นครแห่งการศึกษา โอกาสหรือมหันตภัยทางปัญญาในภูฏาน
เมื่อหลายเดือนที่ผ่านมา ข่าวเรื่องแป๊ะเจี๊ยะได้เขย่าวงการศึกษาไทยอย่างหนัก แม้เราจะทราบว่าปัญหาดังกล่าวได้กัดกินการศึกษาไทยมานานแล้วก็ตาม ในขณะที่การศึกษาไทยก็ยังเดินต่อไปส่วนจะดีจะร้ายอย่างไรเราก็ต้องสู้กันต่อไป ส่วนจะสู้กับใคร ค่อยมาว่ากันทีหลัง ในฉบับนี้ผมขอพูดถึงประเทศภูฏานกับการศึกษาที่กำลังเกิดการเปลี่ยนแปลงขนานใหญ่ช่วงที่ผมไปเยือนประเทศภูฏาน ผม และทีมงานของมหาวิทยาลัยรังสิตมีโอกาสได้เข้าพบบริษัท Druk Holding ซึ่งเป็นบริษัท ของรัฐบาลภูฏานที่ได้รับ Royal Charter ให้ เป็นบริษัทในพระบรมราชูปถัมภ์ของพระเจ้าจิกมี ผู้บริหารของ Druk Holding ได้สนทนา กับผู้บริหารของ Druk Holding เกี่ยวกับเมกกะโปรเจ็กต์ชื่อ Education City กล่าวคือบริษัทดรุกจะทำการปรับภูเขาระหว่างกรุงทิมพูและเมืองพาโรเพื่อสร้างเมืองการศึกษาโดยเชิญชวนให้มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม บริษัทห้างร้านมาเช่า และร่วมกันสร้างเมืองเพื่อนักเรียน โดยทำสัญญาเช่าระยะยาวราวๆ 50 ปี ซึ่งนับว่าเป็นความเสี่ยงหลายประการด้วยกัน บริษัทดรุกหวังว่าการสร้างนครแห่งการศึกษาจะส่งผลต่อเศรษฐกิจและอนาคตของประเทศภูฏาน รวมทั้งการเป็นศูนย์กลางทางการศึกษาในภูมิภาคทางตอนเหนือของเอเชียใต้ การฟังโปรเจ็กต์ดังกล่าวทำให้ผมเดินทางไปเยี่ยมชมสถาบันการศึกษาหลายแห่งในภูฏานและพบปัญหาที่ประเทศของเขากำลังประสบอยู่การศึกษาในระดับประถมและมัธยม ศึกษาโดยรวมในเมืองใหญ่อย่างพาโรหรือทิมพู ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ต่างจากโรงเรียนในประเทศอื่นๆ นัก แม้ว่าอาจจะไม่มีอุปกรณ์มากเท่าที่ควร แต่ในชนบทของประเทศภูฏาน ปรากฏว่าคนจำนวนมากไม่มีการศึกษา โดยประชากรที่มีการศึกษาของภูฏานนั้นต่ำอย่างน่าตกใจ เพราะอยู่ที่ 47% และผู้หญิงเพียง 34% มีการศึกษา ในขณะที่เราด่าการศึกษาบ้านเรา ประเทศไทยมีประชากรถึง 92.6% ที่มีการศึกษาและอัตราส่วนระหว่างชายหญิงต่างกันราวๆ 2-4% แม้ไม่ได้สูงถึง 99% อย่างประเทศพัฒนาแล้ว แต่ประเทศไทยก็ไม่ขี้เหร่ นัก
Read More