วันเสาร์, พฤศจิกายน 23, 2024
Home > Green > Green Mirror > Rio+20 Earth Summit for Sustainable Development คืออะไร

Rio+20 Earth Summit for Sustainable Development คืออะไร

“Sustainable Development” (SD) มีความหมายอย่างไรกันแน่ แม้จะเป็นคำที่มีความหมายลึกซึ้ง เป็นหลักคิดแนวใหม่ในวงการบริหารปกครองและวิชาการ แต่ในสังคมของคนธรรมดาทั่วไปก็มีน้อยคนนักที่จะเข้าใจความหมายอันแท้จริง

SD หรือ “การพัฒนาที่ยั่งยืน” คือ แนวทางการพัฒนาประเทศชาติที่สนองความต้องการทั้งของคนรุ่นปัจจุบัน คำนึงถึงคนรุ่นต่อไปในอนาคต SD จะต้องรักษาคุณภาพของทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมไว้ให้คงอยู่สืบต่อไป โดยการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและควบคุมให้อยู่ในขีดจำกัดที่ให้ได้ของแหล่งทรัพยากร ขณะที่การพัฒนายังคงเจริญก้าวหน้าต่อไปได้อย่างไม่หยุดยั้ง

SD สามารถนำไปปฏิบัติได้ถ้ามีการ วางแผนอย่างรอบคอบ บูรณาการกิจกรรมและการพัฒนาต่างๆ ให้สอดคล้องต้องกัน โดยหาวิถีทางดำเนินการให้เกิดสมดุลทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม

ฟังดู! แม้จะเป็นอุดมการณ์ที่เข้าใจยาก เข้าถึงได้ยาก แต่ในช่วงหลายปีที่ผ่าน มามีการนำหลักการนี้มาปฏิบัติกันบ้างแล้วทั่วโลก ถึงจะไม่สัมฤทธิผลตามเป้าหมายแต่ก็ก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมการใช้ทรัพยากรอย่างคุ้มค่ามากขึ้น มีการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ขึ้นมาขับเคลื่อน เช่น Rene-wable energy technologies ต่างๆ และกลไกทางการค้าทางเศรษฐกิจขึ้นมา เช่น eco-taxes และ carbon trading, carbon-footprint

การดำเนินงานของ Rio Earth Summit ที่ผ่านมา และที่จะเป็นไปในอนาคต

Earth Summit เริ่มจัดตั้งขึ้นโดย องค์การสหประชาชาติและกลุ่ม NGOs
ต่างๆ เมื่อปี 1992 ด้วยความพยายามที่จะให้เกิดความร่วมมือจากนานาประเทศ ช่วย กันขจัดปัดเป่าปัญหาความยากจน ปัญหาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมที่ก่อตัวขึ้นจากการพัฒนาและการขยายตัวของประชากรอย่างรวดเร็ว การประชุมครั้งแรก มีขึ้นที่กรุงริโอ เด จาเนโร ประเทศบราซิล

จากปี 1992 จวบจนถึงปัจจุบัน คือ 20 ปีต่อมาได้มีการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าอะไรเกิดขึ้นบ้าง

เพื่อตอบโจทย์นี้จึงได้มีการศึกษารวบรวมข้อมูลการเปลี่ยนแปลงและความก้าวหน้าจากการดำเนินงาน สรุปผลเพื่อ
แลกเปลี่ยนความคิดเห็นและกำหนดแนว ทางปฏิบัติร่วมกัน จึงเป็นที่มาของการจัดประชุม Rio+20 ใน ค.ศ.นี้

ครั้งกระโน้น การประชุม Rio Earth Summit 1992 ได้ตั้งธงไว้ให้ทุกประเทศรับ Agenda 21 เป็นแนวทางปฏิบัติที่จะเข้าถึง “การพัฒนาที่ยั่งยืน” โดยเน้นการพัฒนาทางภาคเกษตรและชนบทเป็นสำคัญ การปฏิบัติจะต้องเป็นไปในลักษณะ บูรณาการ (ประสานให้สอดคล้องกัน) ทั้งในระดับท้องถิ่น ระดับชาติ และระดับประชาคมโลก มีการจัดตั้ง UN Commission on Sustainable Development ขึ้นมาตรวจสอบติดตามผล

อีก 20 ปีต่อมาหลังจากมีการศึกษา ข้อมูลความก้าวหน้าที่ผ่านมา คณะกรรมการ ได้ตั้งธงไว้ว่าต่อนี้ไปจะต้องมุ่งเน้น “Green Economy” ซึ่งเป็นแนวทางที่มีการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อม และการพัฒนาเศรษฐกิจอุตสาหกรรมไปพร้อมๆ กัน ความคาดหวังที่เป็นเป้าหมายก็คือ การใช้ทรัพยากรได้อย่างยั่งยืนชั่วลูกชั่วหลาน ประชากรทั่วโลกมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ความ ยากจนลดลง มีความมั่นคงมากขึ้น

สภาวการณ์โลกที่เปลี่ยนไป
จากปี 1992 ถึง 2012

ประชากรโลกเพิ่มขึ้นจาก 5 พันล้าน เป็น 7 พันล้านคน หรือประมาณ 26% โดยเพิ่มขึ้นมากน้อยต่างกันในแต่ละภูมิภาค เช่น แอฟริกามีประชากรเพิ่มมากขึ้นถึง 53% เอเชียแปซิฟิก 26% ในขณะที่ยุโรปเพิ่มขึ้นเพียง 4%

สภาพภูมิอากาศเกิดการเปลี่ยน แปลงทั่วโลก (Global Climate Change) ทำให้เกิดผลตามมาคือ ภัยพิบัติรุนแรงต่างๆ อันเป็นผลจากอากาศร้อนขึ้น แผ่นน้ำแข็งขั้วโลก และธารน้ำแข็งตามภูเขาสูงละลาย ระดับน้ำทะเลเพิ่มขึ้น อุณหภูมิเหนือ ท้องทะเลมหาสมุทรสูงขึ้น กระแสน้ำเปลี่ยน ทิศทาง ฤดูกาลเปลี่ยนแปลงไปในทางสุดขั้ว ทั้งนี้มีต้นเหตุมาจากการใช้เชื้อเพลิงฟอสซิล มากเกินไป จนทำให้เกิดก๊าซคาร์บอนได ออกไซด์ในบรรยากาศสูง ความสมดุลของบรรยากาศที่ปกคลุมผิวโลกจึงเปลี่ยนไป ขณะนี้อัตราการเพิ่มขึ้นของคาร์บอนได ออกไซด์ในบรรยากาศสูงขึ้นอย่างรวดเร็วถึง 36% เพราะการเพิ่มขึ้นของประชากรและการพัฒนาอุตสาหกรรม

เมื่อวิเคราะห์เปรียบเทียบเป็นรายหัวของประชากรในประเทศต่างๆ พบว่าในประเทศกำลังพัฒนามีอัตราปลดปล่อยคาร์บอนต่อหัวประชากรสูงขึ้นจากปี 1992 ถึง 29% ส่วนประเทศที่พัฒนาแล้วกลับมีอัตราปลดปล่อยต่อหัวลดลง -18% ซึ่งสอด คล้องกับตัวชี้วัดการพัฒนาเศรษฐกิจ (ชี้วัดเป็นรายได้มวลรวมต่อหัวประชากร หรือ GDP) ที่เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในประเทศกำลัง พัฒนา เช่น จีน ไทย เวียดนาม กัมพูชา แม้ว่าจะทำให้ GDP ในประเทศเหล่านี้สูงขึ้น มองเผินๆ ทำให้เศรษฐกิจดี ประชากร ร่ำรวยขึ้น แต่ก็ไม่ได้เป็นไปอย่างยั่งยืนเพราะ ต้นทุนหลักคือทรัพยากรและสิ่งแวดล้อมเสื่อมโทรมและลดคุณภาพลงอย่างมาก

ด้านสิ่งแวดล้อมธรรมชาติและระบบ นิเวศมีการประเมินชี้วัดของนักวิจัยโลกพบว่า โดยเฉลี่ยทั่วโลกระบบนิเวศมีความสมบูรณ์ ลดลง 12% ในจำนวนนี้เขต tropics หรือบริเวณร้อนชื้นแถบศูนย์สูตรของโลกเป็นเขต ที่มีความสมบูรณ์ของป่าเปลี่ยนแปลงไปมาก ที่สุด คือลดลงประมาณ 30% ทั้งนี้เนื่อง จากบริเวณนี้มีการตัดไม้ทำลายป่าธรรมชาติ มากเพื่อใช้พื้นที่ในทางเกษตรกรรม เพราะจำนวนประชากรที่เพิ่มขึ้น และเพื่อเพิ่มผลผลิตเพื่อการส่งออกเห็นได้ชัดจากป่าอะเมซอนที่ถูกแผ้วถางในอเมริกาใต้ และป่าในเขตเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

กำหนดทิศทางเพื่อบรรเทาปัญหา

มีนักวิชาการระดับโลกหลายกลุ่มมองความพยายามในการดำเนินงานตามแนวทาง SD ของประเทศต่างๆ ที่ผ่านมานับแต่ปี 1992 มองปัญหาในปัจจุบัน คาดการณ์ถึงความต้องการในอนาคต ต่างลงความเห็นร่วมกันว่า ต้นตอของวิกฤตการณ์ ที่เกิดขึ้นในหลายๆ ประเทศมาจากปัญหาเศรษฐกิจ และการเมืองการปกครอง

การประชุม Rio+20 ครั้งนี้ จึงร่วมกันกำหนดทิศทางให้ “Green Economy” เป็นแนวทางหลักที่จะเข้าถึง SD โดย Green Economy เป็นระบบเศรษฐกิจที่การผลิตมีการใช้เชื้อเพลิงและทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพและคุ้มค่า อนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ในขณะเดียวกันมีการควบคุมจำนวนประชากร เพื่อลดความยากจนและยกระดับคุณภาพ ชีวิตให้ดีขึ้น

Green Economy จะทำได้แค่ไหน ต้องอาศัยความร่วมมือของประชาคมโลก ที่สำคัญจะต้องเอาชนะปัญหาความเอาเปรียบของนายทุน และการทุจริตกินสินบน ของผู้บริหารผู้ปกครองประเทศ ประชาชนจะต้องรู้จักเลือกผู้นำที่จะนำพาประชากรส่วนใหญ่ไปในทิศทางที่พัฒนาอย่างยั่งยืนและมั่นคง Green Economy อาจจะมีการ กระตุ้นให้มีความเป็นไปได้มากขึ้น โดยการออกกลไกขับเคลื่อน เช่น eco-taxes ซึ่งเป็นภาษีเพิ่มขึ้นที่เก็บจากผู้ประกอบการ หรือผู้ใช้ธรรมชาติที่เป็นของส่วนรวมมากกว่าระดับปกติ ภาษีที่เก็บเพิ่มขึ้นนี้จะผลักดันให้ผู้ใช้ทรัพยากรประหยัดและใช้อย่างคุ้มค่า การเก็บภาษีแบบนี้ยังเป็นธรรมต่อคนส่วนรวมตามหลักประชาธิปไตยด้วย

มีการเสนอแนะล่วงหน้าการประชุม Rio+20 ให้ตั้งวาระไว้ที่การปฏิบัติเพื่อความอยู่รอด หรือ the survival agenda ให้เป็นการปฏิบัติที่มีเป้าหมายต่ำที่สุด หวังให้เกิดผลปฏิบัติได้จริงที่จะบรรเทาเบาบางปัญหาวิกฤตที่คุกคามประชากรโลก อยู่ให้จงได้

สำหรับประเทศไทย แนวทาง Green Economy หรือ SD นั้นเป็นแนวทางเดียวกับ “แนวทางพระราชดำริเศรษฐกิจพอเพียง” ของในหลวงของเรานั่นเอง เรามีของดีเลิศอยู่ในมือแล้ว และมีคนส่วนหนึ่งรับไปปฏิบัติแล้ว แต่ก็ยังมีคนบางกลุ่มหวังเอาประโยชน์ส่วนตน เอาเปรียบผู้อื่นด้วยลัทธินายทุน แต่อ้างหลักการเลือกตั้งของประชากรส่วนใหญ่ในระบบประชาธิปไตยและมุ่งล้มล้างสถาบันที่คำนึงถึงความอยู่ดีกินดีของประชาชน

ในช่วงนี้ประชาชนคนไทยจึงต้องใช้วิจารณญาณอย่างหนักในการเลือกข้างที่คำนึงถึงประชาชนและความอุดมสมบูรณ์ของประเทศอย่างแท้จริงหรือข้างที่จะหลอก ให้ประชาชนหลงเชื่อในสิ่งที่เป็นมา