Home > Cover Story (Page 147)

Trail Running ข้ามผ่านทุกขีดจำกัดของการวิ่ง

 ต้องยอมรับว่าช่วง 2-3 ปีที่ผ่านมา กระแสการวิ่งเพื่อสุขภาพมาแรงมากจริงๆ เห็นได้จากกิจกรรมงานวิ่งที่จัดขึ้นแทบทุกเดือน มีหลากประเภท หลายระยะทาง หลายสนาม ไล่เรียงไปตั้งแต่ Fun Run, มินิมาราธอน, ฮาล์ฟมาราธอน, ฟูลมาราธอน, ไตรกีฬา ไปจนถึงการวิ่งเทรล (Trail Running)  สำหรับการวิ่งประเภทต่างๆ น่าจะเป็นที่รู้จักกันดีในวงกว้าง แต่สำหรับการวิ่งเทรล หลายคนอาจจะสงสัยว่ามันคืออะไร แตกต่างจากการวิ่งประเภทอื่นอย่างไร  การวิ่งเทรล หรือ Trail Running เป็นการวิ่งแบบผจญภัยบนพื้นที่ธรรมชาติ นักวิ่งต้องเผชิญความท้าทายที่มากกว่าการวิ่งบนถนนปกติ เส้นทางการวิ่งอาจจะประกอบไปด้วยภูเขา ทางชัน ป่า ที่แน่ๆ คือไม่ได้วิ่งบนถนนปกติ หรือเรียกแบบเข้าใจง่ายๆ อาจจะเรียกได้ว่ามันคือการวิ่งวิบากนั่นเอง ในต่างประเทศการวิ่งเทรลเป็นที่นิยมอย่างมาก โดยเฉพาะในสหรัฐอเมริกา ช่วงปี 2006-2012 เทรนด์ของการวิ่งเทรลเพิ่มขึ้นถึง 30%  สำหรับในประเทศไทยในช่วงหลังมานี้กระแสการวิ่งเทรลเริ่มคึกคักมากขึ้น ดูได้จากจำนวนนักวิ่งเทรลคนไทยและงานวิ่งเทรลที่จัดในเมืองไทยซึ่งมีจำนวนมากขึ้น บริษัท บัตรกรุงไทย จำกัด จำกัด (มหาชน) หรือเคทีซี ตอบรับกระแสการวิ่งเทรล จึงได้จัดกิจกรรม “Go Adventure

Read More

เคทีซี มุ่งเติบโตทั้งองคาพยพ วางกลยุทธ์ปี 59 ชิงมาร์เก็ตแชร์

 หลังเผยผลประกอบการของปี 2558 ชนิดโตสวนกระแสเศรษฐกิจซบ ไปเมื่อต้นเดือนพฤศจิกายน โดยทำกำไรรวม 9 เดือนถึง 1,538 ล้านบาท โตขึ้น 16% มาวันนี้เคทีซีประกาศกลยุทธ์สำหรับการดำเนินธุรกิจปี 2559 โดยจะยังคงรักษาสัดส่วนกำไร แต่ทุ่มงบประมาณในการทำตลาดธุรกิจหลัก หวังเพิ่มส่วนแบ่งทางการตลาด พร้อมกับพัฒนาองค์กรแบบองค์รวมเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน ภายใต้การนำของ “ระเฑียร ศรีมงคล” พร้อมทีมที่แข็งแกร่ง จากที่เคยอยู่ในสภาวะขาดทุน เคทีซีกลับพลิกฟื้นจนกลับเข้ามาสู่เส้นทางธุรกิจพร้อมทำกำไรได้แบบก้าวกระโดด โดยการเปลี่ยนกลยุทธ์จากที่เคยทุ่มงบประมาณมหาศาลในการทำการตลาด มาเป็นการทำตลาดเชิงรุกที่เน้นเพิ่มสิทธิประโยชน์จูงใจผู้ถือบัตร พร้อมทั้งปรับโครงสร้างการดำเนินงานเพื่อปรับลดต้นทุน ทำให้เคทีซีมีความแข็งแกร่งมากขึ้น ซึ่งที่ผ่านมาถือว่าเคทีซีสามารถบริหารจัดการธุรกิจได้ในระดับที่น่าพอใจ สร้างผลกำไรได้ดีอย่างต่อเนื่อง ถึงแม้จะมีแรงต้านจากสภาวะเศรษฐกิจและปัจจัยภายนอกที่ควบคุมไม่ได้ก็ตาม โดยมีตัวเลขหลายตัวดีกว่าอุตสาหกรรม ทั้งปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วง 9 เดือนที่ผ่านมา เติบโตอยู่ที่ 11.9% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 7.3% รวมถึงอัตราของหนี้ที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ (NPL) ของบัตรเครดิตที่ลดต่ำเหลือเพียง 1.4% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 3.4% และ NPL ของสินเชื่อบุคคลที่ต่ำสุดเพียง 1.0% เมื่อเทียบกับอุตสาหกรรมซึ่งอยู่ที่ 5.2% โดยผลกำไรรวม9 เดือนของปี

Read More

บัตรเครดิตดิ้นหนีวิกฤต เร่งกระตุ้นยอดรับศกใหม่

 ท่ามกลางสถานการณ์เศรษฐกิจที่ยังไม่มีทีท่าว่าจะสามารถส่งสัญญาณเชิงบวกมากระตุ้นหรือส่งเสริมให้เกิดการลงทุนและจับจ่ายใช้สอย ดูเหมือนว่าธุรกิจบัตรเครดิตจะเป็นอีกธุรกิจหนึ่งที่ได้รับผลกระทบ และมีอัตราการเติบโตที่ไม่สดใสเท่าที่หลายฝ่ายคาดหวังนัก เพราะนอกจากสถิติการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิต และการเติบโตของสินเชื่อ ตลอดจนการขยายตัวของฐานบัตรเครดิต จะเป็นไปอย่างค่อนข้างชะลอตัว ควบคู่กับข้อเท็จจริงที่ว่าภาระหนี้สินสะสมของครัวเรือนยังคงกดดันการใช้จ่าย และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการบัตรเครดิตแต่ละรายต้องพยายามรักษาคุณภาพสินเชื่อบัตรเครดิต ท่ามกลางแรงกดดันของภาวะเศรษฐกิจไทยที่ยังไม่ฟื้นตัวเต็มที่นี้ด้วย กระนั้นก็ดีการแข่งขันในธุรกิจบัตรเครดิต ยังดำเนินไปอย่างเข้มข้น โดยประเมินได้จากสัญญาณการทำตลาดของผู้ประกอบการบัตรเครดิตที่ค่อนข้างคึกคักและมีสีสันใหม่ๆ มานำเสนอต่อลูกค้าอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นการออกแคมเปญทางการตลาดและการขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการ ซึ่งเมื่อผนวกกับเป้าหมายทางธุรกิจของผู้ประกอบการแต่ละรายยิ่งทำให้การแข่งขันหนักหน่วงยิ่งขึ้นไปอีก ทิศทางหนึ่งที่เกิดขึ้นในกลยุทธ์ช่วงชิงและขยายฐานลูกค้าของผู้ประกอบการบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมา อยู่ที่การมุ่งขยายธุรกิจออกสู่พื้นที่ในเขตภูมิภาค ควบคู่กับการสร้างแรงจูงในการจับจ่ายสำหรับกลุ่มลูกค้าตลาดกลางและบน ภายใต้สิทธิประโยชน์และรายการพิเศษที่เพิ่มมากขึ้น แต่การทำตลาดเชิงรุกในพื้นที่ต่างจังหวัดของธุรกิจบัตรเครดิตไม่ได้ดำเนินไปอย่างราบเรียบ หากต้องเผชิญกับความท้าทายในประเด็นต่างๆ ไม่น้อยเลย ไม่ว่าจะในมิติของการเข้าถึงกลุ่มลูกค้าใหม่ที่มีศักยภาพเนื่องจากกลุ่มลูกค้าที่เป็นเป้าหมายแรกๆ ของผู้ประกอบการบัตรเครดิตบางส่วนน่าจะมีบัตรเครดิตแล้ว รวมถึงปัญหาทางเศรษฐกิจในแต่ละพื้นที่ต่างจังหวัดที่เป็นเป้าหมาย  เพราะแม้บางส่วนจะมีเศรษฐกิจที่อิงกับภาคการท่องเที่ยว และมีแนวโน้มฟื้นตัวกระเตื้องขึ้นบ้างตามจำนวนนักท่องเที่ยวต่างชาติ แต่ต้องยอมรับว่าพื้นที่ต่างจังหวัดส่วนใหญ่ยังผูกโยงกับภาคการเกษตรซึ่งถูกกดดันจากปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำรุนแรง ขณะเดียวกัน ความก้าวหน้าของการลงทุนภาครัฐ ซึ่งหวังจะเป็นแรงหนุนกระตุ้นการเติบโตของภาคก่อสร้างยังกลายเป็นปัจจัยกดดันกำลังซื้อและระดับรายได้ของกลุ่มลูกค้าเป้าหมายของธุรกิจบัตรเครดิต ยังไม่นับรวมถึงไลฟ์สไตล์ของลูกค้าต่างจังหวัดที่ส่วนใหญ่นิยมและคุ้นเคยกับการใช้จ่ายด้วยเงินสด ซึ่งอาจมีผลต่อการออกแคมเปญการตลาดเพื่อกระตุ้นการใช้จ่ายผ่านบัตรของผู้ประกอบการ อย่างไรก็ดี ด้วยสภาวะความอิ่มตัวของฐานลูกค้าในเขตกรุงเทพฯ และหัวเมืองใหญ่ ดูเหมือนว่าผู้ประกอบการบัตรเครดิตจะมีทางเลือกไม่มากนัก และทำให้กลยุทธ์ทางการตลาดเชิงรุกเพื่อช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดของธุรกิจบัตรเครดิตในต่างจังหวัดปรับเพิ่มขึ้น ทั้งยังอาจเป็นแรงขับเคลื่อนหลักในการผลักดันการเติบโตของจำนวนบัตรเครดิตและปริมาณการใช้จ่ายผ่านบัตรเครดิตในช่วงที่ผ่านมาด้วย ข้อสังเกตที่น่าสนใจมากประการหนึ่งก็คือ การขยายฐานลูกค้าศักยภาพในต่างจังหวัด โดยเฉพาะหัวเมืองใหญ่และหัวเมืองรองของแต่ละภูมิภาค ซึ่งถือเป็นพื้นที่ Blue Ocean ของธุรกิจบัตรเครดิต ดำเนินไปอย่างสอดคล้องกับยุทธศาสตร์ในภาพกว้างของธนาคารพาณิชย์และกลุ่มนอนแบงก์ที่มีบริษัทแม่เป็นธนาคารพาณิชย์ ซึ่งส่วนใหญ่มีแผนรุกธุรกิจแบงกิ้งในต่างจังหวัด และปรากฏภาพการขยับตัวรุกธุรกิจบัตรเครดิตในต่างจังหวัดอย่างจริงจังมากขึ้น ซึ่งคาดว่าส่วนหนึ่งคงเป็นอานิสงส์จากการขยายตัวอย่างต่อเนื่องของร้านค้าปลีกสมัยใหม่ (Modern Trade) ในพื้นที่เหล่านี้ตลอดช่วงเวลาหลายปีที่ผ่านมา ซึ่งทำให้มีร้านค้ารองรับการใช้จ่ายผ่านบัตรเพิ่มขึ้น แต่ความร้อนแรงในเกมการแข่งขันของธุรกิจบัตรเครดิตที่น่าจับตาอยู่ที่ความพยายามช่วงชิงส่วนแบ่งตลาดกลุ่มลูกค้าระดับบนหรือมีรายได้สูงกว่า 50,000 บาทต่อเดือน ที่ทวีความเข้มข้นขึ้นต่อเนื่องมานับปี

Read More

วังขนายจับมือคูโบต้า พัฒนาฟาร์มมิ่งไร่อ้อยอินทรีย์

 ท่ามกลางกระแสข่าว พ.ร.บ. ความปลอดภัยทางชีวภาพ หรือ พ.ร.บ. จีเอ็มโอ ที่เพิ่งผ่านความเห็นชอบจากคณะรัฐมนตรีไปเมื่อช่วงสัปดาห์สุดท้ายของเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์มากมายในแง่ของผลกระทบต่อเกษตรกร และกลุ่มธุรกิจแปรรูปสินค้าเกษตรเพื่อการส่งออก กระทั่งมีการรวมกลุ่มคัดค้านร่าง พ.ร.บ. ฉบับดังกล่าวอย่างต่อเนื่อง เพราะเนื้อหาสำคัญของพระราชบัญญัติที่เปิดช่องให้เจ้าของจีเอ็มโอได้รับอนุญาตให้สามารถปล่อยพืชจีเอ็มโอสู่สิ่งแวดล้อมได้โดยไม่ต้องรับผิดชอบต่อความเสียหายที่อาจเกิดตามมา ซึ่งพืชที่ถูกดัดแปลงพันธุกรรมจะก่อให้เกิดผลกระทบต่อความมั่นคงทางอาหารและความหลากหลายทางชีวภาพ รวมไปถึงชีวิตเกษตรกรและเศรษฐกิจการส่งออกผลผลิตทางการเกษตรของไทยอย่างไม่อาจประเมินค่าได้ ทั้งที่ก่อนหน้านี้หน่วยงานที่มีส่วนรับผิดชอบต่อภาคเกษตรของไทยพยายามอย่างหนักในการรณรงค์และสนับสนุนให้เกษตรกรของไทยหันมาปลูกพืชที่ใช้สารเคมีน้อยที่สุด หรือการทำเกษตรแบบอินทรีย์เพื่อป้องกันปัญหาดินเสื่อมและเพื่อให้ได้ผลผลิตที่มีคุณภาพ แต่ในห้วงเวลานี้คณะรัฐมนตรีชุดปัจจุบันกลับเห็นชอบต่อร่างพระราชบัญญัติดังกล่าวอย่างรวดเร็ว ในขณะที่ประเทศอื่นๆ ในยุโรป แอฟริกา และเอเชียบางประเทศ ต่างออกมาต่อต้านพืชที่ถูกปรับแต่งพันธุกรรม เพราะตระหนักถึงผลเสียที่จะตามมา มากกว่าผลดีที่จะตกแก่นายทุนบางรายเท่านั้น กระนั้นยังมีความพยายามจากกลุ่มวังขนาย ผู้ผลิตน้ำตาลรายใหญ่อันดับต้นๆ ของไทย จับมือกับสยามคูโบต้าที่ถือได้ว่าเป็นผู้นำธุรกิจเครื่องจักรกลการเกษตรในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จัดทำโครงการวังขนาย-คูโบต้า พลังขับเคลื่อนอุตสาหกรรมอ้อยและน้ำตาล ซึ่งสอดคล้องกับนโยบายของรัฐบาลที่ต้องการจะแก้ปัญหาการขาดแคลนแรงงานภาคการเกษตร และการพัฒนาผลผลิตทางการเกษตร เพราะโครงการดังกล่าวจะช่วยเกษตรกรชาวไร่อ้อยที่ปลูกอ้อยอินทรีย์ลดปัญหาด้านแรงงาน อีกทั้งยังสามารถเพิ่มปริมาณผลผลิตได้มากขึ้นถึงร้อยละ 30 ของปริมาณอ้อยทั้งหมด ปัจจุบันกลุ่มวังขนายผลิตน้ำตาลทรายเพื่อจำหน่ายทั้งในประเทศและต่างประเทศ โดยมีสัดส่วนการจัดจำหน่ายในประเทศ 30 เปอร์เซ็นต์ และส่งออกต่างประเทศ 70 เปอร์เซ็นต์ และสำหรับน้ำตาลออร์แกนิคกลุ่มวังขนายสามารถผลิตได้ถึง 15,000 ตัน แบ่งเป็นจำหน่ายในประเทศ 75 เปอร์เซ็นต์ และส่งออก 25 เปอร์เซ็นต์ โดยส่งออกไปยังทวีปเอเชีย ได้แก่ เกาหลีใต้ ฮ่องกง

Read More

การเติบโตของ MINI 55 ปี แห่งการไม่หยุดนิ่ง

 การช่วงชิงพื้นที่ของหน้าสื่อ และพื้นที่ตลาดรถยนต์ก่อนการเปิดงานมอเตอร์เอ็กซ์โปจะเริ่มขึ้น นับเป็นหมัดเด็ดที่มินิ ประเทศไทย เลือกใช้ในการแถลงข่าวเปิดตัวรถยนต์มินิขนาดใหญ่ที่สุดเท่าที่เคยมีมา แต่นับเป็นก้าวแรกสู่เซกเมนต์รถยนต์คอมแพคระดับพรีเมียมที่ยังคงสัญลักษณ์ของตำนานแห่งความเป็นรถยนต์สัญชาติอังกฤษได้ดี ก่อนการเปิดตัวให้บรรดาสื่อมวลชนไทยสายรถยนต์ได้เห็นโฉมของมินิ คลับแมน นั้น ในงานมหกรรมยานยนต์ แฟรงก์เฟิร์ต อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ประเทศเยอรมนี และงานโตเกียว มอเตอร์โชว์ 2015 ที่ประเทศญี่ปุ่น มินิ คลับแมน ได้รับการตอบรับที่ดี การคาดหวังของมินิในการปรับโฉมมินิ คลับแมน และเปิดตัวในช่วงเวลาไล่เลี่ยกับงานมหกรรมยานยนต์ ครั้งที่ 32 ของไทยนั้น คงต้องรอดูกันว่าจะได้รับการตอบรับดีเฉกเช่นที่เคยเกิดขึ้นที่เยอรมนีและญี่ปุ่นหรือไม่  เพราะหากจะว่ากันตามจริงแล้ว มินิเคยพัฒนาและเปิดตัวรถยนต์มินิ คลับแมน มาแล้วเมื่อปี 2008 ในขณะนั้นมินิมักนิยมใช้กลยุทธ์ Guerrilla Marketing ซึ่งเป็นกลยุทธ์การตลาดที่ต้องการผลตอบรับสูงแต่ใช้งบให้น้อยที่สุด และต้องยอมรับว่าผลที่ได้รับกลับมานั้นก็เกินความคาดหมายเมื่อ มินิ คลับแมน ถูกพูดถึงอย่างกว้างขวาง เพราะมีการใช้รถบรรทุกขับพารถมินิ คลับแมน ไปเยี่ยมเยือนสื่อมวลชนตามสำนักข่าวต่างๆ  หากแต่ในสถานการณ์ปัจจุบันที่เศรษฐกิจของไทยกำลังเข้าสู่ภาวะวิกฤต แม้จะมีตัวเลขที่สร้างความมั่นใจต่อผู้บริโภคและนักลงทุนที่ทำให้เส้นกราฟขยับขึ้นมาบ้าง หากแต่ต่างยังต้องเฝ้าระวัง เมื่อไทยไม่ใช่ประเทศเดียวที่กำลังอยู่ในช่วงถดถอย  การเติบโตของมินิทำให้ปัจจุบัน มินิกำลังก้าวเข้าสู่ขวบปีที่ 56 แน่นอนว่าการไม่หยุดนิ่งของมินิทำให้เกิดประวัติศาสตร์อันยาวนานและน่าสนใจว่า เพราะเหตุใดรถยนต์ขนาดเล็กถึงยังครองใจผู้ที่ชื่นชอบและทำให้ใครต่อใครเหลียวหลังมองได้ตลอดเวลา ผลพวงจากวิกฤตน้ำมันในปี 1956

Read More

ราชาเป็นสง่าแห่งแคว้น “สถาปนากรุงรัตนโกสินทร์”

  หากผ่านไปแถวถนนราชดำเนินกลาง ไม่ไกลจากเชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศนัก คงคุ้นตากับลานกว้าง แวดล้อมด้วยไม้ประดับร่มรื่น ด้านหนึ่งมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว อีกด้านเป็นที่ตั้งของพลับพลาที่สร้างอย่างวิจิตรงดงาม มีโลหะปราสาทที่สูงตระหง่านเป็นฉากหลัง สถานที่แห่งนี้คือ “ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์” นั่นเอง ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ เป็นที่ประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3แห่งราชวงศ์จักรี สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2532 โดยตั้งชื่อตามพระนามของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เมื่อครั้งดำรงพระอิสริยยศเป็น “พระเจ้าลูกยาเธอ กรมหมื่นเจษฎาบดินทร์”  เดิมทีบริเวณนี้เป็นที่ตั้งของ “ศาลาเฉลิมไทย” โรงภาพยนตร์ล้ำสมัยแห่งแรกของไทย แต่เมื่อศาลาเฉลิมไทยปิดตัวลงเมื่อปี พ.ศ.2532 จึงได้มีการรื้อศาลาเฉลิมไทยและสร้างลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์ขึ้นแทน ณ บริเวณเดิม อีกทั้งยังเป็นการเปิดทัศนียภาพให้เห็นความสง่างามของโลหะปราสาทที่อยู่ด้านหลังอีกด้วย พื้นที่โดยรอบของลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์นั้นเป็นลานกว้างประดับประดาด้วยไม้ดอกช่วยเพิ่มความร่มรื่นทางสายตา ภายในบริเวณประกอบด้วยพลับพลาที่ประทับสำหรับพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงออกรับแขกบ้านแขกเมืองของประเทศ อีกด้านหนึ่งประดิษฐานพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ประทับนั่งตรง มีฐานหินอ่อนรองรับ ฉากหลังเป็นรูปพระวิมานอันเป็นพระราชสัญลักษณ์และพระราชลัญจกรประจำพระองค์ พื้นฉากเป็นหินอ่อนจารึกพระราชประวัติและพระราชกรณียกิจของรัชกาลที่ 3 ซึ่งตลอดรัชสมัยของพระองค์ทรงปฏิบัติพระราชกรณียกิจทำนุบำรุงบ้านเมืองสร้างความเจริญมั่นคงทั้งด้านการปกครอง เศรษฐกิจ การศึกษา และศาสนา ทรงสร้างและปฏิสังขรณ์วัดวาอารามรวมทั้งสิ้นถึง 53 วัด รวมทั้งวัดราชนัดดารามวรวิหาร และวัดเทพธิดารามวรวิหาร ที่อยู่ด้านหลังพระบรมราชานุสาวรีย์ของพระองค์ด้วยเช่นกัน จากลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์เดินตัดมาด้านหลังจะพบกำแพงสีขาวทอดยาวมีถนนเล็กๆ คั่นกลาง ด้านในเป็นเขตของวัดราชนัดดารามวรวิหารและโลหะปราสาท พุทธสถานที่มีเพียง

Read More

ทุกค่ายพร้อมลุย Motor EXPO หวังภาษีใหม่ดันยอดขายปลายปี

 ความเคลื่อนไหวในแวดวงยานยนต์ไทยในช่วงโค้งสุดท้ายปลายปี ดูจะขยับมีหวังหลังจากโครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่มีผลให้ราคารถยนต์เกือบทุกประเภทพร้อมปรับราคาขึ้นจากเดิมในระดับร้อยละ10-15 ซึ่งกลายเป็นประเด็นโหมกระแสที่ค่ายรถยนต์ทุกค่ายต่างนำมาขยายผลหวังสร้างอารมณ์ความรู้สึกผู้บริโภคให้เร่งตัดสินใจ และกระตุ้นยอดขายในช่วงปลายปีนี้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในช่วงสัปดาห์นี้ต่อเนื่องไปถึงสัปดาห์หน้าที่จะมีมหกรรมยานยนต์ Motor Expo ครั้งที่ 32 หรือ The 32nd Thailand International Motor Expo 2015 ระหว่างวันที่ 2-13 ธันวาคม ภายใต้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” หรือ “NEW STANDARDS... THAI VEHICLES CARE ABOUT THE EARTH” ซึ่งคาดหวังว่าจะมียอดการจองรถยนต์ในงานรวมไม่น้อยกว่า 50,000 คันและจะมีเงินสะพัดในงานถึง 5.5 หมื่นล้านบาท ความคาดหมายดังกล่าวตั้งอยู่บนสมมุติฐานที่ว่า โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ที่จะเริ่มใช้ในปีหน้า และมีผลทำให้ราคาของรถยนต์แต่ละประเภทปรับสูงขึ้นในระดับร้อยละ 10-15 หรือปรับขึ้นจากราคาเดิมคิดเป็นเงินจำนวนหลักหมื่นถึงหลักแสนบาทต่อคันนั้น จะเป็นปัจจัยกระตุ้นให้ผู้บริโภคเร่งตัดสินใจซื้อรถยนต์ภายในปีนี้ และจะช่วยให้ยอดจำหน่ายรถยนต์ในช่วงสุดท้ายของปีขยายตัวขึ้น ภายใต้โครงสร้างภาษีสรรพสามิตใหม่ ซึ่งจะพิจารณาจัดเก็บจากอัตราการปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ของรถยนต์ แทนการจัดเก็บตามปริมาณความจุกระบอกสูบ โดยรถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์น้อย จะเสียภาษีต่ำกว่ารถยนต์ที่ปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์มาก ทำให้แนวคิด “มาตรฐานใหม่ ยานยนต์ไทยใส่ใจโลก” ของงาน

Read More

BMW เปิดแนวรุกรถพรีเมียม ส่งแฟลกชิป “ซีรีส์ 7 ใหม่” ชิงตลาด

 ข่าวการเปิดตัว The All New BMW 7 Series อย่างอลังการในประเทศไทยเมื่อช่วงกลางเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ต้องถือเป็นจังหวะก้าวเชิงรุกของ BMW Thailand ในการชิงจังหวะเวลา พื้นที่และกำลังซื้อในกลุ่มรถยนต์พรีเมียมหรูหราที่น่าสนใจติดตามไม่น้อย เหตุเพราะ BMW เพิ่งเปิดตัว BMW 740Li โฉมใหม่นี้ออกสู่สายตาสาธารณชนให้ได้ชื่นชมยนตรกรรมหรูหราในนิยามใหม่ ไปเมื่อเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในงาน Frankfurt Motor Show 2015 ที่ถือเป็นงานแสดงยนตรกรรมยิ่งใหญ่ประจำปี ก่อนที่จะข้ามฝั่งมาเปิดตัวในงาน Tokyo Motor Show ในเดือนตุลาคม ด้วยการนำเสนอควบคู่พร้อมกันถึง 2 รุ่น ทั้ง BMW 730i G11 และ BMW 740Li G12 ซึ่งต่างได้รับความสนใจและการต้อนรับจากทั้งสื่อมวลชนและผู้นิยมยนตรกรรมระดับพรีเมียมอย่างอบอุ่น ความต่อเนื่องของกิจกรรมเชิงรุกของ BMW 7 Series ที่ปรากฏให้เห็นตลอดช่วง 3 เดือนดังกล่าวนี้ สะท้อนความพยายามของ BMW

Read More

มุมมองของ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ ต่อโอกาสและความท้าทายของเศรษฐกิจไทย

 ช่วงเวลาท้ายปีหลายหน่วยงานมักนิยมจัดงานเสวนา งานสัมมนา และหัวข้อที่มักจะถูกหยิบยกขึ้นมาเป็นประเด็นหลักของงานคงหนีไม่พ้นเรื่องเศรษฐกิจไทย หรือความพร้อมของไทยในการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนที่กำลังจะเกิดขึ้นปลายปีนี้ ประกอบกับสถานการณ์เศรษฐกิจไทยที่ไม่มั่นคง ซึ่งมีเหตุมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมืองภายในประเทศ และผลกระทบจากสภาวะการชะลอตัวของเศรษฐกิจภายนอกประเทศ ทำให้หลายฝ่ายมีคำถามขึ้นในใจว่า ประเทศไทยพร้อมเพียงใด และยังรวมไปถึงแนวทางที่ควรปฏิบัติ เมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน 2558 ที่ผ่านมา มีการจัดสัมมนาและเสวนาพร้อมกันสองงาน ซึ่งหัวข้อของทั้งสองงานนี้คล้ายเป็นการตั้งคำถามในทิศทางเดียวกัน ทั้งสภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทยที่จัดสัมมนาในหัวข้อ “อนาคตเศรษฐกิจไทยปี 2559 โอกาสและความท้าทาย” และนิโอ ทาร์เก็ตจัดเสวนาเรื่อง “ก้าวสู่เออีซี โอกาสและความท้าทาย” ซึ่งบุคคลที่เป็นแม่งานทั้งสองฝ่ายเล็งเห็นว่าผู้ที่จะให้คำตอบ แนวคิด หรือคำนิยามที่ดีและเหมาะสมที่สุดคือ ดร.สุรินทร์ พิศสุวรรณ อดีตเลขาธิการอาเซียนและประธานสถาบันนวัตกรรมแห่งอนาคต (FIT)  “คนรุ่นใหม่เป็นความหวังของชาติ รู้จักแปรเปลี่ยนปรับวิธีคิด ท่ามกลางกระแสที่เกิดขึ้นรอบด้าน” ดร.สุรินทร์กล่าว อีกทั้งยังแสดงทัศนะต่อว่า อาเซียนเป็นโอกาสและเวทีในการแข่งขัน นับเป็นพื้นที่พิเศษที่ถูกบูรณาการเข้าหากัน ประเทศไทยต้องอาศัยความหลากหลายที่มี โดยเฉพาะตำแหน่งที่ตั้งของไทยที่อยู่กึ่งกลางของ GMS Corridors  ปัญหาเศรษฐกิจที่กำลังรุมเร้าไทยอยู่ในขณะนี้เป็นผลมาจากการขาดเสถียรภาพทางการเมือง ซึ่งแตกต่างจากประเทศอื่นที่เมื่อประสบกับสภาวะเศรษฐกิจย่ำแย่ ปัญหาเหล่านั้นจะมีผลต่อความมั่นคงทางการเมือง นอกเหนือไปจากปัญหาเศรษฐกิจ ความพร้อมด้านภาษาของคนไทยถือได้ว่าเป็นปัญหาที่สำคัญอย่างยิ่ง “เราต้องปรับตัว อย่ายึดติดกับอดีตมากเกินไป ไม่อย่างนั้นไทยจะไม่สามารถต่อสู้กับทั่วโลกได้”  คนไทยบางส่วนยังขาดความสามารถด้านภาษา ซึ่งภาษาอังกฤษถือว่าเป็นภาษาทางการของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หากแต่หลายคนยังให้คำตอบต่อประเด็นนี้ว่า เพราะประเทศไทยไม่เคยเป็นเมืองขึ้นของชาติใด ไม่ตกอยู่ภายใต้อาณานิคมของใคร จึงไม่แปลกที่เราจะพูดภาษาอังกฤษไม่ได้  นี่เองที่ทำให้

Read More

ครบรอบ 3 เดือนของ ดร.สมคิด กับการฟื้นฟูเศรษฐกิจแบบ S-Curve

 สถานการณ์เศรษฐกิจไทยและทั่วโลกกำลังประสบกับภาวะซบเซาอย่างต่อเนื่อง กระทั่งพลเอกประยุทธ์ จันทร์โอชา ตัดสินใจให้ ดร.สมคิด จาตุศรีพิทักษ์ มานั่งเก้าอี้รองนายกรัฐมนตรีด้านเศรษฐกิจ เพื่อหวังจะใช้ความสามารถในด้านเศรษฐศาสตร์มาแก้ปัญหาเศรษฐกิจภายในประเทศให้ดีขึ้น  ปัญหาเศรษฐกิจที่มีมาอย่างต่อเนื่องทำให้ประเทศไทยอุดมไปด้วยนโยบายในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจ มาตรการกระตุ้นการเติบโต และกลยุทธ์ที่จะสร้างความมั่นใจต่อนักลงทุน กระนั้นการเข้ามาของ ดร.สมคิด ยังคงดำเนินไปในแนวทางเฉกเช่นเดิม  จนกระทั่งวันนี้ 23 พฤศจิกายน 2558 ครบรอบ 3 เดือนของการเข้ามาทำงานของคณะทำงานด้านเศรษฐกิจ โดยมีภารกิจที่สำคัญประการแรกคือ หยุดยั้งภาวะการทรุดตัวทางเศรษฐกิจอันเนื่องมาจากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่กำลังถดถอย ภาวะปัญหาราคาสินค้าเกษตรตกต่ำ ความมั่นใจของนักลงทุนและผู้บริโภคลดลง  ซึ่งทันทีที่ ดร.สมคิดเข้ามาทำงานก็มีทั้งมาตรการและนโยบายออกมาอย่างชัดเจน แต่กระนั้นนโยบายที่ออกมาก็ถูกวิพากษ์วิจารณ์ไปในแนวทางเดียวกันว่า “นโยบายประชานิยม” ทั้งมาตรการเกี่ยวกับกองทุนหมู่บ้าน จัดสรรเงินให้แก่ตำบล ตำบลละ 5 ล้านบาท และเร่งรัดการลงทุนโครงการที่มีขนาดต่ำกว่า 1 ล้านบาท มาตรการให้ความช่วยเหลือเอสเอ็มอี และมาตรการสุดท้ายคือการสนับสนุนภาคอสังหาริมทรัพย์ โดยเบื้องต้นงบประมาณที่รัฐส่งเข้าระบบเศรษฐกิจสูงถึง 5 แสนล้านบาท และมีผลในการใช้จ่ายเศรษฐกิจถึง 2 เท่า โดย ดร.สมคิดกล่าวถึงกรณีดังกล่าวอย่างน่าสนใจไว้ในปาฐกถาพิเศษ “ยกเครื่องเศรษฐกิจใหม่ Thailand’s New S-Curve” ว่า

Read More