Home > Cover Story (Page 141)

อสังหาฯ รับผลเศรษฐกิจทรุด รอครึ่งหลังส่งสัญญาณกลับหัว

  ภาพรวมเศรษฐกิจไทยในช่วงครึ่งแรกของปี 2559 ที่แม้จะได้รับการโหมประโคมว่ากระเตื้องตื่นขึ้นมาบ้างแล้ว ยังไม่สามารถบ่งบอกทิศทางและสร้างความมั่นใจให้กับผู้บริโภคได้มากนัก โดยเฉพาะเมื่อพิจารณาผ่านความเป็นไปของธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ ที่ดูเหมือนจะอยู่ในภาวะชะลอตัวต่อเนื่องยาวนาน ความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจผ่านอสังหาริมทรัพย์ในช่วงที่ผ่านมาดูจะได้รับความสนใจและผลักให้ธุรกิจอสังหาริมทรัพย์มีความเคลื่อนไหวขยับขยายตัวขึ้นบ้าง แต่หลังจากมาตรการดังกล่าวสิ้นสุดลงเมื่อเดือนเมษายน สถานการณ์ของธุรกิจก็กลับมาสู่สภาวะที่น่าจับตามองอย่างยิ่งว่าจะดำเนินไปในทิศทางใด ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์หลายรายยังมีปริมาณสินค้าล้นเกินอยู่ในมือเป็นจำนวนมาก และส่งผลให้เกิดการชะลอตัวที่จะเปิดโครงการใหม่ๆ ออกสู่ตลาด และบางส่วนได้ปรับเปลี่ยนวิถีธุรกิจและกลุ่มเป้าหมายไปสู่ตลาดระดับกลางและบนมากขึ้น ด้วยเหตุที่เชื่อว่าผู้บริโภคในกลุ่มนี้ยังมีสุขภาพทางเศรษฐกิจที่ดีอยู่พอสมควร กระนั้นก็ดี แนวโน้มการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยในช่วงเดือนพฤษภาคมมีทิศทางชะลอตัวลงจากก่อนหน้าอย่างเห็นได้ชัด หลังจากสิ้นสุดมาตรการกระตุ้นอสังหาริมทรัพย์ของภาครัฐ ซึ่งมีส่วนดึงกำลังซื้อล่วงหน้าไปบางส่วนและทำให้ประชาชนชะลอการซื้อบ้านใหม่ลงไปพอสมควร และเป็นเหตุให้ผู้ประกอบการจำนวนมากต้องเร่งจัดกิจกรรมส่งเสริมการขายด้วยหวังจะระบายสต็อกที่อยู่อาศัยที่เหลืออยู่ พร้อมกับการลดหย่อนยกเว้นค่าโอน ค่าจดจำนอง ในอัตราพิเศษให้ใกล้เคียงกับช่วงมีมาตรการกระตุ้น ซึ่งอาจหนุนเสริมยอดจำหน่ายได้อีกบางส่วน ปรากฏการณ์ของความชะลอตัวในการปล่อยสินเชื่อที่อยู่อาศัยที่เกิดขึ้นในช่วงเดือนพฤษภาคม และอาจจะทอดยาวออกไปอีก 1-2 เดือนจากนี้ ไม่ใช่สิ่งที่เหนือความคาดหมายของผู้เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนของผู้ประกอบการธุรกิจอสังหาริมทรัพย์ และสถาบันการเงิน ซึ่งต่างพยายามกระตุ้นยอดปล่อยสินเชื่อด้วยการลดอัตราดอกเบี้ยสำหรับลูกค้าที่มีความมั่นคงทางการเงิน  แต่สำหรับลูกค้ากลุ่มเสี่ยง อัตราดอกเบี้ยกลายเป็นประหนึ่งน้ำหนักที่พร้อมจะหน่วงนำให้ต้องจ่อมจมกับภาระหนี้หนักขึ้นไปอีก และมีโอกาสที่จะทำให้สัดส่วนรายได้กับหนี้สินดำเนินไปแบบที่ไม่มีหนทางจะออกจากวังวนของการก่อหนี้เพิ่ม และจะยิ่งทำให้สถานการณ์การแบกหนี้เพิ่มขึ้นด้วยอัตราที่รวดเร็วกว่าเดิมอีกด้วย ความป่วยไข้ทางเศรษฐกิจของผู้บริโภคกลุ่มใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ว่าด้วยภาวะหนี้สินครัวเรือน ได้รับการยืนยันล่าสุดว่าเพิ่มขึ้นไปสู่ระดับ 11 ล้านล้านบาทหรือกว่าร้อยละ 81 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (GDP) และกลายเป็นปัจจัยหลักที่ไม่เพียงส่งผลให้ภาพรวมเศรษฐกิจทั้งระบบไม่สามารถขยายตัวได้ในช่วงที่ผ่านมาเท่านั้น หากยังจะเป็นอุปสรรคสำคัญที่ทำให้ไม่สามารถก้าวเดินไปสู่อนาคตอีกด้วย ผลพวงจากสถานการณ์เศรษฐกิจและปัญหาหนี้ครัวเรือนดังกล่าวนี้ ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ในกลุ่มคอนโดมิเนียมระดับราคาต่ำกว่า 5 หมื่นบาทต่อตารางเมตรหรือมีราคาขายอยู่ที่ยูนิตละ 2 ล้านบาท กลายเป็นกลุ่มน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะเป็นกลุ่มที่มียูนิตเหลือขายอยู่เป็นจำนวนมากคิดเป็นกว่าร้อยละ 60 ของสต็อกที่มีมูลค่ารวมมากถึง 8

Read More

The Exploratorium นิยามใหม่สยามดิสคัฟเวอรี่

  ภายหลังจากใช้ระยะเวลาในการวางแผน 18 เดือน และใช้ระยะเวลาในการก่อสร้างออกแบบปรับโฉม 12 เดือน สยามพิวรรธน์ฉีกทุกกฎการค้าปลีกและสร้างบันทึกหน้าใหม่ด้วยคอนเซ็ปต์ The Exploratorium ให้สยามดิสคัฟเวอรี่ แม้ว่าตลอดเส้นทางของถนนพระราม 1 ถนนเพลินจิต จนกระทั่งถึงถนนสุขุมวิท เป็นถนนที่ถูกกลุ่มธุรกิจค้าปลีกรายใหญ่ของไทยเลือกทำเลปักหมุดใช้เป็นสนามประลองกำลัง และต่อสู้กันด้วยชั้นเชิงกลยุทธ์ทางธุรกิจ ที่ต้องยอมรับว่าแม้แต่ผู้นำด้านธุรกิจรีเทลอย่าง ชฎาทิพ จูตระกูล ยังเอ่ยปากว่า “ธุรกิจรีเทลในประเทศไทยมีการต่อสู้ทางกลยุทธ์ทางการตลาดอย่างหนักมากกว่าประเทศอื่นๆ”  ในขณะที่สภาวะเศรษฐกิจภายในประเทศไทยกำลังยืนอยู่บนจุดที่มีความมั่นคงและเสถียรภาพน้อยที่สุด หากแต่บนหน้าข่าวเศรษฐกิจยังคงปรากฏให้เห็นถึงการขยับตัวของบรรดากลุ่มธุรกิจชั้นนำของไทย ไม่ว่าจะด้านอสังหาริมทรัพย์ ค้าปลีก ซึ่งบริษัทสยามพิวรรธน์ คือหนึ่งในบรรดากลุ่มธุรกิจที่ตัดสินใจเปิดเผยโฉมหน้าของ “สยามดิสคัฟเวอรี่” หลังปรับปรุงนานถึง 12 เดือน อาคารกระจกที่ตั้งอยู่หัวมุมถนนพระราม 1 กลายเป็นประหนึ่งพื้นที่จัดแสดงความคิดสร้างสรรค์ที่สยามพิวรรธน์ส่งมอบคอนเซ็ปต์ให้กับ Nendo ที่สามารถตอบโจทย์และแปลงโฉมสยามดิสให้ออกนอกกรอบความเป็นห้างค้าปลีกแบบเดิม ชฎาทิพ จูตระกูล ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท สยามพิวรรธน์ จำกัด พร้อมด้วย โอกิ ซาโตะ หัวหน้านักออกแบบและผู้ก่อตั้งเนนโดะ พร้อมเปิดสยามดิสคัฟเวอรี่ ให้เป็นสนามทดลองพลังอำนาจแห่งความคิดสร้างสรรค์ในมิติของ The Exploratorium โดยหวังให้เข้าถึงใจลูกค้ามากที่สุด อย่างไรก็ตาม หากจะพิจารณาจากความสามารถที่อุดมไปด้วยความคิดอันแยบยลในเชิงธุรกิจของผู้นำหญิงจากสยามพิวรรธน์แล้ว คงจะมีเครื่องพิสูจน์ถึงความสามารถของเธอได้เป็นอย่างดี เมื่อยังปรากฏผลงานที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่บนถนนพระราม

Read More

100 ปี “สถานีรถไฟกรุงเทพ” สุดสายปลายทางของหัวลำโพง?

  ในห้วงยามที่ไทยกำลังเร่งพัฒนาโครงสร้างสาธารณูปโภคขั้นพื้นฐานภายในปี ค.ศ. 2020 โดยเน้นไปที่กระทรวงคมนาคม ที่มุ่งหวังให้เกิดศักยภาพด้านการคมนาคมภายในประเทศ ในขณะเดียวกันก็สามารถสร้างเส้นทางโลจิสติกเพื่อเชื่อมประสานไทยกับประเทศอื่นๆ ด้วยเส้นทางตามแนวระเบียงเศรษฐกิจอาเซียน โดยมีเป้าประสงค์จะเสริมสร้างความแข็งแกร่งหลังการเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน ทั้งนี้โครงการที่นับเป็นยุทธศาสตร์สำคัญของกระทรวงคมนาคมและสร้างให้เกิดการขับเคลื่อนเศรษฐกิจภายในประเทศได้ในระดับหนึ่ง คือโครงการรถไฟความเร็วสูง รถไฟรางคู่ รถไฟฟ้า ถนนทางหลวง ถนนทางหลวงชนบท  นโยบายต่างๆ ที่ประกาศออกมาดูเหมือนว่าการให้น้ำหนักของรัฐบาลแต่ละชุดที่เข้ามาบริหารประเทศจะมุ่งเน้นไปที่การขนส่งระบบราง ทั้งนี้ก็เพื่อรองรับความต้องการของผู้บริโภค และคาดหวังให้ประชาชนสามารถลดภาระค่าใช้จ่ายค่าครองชีพในชีวิตประจำวันได้ ซึ่งคงเป็นไปได้ยากเมื่อในบางพื้นที่การขนส่งระบบรางไม่มีจุดที่สามารถเชื่อมต่อกับการขนส่งมวลชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ส่งผลให้ประชาชนบางส่วนจำต้องใช้บริการรถรับจ้างเอกชน นำมาซึ่งภาระค่าครองชีพที่มากขึ้น กระนั้นการพัฒนาที่กำลังเกิดขึ้นทำให้คาดหวังถึงผลสำเร็จที่จะตามมาในไม่ช้าไม่นาน ซึ่งหากกำหนดการก่อสร้างรถไฟสายสีแดง บางซื่อ-รังสิต เสร็จสมบูรณ์ตามกำหนดในปี พ.ศ. 2560 การรถไฟแห่งประเทศไทยมีแผนที่จะย้ายการเดินรถจากสถานีรถไฟกรุงเทพ (หัวลำโพง) ไปยังสถานีกลางบางซื่อ ทั้งนี้มีการคาดการณ์เบื้องต้นว่าภายในปี พ.ศ. 2563 จะใช้สถานีกลางบางซื่อเป็นชุมทางรถไฟหลักแทนสถานีรถไฟกรุงเทพ ซึ่งจะทำให้สถานีกลางบางซื่อเป็นสถานีที่มีรถไฟ 4 ระบบ ทั้งรถไฟทางไกล รถไฟฟ้า รถไฟความเร็วสูง และรถไฟใต้ดิน  ซึ่งจะทำให้สถานีรถไฟกรุงเทพมีขบวนรถไฟที่วิ่งเข้ามาน้อยลงไปประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์ โดยจะเหลือเฉพาะรถไฟดีเซลท่องเที่ยว และรถไฟที่มาจากชานเมืองอย่างรถไฟสายใต้จากแม่กลอง-นครปฐม ทั้งนี้ในปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพรองรับรถไฟประมาณ 200 ขบวนต่อวัน ทั้งจากรถไฟสายเหนือ สายตะวันออกเฉียงเหนือ สายใต้  และแม้ว่าปัจจุบันสถานีรถไฟกรุงเทพจะเชื่อมต่อกับรถไฟฟ้ามหานคร หรือรถไฟใต้ดินสายสีน้ำเงินและส่วนต่อขยายใหม่ก็ตาม หากแต่สิ่งที่จะเกิดขึ้นในอนาคตคือ

Read More

“สตาร์ทอัพ” บูม Wazzadu รุกออนไลน์สู้ยักษ์

  ทั้งกระแสธุรกิจสตาร์ทอัพ (Start Up) และธุรกิจอีคอมเมิร์ซ (E-commerce) ที่ขยายตัวหลายเท่า โดยคาดการณ์ตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทย ปี 2559 จะมีเงินสะพัดมากกว่า 2.1 ล้านล้านบาท ซึ่งเป็นผลพวงจากตลาดสมาร์ทโฟนและราคาแพ็กเกจบริการ 4จี ที่ถูกลง กระตุ้นให้ปริมาณการใช้อินเทอร์เน็ตบนมือถือพุ่งพรวดแบบก้าวกระโดด ดึงดูดทุกธุรกิจ ทั้งค่ายยักษ์ใหญ่และกลุ่มสตาร์ทอัพเข้ามาช่วงชิงเม็ดเงินมูลค่ามหาศาล     มีข้อมูลล่าสุดจากบริษัท โธธ โซเชียล จำกัด (Thoth Zocial) พบว่า จากปัจจุบันประเทศไทยมีผู้ใช้อินเทอร์เน็ต 38 ล้านคน หรือ 55.84% ของประชากร และยอดผู้ใช้เฟซบุ๊กในไทยพุ่งไปถึง 41 ล้านคน เพิ่มขึ้นจากปีก่อน 17% จากทั้งโลก 1,590 ล้านคน ไทยเป็นอันดับ 8  สำหรับโซเชียลมีเดียที่มีผู้ใช้ในไทยเพิ่มสูงสุด คือ อินสตราแกรม เพิ่มขึ้น 74% จากปีก่อน คาดปีนี้จะมีผู้ใช้

Read More

ศึกออนไลน์แข่งเดือด “ซีพี-เซ็นทรัล” ชิง 2 ล้านล้าน

  ตลาดค้าปลีกออนไลน์กลายเป็นสมรภูมิดุเดือดยิ่งขึ้น ทั้งมูลค่าเม็ดเงินที่คาดว่าจะพุ่งทะลุ 2.1 ล้านล้านบาท และผู้เล่นที่เข้ามาเปิดเกมรุกล่าสุด ทุกค่ายล้วนเป็นยักษ์ค้าปลีก โดยเฉพาะเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) และกลุ่มเซ็นทรัลที่ประกาศต่อยอดขยายจากแนวรบในประเทศไทยสู่สงครามอาเซียนด้วย ถ้าดูตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซในประเทศไทยเมื่อปี 2558 เกือบๆ 2.1 ล้านล้านบาท เพิ่มขึ้น 3.65% จากปี 2557 ที่มีมูลค่า 2 ล้านล้านบาท แบ่งเป็นอีคอมเมิร์ซระหว่างธุรกิจด้วยกัน (B2B) ประมาณ 1.2 ล้านล้านบาท, ระหว่างธุรกิจกับผู้บริโภค (B2C) 4.7 แสนล้านบาท และระหว่างธุรกิจกับภาครัฐ (B2G) 4 แสนล้านบาท โดยการใช้จ่ายอีคอมเมิร์ซของ B2C กับ B2G เพิ่มขึ้น 15.2% และ 3.9% ตามลำดับ ยกเว้น B2B ที่ปรับตัวลดลง  ที่สำคัญตัวเลข 2 ล้านล้านบาทเมื่อปีก่อนสามารถเติบโตมากกว่านั้น หากไม่เจอสถานการณ์ทางการเมืองที่ส่งผลกระทบต่อภาวะเศรษฐกิจ รวมถึงภาวะเศรษฐกิจโลก เนื่องจากอัตราการใช้อินเทอร์เน็ต

Read More

ปลุกแผน ดิวตี้ฟรีซิตี้ เจาะฐาน “คิง เพาเวอร์”

  แม้สาเหตุหลักหนึ่งที่ฉุดธุรกิจค้าปลีกไทยทรุดหนักต่ำสุดในรอบ 20 ปี มาจากวิกฤตกำลังซื้อกลุ่มผู้บริโภคระดับกลางถึงล่างหดตัวหนัก แต่แย่มากไปกว่านั้น กลุ่มคนไทยระดับไฮเอนด์ เศรษฐีกระเป๋าหนัก แห่เดินทางไปหว่านเม็ดเงินในต่างประเทศเพิ่มขึ้นทุกปี ปีละ 9% เฉพาะปี 2558 มีมูลค่าสูงถึง 170,032 ล้านบาท ในจำนวนนี้เป็นการชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมที่มีจำหน่ายในประเทศไทยสูงถึง 50,840 ล้านบาท ทศ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการบริหารบริษัท กลุ่มเซ็นทรัล จำกัด มักย้ำกับสื่อทุกครั้งว่า ตัวเลขการชอปปิ้งสินค้าแบรนด์เนมในต่างประเทศของคนไทยเติบโตสูงทุกปี ทั้งที่ผู้ประกอบการห้างสรรพสินค้าในไทยลงทุนเม็ดเงินจำนวนมหาศาลสร้างโครงการระดับไฮเอนด์รองรับกลุ่มลูกค้า ระดมสินค้าแบรนด์เนมยอดนิยมทุกเซกเมนต์และปลุกภาพลักษณ์ “Shopping Destination” ดึงนักท่องเที่ยวได้ส่วนหนึ่ง แต่กลับไม่สามารถลดตัวเลขการจับจ่ายสินค้าในต่างประเทศของนักชอปไทย กระแสเงินที่ควรเข้ามาหมุนเวียนในประเทศรั่วไหลจำนวนมาก  จากข้อมูลการนำเข้าสินค้าฟุ่มเฟือย 9 หมวดจาก 17 หมวด ตามนิยามของของกรมศุลกากร ในปี 2558 ได้แก่ เสื้อผ้าแฟชั่น เครื่องสำอาง นาฬิกา แว่น กระเป๋าหนัง รองเท้าหนัง เครื่องประดับคริสตัล ปากกา น้ำหอม สุราต่างประเทศ ผลไม้

Read More

โรงเรียนนวดแผนโบราณเชตวัน สืบสานตำรานวดไทยตำรับวัดโพธิ์

  ความเคร่งเครียดในการทำงานประกอบกับวิถีชีวิตปัจจุบันที่เวลาส่วนใหญ่ผูกติดอยู่กับสมาร์ทโฟนเป็นหลักจนก่อให้เกิดอาการปวดเมื่อยตามเนื้อตามตัว รวมถึงความตึงเครียดทางอารมณ์ หลายคนเลือกใช้วิธีการนวดเพื่อบำบัดอาการปวดเมื่อยดังกล่าว ซึ่งดูเหมือนจะเป็นที่นิยมอย่างมากทั้งจากคนไทยและต่างชาติ จนทำให้ธุรกิจร้านนวดเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องเพื่อรองรับกับความต้องการที่เพิ่มขึ้น เมื่อเอ่ยถึงการนวดแล้ว “นวดแผนโบราณวัดโพธิ์” มักจะเป็นชื่อแรกที่เรานึกถึง เพราะถือเป็นต้นตำรับการนวดที่มีมาแต่อดีตสืบทอดต่อมาจนเป็นที่นิยมอย่างแพร่หลายในปัจจุบัน โดยมีโรงเรียนนวดแผนโบราณ “เชตวัน” หรือโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) เป็นผู้ทำหน้าที่รักษาและถ่ายทอดองค์ความรู้ที่มีคุณค่าเหล่านี้ สำหรับความเป็นมาของโรงเรียนนวดแผนโบราณเชตวัน หรือหลายคนมักนิยมเรียกว่าโรงเรียนนวดวัดโพธิ์นั้น ต้องย้อนกลับไปสมัยต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ “วัดโพธาราม” หรือ “วัดโพธิ์” ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ทรงรวบรวมการแพทย์แผนโบราณและโปรดเกล้าฯ ให้ปั้นรูปฤๅษีดัดตนในท่าต่างๆ เอาไว้ด้วย  ต่อมาสมัยรัชกาลที่ 3 มีการบูรณปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์ครั้งใหญ่ พระองค์ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมสรรพวิชาแขนงต่างๆ ทั้งความรู้ทางการแพทย์ ตำรายา ตำราโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ศาสนา การปกครอง รวมถึงตำราการนวด จารึกลงบนแผ่นศิลาประดับไว้ตามศาลาราย รวมถึงปั้นรูปฤๅษีดัดตนเพิ่มเติม เพื่อให้ประชาชนทั่วไปได้ศึกษา จนเมื่อปี 2498 ได้มีการก่อตั้งโรงเรียนแพทย์แผนโบราณวัดพระเชตุพนขึ้นตามดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณสมเด็จพระสังฆราช (ปุ่น ปุณณสิริ) เพื่อเป็นศูนย์กลางการเรียนรู้ด้านการแพทย์แผนโบราณ ในด้านเวชกรรม เกสัชกรรม

Read More

ทุกข์เกษตรกร ผจญภัยแล้งแถมเศรษฐกิจฟุบ

  พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ผ่านพ้นไปแล้วเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมา และเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร ในการประกอบสัมมาชีพหล่อเลี้ยงสังคมและผู้คนต่อไป เพราะท่ามกลางผลการเสี่ยงทายที่ปรากฏว่าพระโคได้กินข้าว ข้าวโพด งา เหล้า น้ำ และหญ้า พยากรณ์ว่า ธัญญาหาร ผลาหาร ภักษาหาร จะบริบูรณ์ดี น้ำท่าจะบริบูรณ์สมควร การคมนาคมสะดวกยิ่งขึ้น การค้าขายกับต่างประเทศดี เศรษฐกิจรุ่งเรืองขึ้น และในการเสี่ยงทายผ้านุ่งเสี่ยงทาย พระยาแรกนาหยิบเสี่ยงทาย ผ้านุ่ง 5 คืบ พยากรณ์ว่า น้ำปริมาณพอดี ข้าวกล้าได้ผลบริบูรณ์ ผลาหาร มังสาหาร จะอุดมสมบูรณ์ดี ดูจะเป็นแรงกระตุ้นความหวังและความฝันครั้งใหม่ได้ไม่น้อยเลย หากแต่ข้อเท็จจริงที่เกษตรกรไทยกำลังเผชิญอยู่ในขณะนี้ อาจอาศัยเพียงกำลังใจและความคาดหวังจากการพยากรณ์ตามลำพังไม่ได้ เพราะปัญหาของเกษตรกรไทยในห้วงปัจจุบันมิได้มีเพียงประเด็นว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติด้วย ปัญหาเฉพาะหน้าของเกษตรกรในช่วงของภาวะภัยแล้งที่ผ่านมา อยู่ที่ต้นทุนการผลิต ปริมาณการผลิต ต้นทุนการหาแหล่งน้ำ รายได้จากการทำการเกษตร หนี้สินของครัวเรือน และการจับจ่ายใช้สอยในชีวิตประจำวัน ซึ่งประชาชนประมาณ 80.5% ที่ตอบแบบสำรวจของศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เมื่อช่วงเดือนมีนาคมถึงเมษายนที่ผ่านมา ระบุว่าในการแบกรับภาระหรือการรับมือต่อภัยแล้ง ทำได้น้อย หรือทำไม่ได้เลย  ขณะเดียวกัน สถานการณ์ภัยแล้งที่มีแนวโน้มจะยืดยาวไปถึงช่วงมิถุนายน 2559 จะทำให้เม็ดเงินหายไปจากระบบเศรษฐกิจประมาณ

Read More

BASEM แห่ง รพ. กรุงเทพ บริการเพื่อคนรักการออกกำลังกาย

  เพราะการบาดเจ็บอาจเกิดขึ้นได้กับผู้ที่เป็นนักกีฬาหรือผู้ที่ชอบการออกกำลังกายทุกคน ไม่ว่าจะเป็นการเล่นกีฬาหรือออกกำลังกายประเภทใดก็ตาม การรักษาอาการบาดเจ็บและฟื้นฟูสภาพให้สามารถกลับมาเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้โดยเร็วจึงเป็นสิ่งสำคัญ  อีกทั้งการดูแลรักษาสุขภาพ ออกกำลังกาย เล่นกีฬา ยังคงเป็นกระแสฮอตฮิตของคนรุ่นใหม่ และไม่มีทีท่าจะแผ่วลงง่ายๆ ในทางกลับกันกลับมีแนวโน้มได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง จึงทำให้เกิดธุรกิจและบริการต่างๆ ขึ้นเพื่อรองรับไลฟ์สไตล์ดังกล่าว ซึ่งบริการทางการแพทย์ก็เป็นหนึ่งในนั้น สถาบันเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายกรุงเทพ (Bangkok Academy of Sports and Exercise Medicine) หรือ BASEM คือหนึ่งในบริการทางการแพทย์ที่โรงพยาบาลกรุงเทพทุ่มทุนกว่า 70 ล้านบาท เพื่อสร้างสถาบันด้านเวชศาสตร์การกีฬาและออกกำลังกายที่ครบครัน และต้องการยกระดับให้เป็นผู้นำด้านการรักษาอาการบาดเจ็บและวิเคราะห์ผู้ที่มีปัญหาด้านการเล่นกีฬาโดยเฉพาะ จุดมุ่งหมายของ BASEM คือให้การรักษาและให้คำปรึกษาเพื่อช่วยให้ผู้ป่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางการกีฬา ดูแลรักษานักกีฬาที่เกิดการบาดเจ็บ ฟื้นฟูและเพิ่มสมรรถภาพด้านร่างกาย รวมถึงให้คำปรึกษาด้านเทคนิคการเตรียมความพร้อม เทคนิคการเล่นกีฬา ออกแบบด้านการออกกำลังกาย อีกทั้งยังครอบคลุมงานด้านโภชนาการ และจิตวิทยาการกีฬาด้วยเช่นกัน เพื่อให้สามารถเล่นกีฬาและออกกำลังกายได้อย่างมีประสิทธิภาพสูงสุด ตั้งแต่การทดสอบ ประเมินสมรรถภาพร่างกาย วิเคราะห์ปัญหาและสาเหตุ รักษาอาการบาดเจ็บทั้งด้วยยา ผ่าตัด และกายภาพบำบัด โดยกลุ่มเป้าหมายหลักคือนักกีฬาทุกประเภท ผู้ป่วยที่ได้รับการบาดเจ็บจากการเล่นกีฬา รวมถึงคนทั่วไปที่สนใจการออกกำลังกาย และต้องการเทคโนโลยีและวิทยาการเข้ามาช่วยดูแลรักษา ฟื้นฟู และป้องกันการบาดเจ็บ โดยให้บริการเครื่องออกกำลังกายที่มีเทคโนโลยีใหม่ๆ สำหรับการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นสิ่งที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นแม่เหล็กของ BASEM

Read More

วิเชียร พงศธร ผู้นำพรีเมียร์กรุ๊ป ผู้ยึดหลักคิดและปฏิบัติสู่ความยั่งยืน

  พระอาทิตย์ตั้งฉากกับกรุงเทพมหานครเมื่อวันที่ 26 เมษายนที่ผ่านมา ท่ามกลางงาน “Taste Sustainability รักรส มีวนา รักษ์ป่า ยั่งยืน” อีกหนึ่งโครงการสำคัญภายใต้การดูแลของกลุ่มบริษัทพรีเมียร์ “ผู้จัดการ 360 ํ” ได้มีโอกาสฟังทัศนคติการดำเนินธุรกิจจาก “วิเชียร พงศธร” กรรมการผู้จัดการใหญ่ กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ แน่นอนว่าบนเวทีแห่งการแข่งขันทางธุรกิจแต่ละหน่วยงานองค์กรทางธุรกิจย่อมต้องมีกลยุทธ์ในการดำเนินธุรกิจที่จะสร้างโอกาสในการประสบความสำเร็จและความก้าวหน้า ซึ่งก็เป็นแนวปฏิบัติพื้นฐานของการทำธุรกิจ  หากแต่ไม่ใช่กับวิเชียร พงศธร ที่นั่งตำแหน่งกรรมการผู้จัดการใหญ่กลุ่มบริษัทพรีเมียร์ ที่ปัจจุบันมี 4 ธุรกิจหลักประกอบด้วย บริษัท พรีเมียร์ มาร์เก็ตติ้ง จำกัด (มหาชน) ซึ่งดำเนินธุรกิจด้านสินค้าอุปโภคบริโภค บริษัทพรีเมียร์ เอ็นเตอร์ไพรซ์ จำกัด (มหาชน) ดำเนินธุรกิจเกี่ยวกับลิสซิ่ง รถเช่า บริษัทพรีเมียร์ เทคโนโลยี จำกัด (มหาชน) ธุรกิจด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และบริษัท พรีเมียร์ โพรดักส์ จำกัด ธุรกิจเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อม ที่เพิ่งเปิดตัวไปเมื่อปี 2554  ทั้งนี้การขยายธุรกิจด้านพลังงานนั้นเป็นเพียงการต่อยอดจากธุรกิจสิ่งแวดล้อมที่ทำอยู่ก่อนแล้ว โดยใช้บริษัท

Read More