยุดยาวหลายช่วง ไม่ว่าจะเป็นวันหยุดในช่วงวันจักรี (4-6 เม.ย)

Read More