Home > Cover Story (Page 148)

20 เมกะโปรเจกต์ จุดเปลี่ยนเศรษฐกิจไทย

 เมกะโปรเจกต์ภายใต้การดูแลของกระทรวงคมนาคมซึ่งจะเป็นส่วนช่วยขับเคลื่อนเศรษฐกิจไทยภายใต้กรอบ S-Curve ซึ่งหนึ่งในนั้นคือการพัฒนาโครงการสร้างพื้นฐาน ทั้งนี้จะเป็นอีกหนึ่งต้นทุนของการผลิต การบริการ ความสะดวกในการคมนาคมที่เป็นความต้องการของประชาชน ซึ่งเป็นอีกหนึ่งสิ่งที่จะสามารถยกระดับคุณภาพชีวิตของคนในสังคมได้  ปัจจัยสนับสนุนเศรษฐกิจของประเทศโดยหลักๆ อยู่ที่ธุรกิจการท่องเที่ยว และการลงทุนของภาครัฐ ทั้งที่เป็นโครงการเก่าที่ยังคงค้างอยู่ในขั้นตอนการดำเนินงาน รวมไปถึงเขตเศรษฐกิจพิเศษซึ่งไทยจะต้องพร้อมที่จะเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้ดูเหมือนว่ารัฐบาลชุดนี้จะให้ความสำคัญต่อเมกะโปรเจกต์ทั้งที่กำลังก่อสร้าง หรือโครงการที่อยู่ในขั้นตอนการขออนุมัติ ซึ่งเส้นทางคมนาคมที่กำลังเกิดขึ้นจะเชื่อมต่อโยงใยพื้นที่ต่างๆ ของประเทศสร้างให้เกิดความสะดวกสบายและร่นระยะเวลาในการเดินทาง ซึ่งแน่นอนว่าย่อมหมายถึงต้นทุนโลจิสติกต์ที่จะลดลงในอนาคตสำหรับภาคอุตสาหกรรม โดยอาคม เติมพิทยาไพสิฐ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงคมนาคม พยายามผลักดันโครงการต่างๆ ให้ผ่านขั้นตอนแรก ซึ่งคือขั้นตอนการอนุมัติโครงการ ทั้งนี้ผลดีจากการลงทุนของภาครัฐนั้นย่อมก่อให้เกิดแรงกระเพื่อมทางเศรษฐกิจได้  เมื่อภาคเอกชนเห็นว่านโยบายใดของรัฐบาลที่ผ่านการอนุมัติจากคณะรัฐมนตรีแล้ว นักลงทุนจะเล็งเห็นโอกาสทางธุรกิจเช่นเดียวกัน ดังจะเห็นได้จากราคาที่ดินบริเวณเส้นทางระบบขนส่งมวลชนแบบรางนั้น ราคาประเมินถีบตัวสูงขึ้นหลายเท่าตัว โดยภาคเอกชนที่ตอกหมุดจับจองพื้นที่กันอย่างรวดเร็ว รอเพียงการพัฒนาไปสู่ที่พักอาศัยแนวตั้ง หรือห้างค้าปลีกขนาดใหญ่  กระนั้นโครงการเมกะโปรเจกต์ที่อาคมเล็งเห็นและให้ความสำคัญนั้นคือเส้นทางคมนาคมทางบก ทางน้ำ ทางอากาศ และระบบราง ทั้งนี้ 20 โครงการจะถูกดำเนินงานภายใต้กรอบระยะเวลาการทำงาน 8 ปี ตั้งแต่ปี 2558–2565 ซึ่งจะดำเนินการภายใต้แผนงาน 5 แผน 1. โครงข่ายรถไฟระหว่างเมือง 2. โครงข่ายขนส่งสาธารณะ แก้ปัญหาการจราจร 3. ความสามารถของทางหลวงในการเชื่อมโยงฐานการผลิตของประเทศ 4. โครงข่ายการขนส่งทางน้ำ และ

Read More

“เทสโก้โลตัส” หนีตาย เปลี่ยนโหมดสู่ “ไลฟ์สไตล์มอลล์”

 แม้ยังไม่มีสัญญาณชี้ชัดจากบริษัทแม่ในสหราชอาณาจักร แต่ “เทสโก้โลตัส” ในไทยประกาศเดินหน้าปรับกลยุทธ์ต่อเนื่อง โดยเฉพาะยุทธศาสตร์การปรับโฉมสาขากลุ่ม “ไฮเปอร์มาร์เก็ต” เข้าสู่โหมด”ไลฟ์สไตล์มอลล์” ที่มีจุดขายหลากหลายมากขึ้น เพิ่มแม็กเน็ตตามเทรนด์ใหม่ๆ ของกลุ่มลูกค้า หลังจากทุ่มงบพันล้านปรับโฉม “บางใหญ่ พลัสมอลล์” ผลักดันรายได้ของศูนย์ ซึ่งไม่ใช่แค่ยอดขายสินค้า แต่รวมถึงค่าเช่าพื้นที่แบบพุ่งพรวด แน่นอนว่า บริษัท เอก-ชัย ดีสทริบิวชั่น จำกัด ในฐานะผู้บริหาร “เทสโก้โลตัส” ในประเทศไทย ต้องรีบสร้างผลการดำเนินงาน เพื่อหนีภาวะสุ่มเสี่ยงการตัดขายกิจการ ซึ่งล่าสุด บริษัทแม่กลุ่มเทสโก้ยังอยู่ฐานะ “หนี้ท่วม” และเพิ่งประกาศขายที่ดินที่เตรียมก่อสร้างซูเปอร์มาร์เก็ต จำนวน 14 โครงการในอังกฤษให้กลุ่มทุนอสังหาริมทรัพย์ จำนวนเงินกว่า 250 ล้านปอนด์ หรือประมาณ 13,500 ล้านบาท เพื่อนำมาปลดภาระหนี้สินและลดการขยายสาขาที่มีความซ้ำซ้อนกันบางพื้นที่  ที่สำคัญ ยังเจอปัจจัยเสี่ยงสำคัญ คือ ปัญหาพฤติกรรมการจับจ่ายที่เปลี่ยนไปของผู้บริโภค การหันมาใช้บริการชอปปิ้งออนไลน์และเลือกจับจ่ายสินค้าในร้านสะดวกซื้อมากขึ้น ขณะที่ลดความถี่ในการเดินทางไปซื้อสินค้าในซูเปอร์มาร์เก็ตใหญ่ ๆ นอกเมือง เหลืออาทิตย์ละครั้งและแนวโน้มจะลดลงอีก  เทสโก้โลตัส จากอดีตยึดตำแหน่งเจ้าตลาดไฮเปอร์มาร์เก็ต ผู้นำกลยุทธ์สินค้าราคาถูก ต้องปรับกระบวนทัพครั้งใหญ่

Read More

ห้างญี่ปุ่นซุ่มกลยุทธ์ งัดแผนส่งท้าย-สู้ศึกปี 59

 กลุ่มทุนญี่ปุ่น ยักษ์ใหญ่ในสงครามค้าปลีกไทยกำลังส่งสัญญาณรุกตลาดครั้งสำคัญ  ทั้งการหวนคืนสมรภูมิศูนย์การค้าของกลุ่มอิออน โดยนำร่องเปิดตัว “อิออน ศรีราชา” โมเดลคอมมูนิตี้มอลล์แห่งแรกของอิออนในไทย ขณะที่ “โตคิว” เร่งปลุกปั้นสาขา 2 ในศูนย์การค้าพาราไดซ์พาร์ค เจาะทำเลกรุงเทพฯ ฝั่งตะวันออก การเตรียมยกเครื่องของห้างอิเซตัน รวมถึง “ทาคาชิมาย่า” ที่จะเปิดตัวบิ๊กโปรเจ็กต์พร้อมๆกับ “ไอคอนสยาม” ในปี 2560  ต้องถือว่าห้างสรรพสินค้าญี่ปุ่นเข้ามาบุกเบิกและฝังรากลึกในตลาดไทยอย่างยาวนานกว่า 50 ปี  เริ่มตั้งแต่ยุคไดมารู ประเดิมสาขาแรกในศูนย์การค้าราชประสงค์ หรือ “เซ็นทรัลเวิลด์” ในปัจจุบัน แต่ฝ่าด่านการตลาดแบบไทยๆ ไม่ได้และต้องปิดตัว แม้หนีไปเจาะทำเลใหม่ย่านศรีนครินทร์ จนกระทั่งปี 2528 ห้างยักษ์ญี่ปุ่นเข้ามาชิมลางตลาดพร้อมๆ กับ 3 ค่าย ประกอบด้วย “โซโก้” ที่เปิดยุทธศาสตร์สาขาแรกในอาคารอัมรินทร์พลาซ่า สี่แยกราชประสงค์ พื้นที่ 10,000 ตารางเมตร, “โตคิว” ปักหมุดในมาบุญครองเซ็นเตอร์ สี่แยกปทุมวัน พื้นที่ร่วม 12,000 ตารางเมตร และ

Read More

“อิออน” รุกแนวรบใหม่ ขยายอาณาจักร

 30 ปีของ “อิออนกรุ๊ป” ในสมรภูมิค้าปลีกไทยฝ่าวิกฤตหลายรอบ เริ่มจากแผนบุกธุรกิจศูนย์การค้า “สยามจัสโก้” ก่อนเจอศึกแข่งขันดุเดือดจนต้องพลิกโหมดเข้าสู่โมเดลซูเปอร์มาร์เก็ต “จัสโก้” โดน “วิกฤตต้มยำกุ้ง” เสียเวลาฟื้นฟูกิจการหลายปี ที่สุดแปลงร่างเป็นบริษัท อิออน ไทยแลนด์ จำกัด ล่าสุด ณ วันนี้ บริษัทแม่ประเทศญี่ปุ่นประกาศทุ่มเม็ดเงินเดินหน้าขยายอาณาจักรรอบใหม่ เพื่อเจาะธุรกิจค้าปลีกทุกรูปแบบตามแผน Vision 2020 ที่ตั้งเป้าเป็นผู้นำตลาดค้าปลีกในภูมิภาคเอเชีย (Asia’s No.1 Super-Regional Retailer) โดยวาง 4 ยุทธศาสตร์หลัก คือ เร่งขยายเข้าสู่ตลาดอาเซียน เจาะตลาดชุมชนเมือง จับกลุ่มเป้าหมายในยุคสังคมผู้สูงวัยที่มีกำลังซื้อสูงและเร่งขยายตลาดดิจิตอลตามเทรนด์การเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค ขณะเดียวกันอาณาจักรธุรกิจค้าปลีกอิออนใช้เวลามากกว่า 46 ปี ขยายเครือข่ายบริษัทลูกเกือบ 200 บริษัท ใน 3 ธุรกิจหลัก ครอบคลุมทั้งกลุ่มธุรกิจค้าปลีก กลุ่มธุรกิจพัฒนาอสังหาริมทรัพย์และกลุ่มธุรกิจเงินทุน-ประกันภัย  แต่ต้องถือว่า ธุรกิจค้าปลีกเป็นธุรกิจหลักและจุดเริ่มต้นสำคัญ ตั้งแต่ยุคที่ยังใช้ชื่อ ”จัสโก้ (JUSCO)” ก่อนมาประกาศเปลี่ยนชื่อใหม่ “อิออน (AEON)”

Read More

ททท. โหมโปรโมต ร่วม Visa อัดแคมเปญรับปีใหม่

 ห้วงเวลาสำคัญของฤดูการท่องเที่ยวส่งท้ายปี กำลังขยับใกล้เข้ามาท่ามกลางบรรยากาศทางการเมืองและสถานการณ์ภาพรวมทางเศรษฐกิจที่ยังปราศจากสัญญาณเชิงบวก ทำให้หลายฝ่ายต่างต้องเร่งประชาสัมพันธ์และออกมาตรการส่งเสริมการตลาดในช่วงโค้งสุดท้ายของปีอย่างหนักหน่วง การเปิดตัว “ไทยแลนด์ ครอสบอร์เดอร์ พริวิเลจ” (Thailand Cross Border Privileges) ภายใต้ความร่วมมือระหว่างการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย (ททท.) และวีซ่า ประเทศไทย เมื่อไม่นานมานี้ ดูจะเป็นตัวอย่างและรูปธรรมของความพยายามรอบล่าสุดที่เห็นได้ชัดเจนในกรณีที่ว่านี้ ความร่วมมือดังกล่าวในด้านหนึ่งถือเป็นการต่อยอดโปรแกรมเพื่อดึงดูดนักท่องเที่ยวมายังประเทศไทยภายใต้การประสานความร่วมมือระหว่าง ททท. และวีซ่า ซึ่งเป็นพันธมิตรกันมายาวนานกว่า 17 ปี โดยในทุกๆ ปี วีซ่าและ ททท. จะร่วมกันจัดสามแคมเปญใหญ่ ที่ประกอบส่วนด้วย ไทยแลนด์ สเปคทาคูลาร์ เยียร์ เอนด์ (พฤศจิกายน-มกราคม) ไทยแลนด์ สแปลช แอนด์ สไปซ์ (มีนาคม-พฤษภาคม) และ ไทยแลนด์แกรนด์เซลส์ (มิถุนายน-สิงหาคม) สำหรับ “ไทยแลนด์ ครอสบอร์เดอร์ พริวิเลจ” (Thailand Cross Border Privileges) ซึ่งเปิดตัวมาเพิ่มใหม่นี้ถือเป็นแพลตฟอร์มส่งเสริมการท่องเที่ยวและโปรโมชั่นที่มอบสิทธิประโยชน์สุดพิเศษสำหรับนักท่องเที่ยวตั้งแต่เริ่มต้นการวางแผนการเดินทาง ตลอดจนการจองที่พัก ตั๋วเครื่องบินไปจนถึงการชอปปิ้งของที่ระลึกในช่วงเทศกาลฉลองต้อนรับปีใหม่ที่จะมาถึงนี้ “จุดเด่นของการท่องเที่ยวในประเทศไทยคือมีแหล่งท่องเที่ยวที่ให้ประสบการณ์ที่หลากหลาย

Read More

อวสานลานเบียร์? หรือปฐมบทการชิงพื้นที่?

 ข่าวความเป็นไปว่าด้วยกรณีนายแพทย์สมาน ฟูตระกูล ผู้อำนวยการสำนักงานคณะกรรมการควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ กรมควบคุมโรค กระทรวงสาธารณสุข (สธ.) ออกมาระบุว่า การที่ผู้ประกอบการธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ต่างจัดกิจกรรมกระตุ้นตลาดในช่วงปลายปีกันอย่างเต็มที่ ทั้งการจัดกิจกรรมลานเบียร์ การนำกลยุทธ์มิวสิกมาร์เก็ตติ้งเข้ามาใช้  ทั้งในรูปแบบของการเป็นสปอนเซอร์ จัดคอนเสิร์ต มิวสิกเฟสติวัล พร้อมตั้งข้อสังเกตว่า กิจกรรมเหล่านี้เข้าข่ายการกระทำผิด ตามมาตรา 32 ของพระราชบัญญัติ (พ.ร.บ.) ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ พ.ศ. 2551 และอยู่ระหว่างหาแนวทางการดำเนินการด้านคดี ได้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ และนำไปสู่ข้อถกแถลงในวงกว้าง สอดรับกับช่วงเทศกาลลานเบียร์ที่เริ่มขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ทั้งนี้ ภายใต้บทบัญญัติในมาตรา 32 ของ พ.ร.บ. ควบคุมเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ระบุว่าห้ามมิให้ผู้ใดโฆษณาเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือแสดงชื่อหรือเครื่องหมายของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์อันเป็นการอวดอ้างสรรพคุณหรือชักจูงใจให้ผู้อื่นดื่มโดยตรงหรือโดยอ้อม การโฆษณาหรือประชาสัมพันธ์ใดๆ โดยผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกประเภทให้กระทำได้เฉพาะการให้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้เชิงสร้างสรรค์สังคม โดยไม่ปรากฏภาพของสินค้าหรือบรรจุภัณฑ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้น เว้นแต่เป็นการปรากฏของภาพสัญลักษณ์ของเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ หรือสัญลักษณ์ของบริษัทผู้ผลิตเครื่องดื่มแอลกอฮอล์นั้นเท่านั้น ทั้งนี้ตามที่กำหนดในกฎกระทรวง บทบัญญัติในวรรคหนึ่งและวรรคสอง มิให้ใช้บังคับกับการโฆษณาที่มีต้นกำเนิดนอกราชอาณาจักร ขณะเดียวกัน กิจกรรมการตลาดหลายกิจกรรมในกลุ่มธุรกิจเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยังอาจเข้าข่ายความผิดในส่วนของมาตรา 30 ที่ห้ามมิให้ผู้ใดขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ โดยวิธีการหรือในลักษณะดังต่อไปนี้ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เครื่องขายอัตโนมัติ การเร่ขาย การลดราคาเพื่อประโยชน์ในการส่งเสริมการขาย หรือเสนอให้สิทธิในการเข้าชมการแข่งขัน การแสดง การให้บริการ

Read More

SCG: ถึงเวลาเปลี่ยนควาญช้าง ความเป็นไปในยุคหลัง กานต์ ตระกูลฮุน

 การประกาศแต่งตั้งกรรมการผู้จัดการใหญ่คนใหม่แทนผู้บริหารท่านเดิมที่กำลังจะเกษียณอายุขององค์กรชั้นนำอย่าง SCG เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา อาจให้ภาพของแบบแผนพิธีการที่ต้องดำเนินให้ถูกต้องอย่างเป็นทางการ มากกว่าที่จะเป็นดัชนีชี้วัดทิศทางหรือการเปลี่ยนผ่านขององค์กรอย่างที่อาจเกิดขึ้นในองค์กรธุรกิจแห่งอื่นๆ เหตุที่เป็นดังนี้ก็เนื่องเพราะก่อนหน้านี้ รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส ได้รับคัดเลือกให้เป็นผู้สืบทอดตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่ต่อจากกานต์ ตระกูลฮุน ภายใต้แผนสืบทอดผู้นำ หรือ Succession plan มาตั้งแต่เมื่อปี 2554 หรือกว่า 4-5 ปีที่ผ่านมาแล้ว ช่วงเวลาที่ทอดยาวดังกล่าวทำให้รุ่งโรจน์ รังสิโยภาส เป็นว่าที่กรรมการผู้จัดการใหญ่ที่มีโอกาสในการเตรียมตัว และผ่านกระบวนการบ่มเพาะ ทดสอบ ภายใต้แรงกดดันและประสบการณ์ที่ท้าทายหลากหลายมากที่สุดคนหนึ่ง ขณะที่ความรู้และประสบการณ์ในเอสซีจีในช่วงที่ผ่านมาของเขา ก็ถือได้ว่าเป็นผู้ที่มีความเหมาะสมในการบริหารและผลักดันยุทธศาสตร์องค์กรในยุคที่มีความไม่แน่นอนมากขึ้นนี้ ภายใต้ยุทธศาสตร์ว่าด้วยการเพิ่มสัดส่วนรายได้ ด้วยการมุ่งพัฒนานวัตกรรมที่มีมูลค่าเพิ่มสูง (High Value Added Products & Services: HVA) ซึ่งถือว่าเป็นเข็มมุ่งในการบริหารองค์กรในอนาคต ดูเหมือนว่าบทบาทของรุ่งโรจน์ รังสิโยภาส จะได้รับการบ่มเพาะและเตรียมตัวมาอย่างดี โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่าเขาถูกส่งไปเป็นกรรมการผู้จัดการใหญ่ ธุรกิจกระดาษ (เอสซีจี แพคแกจจิ้ง) ซึ่งถือเป็นกระบวนการสร้างประสบการณ์บริหารอย่างครอบคลุม ยืดหยุ่น และมีนัยความหมายสอดคล้องกับจังหวะก้าวของเอสซีจีในช่วงเริ่มต้นศตวรรษที่สองอย่างมาก เพราะขณะที่ธุรกิจกระดาษกำลังขับเคลื่อนท่ามกลางปัจจัยที่เปลี่ยนแปลงไป สิ่งที่ธุรกิจกระดาษของ SCG  จะต้องสร้าง “โอกาสทางการตลาด” ท่ามกลางการแข่งขันที่ดุเดือดจึงอยู่ที่ความสามารถในการสร้างนวัตกรรมและความแตกต่าง โดยเฉพาะการผลิตบรรจุภัณฑ์กระดาษเพื่อใช้กับสินค้าประเภทอาหาร

Read More

พิบัติภัยธรรมชาติ กับงานวิศวกรรมบูรณะโบราณสถาน

 เหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 7.8 ที่เกิดขึ้น ณ ประเทศเนปาลเมื่อวันที่ 25 เมษายน พ.ศ. 2558 นับเป็นเหตุแผ่นดินไหวครั้งรุนแรงของเนปาลที่ส่งผลกระทบใหญ่หลวงทั้งทางตรงและทางอ้อม สร้างความสูญเสียทั้งต่อชีวิตและทรัพย์สิน แรงสั่นสะเทือนที่เกิดขึ้นทำให้อาคารเก่าแก่หลายศตวรรษ แหล่งโบราณสถานและมรดกโลกในหุบเขากาฐมาณฑุถูกทำลาย  โบราณสถานเหล่านี้ทรงคุณค่าทั้งด้านประวัติศาสตร์ ศิลปกรรม และเป็นดั่งแม่เหล็กดึงดูดนักท่องเที่ยวจากทุกมุมโลกให้มาเยือนเนปาล สร้างรายได้ให้กับประเทศจำนวนไม่น้อย ความเสียหายที่เกิดขึ้นจึงไม่อาจประเมินค่าได้ ขณะเดียวกันหลายฝ่ายก็อดกังวลไม่ได้ว่า เหตุการณ์เดียวกันนี้จะเกิดขึ้นกับโบราณสถานในประเทศไทยหรือไม่  อีกทั้งในปัจจุบันประเทศไทยเองก็ประสบภัยพิบัติทางธรรมชาติอย่างต่อเนื่อง ทั้งอุทกภัย วาตภัย และธรณีพิบัติ สร้างความเสียหายให้กับถนนหนทาง อาคารบ้านเรือน และสถานที่ต่างๆ การเตรียมความพร้อมเพื่อรับมือกับผลกระทบที่อาจจะเกิดขึ้นจึงเป็นสิ่งที่ไม่อาจมองข้าม คณะวิจัยชุดโครงการลดภัยพิบัติแผ่นดินไหวในประเทศไทย ภายใต้การสนับสนุนของฝ่ายสวัสดิภาพสาธารณะ สำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) นำโดย รศ. ดร.นคร ภู่วโรดม คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และ ศ. ดร.อมร พิมานมาศ สถาบันเทคโนโลยีนานาชาติสิรินธร ได้ลงพื้นที่สำรวจโบราณสถานที่สำคัญในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา ร่วมกับผู้แทนกรมศิลปากร เพื่อศึกษาร่องรอยการเคลื่อนตัวของโบราณสถาน สาเหตุ และแนวทางการบูรณะซ่อมแซมตามหลักวิศวกรรมศาสตร์ ซึ่งพบร่องรอยความเสียหายของโบราณสถานสำคัญดังนี้ องค์เจดีย์วัดใหญ่ชัยมงคล จากการสำรวจพบว่า องค์เจดีย์เกิดการทรุดเอียงไปทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือ 3.49 เมตร

Read More

เฟบริส พาร์คเคอร์วอง ผู้บริหารคิดบวกของ ELLE

 คงจะมีสื่อสิ่งพิมพ์เพียงไม่กี่ฉบับบนโลกที่มีอิทธิพลและมีบทบาทสำคัญต่อวงการแฟชั่นทั่วโลกรวมถึงในไทยอีกทั้งยังได้รับการยอมรับในมาตรฐานจนได้รับความไว้วางใจและดำเนินกิจการมาอย่างต่อเนื่องจนกระทั่งเข้าสู่ปีที่ 70 ELLE นับเป็นนิตยสารสัญชาติฝรั่งเศส ที่มีต้นกำเนิดจากเมืองแฟชั่นที่หลายคนสนใจและให้การยอมรับจนได้รับการตีพิมพ์ไปหลายประเทศ และเนื่องในโอกาสครบรอบ 70 ปี ELLE ทำให้ เฟบริส พาร์คเคอร์วอง CEO ของ ELLE เดินทางมาประเทศไทยเพื่อจัดงานในครั้งนี้ร่วมกับพาร์ตเนอร์ของไทยอย่างบริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) ภายในงานแถลงข่าวครบรอบ 70 ปี แฟชั่นโชว์และงานนิทรรศการ “เซเวนตี้ส์ เยียร์ส ออฟ สไตล์” (70 Years of Style) ที่มีการจัดแสดงชุดเดรสที่ออกแบบมาเพื่อเป็นการเฉลิมฉลองครบ 70 ปี ของแบรนด์ ELLE โดยนำเสนอจุดเด่นของแต่ละยุคสมัยที่ผ่านมา โดยเริ่มตั้งแต่ยุคโฟร์ตี้ส์ (40’s) จนถึงยุคมิลเลนเนียม (00’s) ทำให้ผู้จัดการ 360  ํ ได้มีโอกาสพบกับ เฟบริส อาบัวเซอร์ พาร์คเคอร์วอง CEO บริษัท แอล

Read More

ELLE ปรับเกมกลยุทธ์ รุก e-Commerce

 ท่ามกลางวิกฤตเศรษฐกิจที่ทั่วโลกกำลังเผชิญความไม่มั่นคงและการขาดสภาพคล่องทำให้ความมั่นใจต่อสถานการณ์เศรษฐกิจของประชาชนลดน้อยลง ซึ่งส่งผลให้ผู้บริโภคจับจ่ายซื้อสินค้าลดลง หรือเลือกที่จะซื้อสินค้าอุปโภคบริโภคเฉพาะที่จำเป็นเท่านั้น และนี่เป็นเหตุผลสำคัญที่ทำให้บรรดานักการตลาดสรรหากลวิธีเพื่อสร้างความมั่นใจ และแรงดึงดูด ให้เกิดต่อผู้บริโภค ทั้งกลยุทธ์ลด แลก แจก แถม รวมไปถึงเพิ่มช่องทางในการเข้าถึง หรือการนำสินค้าไปเสนอให้ผู้บริโภคเห็นและง่ายที่จะมีปฏิสัมพันธ์ ทั้งนี้ความก้าวหน้าทางเทคโนโลยี นับเป็นอีกหนึ่งเครื่องมือที่กำลังได้รับความนิยมจากบรรดานักธุรกิจทั้งรายเล็กและรายใหญ่ ซึ่งแม้แต่แบรนด์ดังระดับโลกอย่าง ELLE ที่เพิ่งครบรอบ 70 ปีไปหมาดๆ ก็ปรับกลยุทธ์หันมาใช้เครื่องมือนี้เช่นกัน ในโอกาสแห่งการเฉลิมฉลองครั้งนี้ บริษัท ELLE International พร้อมด้วยพาร์ตเนอร์ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด (มหาชน) จัดงาน “70 Years of  Style” แฟชั่นโชว์คอลเลกชั่นสุดพิเศษที่ออกแบบมาเพื่อฉลองครบ 70 ปี ของแบรนด์ ELLE  ซึ่งนอกจากแฟชั่นโชว์และนิทรรศการที่จัดผ่านไปแล้วนั้น การประกาศความเป็นผู้นำด้านแฟชั่นกว่า 7 ทศวรรษ จำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการแถลงนโยบายและทิศทางการตลาดทั้งในประเทศไทยและทั่วโลก กระนั้นทางด้านฟากฝั่งของพาร์ตเนอร์ไทยอย่างบุญเกียรติ โชควัฒนา ประธานกรรมการบริหาร บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล กล่าวในฐานะที่เป็นเจ้าของลิขสิทธิ์ ELLE ประเทศไทยตั้งแต่ ปี

Read More