วันศุกร์, พฤศจิกายน 22, 2024
Home > ไม่มีหมวดหมู่ > iTech 360° > เทคโนโลยีแห่งอนาคตโปรเจ็กเตอร์พกพาอัจฉริยะ

เทคโนโลยีแห่งอนาคตโปรเจ็กเตอร์พกพาอัจฉริยะ

ในช่วงเวลาไม่ถึงสิบปี หากมองย้อนกลับไปเราจะเห็นการพัฒนาแบบก้าวกระโดดของกล้องถ่ายรูปขนาดจิ๋วที่ปัจจุบันกลายเป็นอุปกรณ์ที่ขาดไม่ได้ไปเสียแล้วสำหรับโทรศัพท์มือถือในยุคสื่อสารไร้พรมแดนและ Social Network อย่างที่เป็นอยู่ทุกวันนี้ แต่ทราบหรือไม่ครับว่า ในช่วงเวลาสิบปีเดียวกันนี้มีอีกหนึ่งเทคโนโลยีที่ถูกพัฒนาขึ้นอย่างรวดเร็วไม่แพ้กัน ซึ่งเทคโนโลยีนั้นก็คือโปรเจ็กเตอร์ขนาดจิ๋วหรือในภาษาอังกฤษนิยมเรียกกันว่า Pico Projector นั่นเอง เพียงช่วงเวลาสิบปี โปรเจ็กเตอร์ได้ถูกพัฒนาจากเดิมที่มีขนาดใหญ่และหนักยิ่งกว่า สมุดโทรศัพท์หน้าเหลือง มาจนเหลือขนาด กลไกฉายภาพที่เล็กจิ๋วประมาณเหรียญสิบบาทเท่านั้น เพียงพอที่จะฝังลงไปในอุปกรณ์พกพาขนาดเล็กที่ขนาดพอๆ กันกับ iPhone 4s รุ่นล่าสุดได้

ความรวดเร็วในการพัฒนาโปรเจ็กเตอร์พกพานี้ได้ดึงดูดความสนใจจากเหล่าผู้ผลิต นักวิจัย ไม่เว้นแม้แต่บริษัทยักษ์ใหญ่อย่าง Sumsung และ Apple โดยในปี 2012 Sumsung ได้เปิดตัว Sumsung Galaxy Beam ซึ่งเป็นสมาร์ทโฟนติดโปรเจ็กเตอร์เครื่องแรกของบริษัทอย่างเป็นทางการ แล้ว ในส่วนของบริษัท Apple ขณะนี้ มีโปรเจ็กเตอร์มือถือหลายรุ่นจากบริษัทผู้ผลิตโปรเจ็กเตอร์รายต่างๆ ที่รองรับการทำงานแบบ Plug & Play กับอุปกรณ์จำพวก iPhone และ iPad แม้ว่าทางค่าย Apple จะยังไม่มีการ เปิดตัวผลิตภัณฑ์ใดๆ ของบริษัทที่เกี่ยวข้องกับโปรเจ็กเตอร์อย่างเป็นทาง การ แต่จากรายงานจดสิทธิบัตรของบริษัทกับ US Patent & Trademark Office ชี้ให้เห็นว่า Apple ไม่ได้นิ่งนอนใจกับเทคโนโลยีน้องใหม่มาแรงนี้ และกำลังอยู่ในระหว่างขั้นตอนการพัฒนาเพื่อหาทางรวมเอาโปรเจ็กเตอร์ขนาดจิ๋วฝังลงไปในอุปกรณ์ยอดฮิตของบริษัทอย่าง iPhone และ iPad เช่นกัน

จากความเคลื่อนไหวของสองค่ายยักษ์ใหญ่นี้ก็คงจะพอทำให้เราเห็นภาพได้ว่าอีกไม่นานเกินรอแน่นอนที่โทรศัพท์มือถือของเราจะไม่ได้มีเพียงแค่กล้องแต่รวมถึงโปรเจ็กเตอร์ ให้ร่วมกันใช้ประโยชน์ด้วย เพื่อตอกย้ำถึงข้อเท็จจริงนี้ ทาง Pacific Media Associates (PMA) ที่เป็นหน่วยงานวิจัยด้านการตลาดที่เชี่ยวชาญ ในตลาดการซื้อขายโปรเจ็กเตอร์ได้ออกผลการ สำรวจที่เชื่อว่ายอดสั่งซื้อโปรเจ็กเตอร์มือถือนี้จะพุ่งจาก 3 ล้านเครื่องในปี 2011 ไปเป็น 58 ล้านเครื่องภายในปี 2015 ไม่เพียงเท่านั้นพวกเขายังกล่าวอีกว่าในปี 2015 เชื่อว่า 40% ของโปรเจ็กเตอร์จิ๋วเหล่านี้จะถูกฝังอยู่ในโทรศัพท์มือถือในขณะที่อีก 13% อยู่ในอุปกรณ์จำพวกแท็บเล็ต

จุดเด่นของโปรเจ็กเตอร์มือถือที่นักวิจัยและพัฒนาทั่วโลกต่างให้ความสนใจคือ สามารถเปลี่ยนพื้นผิวธรรมดาๆ รอบตัวเราให้มาเป็นจอแสดงผลได้ในทุกที่และทุกเวลา ไม่ว่าจะเป็นแค่ผนังหรือเพดานห้อง แม้แต่พื้นผิวแคบๆ บนคอนโซลของรถยนต์ก็ตามต่างสามารถถูกใช้เป็นจอแสดงผลได้หมด ที่พิเศษไปกว่านั้นคือ แม้ว่าโปรเจ็กเตอร์พกพาเหล่านี้จะมีขนาดเล็กนิดเดียว แต่ขนาดของภาพที่ฉายนั้นไม่ได้เล็กตามไปด้วย ด้วยความสามารถของโปรเจ็กเตอร์เราสามารถจะฉายภาพยนตร์ด้วยภาพ ความกว้าง ขนาดเท่ากับโทรทัศน์จอขนาดใหญ่ โดยแชร์กับกลุ่มเพื่อนๆ ได้โดยไม่ต้อง มายืนเบียดเสียดสุมหัวกันเพื่อดูภาพจากหน้าจออันเล็กจิ๋วของอุปกรณ์มือถืออีกต่อไป

แน่นอนว่าเพียงแค่การฉายภาพ แบบพกพานี้ไม่เพียงพอที่จะใช้คำว่าโปรเจ็ก เตอร์อัจฉริยะอย่างแน่นอน สิ่งที่นักคิดและนักพัฒนาซอฟต์แวร์ทั่วโลกกำลังให้ความสนใจคือจะทำอย่างไรให้โปรเจ็กเตอร์ เหล่านี้ทำได้มากกว่าการฉายภาพต่างหาก ในช่วงไม่กี่ปีนี้มีการคิดค้นวิธีใหม่ๆ ในการใช้งานโปรเจคเตอร์อัจฉริยะเหล่านี้ในชีวิตประจำวันหลากหลายรูปแบบ ตัวอย่าง เช่น งานวิจัยจากมหาวิทยาลัยโตเกียว (University of Tokyo) ประเทศญี่ปุ่น ที่ทำให้โปรเจ็กเตอร์สามารถปรับเปลี่ยนรูปร่างของภาพที่บิดเบี้ยวเนื่องจากการฉายภาพบนพื้นผิวที่ไม่เป็นระนาบเดียวได้อย่าง อัตโนมัติ (ipProjector) เพื่อให้รูปร่าง และขนาดพอดีกันกับพื้นผิวที่ไม่เป็นระนาบ เดียวกัน หรือรวมไปถึงโปรเจ็กเตอร์ยังสามารถนำมาใช้ประโยชน์ในการควบคุมทิศทางการเคลื่อนที่ของหุ่นยนต์ โดยการใช้ แสงโปรเจ็กเตอร์สร้างเป็นถนนเพื่อบังคับให้หุ่นยนต์เดินไปตามทางที่ต้องการได้ (CoGame)

งานวิจัยที่น่าสนใจอีกงานหนึ่งจากสถาบันเทคโนโลยีแมสซาชูเซตส์ (Massachusetts Institute of Technology) ประเทศสหรัฐอเมริกา คือการเปลี่ยนฝ่ามือ ของเราให้กลายเป็นแป้นโทรศัพท์ดิจิตอลชั่วคราวที่สามารถใช้นิ้วจิ้มกดเพื่อโทรศัพท์ ได้จริง (SixthSense) แม้แต่ทำการสืบค้นข้อมูลเรตติ้งผู้อ่านจากฐานข้อมูล amazon.com ใช้กล้องในการวิเคราะห์หาหนังสือเล่มที่ต้องการในฐานข้อมูลและใช้โปรเจ็กเตอร์ฉายภาพเรตติ้งลงบนปกหนังสือโดย ตรง ในด้านศิลปะและการออกแบบ User Interface มีการเสนอให้ใช้แสงจากโปรเจ็ก เตอร์ในการระบายสีและลวดลายลงบนวัตถุ วิธีนี้นอกจากวัตถุนั้นๆ จะไม่เสียหายแล้วยังสามารถเปลี่ยนลวดลายหรือสีสันที่ระบาย ได้โดยง่ายด้วย (Shader Lamps)

นอกจากตัวอย่างการใช้งานที่กล่าว ไปแล้ว ในส่วนการใช้ประโยชน์เพื่อความบันเทิงก็ไม่น้อยหน้ากัน มีการคิดค้นพัฒนา Augmented Reality เกมโดยใช้ประโยชน์ จากความสามารถของโปรเจ็กเตอร์ที่สามารถซ้อนทับภาพเสมือนลงบนวัตถุจริงได้อย่างเป็นเนื้อเดียวกัน ตัวอย่างเกมเหล่านี้เช่น Twinkle ที่ใช้การประมวลผลที่แนบเนียนและรวดเร็วทำให้ตัวการ์ตูนแอนิเมชั่นที่เป็นเพียงข้อมูลดิจิตอลในคอม พิวเตอร์ที่ถูกฉายออกมาด้วยโปรเจ็กเตอร์ สามารถที่จะร้อง “โอ๊ยเจ็บ” ได้ในทันทีที่มันไปชนเข้ากับวัตถุที่เป็นวัตถุจริงๆ ที่วางอยู่รอบตัวเราได้

เห็นไหมครับว่าไอเดียสำหรับการใช้ งานโปรเจ็กเตอร์พกพาอัจฉริยะนี้มีมากมาย ตั้งแต่การใช้อำนวยความสะดวกในชีวิต ประจำวันไปจนถึงการเล่นพักผ่อนหย่อนใจ เลยทีเดียว ด้วยเทคโนโลยีของโปรเจ็กเตอร์ พกพาอัจฉริยะนี้จะทำให้ข้อมูลดิจิตอลที่เคยถูกจำกัดไว้อยู่แค่บนหน้าจอของอุปกรณ์ อิเล็กทรอนิกส์สามารถกลายเป็นส่วนหนึ่งของโลกแห่งความจริงได้อย่างแนบเนียนจน แทบจะแยกกันไม่ออก ไม่แน่ว่าในอนาคต พวกเราอาจใช้ชีวิตประจำวันอยู่โดยไม่ทันรู้สึกตัวเลยก็ได้ว่ารอบๆ ตัวเรามีสิ่งแปลกปลอมทางดิจิตอลปะปนอยู่ เหตุเพราะมันกลมกลืนเป็นเนื้อเดียวกับสิ่งแวดล้อมจริงๆ ของเราไปจนหมดแล้วด้วยเทคโนโลยีการผสานโลกเสมือนเข้ากับโลกจริงด้วยโปรเจ็ก เตอร์อัจฉริยะนั่นเอง