“วัคซีน” ด้อยประสิทธิภาพ จุดแตกหักสังคมไทย
ความเป็นไปและสับสนว่าด้วยประสิทธิภาพของวัคซีนต้านทานและยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่สังคมไทยกำลังเผชิญอยู่จากผลของการจัดการจัดหาและจัดสรรวัคซีน CoronaVac ที่พัฒนาขึ้นโดยบริษัท Sinovac Biotech หรือที่ได้รับการเรียกขานในนาม SINOVAC มาอย่างต่อเนื่องในสังคมไทย ด้วยเหตุที่รัฐไทยนำมาเป็นวัคซีนหลักในการระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของโรค COVID-19 ดูจะเป็นประเด็นแหลมคมที่กำลังส่งผลต่อความเชื่อมั่นศรัทธาต่อระบบการสาธารณสุขไทยอย่างหนักหน่วงและอย่างที่ไม่เคยเป็นมาก่อน ท่ามกลางความพยายามที่จะระบุว่าการสาธารณสุขไทยก้าวไกลและได้รับการยอมรับจากนานาประเทศในช่วงก่อนหน้านี้ กระแสข่าวว่าด้วยจำนวนผู้คนที่ล้มเจ็บด้วยเหตุแห่งการติดเชื้อ COVID-19 ที่เพิ่มมากขึ้นเป็นสถิติใหม่ในแต่ละวัน ควบคู่กับจำนวนผู้เสียชีวิตจากเหตุที่โรงพยาบาลไม่มีเตียงรองรับผู้ป่วย โดยเฉพาะผู้ป่วยหนักที่ต้องการการดูแลเป็นพิเศษ สะท้อนภาพความล้มเหลวของการสาธารณสุขไทยที่พยายามเน้นย้ำความสำคัญของบุคลากรทางการแพทย์แต่ขาดความรู้ความเข้าใจและประสิทธิภาพในการบริหารจัดการนโยบายด้านการสาธารณสุขในฐานะที่ public health ต้องเป็นส่วนหนึ่งในนโยบายสาธารณะหรือ public policy อย่างจริงจัง ความล้มเหลวในการระงับยับยั้งการแพร่ระบาดของ COVID-19 ที่กลายพันธุ์ไปอย่างหลากหลายทำให้วัคซีนเชื้อตายที่พัฒนาขึ้นจากสายพันธุ์ดั้งเดิมเมื่อครั้งที่มีการระบาดใหญ่ระลอกแรกที่มณทลอู่ฮั่นประเทศจีน เมื่อกว่า 2 ขวบปีที่ผ่านมา ถูกตั้งคำถามถึงประสิทธิภาพในการรับมือกับการระบาดระลอกใหม่ๆ ที่กำลังกลายพันธุ์และพัฒนาความรุนแรงไปสู่สายพันธุ์ Alpha-Delta และสายพันธุ์อื่นๆ ที่กำลังติดตามมาอย่างไม่อาจเลี่ยง วัคซีนป้องกันโรค COVID-19 สองยี่ห้อหลักของจีนที่พัฒนามาจากเชื้อตายทั้ง Sinovac และ SinoPharm กำลังถูกทำให้ตกเป็นข่าวในทางลบตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อมีการพบผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้น รวมกระทั่งแม้แต่พบผู้เสียชีวิตในหมู่ประชากรที่ได้รับวัคซีนของ Sinovac และ SinoPharm ครบตามจำนวนแล้วก็ตาม ประเด็นดังกล่าวทำให้เกิดคำถามเกี่ยวกับประสิทธิภาพของวัคซีนทั้งสองยี่ห้อนี้ แม้ว่า ผู้เชี่ยวชาญระบุว่า
Read More