Home > New&Trend (Page 167)

ยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนเคหะ ด้วยหลักเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน

จากสินค้าชุมชนรูปแบบเดิมที่อาจเห็นอย่างมากมายในตลาด สู่การยกระดับมาตรฐาน ปรับเปลี่ยนรูปแบบและพัฒนาไปสู่ผลิตภัณฑ์ที่มีดีไซน์ที่ทันสมัย สวยงาม ถูกใจแต่ยังคงไว้ซึ่งความปราณีตอันเป็นเอกลักษณ์ของชุมชนไม่ทิ้งรากฐานเดิม ปรับรูปแบบใหม่ให้ตรงใจผู้ซื้อ โดยผ่านการสนับสนุนจากภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนา ภายใต้แนวคิดเศรษฐกิจพอเพียง เพื่อให้ชุมชนสามารถยืนได้ด้วยตนเอง การแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมา ได้สร้างผลกระทบต่อสุขภาพและระบบเศรษฐกิจเป็นวงกว้าง หลายธุรกิจได้รับผลกระทบจนต้องปิดตัวลง ผู้คนจำนวนไม่น้อยขาดรายได้ในการยังชีพ ซึ่งชาวชุมชนเคหะเองก็เป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่ได้รับผลกระทบดังกล่าวอย่างยากที่จะหลีกเลี่ยง การเคหะแห่งชาติจึงได้หาแนวทางในการพัฒนาเคหะชุมชนโดยยึดแนวคิด “ชุมชนต้องสามารถยืนได้ด้วยตนเอง” ทั้งนี้การส่งเสริมอบรมฝึกอาชีพให้กับผู้อยู่อาศัยในชุมชนถือเป็นกิจกรรมหนึ่งที่การเคหะแห่งชาติได้ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้ชาวชุมชนมีรายได้ที่มั่นคง สามารถยังชีพและเลี้ยงครอบครัวได้ ซึ่งหลายชุมชนของการเคหะแห่งชาติมีการรวมกลุ่มกันสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ชุมชนที่มีคุณภาพ ฝีมือปราณีต แต่รูปแบบของผลิตภัณฑ์อาจยังไม่เป็นที่ถูกตาต้องใจของผูบริโภคในวงกว้างอีกทั้งช่องทางในการจำหน่ายยังมีอยู่อย่างจำกัด “ณัฐพงศ์ พันธเกียรติไพศาล” ประธานกรรมการการเคหะแห่งชาติ และ “ทวีพงษ์ วิชัยดิษฐ์” ผู้ว่าการ การเคหะแห่งชาติและฝ่ายบริหาร จึงร่วมกันผลักดันแนวคิดยกระดับผลิตภัณฑ์ชุมชนของการเคหะสู่กลุ่มตลาดพรีเมี่ยม สร้างมูลค่าและคุณค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ชุมชน สร้างแบรนด์ให้เป็นที่รู้จัก เพื่อสร้างรายได้หมุนเวียนในชุมชนอย่างยั่งยืน การได้เข้าพบคุณภากมล รัตตเสรี กรรมการและรองเหรัญญิก มูลนิธิชัยพัฒนา ได้นำไปสู่โครงการความร่วมมือระหว่างการเคหะแห่งชาติและภัทรพัฒน์ มูลนิธิชัยพัฒนาในการยกระดับคุณภาพชีวิตชุมชน ทั้งในมิติเกษตรชุมชนยั่งยืน และมิติของการยกระดับสินค้าชุมชน เพื่อฟื้นฟูและเยียวยาชาวชุมชนจากวิกฤตโควิด-19 และพัฒนาให้ชาวชุมชนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ โดยน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงของพระบาทสมเด็จพระบรมชนกาธิเบศร มหาภูมิพลอดุลยเดชมหาราช บรมนาถบพิตร มาปฏิบัติ เป็นหนึ่งในทางออกเพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางเศรษฐกิจของประเทศ โดยแนวคิดนี้ คุณณัฐพงศ์ ได้กล่าวว่า “การเคหะมีชุมชนที่ดูแลอยู่จำนวนมาก

Read More

พาณิชย์ ผนึกกำลัง CPF เปิด “พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน” ล็อต 7

ก.พาณิชย์ ผนึกกำลัง CPF เปิด "พาณิชย์ลดราคา! ช่วยประชาชน" ล็อต 7 เสิร์ฟอาหารคุณภาพ ลดสูงสุด 50% พร้อมบริการส่งฟรีไม่มีขั้นต่ำ รับวิถี New Normal คุณจุรินทร์ ลักษณวิศิษฎ์ รองนายกรัฐมนตรี และรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ เปิดโครงการ "พาณิชย์ ลดราคา! ช่วยประชาชน" ล็อต 7 เพื่อลดภาระค่าครองชีพให้กับประชาชนและผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อไวรัสโคโรนา 2019 (Covid – 19) รวมทั้งกระตุ้นเศรษฐกิจภายในประเทศ โดยมี คุณชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร และ คุณวิวัฒน์ ภูมิพิทักษ์กุล รองกรรมการผู้จัดการอาวุโส CPF ร่วมต้อนรับที่บูธ CP FreshMart และ CP-Meiji ณ ห้องบุรฉัตรไชยากร ชั้น 4 สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์ คุณชัยยุทธ ทิพย์สุวรรณพร กล่าวว่า

Read More

โครงการหวงแหนกระบี่ ชวนคนไทยร่วมสำนึกรักหวงแหนกระบี่ สมบัติล้ำค่าที่ธรรมชาติได้มอบไว้

เจ้ารู้ไหม ... แผ่นดินนี้มันเป็นของทุกชีวิต รู้สึกไหม ... ว่าดิน อากาศ น้ำ ลำคลอง ท้องทะเล คือสิ่งที่บริสุทธิ์ รักได้ไหม ... รักชีวิตของตัวเจ้าเองได้ไหม ประโยคคำถามชวนคิดในภาษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) ภาษาท้องถิ่นคนทะเลนี้อยู่ในภาพยนตร์กระบี่คือชีวิต ของโครงการหวงแหนกระบี่ที่ต้องการรณรงค์ให้นักท่องเที่ยว ผู้ประกอบการ คนในพื้นที่ทั้งภาครัฐและเอกชน รู้สึกรักและหวงแหนจังหวัดกระบี่ จากผู้กำกับฝีมือระดับโลกอย่างธนญชัย ศรศรีวิชัย (ต่อ ฟีโนมีน่า) ที่ลงพื้นที่ไปพูดคุยกับคนท้องถิ่นในจังหวัดกระบี่ สัมผัสวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อ ความศรัทธาและธรรมชาติที่สวยงามและนำมาถ่ายทอดให้ผู้ชมได้ตระหนักถึงความล้ำค่าพร้อมปลูกจิตสำนึกร่วมปกป้องหวงแหนทุนทางธรรมชาติของจังหวัดกระบี่ให้คงอยู่กับมนุษย์สืบไป ภาพยนตร์กระบี่คือชีวิต https://www.youtube.com/watch?v=DVxOF3ugSag  ความยาว 2.35 นาที ถ่ายทอดเรื่องราวผ่านคุณลุงมะดิเอ็น ช้างน้ำ คนท้องถิ่นของจังหวัดกระบี่ด้วยภาษาอูรักลาโว้ย (Urak Lawoi) ซึ่งเป็นภาษาท้องถิ่นชาวเลฝั่งอันดามันทางใต้ของไทย ที่ตั้งคำถามกับคนดูว่า “รักได้ไหม รักชีวิตของตัวเจ้าเองได้ไหม” พร้อมเล่าว่าจังหวัดกระบี่คือแผ่นดินอันศักดิ์สิทธิ์ที่มีความสวยงามและความอุดมสมบูรณ์ที่ธรรมชาติมอบไว้ให้มนุษย์ แต่ความสมบูรณ์เหล่านั้นหายไปเมื่อธรรมชาติถูกรบกวนอย่างขาดจิตสำนึกที่เกิดมาจากการกระทำของมนุษย์ผู้ที่ฉลาดเหนือกว่าสิ่งใดในโลกโดยตอนจบของคลิปนี้ยังสร้างการตระหนักกับคนดูต่ออีกว่ากระบี่คือแผ่นดินที่บริสุทธิ์เป็นแผ่นดินของทุกชีวิตที่มีความเชื่อ ความศรัทธา ความงามของธรรมชาติอยากให้ทุกคนรักและหวงแหนแผ่นดินนี้เหมือนที่มนุษย์รักและหวงแหนตัวเอง หากเราทำลายผืนดินกระบี่ ก็เหมือนกับเราทำร้ายตัวเองเพราะทุกสิ่งทุกอย่างที่อยู่บนผืนดินนี้ก็คือชีวิตของเราเอง ภาพยนตร์ชิ้นนี้เป็นส่วนหนึ่งในโครงการหวงแหนกระบี่ที่เปิดตัวมาตั้งแต่กลางเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา โดยเกิดจากการผสานความร่วมมือจากผู้มีส่วนได้เสียทั้งภาครัฐและเอกชนครั้งยิ่งใหญ่ โดยหวังสร้างแรงกระตุ้นร่วมรณรงค์ให้ประชาชนในท้องที่ ผู้ประกอบการ นักท่องเที่ยว

Read More

อิปซอสส์ (Ipsos) เผยผลสำรวจผลกระทบในช่วงโควิด

คนไทย 1 ใน 3 ต้องการเงินช่วยเหลือจากรัฐฯ ถึงแม้สถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคโควิดจะยืดเยื้อมากว่า 10 เดือนแล้ว ประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ก็ยังคงมีความกังวลต่อการติดเชื้อไม่เสื่อมคลาย จากผลสำรวจพบว่าประเทศที่ประชาชนมีความกังวลต่อการติดเชื้อน้อยที่สุดคือสิงคโปร์ ตามมาด้วย ประเทศไทย ซึ่งในไทยนั่นมีประชาชนเพียง 30 % ที่ยังมีความกังวลต่อการติดเชื้อในระดับสูง ในขณะที่ 61 % ของประชากรมาเลเซีย และ 73% ของฟิลิปปินส์ หรือเกินครึ่งของประชากรทั้ง 2 ประเทศนั่นยังมีความกังวลและระแวดระวังต่อการติดเชื้อที่ยังอยู่ในระดับสูง การปรับตัวและมุมมองต่อสถานการณ์โควิด-19 ณ ปัจจุบันประชาชนส่วนใหญ่ในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้หรือราว 81% เชื่อว่าต้องรอจนถึงปี 2021 ก่อนที่วัคซีนจะสามารถผลิตและถูกแจกจ่ายถึงคนในวงกว้าง ระยะเวลาอันยาวนานนี้ทำให้ประชาชนส่วนใหญ่ต้องปรับตัว โดยมีประชากรถึง 37% ในภูมิภาคที่ได้ปรับตัวและมีความคุ้นชินต่อการใช้ชีวิตในรูปแบบใหม่ภายใต้สถานการณ์โควิด-19 แล้ว อย่างไรก็ตามประชากรกึ่งหนึ่งหรือราว 16% เริ่มเห็นสัญญาณว่ามาตรการล็อกดาวน์และรักษาความปลอดภัยต่างๆ จะค่อยๆ ถูกทยอยผ่อนคลายหรือยกเลิกในเร็ววัน หากดูภาพรวมของทั้งภูมิภาคแล้ว 1 ใน 2 ของประชาชนในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รู้สึกค่อนข้างปลอดภัยที่จะไปรับประทานอาหารที่ร้านอาหารนอกบ้าน ไปเยี่ยมบ้านเพื่อน หรือใช้บริการขนส่งสาธารณะ ซึ่งระดับความเชื่อมั่นนี้แตกต่างไปในแต่ละประเทศ ในขณะที่ประเทศเพื่อนบ้านหลายประเทศ เช่น

Read More

“Coaching DNA of Leaders” การสร้างภาวะผู้นำในยุค New Normal ด้วยการโค้ช

มร.ฌอง ฟรองซัวส์ คูแซง โค้ชชื่อดังระดับโลกชี้ การเรียนรู้วิธีการอยู่รอดด้วยตนเอง คือก้าวสำคัญและก้าวแรกๆ ที่จะทำให้เราสามารถดึงศักยภาพของมนุษย์ออกมาได้ แม้ในเงื่อนไขที่มีจำกัดเพียงใดก็ตาม ส่วนสี่ผู้บริหารจากบริษัทชั้นนำและสถานศึกษาชื่อดังของเมืองไทย เผยการ Coaching มีส่วนผลักดันศักยภาพของเยาวชนและพนักงานขององค์กรทุกระดับชั้นให้ก้าวสู่ S-Curve ได้ ที่ผ่านมาการโค้ช ยังช่วยให้หลายบริษัทฝ่ากระแสวิฤกตช่วงเศรษฐกิจตกต่ำที่สุดของการระบาด COVID-19 วิทวัส เกษมวุฒิ ประธาน สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ (ICF-Bangkok Chapter) และคณะกรรมการ สมาคมสหพันธ์การโค้ชนานาชาติ สาขากรุงเทพฯ จัดงาน “Coaching DNA of Leaders” หรือ การสร้างภาวะผู้นำในยุคปกติใหม่ด้วยการโค้ช ขึ้น เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 ตุลาคม 2563 ณ โรงแรม เอส 31 ถนนสุขุมวิท กรุงเทพฯ เพื่อเสนอวาระให้ผู้นำระดับประเทศ ผู้บริหารองค์กรภาครัฐ และเอกชน ผู้นำในหน่วยงาน ผู้ที่มีส่วนร่วมในการพัฒนาบุคลากร ตลอดจนอาจารย์ผู้ปกครอง

Read More

‘ญาญ่า’ ร่วมแคมเปญใหม่ระดับโกลบอลของยูนิโคล่ ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ ตั้งคำถามถึงอนาคตว่าเสื้อผ้าของวันพรุ่งนี้จะเป็นเช่นไร

ยูนิโคล่ แบรนด์เครื่องแต่งกายระดับโลกจากญี่ปุ่น ประกาศเปิดตัวแคมเปญระดับโกลบอล ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ เพื่อจุดประกายผู้คนให้ร่วมค้นหาคอนเซ็ปต์ของเสื้อผ้าแห่งอนาคตที่อยู่เหนือกาลเวลา โดยมีคนดังจากหลายวงการและเชื้อชาติทั่วโลกเข้าร่วมในแคมเปญนี้ เพื่อร่วมขับเคลื่อนโลกให้เข้าสู่อนาคตที่ดียิ่งขึ้น ซึ่งรวมถึงนักแสดงหญิงแถวหน้าของไทยอย่าง ญาญ่า - อุรัสยา เสปอร์บันด์ ที่มีไลฟ์สไตล์โดดเด่นและสามารถสะท้อนชีวิตวิถีใหม่ผ่านเสื้อผ้าของยูนิโคล่ได้เป็นอย่างดี ซึ่งเนื้อหาทั้งหมดจะทยอยนำเสนอผ่านมัลติมีเดียหลากหลายรูปแบบต่อไป ‘What Will You Wear for Tomorrow?’ เป็นแคมเปญระดับโกลบอลล่าสุดของยูนิโคล่ที่สร้างสรรค์ขึ้นมาเพื่อกระตุ้นผู้คนให้ได้ลองทบทวนตัวเองและการตัดสินใจในชีวิต ซึ่งล้วนมีพลังในการเปลี่ยนแปลงโลก เพราะชีวิตและไลฟ์สไตล์ของผู้คนเปลี่ยนแปลงอยู่เสมอ และต้องปรับเปลี่ยนเมื่อเจอความท้าทายต่างๆ ยูนิโคล่จึงมุ่งมั่นพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งเพื่อที่จะมั่นใจได้ว่าเสื้อผ้าของเราเป็นตัวเลือกที่ดีที่สุดสำหรับทุกคน ไม่ใช่แค่สำหรับวันนี้ แต่สำหรับทุกวันในอนาคตด้วยเช่นกัน โดยยูนิโคล่ยังยึดมั่นในปรัชญาไลฟ์แวร์ (LifeWear) ในการสร้างสรรค์เสื้อผ้าที่เรียบง่าย มีคุณภาพสูงและประณีต ที่ช่วยให้ชีวิตของผู้คนดีขึ้นตั้งแต่ตอนที่ตัดสินใจหยิบขึ้นมาสวมใส่ ญาญ่า - อุรัสยา เสปอร์บันด์ พรีเซนเตอร์ของ ยูนิโคล่ ประเทศไทย กล่าวว่า “ในเช้าแต่ละวัน เรามักจะถามตัวเองว่าวันนี้จะใส่ชุดอะไรดีนะ แต่จะเป็นอย่างไร ถ้าเราลองมองไปข้างหน้าและถามตัวเองว่า เสื้อผ้าที่เราจะสวมใส่ในวันพรุ่งนี้ที่จะช่วยทำให้อนาคตดียิ่งขึ้นควรเป็นเช่นไร คำถามนี้จะช่วยทำให้เราคิดไตร่ตรองได้ถี่ถ้วนขึ้นก่อนจะตัดสินใจทำอะไร ซึ่งไม่ได้จำกัดเฉพาะแค่การเลือกซื้อเสื้อผ้า

Read More

SEED แนะการปรับตัว 6 ประการ สำหรับ SMEs เพื่ออยู่รอดในวิกฤตโควิด-19

SEED แนะปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัว 6 ประการเพื่อให้อยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 ให้แก่วิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ในกลุ่มธุรกิจภาคสังคมและธุรกิจสีเขียวของไทย SEED ซึ่งเป็นโครงการความร่วมมือระดับโลกเพื่อดำเนินการเกี่ยวกับการส่งเสริมการพัฒนาที่ยั่งยืนของผู้ประกอบการได้สรุปปัจจัยด้านความสามารถในการปรับตัวที่สำคัญหกประการเพื่อให้กลุ่มวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ของประเทศไทยอยู่รอดในช่วงการระบาดของโควิด-19 โดยมีความยืดหยุ่นและความยั่งยืนเป็นองค์ประกอบหลัก รายงานล่าสุดระบุว่าธุรกิจของวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมรวมถึงกลุ่ม Micro (MSME) ทั่วโลกราว 42% อาจประสบภาวะขาดทุนภายในหกเดือนข้างหน้า เนื่องจากผลกระทบทางเศรษฐกิจและสังคมที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และเนื่องจากสถาณการณ์เศรษฐกิจภายในประเทศที่ส่งผลกระทบต่อการดำรงชีวิตและสภาพทางสังคมของไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยง แผน 6 ข้อของ SEED จึงมีเป้าหมายเพื่อชี้นำผู้ประกอบการธุรกิจเพื่อสังคมและสิ่งแวดล้อมเกี่ยวกับวิธีการสร้างความสามารถในการปรับตัวต่อความท้าทายในอนาคตและรับมือกับสิ่งที่ไม่เคยประสบมาก่อน แผนดังกล่าว ได้แก่ ความสามารถในการปรับตัวในเชิงธุรกิจ (Business Resilience) ความสามารถในการปรับตัวด้านการเงิน (Financial Resilience) ความสามารถในการปรับตัวขององค์กร (Organisational Resilience) ความสามารถในการปรับตัวต่อระบบนิเวศ (Ecosystem Resilience) ความสามารถในการปรับตัวตามภาวะตลาด (Market Resilience) และความสามารถในการปรับตัวเพื่อสร้างผลกระทบ (Impact Resilience) ผู้เริ่มต้น (Starters) ผู้พัฒนา (Movers) และผู้เป็นเลิศ (Champions)

Read More

‘สไปรท์’ เปิดตัว ลุคใหม่! ‘ขวดใส’ รีไซเคิลง่าย อร่อยซ่าเหมือนเดิม

กลุ่มธุรกิจโคคา-โคล่า ในประเทศไทย อันประกอบไปด้วย บริษัท ไทยน้ำทิพย์ จำกัด บริษัท หาดทิพย์ จำกัด (มหาชน) และบริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด เปิดตัว ‘สไปรท์’ ลุคใหม่! เปลี่ยนบรรจุภัณฑ์จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นพลาสติกใสเพื่อให้สามารถนำขวด ‘สไปรท์’ ไปรีไซเคิลหลังการบริโภคได้ง่ายขึ้น พร้อมประกาศความเป็นผู้นำตลาดน้ำใสซ่าซึ่งครองใจผู้บริโภคด้วยรสชาติความอร่อยซ่าสดชื่นอันเป็นเอกลักษณ์เฉพาะ ทั้งสูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาล โดยในการปรับลุคครั้งนี้ ทางกลุ่มฯ ได้เตรียมจัดเต็มกิจกรรมทางการตลาดเพื่อตอกย้ำเรื่องรสชาติที่มอบความสดชื่นอร่อยซ่าไม่เปลี่ยนแปลงด้วย นางสาวมัณฑนา หล่อไกรเลิศ ผู้อำนวยการการตลาด บริษัท โคคา-โคล่า (ประเทศไทย) จำกัด กล่าวว่า “’สไปรท์’ เป็นแบรนด์เครื่องดื่มระดับโลกของเดอะโคคา-โคล่า คัมปะนี อีกแบรนด์หนึ่ง ที่สามารถครองใจผู้บริโภคชาวไทยมาได้อย่างต่อเนื่อง ด้วยตำแหน่งผู้นำตลาดน้ำอัดลมกลิ่นเลมอนไลม์ตัวจริง ที่มีส่วนแบ่งการตลาดสูงมากถึง 78.4%[1] ในกลุ่มผลิตภัณฑ์น้ำใสซ่า ซึ่งการเปลี่ยนบรรจุภัณฑ์ใหม่จากขวดพลาสติกสีเขียวเป็นขวดใสในครั้งนี้เป็นการดำเนินการตามวิสัยทัศน์ World Without Waste ที่มุ่งใช้บรรจุภัณฑ์อย่างมีความรับผิดชอบและส่งเสริมการนำบรรจุภัณฑ์กลับมาใช้ใหม่หรือรีไซเคิลให้ได้มากที่สุด แต่ถึงแม้จะมีการปรับเปลี่ยนสีของบรรจุภัณฑ์ไป ผู้บริโภคยังคงมั่นใจได้เสมอว่า ‘สไปรท์’ ทั้งสูตรออริจินอลและสูตรไม่มีน้ำตาลที่ผู้บริโภคชื่นชอบนั้น จะยังคงรสชาติส่งมอบความสดชื่นของเลมอนไลม์ผ่านความอร่อยซ่าอันเป็นเอกลักษณ์ไว้เหมือนเดิมไม่เปลี่ยนแปลง” เป้าหมายหลักของโคคา-โคล่า ภายใต้วิสัยทัศน์ระดับโลก

Read More

นิเทศจุฬาฯ จัด Thailand’s Reputation Awards ประเดิมมอบรางวัลด้านชื่อเสียงแก่ 14 องค์กรธุรกิจ

คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาฯ จัด “Thailand’s Reputation Awards รางวัลองค์กรธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย” ถือเป็นการจัดโครงการมอบรางวัลครั้งแรกของคณะฯ เดินหน้าขับเคลื่อนพัฒนาการทางสังคม หนุนสร้างต้นแบบธุรกิจและการแข่งขันที่ยั่งยืน ต่อยอดสู่องค์ความรู้ทางวิชาการ คณะนิเทศศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จัดพิธีมอบรางวัลและโล่เกียรติยศ “รางวัลองค์กรธุรกิจที่มีชื่อเสียงของประเทศไทย ประจำปี 2562” (Thailand’s Reputation Awards 2019) ซึ่งถือเป็นการจัดโครงการมอบรางวัลด้านชื่อเสียงเป็นครั้งแรกของคณะนิเทศศาสตร์ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมให้องค์กรธุรกิจไทย ให้ความสำคัญและมีการจัดการที่ดี ไปสู่การเป็นองค์กรที่มีคุณภาพและมีคุณค่า รวมถึงเพื่อพัฒนาองค์ความรู้ด้านนิเทศศาสตร์ พัฒนาตัวชี้วัดที่มีความทันสมัยและสอดคล้องกับบริบททางสังคมไทยในด้านการประเมินชื่อเสียงองค์กร ความโดดเด่นของรางวัลนี้ คือ กระบวนการสรรหาและประเมินความมีชื่อเสียงขององค์กรธุรกิจผ่านกระบวนการและระเบียบวิธีวิจัยที่รัดกุม เพื่อให้สามารถมั่นใจได้ว่า การวัดผลชื่อเสียงขององค์กรทั้งชื่อเสียงโดยภาพรวมและชื่อเสียงในแต่ละด้าน มีความเที่ยงตรงและความเชื่อมั่นอย่างสูงสุดตามหลักวิชาการ ซึ่งรางวัลนี้เกิดขึ้นโดยเริ่มต้นจากความร่วมมือของผู้ทรงคุณวุฒิ นักวิชาชีพ นักวิชาการ ร่วมกันกำหนดตัวชี้วัดสำหรับการประเมินความมีชื่อเสียงขององค์กร โดยทำการศึกษาวิจัยจากแนวคิดพื้นฐานเกี่ยวกับนิยาม ความหมายของชื่อเสียงองค์กร การพัฒนาชื่อเสียงองค์กรหรือการสร้างชื่อเสียงองค์กร การจัดการเกี่ยวกับชื่อเสียงองค์กร กลุ่มผู้มีส่วนได้ส่วนเสียขององค์กร รวมถึงแนวคิดเกี่ยวกับเอกลักษณ์องค์กร ภาพลักษณ์องค์กร ที่มีความเกี่ยวข้องกับชื่อเสียงองค์กร ประกอบกับการใช้แนวคิดทางการประเมินวิธีการวัดผลความมีชื่อเสียงขององค์กร เพื่อพัฒนาเครื่องมือวัดความมีชื่อเสียงใน 7 ด้าน ได้แก่ ด้านสินค้าและบริการ ด้านนวัตกรรม

Read More

“มองให้ขาด มีมายด์เซ็ตที่ดี บนพื้นความรู้ที่แน่น” กูรูแนะเคล็ดลับความสำเร็จบนสนามอีคอมเมิร์ซ

“มองให้ขาด มีมายด์เซ็ตที่ดี บนพื้นความรู้ที่แน่น” กูรูแนะเคล็ดลับความสำเร็จสำหรับผู้ประกอบการบนสนามอีคอมเมิร์ซ ภายในงาน Lazada University: Smart Campus Day ในยุคที่ธุรกิจอีคอมเมิร์ซกำลังแบ่งบาน แม้ผู้ประกอบการจะมีโอกาสในการเติบโตอีกมาก แต่ก็มีความท้าทายรออยู่เช่นกัน ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันที่สูงขึ้น พฤติกรรมผู้บริโภคที่เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา เทคโนโลยีและโซเชียลมีเดียที่เข้ามาเป็นตัวเร่งให้โลกของอีคอมเมิร์ซหมุนไปไวยิ่งขึ้น รวมไปถึงปัจจัยที่อยู่เหนือการควบคุมอย่างโรคระบาด แล้วเราจะเอาชนะความท้าทายเหล่านั้นได้อย่างไร ภายในงาน Lazada University: Smart Campus Day เพื่อเปิดตัว Lazada University แพลตฟอร์มการเรียนรู้ออนไลน์ของลาซาด้าที่ปรับโฉมใหม่เพื่อช่วยเสริมศักยภาพผู้ประกอบการและเอสเอ็มอีไทย ดร. ธีรศานต์ สหัสสพาศน์ ผู้ก่อตั้ง SOdAPrintinG.com ธุรกิจรับพิมพ์ภาพลงบนแคนวาสเพื่อเป็นของขวัญชิ้นเดียวในโลก หนึ่งในวิทยากรที่มาร่วมแชร์ประสบการณ์ ให้คำตอบว่าการจะชนะความท้าทายได้นั้น ผู้ประกอบการต้องมองให้ออกว่าตัวเองถนัดอะไร และลูกค้าคือใครกันแน่ ดร.ธีรศานต์กล่าวว่า “คุณต้องรู้มากกว่าแค่ลูกค้าคุณคือผู้หญิง อายุ 18-35 ปี แต่ต้องรู้เจาะลงไปว่าพวกเขาอยู่ที่ไหน ใช้แบรนด์อะไร สไตล์เป็นอย่างไร เพื่อที่จะเจาะกลุ่มผู้บริโภคให้ได้มากที่สุด และต้องรู้จักจุดแข็งตัวเองและเลือกสิ่งที่เหมาะที่สุด อย่างทุกวันนี้มีโซเชียลมีเดียและเครื่องมือที่เป็นตัวช่วยในการทำธุรกิจมากมาย เราต้องเลือกใช้ตามวัตถุประสงค์ของเรา และต้องเชื่อมโยงสิ่งต่างๆ เข้าด้วยกันให้ได้” ตัวอย่างความสำเร็จของ SOdAPrintinG

Read More