Home > MeToo

ชีวิตหลังตกเป็นเหยื่อความรุนแรงทางเพศ

Column: women in wonderland ทุกปีจะมีการประกาศรางวัลโนเบล หรือ Nobel Prize ให้กับผู้ที่มีผลงานโดดเด่น มีความเชี่ยวชาญ หรือสร้างคุณประโยชน์ให้กับมนุษยชาติในด้านต่างๆ โดยรางวัลโนเบลจะแบ่งออกเป็น 6 สาขาด้วยกัน คือ สาขาฟิสิกส์ เคมี การแพทย์ วรรณกรรม สันติภาพ และเศรษฐศาสตร์ ซึ่งผู้ที่จะได้รับรางวัลในแต่ละสาขาอาจเป็นบุคคลที่มีผลงานเดี่ยว ผลงานคู่ หรือทำงานเป็นทีมก็ได้ โดยทีมหนึ่งมีได้สูงสุดแค่ 3 คนเท่านั้น และผู้ที่ได้รับรางวัลก็ไม่จำเป็นต้องเป็นบุคคลเสมอไป อาจจะเป็นองค์กรก็ได้เช่นเดียวกัน ยกตัวอย่างเช่น คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ (International Committee of the Red Cross หรือเรียกสั้นๆ ว่า ICRC) ก็เคยได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพมาแล้วถึง 3 ครั้ง ในขณะเดียวกัน ถ้าในปีนั้นคณะกรรมการไม่สามารถหาบุคคลเหมาะสมที่ควรจะได้รับรางวัลในสาขานั้นๆ ก็จะไม่มีการมอบรางวัล ปี 2018 รางวัลโนเบลสาขาสันติภาพประกาศชื่อผู้ที่ได้รับรางวัลไปเมื่อวันที่ 5 ตุลาคมที่ผ่านมา และผู้ที่ได้รับรางวัลทุกคนจะขึ้นรับรางวัลพร้อมกันในวันที่

Read More

กฎหมายที่ไม่จริงจัง กับความรุนแรงในครอบครัวของบราซิล

Column: Women in Wonderland เมื่อปีที่แล้วเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงานได้รับความสนใจจากผู้คนในสังคม จากกรณีของ #MeToo ทำให้ผู้หญิงทั่วโลกจำนวนมากยอมออกจากเงามืดมาเล่าประสบการณ์ที่ถูกลวนลามในที่ทำงาน ทำให้ผู้คนจากทุกหน่วยงานหันมาให้ความสำคัญ และเรื่องนี้ไม่ใช่เรื่องเล็กๆ แต่เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทั่วทุกมุมโลกต้องเผชิญ ความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นเดียวกัน หลายหน่วยงานคาดหวังว่าเรื่องนี้จะได้รับความสนใจจากคนทั่วโลกเหมือนกับเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน และอยากให้ผู้หญิงที่ถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากคนรักหรือคนในครอบครัวกล้าที่จะออกมาแจ้งความเพื่อป้องปรามไม่ให้ระดับความรุนแรงในบ้านเพิ่มขึ้นจนถึงขั้นฆ่ากันตาย ในช่วงสองทศวรรษที่ผ่านมา จะเห็นได้ว่าหลายประเทศมีการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวเพื่อป้องกันและปกป้องไม่ให้ผู้หญิงต้องถูกทำร้ายร่างกายและจิตใจจากสามี คนรัก หรือผู้ชายคนอื่นๆ ในครอบครัว แต่สถานการณ์ความรุนแรงในครอบครัวกลับไม่ลดลง องค์การอนามัยโลกได้เปิดเผยสถิติเมื่อปลายปี 2017 ว่ามีผู้หญิง 35% จากทั่วโลกตกเป็นเหยื่อความรุนแรงในครอบครัว ไม่ว่าจะเป็นการทำร้ายร่างกาย จิตใจ หรือบังคับให้มีเพศสัมพันธ์จากสามีหรือคนรัก และมีผู้หญิงถึง 38% ที่ถูกฆ่าตายโดยสามีหรือคนรัก บราซิลเป็นประเทศกำลังพัฒนาที่ตั้งอยู่ในทวีปอเมริกาใต้ แม้ว่าบราซิลจะเป็นประเทศที่มีเศรษฐกิจขนาดใหญ่ของทวีปอเมริกาใต้ แต่บราซิลก็ยังไม่ถูกจัดให้เป็นประเทศที่พัฒนาแล้ว เนื่องจากมีรายได้ต่อหัวที่ค่อนข้างต่ำ มาตรฐานในการดำรงชีวิตต่ำกว่ามาตรฐาน ขาดแคลนน้ำสะอาด ประชาชนที่อาศัยอยู่ในชนบทเวลาเจ็บป่วยไม่มีโรงพยาบาลรักษา เป็นต้น และยังมีอัตราการเกิดและการตายของเด็กทารกที่ค่อนข้างสูง เรื่องความรุนแรงในครอบครัวก็เช่นกัน บราซิลมีการบังคับใช้กฎหมายความรุนแรงในครอบครัวในปี 2006 แต่ยังมีผู้หญิงบราซิลจำนวนมากที่ถูกทำร้ายร่างกาย จิตใจ จากสามีหรือคนรัก และส่วนใหญ่ก็ไม่กล้าแจ้งความเมื่อตกเป็นเหยื่อ ระหว่างปี 2009–2014 สถิติของประเทศบราซิลแสดงให้เห็นว่า ในช่วงปี 2013–2014 จำนวนผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อความรุนแรงมีเพิ่มมากขึ้น มากกว่าปี 2009–2010 ถึง

Read More

วันสตรีสากล 2018

Column: Women in wonderland  วันที่ 8 มีนาคมของทุกปี เป็นวันสตรีสากล (International Women’s Day) ซึ่งในแต่ละปีแต่ละประเทศก็จะมีการเดินขบวนขององค์กรและกลุ่มต่างๆ เพื่อเรียกร้องสิทธิต่างๆ ให้กับผู้หญิงและลดความไม่เท่าเทียมกันในสังคมลง ปี 2018 องค์การสหประชาชาติได้ประกาศที่จะใช้กรอบแนวคิดที่ “Time is now: Rural and urban activists transforming women’s lives” โดยมุ่งเน้นไปที่สิทธิของผู้หญิง ความเท่าเทียมกันในสังคม และความยุติธรรม โดยเฉพาะเรื่องการลวนลามทางเพศ การใช้ความรุนแรงต่อผู้หญิง และความไม่เท่าเทียมกันในที่ทำงาน ตั้งแต่เดือนตุลาคม ปี 2017 เป็นต้นมา จะเห็นปรากฏการณ์การเคลื่อนไหวทางสังคมจากเกือบทุกประเทศทั่วโลกจากเหตุการณ์ของ Harvey Weinstein ซึ่งเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ในวงการฮอลลีวูด และเป็นเจ้าของบริษัท Weinstein ถูกเปิดเผยจากนักแสดงหญิงในวงการฮอลลีวูดจำนวนมากเรื่องการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน นักแสดงเหล่านี้ต้องยอมมีเพศสัมพันธ์กับเขาเพื่อให้ได้งานและมีอนาคตที่ดีในวงการ หลังจากเรื่องนี้ถูกเปิดเผยออกไป ผู้หญิงจากทั่วทุกมุมโลกได้ออกมาเปิดเผยและเล่าประสบการณ์ของตนเองในโลกโซเชียล ที่พวกเธอถูกลวนลามทางเพศในที่ต่างๆ และถูกข่มขืนทั้งจากคนใกล้ชิดและคนที่ไม่รู้จัก ซึ่งหลังจากที่เล่าประสบการณ์ของตัวเองแล้วก็จะใส่แฮชแท็ก (Hashtag) คำว่า MeToo เอาไว้ด้วย นอกจากนี้คำว่า

Read More

การป้องกันการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน

Column: Women in Wonderland ทุกวันนี้ปัญหาการลวนลามทางเพศในที่ทำงาน เป็นปัญหาหนึ่งที่ทุกองค์กรให้ความสำคัญและใส่ใจมากขึ้น โดยเฉพาะเมื่อเร็วๆ นี้กรณีของ Harvey Weinstein ซึ่งเป็นผู้ผลิตภาพยนตร์ในวงการฮอลลีวูด และเป็นเจ้าของบริษัท Weinstein ถูกหนังสือพิมพ์ New York Times เปิดโปงเรื่องที่ดาราและลูกจ้างหลายคนถูกลวนลามทางเพศเพื่อที่จะได้มีงานและมีอนาคตที่ดีในวงการฮอลลีวูด เรื่องนี้ทำให้เกิดปรากฏการณ์แฮชแท็ก (Hashtag) คำว่า MeToo ที่ผู้คนในประเทศต่างๆ จากทั่วทุกมุมโลกเล่าประสบการณ์ของตัวเองที่ตกเป็นเหยื่อการลวนลามทางเพศ กลางเดือนธันวาคม ปี 2017 BBC News เปิดเผยผลการสำรวจของคนในสหราชอาณาจักร ว่าเคยมีประสบการณ์ถูกลวนลามทางเพศในที่ทำงานหรือไม่ โดย BBC News ทำการสำรวจประชาชนมากกว่า 6,000 คนจากทั่วประเทศ ซึ่งผลการสำรวจพบว่า 40% ของผู้หญิงในสหราชอาณาจักรเคยถูกลวนลามทางเพศในที่ทำงาน และมีผู้ชายถึง 18% ที่ตกเป็นเหยื่อ ผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อส่วนใหญ่จะอยู่ในช่วงอายุระหว่าง 18 – 34 ปี และ 43% ถูกลวนลามในที่ทำงาน นอกจากนี้ผู้หญิงและผู้ชายที่รับจ้างทำงานอิสระเป็นฟรีแลนซ์ หรือเป็นเจ้าของกิจการ

Read More

สถานการณ์ที่เลวร้ายลงของการลวนลามทางเพศและการข่มขืนในที่ทำงาน

การถูกลวนลามทางเพศ (Sexual Harassment) เป็นเรื่องที่ผู้หญิงทุกคนมีโอกาสที่จะได้พบเจอในการใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในที่สาธารณะ ยกตัวอย่างเช่น การที่ผู้หญิงจะต้องเดินผ่านกลุ่มผู้ชายที่นั่งคุยกันอยู่ตรงมุมใดมุมหนึ่งของถนน แน่นอนว่าเมื่อเธอเดินผ่านก็อาจจะโดนแซ็ว หรือพวกเขาอาจจะยืนขวางไม่ให้เธอเดินต่อ หรือร้ายแรงที่สุดเธออาจจะโดนข่มขืนก็ได้ อย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นที่เมืองนิวเดลี ประเทศอินเดีย เมื่อปี 2012 ที่นักเรียนหญิงถูกข่มขืนบนรถเมล์จากกลุ่มเด็กหนุ่มที่นั่งอยู่บนรถเมล์คันเดียวกัน ดังนั้นการลวนลามทางเพศสามารถเกิดขึ้นได้ทุกวัน ทุกเวลา และไม่สามารถคาดคะเนได้เลยว่าในแต่ละสถานการณ์ ความรุนแรงระดับไหนที่อาจจะเกิดขึ้นได้ สถานการณ์ความรุนแรงเรื่องการลวนลามทางเพศนั้นดูจะเลวร้ายมากขึ้น จะเห็นได้ว่าเราได้รับรู้ข่าวสารต่างๆ เกี่ยวกับผู้หญิงที่ถูกลวนลามในที่สาธารณะมากขึ้น และผู้หญิงที่ต้องตกเป็นเหยื่อเหล่านี้ก็มีอยู่ในทุกประเทศ ไม่เว้นแม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วอย่างอังกฤษ ออสเตรเลีย สหรัฐอเมริกา และนิวซีแลนด์ เป็นต้น จากการเปิดเผยเรื่องราวการถูกลวนลามทางเพศในโลกออนไลน์พบว่า ไม่ว่าจะเป็นถนนในเมืองลอนดอน ประเทศอังกฤษ ถนนในเมืองมุมไบ ประเทศอินเดีย หรือถนนในกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ประเทศสหรัฐอเมริกา ก็ล้วนแต่มีผู้หญิงที่ตกเป็นเหยื่อถูกลวนลามทางเพศมาแล้วทั้งนั้น เมื่อเดือนพฤศจิกายน ปี 2017 องค์การอนามัยโลกได้สรุปไว้ว่า มีผู้หญิงประมาณ 35% จากทั่วโลกในแต่ละปีที่ถูกลวนลามทางเพศหรือถูกข่มขืนอย่างน้อย 1 ครั้งในช่วงชีวิตของพวกเธอ จากการสำรวจขององค์การสหประชาชาติในปี 2016 ที่เมืองวอชิงตัน ดี.ซี. พบว่ามีผู้หญิงถึง 1

Read More