วัฒนธรรมการ “อ่าน” ของไทย บนหนทางตีบตันและล่มสลาย?
กระแสความนิยมของละคร “บุพเพสันนิวาส" ที่พัฒนาจากนวนิยายที่มียอดพิมพ์ซ้ำหลายครั้งในช่วงหลายปีที่ผ่านมานับตั้งแต่การพิมพ์ครั้งแรกในปี 2552 ขณะที่ความสนใจจากแฟนละครและนักอ่านกำลังช่วยผลักให้นวนิยายเล่มนี้มียอดพิมพ์ครั้งใหม่ๆ เพิ่มขึ้น นอกจากจะได้รับการกล่าวถึงในฐานะปรากฏการณ์บุพเพสันนิวาสของสังคมไทยแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังสะท้อนมิติความคิดของการอ่านในสังคมไทยได้อย่างมีนัยสำคัญ ฉากหลังของนวนิยายที่นำช่วงเวลาประวัติศาสตร์มานำเสนอและดำเนินเรื่องราวส่งผลให้ผู้ชมและผู้อ่านจำนวนไม่น้อยเพลิดเพลินไปกับบรรยากาศย้อนอดีต และมีอีกจำนวนไม่น้อยสนใจใฝ่รู้ค้นหาข้อมูลเพิ่มเติม ไม่ว่าจะเป็นไปด้วยความรู้สึกสำนึกที่ต้องการจะเข้าถึงอรรถรสของบทประพันธ์ให้มากขึ้น หรือจะโดยแรงกระตุ้นที่ประสงค์จะเรียนรู้ให้ถึงรากแห่งประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมที่เป็นประหนึ่งเบ้าหลอมสำนึกทางสังคมในปัจจุบัน กระนั้นก็ดี ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ คงไม่สามารถอธิบายสำนึกทางประวัติศาสตร์ของสังคมไทยที่ดำเนินไปอย่างฉาบฉวย แม้ว่าบทประพันธ์นี้จะดำเนินไปท่ามกลางฉากหลังของอดีตกาลที่ล่วงเลยมากว่า 300 ปีก็ตาม เพราะสำหรับสังคมไทยคำว่าประวัติศาสตร์ดูจะเป็นเรื่องราวสำหรับการท่องจำและเก็บรายละเอียดปลีกย่อย ที่ห่างไกลไปจากการศึกษาทำความเข้าใจเรียนรู้ที่พร้อมจะวิพากษ์และเก็บรับเป็นบทเรียน มิพักต้องกล่าวถึงเหตุการณ์ในประวัติศาสตร์ร่วมสมัยที่ดูเหมือนจะถูกทิ้งให้เลือนหายไปจากความทรงจำอย่างช้าๆ ความเป็นไปที่ดำเนินประหนึ่งโลกคู่ขนานกับปรากฏการณ์ละครบุพเพสันนิวาส ซึ่งออกอากาศตอนแรกเมื่อวันที่ 21 กุมภาพันธ์ ก็คือ ในวันที่ 23 กุมภาพันธ์ มีกิจกรรมเสวนาว่าด้วย “ทางรอดหรือทางตายแห่งอนาคตของประเทศและรัฐบาลที่ไม่มี ‘ระบบหนังสือของชาติ’” ซึ่งจัดโดย วิชาบรรณาธิการศึกษา คณะอักษรศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ท่ามกลางบรรยากาศแห่งวิกฤตเรื่องความรู้ประชาชาติ การจัดการระบบหนังสือ และระบบความรู้ของประเทศไทย รวมถึงการสูญหายปิดตัวลงของสื่อสิ่งพิมพ์ที่เพิ่มจำนวนขึ้นอย่างมีนัยสำคัญในช่วงที่ผ่านมา ข้อเสนอว่าด้วยแนวความคิดและการสร้างความเข้าใจกับภาครัฐ ในการพัฒนาสังคมเพื่อการอ่านที่ยั่งยืน ท่ามกลางกระแสธารแห่งความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นจากพัฒนาการของเทคโนโลยีและระบบดิจิทัล แต่ดูเหมือนว่าหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจากภาครัฐจะตอบกลับมาด้วยความว่างเปล่า กรณีที่ว่านี้ ดูจะสอดรับกับท่วงทำนองและความเป็นไปของงานสัปดาห์หนังสือแห่งชาติครั้งที่ 46 และงานสัปดาห์หนังสือนานาชาติ ครั้งที่ 16 ซึ่งจะจัดขึ้นในช่วงปลายเดือนมีนาคมไปจนถึงสัปดาห์แรกของเดือนเมษายน (29 มีนาคม-8 เมษายน) ที่มีแนวความคิดของงานประจำปีนี้ว่า
Read More