Home > แม่ค้าออนไลน์

ตลาดสดยังอ่วมโควิด แม่ค้าออนไลน์จับมือสู้แอปดีลิเวอรี่

แม้ศูนย์บริหารสถานการณ์แพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (ศบค.) ยอมผ่อนคลายให้ร้านอาหารเปิดให้นั่งรับประทานได้ถึงเวลา 23.00 น. แต่ตัวเลขการแพร่ระบาดที่พุ่งสูงต่อเนื่อง ทั้งยอดผู้ติดเชื้อและยอดผู้เสียชีวิตทำให้ผู้คนส่วนใหญ่เลือกใช้บริการดีลิเวอรี่ เหล่าแม่ค้าออนไลน์จึงต้องพลิกกลยุทธ์อีกครั้ง โดยเฉพาะการแก้เกมแอปขนส่งที่เรียกเก็บค่าคอมหรือ “GP” สูงกว่า 30% ขณะเดียวกันตลาดสดหลายแห่งยังถือเป็นคลัสเตอร์เสี่ยงต่อการแพร่ระบาด อย่างในกรุงเทพฯ มีการสั่งปิดตลาดขนาดใหญ่หลายแห่ง ไม่ว่าจะเป็นตลาดยิ่งเจริญ เขตบางเขน ตลาดกลางดินแดง ตลาดบางกะปิ ตลาดคลองเตย ตลาดสามย่าน ตลาดสดหนองจอก ตลาดสายเนตร ตลาดศาลาน้ำร้อน ตลาดลำนกแขวก นอกจากนั้น จากการเฝ้าระวังตรวจเชิงรุกตลาดค้าส่งหลายแห่งช่วงเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา จำนวน 379 แห่ง มีตลาด 289 แห่ง ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน คิดเป็นร้อยละ 76 และไม่ผ่านเกณฑ์ 90 แห่ง หรือร้อยละ 24 แต่มีตลาดสดขนาดเล็กอีกจำนวนมากในชุมชนต่างๆ ซึ่งจัดพื้นที่ค้าขายเฉพาะช่วงเวลา เช่น เช้า หรือเย็น และเกือบทั้งหมดมีมาตรการควบคุมน้อยมาก อย่างน้อย 2-3 แห่งต่อเขต รวมแล้วมากกว่า

Read More

ปิดห้างหนีม็อบ ออนไลน์พรึ่บ ไลฟ์สดยอดพุ่ง

แม้ธุรกิจศูนย์การค้าและห้างสรรพสินค้ากำลังอ่วมพิษการเมือง ทั้งการชุมนุมแฟลชม็อบตามจุดต่างๆ ทั่วกรุงเทพฯ และการปิดให้บริการชั่วคราวของรถไฟฟ้า ส่งผลต่อบรรยากาศการจับจ่ายในช่วงเทศกาลส่งท้ายปลายปี แต่ดูเหมือนว่าช่องทางออนไลน์กลับคึกคักสุดขีด โดยเฉพาะบรรดาแม่ค้า Facebook Live ที่เล่นกลยุทธ์อัดสินค้าจำนวนมากขึ้น ไลฟ์นานขึ้นและถี่ยิบทั้งกลางวันและกลางคืน ถึงขั้นที่ว่า บางเพจที่มียอดผู้ชมจำนวนมากและกำลังไลฟ์สดในช่วงเวลาการนัดหมายชุมนุมตามจุดต่างๆ มีการแทรกข้อความโหนกระแสการเมือง “สนับสนุนการปฏิรูปประเทศไทย” ให้ผู้คนคลิกแชร์ ทั้งที่ตั้งใจและไม่ได้ตั้งใจ เพื่อเพิ่มยอดแชร์ด้วย ขณะเดียวกัน หากประเมินเฉพาะช่วงการแพร่ระบาดโควิด-19 ตลาดการซื้อขายสินค้าผ่านระบบออนไลน์มีอัตราเติบโตแบบพุ่งพรวด มีจำนวนผู้ค้าเพิ่มขึ้นหลายเท่าตัว ทั้งกลุ่มแม่ค้าที่ต้องปิดหน้าร้านตามคำสั่งของทางการ กลุ่มคนตกงาน หรือแม้กระทั่งกลุ่มห้างสรรพสินค้าต่างหันมาเปิดเฟซบุ๊กไลฟ์ เพื่อสร้างยอดขายแบบเร่งด่วน ตัวอย่างกรณีห้างสรรพสินค้าโรบินสันประกาศให้พนักงานจัดรายการไลฟ์สดผ่านเฟซบุ๊กเพจของสาขาต่างๆ วันละ 3-6 รอบ รอบละประมาณ 1 ชั่วโมงทุกวัน มีการจัดรายการแนะนำ รีวิวสินค้า โปรโมชั่นต่างๆ เพื่อดึงดูดให้ลูกค้าตัดสินใจสั่งซื้อพร้อมบริการส่งถึงบ้าน ดังนั้น เมื่อรวมกับสถานการณ์การเมืองที่ทำให้ห้างค้าปลีกปิดให้บริการเร็วขึ้นและการเดินทางที่ไม่สะดวกทำให้นักช้อปส่วนใหญ่ต้องอยู่กับบ้าน ยิ่งเปิดโอกาสกระตุ้นให้ธุรกิจอีคอมเมิร์ซขยายตัวสูงมาก โดยข้อมูลจากบริษัท ไพรซ์ซ่า จำกัด ผู้ให้บริการ “Priceza” เครื่องมือค้นหาสินค้าและบริการเปรียบเทียบราคา คาดการณ์ว่า ผู้บริโภคในประเทศไทยจะหันมาช้อปปิ้งสินค้าผ่านช่องทางออนไลน์มากขึ้น ส่งผลให้ตัวเลขตลาดอีคอมเมิร์ซไทยมีแนวโน้มพุ่งสูงถึง 220,000 ล้านบาท เติบโตกว่า 35% จากปี

Read More