Home > Cover Story (Page 150)

“โชว์ ดีซี” ดิ้นอีกรอบ ปั้นแลนด์มาร์ค “พระราม 9”

 3 ปีก่อน “โชว์ ดีซี คอร์ป” เปิดตัวในฐานะบริษัทร่วมลงทุนระหว่างนักลงทุนชาวไทยกับชาวมาเลเซีย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีความเชี่ยวชาญด้านอสังหาริมทรัพย์ โดยวางแผนพัฒนาโครงการอสังหาริมทรัพย์เชิงพาณิชย์ในตลาดเกิดใหม่ในอาเซียน ประเดิมโครงการแรกในประเทศไทย ใช้ชื่อ “SHOW DC” มูลค่าเงินลงทุนประมาณ 3,000-5,000 ล้านบาท แต่โครงการอยู่ระหว่างการก่อสร้างอย่างเงียบๆ จนกระทั่งปี 2558 “โชว์ ดีซี” กลับมาเผยโฉมอีกครั้งและเปลี่ยนคอนเซ็ปต์ใหม่อย่างสิ้นเชิง ปรับรูปแบบจากเดิมจะเป็นศูนย์การกระจายสินค้าครบวงจรธุรกิจรูปแบบใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ จับกลุ่มผู้ประกอบธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (เอสเอ็มอี) ประกอบด้วยศูนย์ค้าปลีก ศูนย์ค้าส่ง ศูนย์บริการ ศูนย์โชว์รูม ศูนย์แสดงสินค้า ศูนย์โลจิสติกส์ คลังจัดเก็บและจัดส่งสินค้า รองรับทุกระดับการค้าขายในกลุ่มธุรกิจแฟชั่น สินค้าตกแต่งบ้าน เฟอร์นิเจอร์ ไอที เครื่องเสียงเครื่องใช้ไฟฟ้า สินค้าอุปโภคบริโภค และครัวกลางสำหรับธุรกิจอาหารและภัตตาคาร เพื่อรองรับการเปิดตลาดประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (เออีซี)  กลายเป็น “ศูนย์การค้าและเอ็นเตอร์เทนเมนต์ครบวงจร” หรือ Show Destination Center ภายใต้แนวคิด “Shop & Enjoy” ในเนื้อที่ทั้งโครงการ 27

Read More

จับกระแส WellBeing เทรนด์ยอดนิยมที่กลายเป็นเงิน

 ความตื่นตัวในการรักษาสุขภาพพลานามัยและสร้างเสริมสุขภาวะของผู้คนในสังคมไทย ดูเหมือนจะเป็นกระแสที่ดำเนินอยู่ต่อเนื่องยาวนานและมีแนวโน้มที่จะพัฒนาต่อไปอีกได้ไกล ไม่ใช่เฉพาะในประเด็นว่าด้วยพัฒนาการของกิจกรรมที่มีรูปแบบหลากหลายมากขึ้น และแพร่กว้างไปยังกลุ่มชนทุกระดับสังคมเท่านั้น หากแต่ยังประกอบส่วนด้วยมิติเชิงพาณิชย์ที่น่าจับตามองด้วย เพราะก่อนหน้านี้ สถานที่ออกกำลังกายหรือที่เรียกโดยรวมว่า fitness center นั้น มักจะเลือกทำเลที่ตั้งให้อยู่ใกล้อาคารสำนักงาน หรือแม้แต่ฝังตัวอยู่ในศูนย์การค้า โดยหวังว่าจะสามารถยึดกุมกลุ่มเป้าหมายและฐานลูกค้าได้กว้างขวาง ซึ่งดูเหมือนจะประสบผลสำเร็จในระดับหนึ่ง มูลค่าการตลาดของธุรกิจฟิตเนสเซ็นเตอร์ในประเทศไทยได้รับการประเมินว่ามีมูลค่าสูงถึงประมาณ 5,000 ล้านบาท โดยมีฐานสมาชิกผู้ใช้บริการไม่น้อยกว่า 2 แสนราย และมีอัตราการเติบโตเฉลี่ยอยู่ที่ระดับ 10-15% ต่อปี สอดรับกับกระแสสุขภาพที่เพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง แต่การแข่งขันในธุรกิจฟิตเนสก็ดำเนินไปอย่างเข้มข้นไม่แพ้กัน และมีผู้ประกอบการรายใหม่ๆ พยายามเบียดแทรกเข้ามาในสังเวียนนี้อย่างต่อเนื่องและทำให้ ฟิตเนส เฟิร์สท์ ซึ่งอยู่ในฐานะผู้นำตลาดในปัจจุบันไม่สามารถนิ่งนอนใจ เพราะนอกจากจะมีฟิตเนสรายใหญ่อย่าง เวอร์จิ้น แอคทีฟ ฟิตเนส รุกคืบเข้ามาแล้วยังมีผู้ประกอบการรายอื่นๆ พร้อมเข้าปันส่วนแบ่งนี้ด้วย อย่างไรก็ดี ประเด็นว่าด้วยค่าสมาชิกและค่าบริการรวมถึงการแทรกเสริมเพื่อชักชวนให้ซื้อแพ็กเกจสุขภาพหลายรูปแบบของ fitness center เหล่านี้ดูจะเป็นกรณีที่รบกวนใจกลุ่มลูกค้าไม่น้อยเลย ยังไม่นับรวมถึงกรณีการล้มหายไปของ California WOW แบรนด์ฟิตเนสชื่อดังที่ติดตามมาด้วยประเด็นการฉ้อโกงในช่วง 3-4 ปีที่ผ่านมา ซึ่งสั่นคลอนภาพรวมของธุรกิจนี้ไปโดยปริยาย ปัจจัยสำคัญในการแข่งขันของธุรกิจฟิตเนสประการหนึ่ง นอกจากจะอยู่ที่ความครบครันพรั่งพร้อมของอุปกรณ์ และผลของการออกกำลังกายแล้ว ความหลากหลายของคลาสออกกำลังกาย ก็นับเป็นปัจจัยหนุนเสริมซึ่งทำให้ในช่วงที่ผ่านมาฟิตเนสแต่ละแห่งต้องเติมโปรแกรมโยคะหรือมวยไทย ให้เข้ามาเป็นส่วนหนึ่งในคลาสออกกำลังกายด้วย ข้อเท็จจริงด้านหนึ่งที่เกิดขึ้นควบคู่กับฟิตเนสเซ็นเตอร์เหล่านี้ก็คือ ความพยายามสร้างโปรแกรมการออกกำลังกายที่มีความหลากหลายเพื่อสนองตอบกับความต้องการของผู้ใช้บริการ

Read More

เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง จากนักมวยเงินแสน สู่นักธุรกิจเงินล้าน

  เมื่อครั้งยังโลดแล่นอยู่บนสังเวียนผ้าใบ ชัยชนะในการชกถือเป็นเป้าหมายสำคัญของเจริญทอง เกียรติบ้านช่อง ยอดนักมวยไทยที่เคยคว้าแชมป์มาแล้วหลายต่อหลายรุ่น แม้ปัจจุบันจะแขวนนวมและร้างราเวทีมวยที่เต็มไปด้วยการแข่งขันมานาน หากแต่บนสังเวียนธุรกิจ เจริญทอง เกียรติบ้านช่อง กลับมาลงนวมอีกครั้งในนาม เจริญ ชูมณี โดยมีเป้าหมายในการดำเนินกิจการต่างไปจากนักธุรกิจคนอื่นๆ ที่มุ่งเน้นไปที่กำไร ผลตอบแทนอันมหาศาล แต่เป็นความสุขใจที่ได้สืบทอดและมีส่วนในการเผยแพร่ศิลปะมวยไทยให้กับคนรุ่นใหม่ได้ศึกษา ในนาม “เจริญทอง มวยไทย ยิม” เจริญทอง มวยไทย ยิม นับเป็นผลงานชิ้นโบแดงของเจริญ ชูมณี หรือ “ครูเป็ด” ในฐานะนักธุรกิจ ซึ่งเจริญทองผันตัวเองจากนักชกเงินแสนมาเป็นนักธุรกิจตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547 แม้ว่าแรกเริ่มนั้น เจริญทอง มวยไทย ยิม จะดำเนินธุรกิจในลักษณะค่ายมวยที่ส่งนักชกรุ่นใหม่ลงสู่สังเวียนผ้าใบตามรอยของตน หากแต่ในภายหลังมีการปรับเปลี่ยนจากการเป็นค่ายมวยสู่รูปแบบของยิม ที่เปิดโอกาสให้ผู้สนใจการออกกำลังกายในแบบมวยไทยได้เข้ามาสัมผัส เมื่อมองในตลาดภาพรวมความต้องการของผู้บริโภค เทรนด์การดูแลสุขภาพเป็นกระแสที่เติบโตอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้รูปแบบการออกกำลังกายมีให้เลือกหลากหลายรูปแบบ ทั้ง ฟิตเนส โยคะ พิลาทีส หรือ Body Combat  ซึ่งการฟุตเวิร์กบนสังเวียนธุรกิจของเจริญทอง นับว่าทำได้ไม่เลวเลย เมื่อตัดสินใจหยิบเอาเทรนด์นี้มาเป็นแนวการสร้างธุรกิจของตน นับว่าเป็นการออกหมัดที่เข้าเป้าและตรงจุด แม้ในช่วงแรกที่เริ่มชก เจริญทองจะออกหมัดไม่ตรงนัก หากแต่การมีปณิธานในเรื่องที่ต้องการเผยแพร่ศิลปะการต่อสู้แบบมวยไทย

Read More

ECLIPSE YOGA PILATES สุขภาวะที่แตกต่างและเพลิดเพลิน

  หากใครที่กำลังมองหาสตูดิโอโยคะ เพื่อสร้างเสริมสุขภาวะและความรื่นรมย์ทางจิตใจ แต่ไม่ต้องการความจำเจกับบทเรียนและการฝึกหัดอาสนะในแบบเดิมๆ เชื่อว่า Eclipse Yoga Pilates อาจเป็นทางเลือกของคำตอบที่น่าสนใจไม่น้อยเลย  เพราะเพียงแค่ย่างก้าวแรกที่ผ่านพ้นจากโลกภายนอกเข้าไปสู่สตูดิโอแห่งนี้ ก็สามารถสัมผัสได้ถึง mood และ tone ที่เป็นกันเอง ไม่แข็งเกร็งเหมือนสตูดิโอโยคะแห่งอื่นๆ ที่อาจทำให้นักเรียนน้อยมือใหม่ต้องคอยกังวลใจกับการจัดวางอากัปกิริยาให้เหมาะสม  แนวความคิดที่เป็นประหนึ่งฐานรากของ Eclipse Yoga Pilates ในด้านหนึ่งอยู่ที่ความพยายามกลับไปหาปรัชญาพื้นฐานของโยคะที่แม้จะมีอาสนะคอยกำกับ แต่ก็ดำเนินไปอย่างไม่จำเป็นต้องยึดติดกับท่วงท่าหรือถูกกำหนดโดยกรอบของสภาวะแวดล้อม หากดำเนินไปอย่างอิสระจากการกำหนดรู้ภายใน  “โยคะในสตูดิโอ โดยทั่วไปมีข้อจำกัดหลายประการ แต่โยคะที่แท้จริงคือการไม่ผูกมัดหรือถูกจำกัดอยู่ในกรอบ ซึ่ง Eclipse Yoga Pilates พยายามทำลายกำแพงความคิดที่ติดยึดกับรูปแบบเดิมๆ ให้เปิดรับการนำเสนอสิ่งนี้ ซึ่งนี่เป็นจุดต่างสำคัญที่ทำให้ Eclipse Yoga Pilates เป็นสตูดิโอที่มีเสน่ห์และเปิดกว้างสำหรับทุกเพศทุกวัย” ครูบี สกุลยา หิรัญพรกุล หนึ่งในคุณครูโยคะของ Eclipse Yoga Pilatesบอก “ผู้จัดการ 360  ํ”  ความแตกต่างอีกประการหนึ่งที่ทำให้ Eclipse Yoga Pilates แตกต่างจากสตูดิโอโยคะแห่งอื่นๆ น่าจะอยู่ที่การนำโยคะมาผนวกกับ Physical

Read More

Bawah โมเดลดูแลชุมชน บนนิคมอุตสาหกรรมทวาย

 การเข้ามารับสัมปทานในโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายของบริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) นั้นต้องทำมากกว่าการศึกษาถึงความเป็นไปได้ของโครงการรวมไปถึงผลกระทบต่อชุมชนบริเวณใกล้เคียง เมื่อโครงการข้างต้นจำเป็นต้องใช้พื้นที่ในการพัฒนามหาศาล แม้จะเคยผ่านงานอย่างนิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดมาแล้ว หากแต่ อิตาเลียนไทยยังต้องพยายามทำความเข้าใจธรรมชาติของชาวทวาย ดูเป็นเรื่องธรรมดาที่ทุกครั้งที่มีการพัฒนาพื้นที่เพื่อภาคอุตสาหกรรม จำเป็นต้องมีการเวนคืนที่ดิน ซึ่งในส่วนนี้เองที่อาจจะส่งผลกระทบต่อชาวชุมชน  Relocation Area คือพื้นที่ที่ภาครัฐจัดสรรเพื่อรองรับการอพยพย้ายถิ่นฐานของประชาชน โดยมีรายงานระบุว่า รัฐบาลเมียนมามีพื้นที่ต้องจัดการ 3 พื้นที่หลัก คือ 1. ปะกอว์ซูน (Pagaw Zoon) ขนาด 2,160 ไร่ เพื่อรองรับการย้าย 10 หมู่บ้าน 2,300 ครอบครัว 2. บาวาห์ (Bawah) พื้นที่ 1,855 ไร่ รองรับการย้าย 5 หมู่บ้าน 1,850 ครอบครัว และ 3. ปันดินอิน (Pandin in) มีเพียงชาวประมงพื้นถิ่นเพียง 52 ครอบครัว ขณะที่ผู้รับผิดชอบโครงการสร้าง

Read More

เช็กสุขภาพ ITD โปรเจ็กต์ทวายจะสบายดีไหม

 หลายคนอาจเคยได้ยินคำกล่าวที่ว่า “ธุรกิจที่เริ่มต้นจากศูนย์เป็นเรื่องยาก” และเข้าใจว่ากว่าจะประสบความสำเร็จคงต้องเจอกับปัญหาและอุปสรรคนานัปการ โครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายก็ไม่ต่างกัน เมื่อโครงการนี้มีจุดเริ่มต้นที่ “ศูนย์” กิโลเมตร โครงการมูลค่ามหาศาลบนเส้นทางระเบียงเศรษฐกิจตอนใต้ หรือ Southern Corridor ที่เกี่ยวพันสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา ไทย และญี่ปุ่น เข้าไว้ด้วยกัน แม้ในช่วงแรกญี่ปุ่นจะให้ความสำคัญกับโครงการเขตเศรษฐกิจพิเศษติลาวาในนครย่างกุ้ง มากกว่าก็ตาม เขตเศรษฐกิจพิเศษทวายอาจเรียกได้ว่าเป็นมหากาพย์ทางเศรษฐกิจระหว่างประเทศ เมื่อโครงการนี้เริ่มต้นมาตั้งแต่ปี 2008 หากนับเวลาจนถึงปัจจุบันกลับปรากฏความคืบหน้าเพียง 10 เปอร์เซ็นต์ นับว่าล่าช้ามากเมื่อเทียบกับโครงการขนาดเดียวกัน สาเหตุของความล่าช้าที่เกิดขึ้นอาจมาจากรูปแบบการทำงานระบบราชการของเมียนมาที่ค่อนข้างใส่ใจในรายละเอียดปลีกย่อย ซึ่งอาจส่งผลให้บริษัทที่รับผิดชอบโครงการไม่สามารถดำเนินการใดๆ ได้สะดวกนัก และแม้ว่าโครงการนี้จะเป็นโครงการระดับ G2G แต่การขาดเสถียรภาพของรัฐบาลทั้งสองประเทศก็เป็นอีกหนึ่งปัจจัยที่ทำให้โครงการทวายก้าวหน้าไปได้ช้ามาก  ทั้งนี้บริษัท อิตาเลียน ดีเวล๊อปเมนต์ จำกัด (มหาชน) หรือ ITD ผู้ที่ได้สิทธิ์ในการพัฒนาพื้นที่ภายใต้สัมปทานระยะเวลา 50 ปี และสามารถขยายได้อีก 25 ปี ดูจะมีเรื่องให้น่ากังวลไม่น้อย เมื่อแรกเริ่มจำเป็นต้องควักเงินลงทุนไปล่วงหน้า ทั้งๆ ที่ ITD และคู่สัญญากลุ่มธุรกิจร่วมทุนเพิ่งจะจรดปากกาในสัญญาสัมปทานโครงการทวายในระยะแรกกับคณะกรรมการเขตเศรษฐกิจพิเศษทวายไปเมื่อวันที่ 5 สิงหาคม 2558

Read More

จาก “เลห์แมน” สู่ “คูนแคปปิตอล” ทุนอสังหาฯ พลิกโมเดลธุรกิจ

  ช่วงเวลาไม่ถึง 1 ปี กลุ่มนารายณ์พร็อพเพอร์ตี้เดินหน้าเปลี่ยนยุทธศาสตร์ครั้งใหญ่ หลังดึงอรฤดี ณ ระนอง อดีตผู้พลิกโฉมบริษัท ยูนิเวนเจอร์ จำกัด (มหาชน) จากธุรกิจอุตสาหกรรมสังกะสีเป็นบริษัทอสังหาริมทรัพย์รายใหญ่ เข้ามานั่งเก้าอี้ผู้บริหารระดับสูง  ไม่ใช่แค่การเปิดศึกบุกตลาดไฮเอนด์จนถึงระดับซูเปอร์ลักชัวรี แต่ยังสร้างโมเดลธุรกิจใหม่ ตั้งบริษัทลูก “นายณ์เอสเตท” ทำหน้าที่ขยายโครงการในลักษณะการร่วมทุนกับพันธมิตรกลุ่มแลนด์ลอร์ด หรือพาร์ตเนอร์ที่สามารถเข้าถึงที่ดินผืนงามใจกลางเมือง ซึ่งนับวันจะหายากมากขึ้นและราคาสูงลิบลิ่ว อรฤดีในฐานะกรรมการบริหารบริษัท นารายณ์ พร็อพเพอร์ตี้ จำกัด และประธานเจ้าหน้าที่บริหารบริษัท นายณย์ เอสเตท ประเดิมยุทธศาสตร์จับมือร่วมทุนกับบริษัท คูน แคปปิตอล ผุดโครงการบ้านหรูหลังใหญ่ในทำเลทองย่านสุขุมวิท ท่ามกลางสมรภูมิคอนโดมิเนียมตามแนวรถไฟฟ้าที่ยักษ์อสังหาฯ กำลังเปิดศึกผุดโปรเจกต์อย่างดุเดือด  เริ่มจาก “ควอเตอร์ 39” เป็นทาวน์โฮม จำนวน 15 ยูนิต เนื้อที่ 2 ไร่เศษ ราคาเริ่มต้น 38.6 ล้านบาท ถึงเกือบ 60 ล้านบาท มูลค่าโครงการ 680 ล้านบาท ตามด้วย “ควอเตอร์

Read More

โค้งสุดท้ายตลาดคอนโด “แสนสิริ-บีทีเอส” ลอยลำ

  เข้าสู่โค้งสุดท้ายของปี 2558 แม้คาดการณ์กันว่า ความต้องการที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑลยังสามารถเติบโตต่อเนื่องไม่ต่ำกว่า 15% มูลค่ารวม 337,000 ล้านบาท แต่เบื้องหลังตัวเลขดังกล่าวมาจากโครงการในระดับไฮเอนด์ จับกลุ่มเศรษฐี และโครงการเกาะแนวเส้นทางรถไฟฟ้า ซึ่งมีดีเวลลอปเปอร์ยักษ์ใหญ่ยึดครองส่วนแบ่งเพียงไม่กี่ราย  โดยเฉพาะ “แสนสิริ” ที่ล่าสุดประกาศร่วมทุนกับ “บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์” และวางแผนภายใน 5 ปี ผุดโครงการตามแนวเส้นทางระบบขนส่ง จำนวน 25 โครงการ มูลค่าลงทุนมากกว่า 100,000 ล้านบาท  ยิ่งไปกว่านั้น บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ มีแผนประมูลโครงการก่อสร้างเส้นทางรถไฟฟ้าอีกหลายเส้นทาง และมีที่ดินตามแนวเส้นทางจำนวนมาก โดยคีรี กาญจนพาสน์ ในฐานะประธานกรรมการบริษัท บีทีเอส กรุ๊ป โฮลดิ้งส์ จำกัด (มหาชน) ย้ำว่า บริษัทร่วมทุนสามารถผุดโครงการที่อยู่อาศัยตลอดระยะทางหลายร้อยกิโลเมตร  ที่ผ่านมา ทั้งสองยักษ์มีสัมพันธ์ในฐานะพันธมิตรใกล้ชิด ซึ่งเป็นปัจจัยหนุนให้แสนสิริเจาะตลาดคอนโดมิเนียมตามแนวเส้นทางรถไฟฟ้า กอบโกยรายได้ยอดขายจากทำเลที่มีศักยภาพและสร้างแบรนด์จนสำเร็จ แน่นอนว่า หากเปรียบเทียบทำเลตลอดเส้นทางรถไฟฟ้า สายสุขุมวิทยังเป็นทำเลทองของตลาดคอนโดมิเนียม ทั้งในแง่ความต้องการและราคาซื้อขายที่ปรับขึ้นทุกปี โดยเฉพาะทำเลดีหายากขึ้น

Read More

อนุพงษ์ อัศวโภคิน เกมผูกขาด “บ้านกลางเมือง”

  อนุพงษ์ อัศวโภคิน ใช้เวลากว่า 2 ทศวรรษ ขยายอาณาจักร “เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้” ฉีกแนวออกจาก “แลนด์ แอนด์ เฮ้าส์” ของพี่ชาย “อนันต์ อัศวโภคิน” โดยเฉพาะการสร้าง “จุดต่าง” จนกลายเป็นยักษ์ใหญ่เจ้าตลาด “Townhouse in the big city” ภายใต้แบรนด์  “บ้านกลางเมือง” และ “บ้านกลางกรุง” ยึดทุกทำเลหลักในเขตเมือง และล่าสุดกำลังเปิดสมรภูมิสู่พื้นที่เมืองใหม่ ไล่ตามโครงข่ายคมนาคมและแนวเส้นทางรถไฟฟ้าอย่างต่อเนื่อง ที่สำคัญ ในขณะที่ดีเวลลอปเปอร์รายอื่นกำลังลุยสงครามคอนโดมิเนียมช่วงชิงทำเลอย่างดุเดือด แต่ “เอเชี่ยนพร็อพเพอร์ตี้ ดีเวลลอปเมนท์” หรือชื่อใหม่ บริษัท เอพี (ไทยแลนด์) จำกัด (มหาชน) หลังปรับภาพลักษณ์ครั้งใหญ่เมื่อปี 2556 สามารถขยายแนวรบ ทั้งตลาดคอนโดมิเนียมและทาวน์เฮาส์ จับกลุ่มลูกค้าทั้งระดับกลางและระดับบน ทั้งลูกค้ากลุ่มคนรุ่นใหม่ ครอบครัวเดี่ยวและครอบครัวใหญ่ที่อยากมีพื้นที่ใช้สอยมากกว่าชีวิตคอนโดฯ  ทั้งนี้ แผนการปลุกปั้นแบรนด์ “บ้านกลางเมือง” และ “บ้านกลางกรุง”

Read More

สำรวจตลาดท่องเที่ยวเพื่อนบ้าน ASEAN ไทยยังเป็นอันดับหนึ่งจริงหรือ?

  ความเป็นไปว่าด้วยการท่องเที่ยวในภูมิภาคอาเซียนในห้วงยามที่กำลังคืบใกล้เข้าสู่การเปิดประชาคม AEC ดูเหมือนว่าประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมเชื่อว่ามีทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวโดดเด่นที่สุดแห่งหนึ่งของภูมิภาคกำลังเผชิญกับความท้าทายใหม่ๆ ที่อาจทำให้ต้องสูญเสียทั้งตลาดและความน่าสนใจในระยะยาวอย่างยากที่จะสร้างให้กลับมาได้เปรียบดังเดิมได้อีก การเติบโตขึ้นของตลาดการท่องเที่ยวในประเทศเพื่อนบ้าน ดำเนินควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าทรัพยากรด้านการท่องเที่ยวของแต่ละประเทศที่อยู่รายล้อมประเทศไทยมีความหลากหลายและอุดมมั่งคั่งอย่างยิ่ง หากแต่ช่วงเวลาที่ผ่านมา ยังไม่ได้รับการพัฒนาหรือส่งเสริมอย่างเป็นระบบเท่าที่ควรเท่านั้น การเปิดประเทศเพื่อเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจโลกทำให้โอกาสในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานด้านการท่องเที่ยวของทั้งกัมพูชา ลาว เมียนมา และเวียดนาม หรือประเทศ CLMV บนอนุภูมิภาคลุ่มน้ำโขงดำเนินไปด้วยอัตราเร่ง ที่พร้อมจะดึงดูดความสนใจจากทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและนักท่องเที่ยวให้หลั่งไหลเข้าชื่นชมความงามของธรรมชาติ และเรียนรู้วัฒนธรรม ประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ของผู้คนท้องถิ่นนี้ด้วย กัมพูชาเปิดตัวออกสู่ตลาดการท่องเที่ยวระดับนานาชาติภายใต้คำขวัญ “Kingdom of Wonder” พร้อมด้วยจุดขายว่าด้วยศิลปวัฒนธรรมที่มีรากฐานยาวนานนับพันปี และปรากฏเป็นแหล่งโบราณคดีที่ได้รับการยอมรับเป็นมรดกโลก ควบคู่กับแหล่งท่องเที่ยวตามธรรมชาติที่ยังอุดมสมบูรณ์ ซึ่งทำให้ในช่วงทศวรรษที่ผ่านมากัมพูชามีจำนวนนักท่องเที่ยวเติบโตเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 400% จากระดับ 1 ล้านคนในปี 2004 มาสู่ระดับ 4.5 ล้านคนในปี 2014 และยังมีแนวโน้มเติบโตขึ้นอีกในอนาคต ที่สำคัญก็คือมีนักเดินทางเพื่อธุรกิจเพิ่มขึ้น เข้าสู่กัมพูชามากขึ้นถึงกว่าร้อยละ47 ซึ่งสะท้อนภาพการเป็นแหล่งลงทุนแห่งใหม่ของกัมพูชา ที่อาจนำไปสู่กระบวนการพัฒนาเศรษฐกิจอื่นๆ ที่ไม่ได้มีจุดเน้นเรื่องการท่องเที่ยวโดยลำพังในระยะยาวนับจากนี้อีกด้วย ขณะที่เวียดนามกำลังก้าวขึ้นมาเป็นตลาดการท่องเที่ยวที่มีศักยภาพและการเติบโตสูงมากอีกแห่งหนึ่งของอาเซียนหลังจากที่ผ่อนปรนข้อบังคับและเปิดโอกาสให้นักท่องเที่ยวเดินทางไปสู่จุดหมายปลายทางต่างๆ ได้อย่างเสรียิ่งขึ้นตั้งแต่ปี 1997 ซึ่งทำให้นักท่องเที่ยวเดินทางเข้าสู่เวียดนามมากขึ้นเป็นลำดับจาก 1.7 ล้านคนในปี 1997 มาสู่ 3.5 ล้านคนในปี 2006 และเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 100%

Read More