Home > health (Page 2)

ความโดดเดี่ยว-อันตรายยิ่งกว่าสูบบุหรี่วันละ 15 มวน!

Column: Well – Being ความโดดเดี่ยว เป็นอารมณ์ที่กวี นักเขียนนวนิยาย และนักประพันธ์เพลงล้วนประสบกันมาหลายศตวรรษแล้ว และพยายามถ่ายทอดออกมาในภาษาต่างๆ แต่นักวิจัยบางคนยืนยันว่าความโดดเดี่ยวเป็นอะไรที่มากกว่าความรู้สึก คือเป็นทั้งความหายนะ ความเจ็บป่วย หรือสภาวะที่ต้องได้รับการเยียวยาเหมือนโรคชนิดหนึ่ง และเป็นเหมือนโรคติดต่อที่รุนแรงขั้นถึงแก่ชีวิตได้ ในมุมมองด้านความจริง ผู้ที่ขาดการเชื่อมโยงกับสังคมจัดว่าอยู่ในภาวะอันตรายยิ่งกว่าการสูบบุหรี่ถึงวันละ 15 มวน และเป็นอันตรายต่อชีวิตมากกว่าโรคอ้วน ความรู้สึกอ้างว้างโดดเดี่ยวสามารถตีความเป็นความเจ็บป่วยทางกายได้ โดยเหตุที่มนุษย์เป็นสัตว์สังคม ซึ่งไม่ได้หมายความเพียงว่า เรามีความสุขกับการอยู่ในสังคมเท่านั้น แต่หมายถึงเราจำเป็นต้องอยู่ในสังคมด้วย การแยกตัวจากสังคมทำร้ายมนุษย์ทั้งทางอารมณ์และจิตวิทยา ความเครียดที่เกิดจากความโดดเดี่ยว ทำให้เกิดการสูญเสียทางกายภาพ การเผชิญกับความโดดเดี่ยวเรื้อรัง (นานเกิน 2 สัปดาห์) จะเชื่อมโยงกับโรคความดันโลหิตสูง โรคซึมเศร้า โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมองสาเหตุเพราะเกิดภาวะอักเสบสูงขึ้น หากอาการนี้มีมากเกินไป ย่อมมาพร้อมๆ กับโรคเรื้อรัง “ผู้คนพากันคิดว่า ความโดดเดี่ยวสัมพันธ์กับสุขภาวะทางอารมณ์ พวกเขาไม่ได้ตระหนักถึงผลกระทบอย่างลึกซึ้งที่ความโดดเดี่ยวมีผลต่อสุขภาพทางกาย” ศาสตราจารย์จูเลียนน์ ฮอลท์-ลุนสตัด แห่งสถาบันจิตวิทยาบริกแฮมกล่าว ทั้งยังเปิดเผยผลการวิจัยของเธอด้วยว่า คนเหงามีแนวโน้มเสียชีวิตก่อนวัยอันควรเพิ่มขึ้นร้อยละ 26 แต่ถ้าเป็นผู้ไม่มีสังคมหรือมีน้อยมาก ความเสี่ยงจะเพิ่มเป็นร้อยละ 29 และเพิ่มเป็นร้อยละ 32 ในหมู่คนที่อาศัยตามลำพัง “เราจำเป็นต้องให้ความสำคัญกับความสัมพันธ์ทางสังคมให้มากเหมือนกับที่เราใส่ใจในอาหาร

Read More

ลดน้ำหนักไม่ได้ผล เพราะความเข้าใจที่ผิดๆ

ความคิดที่ว่า “กินไปก่อน ค่อยไปออกก็ได้” “เล่นหนักๆ เข้าไว้ น้ำหนักจะได้ลงเร็ว” หรือ “เหงื่อออกเยอะ ไขมันยิ่งลด” เป็นความเข้าใจผิดอย่างยิ่งยวด ที่ทำให้การออกกำลังไม่ประสบความสำเร็จ น่าแปลกที่ความคิดเหล่านี้ยังคงมีอยู่ ทั้งที่โลกปัจจุบันความรู้เกี่ยวกับการออกกำลังกายที่ได้ผลสามารถหาอ่านได้เพียงแค่ปลายนิ้ว แต่หลายคนกลับปักใจเชื่อความคิดเดิมๆ ทว่า ความเข้าใจเหล่านี้หากเกิดขึ้นกับใครก็ตาม คงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจแต่อย่างใด หากบุคคลคนนั้นออกกำลังกายแทบตาย แต่น้ำหนักไม่ลดลงเสียที มิหนำซ้ำอาจทำให้น้ำหนักเพิ่มขึ้นโดยไม่รู้ตัว โภชนาการสำคัญกว่าการออกกำลังกาย การออกกำลังกายที่มีประสิทธิภาพนั้น แท้จริงแล้ว ความสำคัญของโภชนาการมีความสำคัญถึง 70 เปอร์เซ็นต์ และอีก 30 เปอร์เซ็นต์ คือการออกกำลังกายที่ถูกต้อง ผู้เขียนออกกำลังกายอย่างจริงจังมาหลายปี และมักเจอกับคำถามเช่นว่า กินน้อยๆ ได้ไหม น้ำหนักจะได้ลด หรือซิตอัปอย่างเดียวได้ไหม หน้าท้องจะได้ยุบ หรือแม้แต่วิ่งอย่างเดียวได้ไหม น้ำหนักจะได้ลงเร็วๆ คำตอบที่ให้ไปคือ คุณสามารถทำได้ทั้งหมดทุกข้อ เพื่อให้น้ำหนักลด คำถามเหล่านั้นไม่ผิดแม้แต่น้อย เพราะทุกการกระทำล้วนให้ผลตามที่ต้องการ คือ “น้ำหนักลด หน้าท้องยุบ” ทว่า ประสิทธิภาพที่ได้นั้นจะดีพอให้น้ำหนักลดต่อเนื่องหรือไม่ คำตอบคือ “ไม่” ทำไมโภชนาการถึงมีความสำคัญกับการออกกำลังกายมากถึง 70 เปอร์เซ็นต์ หากเข้าใจคำนิยามนี้ “You are

Read More

โรคสมองเสื่อมทำให้เสียชีวิตเร็วขึ้น …อย่างไร?

Column: well-being ไม่มีใครปฏิเสธว่า ภาวะสมองเสื่อมเป็นโรคที่แสนโหด แต่รายงานใหม่ของรัฐบาลสหรัฐฯ เปิดเผยตัวเลขว่า ในระยะไม่ถึงสองทศวรรษ การเสียชีวิตจากโรคสมองเสื่อมในสหรัฐฯ เพิ่มขึ้นถึงกว่า 2 เท่า ศูนย์สถิติสุขภาพแห่งชาติระบุรายละเอียดว่า ปี 2000 โรคสมองเสื่อมเป็นสาเหตุของการเสียชีวิต 30.5 คนต่อแสนประชากร และพุ่งพรวดขึ้นเป็น 66.7 คนต่อแสนประชากรในปี 2017 โดยโรคอัลไซเมอร์เป็นภาวะสมองเสื่อมชนิดที่พบได้มากที่สุดคิดเป็นร้อยละ 46 ของการเสียชีวิตด้วยโรคสมองเสื่อมปี 2017 ศูนย์ควบคุมและป้องกันโรค (ซีดีซี) ระบุว่า ภาวะสมองเสื่อมเป็นคำที่ใช้อธิบายกลุ่มของเงื่อนไขที่ส่งผลกระทบต่อความคิด ความทรงจำ และพฤติกรรมได้มากพอที่จะรบกวนชีวิตประจำวันของคนคนหนึ่ง สถาบันชราศาสตร์แห่งชาติระบุเงื่อนไขดังกล่าวรวมถึงโรคอัลไซเมอร์ โรคสมองเสื่อมจากลิววี่ บอดี้ โรคสมองส่วนหน้าเสื่อม และโรคสมองเสื่อมเหตุสมองขาดเลือด ทำไมจึงมีผู้เสียชีวิตจากโรคสมองเสื่อมมากขึ้น ความเห็นของ นพ.เดวิด เอ. เมอร์ริลล์ นักประสาทวิทยาและจิตแพทย์ผู้สูงอายุแห่งศูนย์สุขภาพประจำโพรวิเดนซ์ เซนต์ จอห์น เมืองซานตา โมนิก้า รัฐแคลิฟอร์เนีย ที่กล่าวว่า เป็นเพราะหลายปัจจัยร่วมกัน “มันเป็นสึนามิสีเงิน” เขาอธิบาย “คนมีอายุยืนยาวขึ้นและก้าวเข้าสู่วัยชรา และเราก็รู้ว่าอายุเป็นปัจจัยเสี่ยงเดียวที่ไม่อาจเปลี่ยนแปลงได้ที่สำคัญที่สุดของโรคสมองเสื่อม” นอกจากนี้ เขาเพิ่มเติมว่า “ชุมชนการแพทย์และคนทั่วไปยังตระหนักถึงโรคนี้มากขึ้นด้วย

Read More

ธุรกิจโรงพยาบาลและสุขภาพ สมรภูมิใหม่กลุ่มทุนใหญ่ไทย

แม้ว่าบรรยากาศของเศรษฐกิจไทยโดยรอบจะไม่ได้ก่อให้เกิดความรู้สึกในหมู่ประชาชนทั่วไปว่ากำลังฟื้นตัวหรือกลับมาคึกคักในแบบที่กลไกรัฐพยายามสร้างเสริมให้ได้สัมผัส หากแต่ในความเป็นไปสำหรับกลุ่มทุนขนาดใหญ่ของไทย โอกาสและจังหวะก้าวในการขยายธุรกิจดูเหมือนกำลังดำเนินไปอย่างไม่มีสะดุด และดูจะรุดหน้าไปด้วยอัตราเร่งด้วยซ้ำ ภายใต้แผนยุทธศาสตร์ชาติฉบับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ที่ระบุว่าจะพัฒนาประเทศไทยไปสู่การเป็นศูนย์กลางสุขภาพของโลกใน 4 ด้าน ทั้งในมิติของการเป็นศูนย์กลางบริการเพื่อส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Hub) ศูนย์กลางทางการแพทย์ (Medical Hub) ศูนย์กลางบริการวิชาการและงานวิจัย (Academic Hub) และศูนย์กลางยาและผลิตภัณฑ์สุขภาพ (Product Hub) กำลังส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลและบริการสุขภาพของไทย กลายเป็นธุรกิจที่ได้รับการหมายตาจากกลุ่มทุนขนาดใหญ่ในการขยายอาณาจักรธุรกิจที่น่าติดตามไม่น้อย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจของธุรกิจโรงพยาบาลและบริการสุขภาพในช่วงที่ผ่านมาก็คือ การเป็นธุรกิจที่มีมูลค่าการตลาดสูงถึงเกือบ 7 แสนล้านบาท และยังมีแนวโน้มการเติบโตต่อเนื่องจากผลของการเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุและการหันมาสนใจใส่ใจในการดูแลและรักษาสุขภาพของผู้คนทั่วไป ยิ่งส่งเสริมให้ธุรกิจนี้มีโอกาสที่จะเติบโตยิ่งขึ้นไปอีก ขณะที่นโยบายของรัฐยังเป็นประหนึ่งแรงหนุนเสริมเพิ่มโอกาสให้กับธุรกิจนี้ โดยเฉพาะในส่วนของผู้ใช้บริการที่ได้รับการสนับสนุนจากงบประมาณภาครัฐ ทั้งในส่วนของหลักประกันสุขภาพแห่งชาติ สิทธิข้าราชการและครอบครัว รวมถึงประกันสังคม ซึ่งในแต่ละปีมีการเบิกจ่ายงบการรักษามากกว่า 3 แสนล้านบาท ซึ่งจะทำให้มูลค่าของธุรกิจนี้ก้าวไปสู่การเป็นธุรกิจมูลค่าล้านล้านบาทได้ไม่ยากในอนาคตอันใกล้ แม้ว่าในช่วงที่ผ่านมาสัดส่วนของผู้เข้ารับบริการในโรงพยาบาลเอกชนจะประกอบส่วนด้วยผู้รับบริการชาวไทยเป็นด้านหลักถึงร้อยละ 70 ของรายได้ในธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด หากแต่ภายใต้แผนการตลาดว่าด้วยการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ (Medical Tourism) ทำให้ฐานลูกค้าต่างประเทศมีแนวโน้มเพิ่มขึ้น และเป็นปัจจัยที่ทำให้ผู้ประกอบการสามารถสร้างรายได้เฉพาะค่ารักษาพยาบาลได้มากถึงปีละไม่น้อยกว่า 4 หมื่นล้านบาท ท่ามกลางปัจจัยบวกที่พร้อมสนับสนุนการเติบโตในอนาคต ส่งผลให้ธุรกิจโรงพยาบาลกลายเป็นสมรภูมิธุรกิจแห่งใหม่ที่ผู้ประกอบการรายเดิมและรายใหม่ต่างพยายามขยายแนวและปรับรูปแบบธุรกิจให้สอดรับกับพฤติกรรมของผู้บริโภค โดยก่อนหน้านี้ “เครือโรงพยาบาลกรุงเทพ” (BDMS) ของนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ

Read More

“4F” แบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาจากประเทศโปแลนด์ เปิดตัวร้านในรูปแบบโมโนแบรนด์ เป็นครั้งแรกในประเทศไทย

"4F" โฟร์เอฟ แบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาจากประเทศโปแลนด์ เปิดตัวร้านในรูปแบบโมโนแบรนด์เป็นครั้งแรกในประเทศไทย ณ ชั้น 1 ห้างสรรพสินค้าสยามดิสคัฟเวอรี ห้างสรรพสินค้าชั้นนำของประเทศไทย ผู้ผสมผสานเทคโนโลยีแบบอินเตอร์แอคทีฟ (Interactive) เพื่อสร้างประสบการณ์รีเทล (Retail) แบบใหม่ใจกลางกรุงเทพฯ แบรนด์ "4F" (โฟร์เอฟ)ได้ก่อตั้งขึ้นมาในปี 2007 โดย Mr. Igor Klaja (อิกอร์ คลาจา) ด้วยความหลงไหลในกีฬา เขาจึงตัดสินใจที่จะสร้างแบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาเป็นของตัวเอง โดยเขาต้องการที่จะสร้างสรรค์ชุดกีฬาคุณภาพดีที่คนทุกประเภทสามารถสวมใส่ได้ ไม่ว่าคุณจะเป็นนักกีฬามืออาชีพหรือเล่นกีฬาเป็นงานอดิเรกก็ตาม ก่อนหน้าที่ Klaja จะเริ่มแบรนด์เป็นของตัวเอง เขาได้มีประสบการณ์ทำงานเป็นพนักงานขายที่ร้านรวมอุปกรณ์กีฬาแห่งหนึ่ง ซึ่งหนึ่งในไอเท็มที่ขายดีมากที่สุดของทางร้านคือ แจ็คเก็ตผ้าฟลีซ เขามองเห็นศักยภาพของสินค้าชิ้นนี้เขาจึงเริ่มเดินทางไปทั่วประเทศโปแลนด์เพื่อขายสินค้าชนิดนี้จากรถของเขา หลังจากที่ได้รับการตอบรับสักระยะหนึ่ง เขาจึงเริ่มเพิ่มชนิดของสินค้าให้มีมากขึ้นและเปิดตัวในชื่อแบรนด์ 4FUN ในปี 2003 และเปลี่ยนชื่อของแบรนด์เป็น "4F” ที่ทั่วโลกรู้จักกันในวันนี้ ปัจจุบัน แบรนด์ "4F” นั้นเป็นที่รู้จักอย่างกว้างขวางและมีเอกลักษณ์งานดีไซน์ที่สามารถใช้ได้จริงและทันสมัย แบรนด์ "4F” เป็นแบรนด์ไลฟ์สไตล์กีฬาชั้นนำระดับโลกที่มีร้านมากกว่า 200 แห่งใน

Read More

“คลาสพาส” ขยายบริการสู่ไทย เอาใจผู้รักการออกกำลังกายในกรุงเทพฯ

คอฟิตเนสและผู้ที่ชื่นชอบการออกกำลังกายในกรุงเทพฯ เตรียมพบกับประสบการณ์เวิร์คเอาท์แบบใหม่ที่มาพร้อมกับความสะดวกสบายและความยืดหยุ่นโดย คลาสพาส (ClassPass) ผู้นำด้านบริการสมาชิกฟิตเนสระดับโลก ที่กำลังจะขยายบริการมายังประเทศไทยในเดือนตุลาคมที่จะถึงนี้ หลังจากเปิดตัวในสิงคโปร์เมื่อเดือนสิงหาคมที่ผ่านมา และมีการประกาศขยายธุรกิจไปยังฮ่องกง ซึ่งในแผนการขยายบริการมายังเอเชียนี้ ไทยจะเป็นประเทศต่อไปที่ได้ใช้บริการ คลาสพาส ต่อยอดความสำเร็จจากการเปิดตัวยิ่งใหญ่ที่สิงคโปร์ที่ได้รับกระแสตอบรับดีเกินความคาดหมาย ฟริตซ์ แลนแมน ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร ของคลาสพาส กล่าวว่า “เรามองเห็นการเติบโตของตลาดฟิตเนสในประเทศไทยอย่างต่อเนื่อง และจากรายงานของ Deloitte ตลาดฟิตเนสในภูมิภาคเอเชียแปซิฟิกมีมูลค่าสูงเป็นประวัติการณ์ถึง 1.68 หมื่นล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ ในขณะที่ตลาดฟิสเนสในประเทศไทย ยังมีอัตราการเข้าถึงผู้บริโภคกลุ่มเป้าหมายน้อยกว่าหนึ่งเปอร์เซ็นต์ จึงมีโอกาสและศักยภาพที่จะเติบโตได้อีกมาก” “ปัจจุบัน ผู้คนหันมาใส่ใจสุขภาพมากขึ้น และยินดีจะใช้จ่ายเงินเพื่อการออกกำลังกาย ซึ่งคลาสพาส มองเห็นโอกาสที่จะเข้ามาเติมเต็มความต้องการในส่วนนี้ของผู้บริโภคที่ต้องการทั้งความสะดวกสบายและความยืดหยุ่น สมาชิกของคลาสพาส สามารถเลือกโปรแกรมออกกำลังกายที่ตรงตามความชอบและตารางเวลาของแต่ละคน ซึ่งช่วยกระตุ้นให้ออกกำลังกายมากขึ้น และสามารถจัดสรรเวลาได้อย่างสะดวกสบาย ต่างจากการเป็นสมาชิกฟิตเนสสตูดิโอเพียงแห่งเดียว นอกจากนี้อิสระจากการเลือกเข้าคลาสออกกำลังกายได้หลายๆ ที่ในกรุงเทพฯ หรือแม้แต่ในต่างประเทศตามเมืองใหญ่ๆ ทั่วโลก ยังเป็นการช่วยให้สมาชิกรักษากิจวัตรการออกกำลังกายได้อย่างต่อเนื่องทั้งในระหว่างการใช้ชีวิตปกติและระหว่างการเดินทางท่องเที่ยว” ฟริตซ์ กล่าวเสริม ตั้งแต่เปิดตัวเมื่อปี พศ. 2556 คลาสพาส ได้เติบโตอย่างรวดเร็วทั่วโลก และขยายตัวอย่างต่อเนื่องจนมีขนาดเพิ่มขึ้นเกือบเท่าตัวทุกๆ ปีและมีรายได้มากกว่า 255 ล้านดอลล่าร์สหรัฐฯ รวมไปถึงพันธมิตรที่เติบโตไปไม่หยุดยั้งทั้งสตูดิโอ

Read More

Eat meet Health ตอบโจทย์คนรักสุขภาพ

  เรียกได้ว่ากระแสยังคงดีอย่างต่อเนื่องจริงๆ สำหรับเทรนด์การดูแลรักษาสุขภาพ ที่เหล่าผู้รักสุขภาพต่างหันมาหาวิธีสร้างความแข็งแรงให้กับร่างกายกันอย่างจริงจัง ไม่ว่าจะเป็นการออกกำลังกาย ทั้งการวิ่ง ปั่นจักรยานที่ยังคงได้รับความนิยมมาอย่างต่อเนื่อง รวมไปถึงโยคะ พีลาทิส เวทเทรนนิ่ง ตลอดจนเทคนิควิธีและการออกกำลังกายอื่นๆ เพื่อเสริมสร้างสุขภาพที่ดี  ท่ามกลางความนิยมในการออกกำลังกาย ยังมีอีกสิ่งหนึ่งที่มาแรงควบคู่กัน นั่นก็คือ “อาหารเพื่อสุขภาพ” เทรนด์ใหม่ที่กำลังอยู่ในความสนใจของเหล่าคนรักสุขภาพ จนกลายเป็นกระแสการกินคลีนที่ฮอตฮิตอยู่ในปัจจุบัน อาหารเพื่อสุขภาพที่ให้คุณประโยชน์กับร่างกายอย่างเต็มเปี่ยม กำลังเป็นที่สนใจของเหล่าผู้รักสุขภาพจำนวนไม่น้อย เห็นได้จากจำนวนร้านอาหารเพื่อสุขภาพที่เริ่มมีมากขึ้น ร้านอาหารทั่วไปบางร้านมีการบรรจุเมนูอาหารเพื่อสุขภาพเป็นอีกทางเลือกให้กับลูกค้า รวมไปถึงสื่อโซเชียลมีเดียต่างๆ ทั้งเฟซบุ๊กและอินสตาแกรม ที่เป็นเสมือนหน้าร้านและช่องทางทำการตลาดออนไลน์ที่เข้าถึงและได้รับความนิยมเป็นอย่างมากจากคนรุ่นใหม่ จนทำให้เทรนด์อาหารสุขภาพติด 1 ใน 10 อันดับ ธุรกิจที่กำลังมาแรงแห่งปี 2560 “Eat meet Health” ร้านอาหารเพื่อสุขภาพน้องใหม่ของอดีตหนุ่มมาร์เก็ตติ้งมากฝีมืออย่าง เชน เสมาเงิน ที่ผันตัวเองมาเป็นเจ้าของกิจการ พร้อมหุ้นส่วน ธนกร บวรปีติกุล สองผู้ประกอบการรุ่นใหม่ไฟแรงที่ประสบความสำเร็จไปแล้วกับ “Cat up Cafe” คาเฟ่แมวที่เข้ามาสร้างสุขให้กับพลพรรครักแมวจนนำไปสู่การขยายสาขา 2 ย่านสีลมไปเมื่อปลายปีที่แล้ว จากไลฟ์สไตล์ของคนเมืองที่หันมาใส่ใจเรื่องสุขภาพกันมากขึ้น ประกอบกับความสนใจส่วนตัวในเรื่องของสุขภาพและการลดน้ำหนัก จึงทำให้เชนหันมาศึกษาเรื่องอาหารเพื่อสุขภาพอย่างจริงจัง “เนื่องจากตัวผมต้องการลดน้ำหนักและสร้างความมั่นใจให้กับตัวเองมากขึ้น ประกอบกับเทรนด์อาหารเพื่อสุขภาพกำลังได้รับความนิยม จึงเริ่มศึกษาอาหารประเภทนี้แล้วลองทำทานเอง ซึ่งมันได้ผลลัพธ์ที่ดี

Read More

ตรัยญา: One Stop Service แห่งสุขภาพและความงาม

  กระแสความใส่ใจในสุขภาพและความงามยังคงมาแรง อีกทั้งยังไม่มีทีท่าจะแผ่วลงง่ายๆ บวกกับศักยภาพของการแพทย์สมัยใหม่ที่พัฒนาและพร้อมตอบโจทย์ผู้รักสุขภาพได้อย่างไร้ขีดจำกัด ทำให้ธุรกิจบริการที่เกี่ยวข้องต่างพัฒนาตัวเองเพื่อตอบสนองความต้องการของลูกค้าให้ครอบคลุมมากที่สุด ดังเช่นสถาบัน “ตรัยญา” ศูนย์สุขภาพและความงามที่เรียกได้ว่าครบวงจรที่สุดแห่งหนึ่ง สถาบันสุขภาพและความงาม “ตรัยญา” (TRIA) เกิดขึ้นจากการทุ่มงบประมาณกว่า 500 ล้านบาทของโรงพยาบาลปิยะเวท เพื่อเติมเต็มการบริการด้านสุขภาพให้สมบูรณ์ ต่อยอดทางธุรกิจและขยายฐานลูกค้าให้กับโรงพยาบาล พร้อมทั้งวางเป้าหมายมุ่งสู่การเป็นศูนย์สุขภาพที่ครบวงจร โดยเปิดให้บริการครั้งแรกในปี 2550 เป็นต้นมา  ตรัยญานิยามตนเองว่าเป็นสถาบันการแพทย์ผสมผสานที่มุ่งส่งเสริมสุขภาพดีแบบองค์รวม (Integrative Wellness) ซึ่งเชื่อว่าวิถีแห่งการมีสุขภาพที่สมบูรณ์ต้องมาจากความสมดุลของทั้งร่างกายและจิตใจ โดยยึดหลักปรัชญาในการดูแลสุขภาพและความงามบนพื้นฐานทั้ง 3 ประการ คือ Elemental Health สุขภาพของระบบชีวเคมีในร่างกาย เน้นวิเคราะห์พื้นฐานการทำงานในระดับเซลล์ Structural Health สุขภาพของระบบกระดูกและกล้ามเนื้อ ในด้านของความแข็งแรง ความยืดหยุ่น และการเผาผลาญออกซิเจน Emotional Health สุขภาพของอารมณ์ เน้นการจัดการกับความเครียดและสิ่งกระตุ้น ดังนั้นในทุกๆ บริการของตรัยญาจึงถูกออกแบบขึ้นมาเพื่อตอบโจทย์สุขภาพแบบองค์รวม เป็นการดูแลสุขภาพเชิงป้องกันและฟื้นฟูภายใต้การดูแลของแพทย์และผู้เชี่ยวชาญเฉพาะด้าน โดยใช้วิธีการบำบัดและรักษาแบบผสมผสานทั้งศาสตร์การแพทย์สมัยใหม่และแพทย์ทางเลือก การออกกำลังกาย โภชนาการบำบัด รวมถึงการรักษาด้วยวิถีทางธรรมชาติโดยวารีบำบัด ซึ่งถือเป็นจุดเด่นของตรัยญา บนพื้นที่ขนาดใหญ่กว่า 5 ไร่ ย่านถนนพระราม 9 อันเป็นที่ตั้งของตรัยญา ความโอ่โถ่งของพื้นที่ถูกจัดสรรเพื่อให้บริการแก่ลูกค้าอย่างเป็นสัดเป็นส่วน และแฝงไปด้วยความรู้สึกผ่อนคลายสบายตาจากการตกแต่งภายในตัวอาคาร เริ่มตั้งแต่โซน

Read More

หญิง vs ชาย … ใครทำอะไรได้ดีกว่ากัน

 Column: Well – Being ธรรมชาติสร้างให้เพศหญิงแตกต่างจากเพศชายอยู่แล้ว แต่เมื่อตัดสินกันในแง่ความแข็งแรง ความสุข ความแข็งแกร่ง และความฉลาด คุณคิดว่าเพศใดเหนือกว่าหรือด้อยกว่ากัน เพราะอะไร นิตยสาร GoodHealth นำเสนอผลการศึกษาล่าสุดว่าด้วยสองเพศนี้ เพศชาย–จำทิศทางได้ดีกว่า นักวิจัยกล่าวว่า ผู้ชายใช้ประโยชน์จาก “ทิศทั้งสี่” (ทิศเหนือ ใต้ ตะวันออก และตะวันตก) ในการนำทางจากจุดหนึ่งไปยังอีกจุดหนึ่ง หมายถึงว่าพวกเขาเพียงมุ่งหน้าไปตามทิศที่คิดว่าเป็นจุดหมายปลายทาง และเปลี่ยนทิศขณะเดินทาง ซึ่งมักไปได้เร็วกว่าการเดินทางตามเส้นทางที่กำหนดไว้เหมือนอย่างที่ผู้หญิงนิยมทำกัน เวนดี รีด โค้ชของทีมโอเรียนเทียริงแห่งออสเตรเลีย (โอเรียนเทียริงเป็นกีฬาที่ต้องเดินทางด้วยเท้า โดยใช้แผนที่และเข็มทิศเป็นเครื่องนำทาง) กล่าวว่า “สิ่งที่ช่วยให้จำทิศทางได้ง่ายขึ้น คือต้องรู้ตัวว่าคุณถนัดคิดในเชิงตัวเลข หรือรูปภาพ หรือคำพูด” เช่น ถ้าคุณเป็นนักคิดเชิงตัวเลข ให้เดินตามตัวเลขถนน อย่างไฮเวย์หมายเลข 1 ไปยังถนนสาย 4 แต่ถ้าเป็นนักคิดเชิงรูปภาพ ให้ใช้จุดที่เป็นที่สังเกตเป็นเครื่องนำทาง เช่น เลี้ยวซ้ายตรงโบสถ์ ขณะที่นักคิดเชิงคำพูด ตอบสนองกับชื่อถนนได้ดีที่สุด” เพศหญิง–จดจำสิ่งที่ต้องทำได้ดีกว่า แม้ยังไม่สามารถอธิบายสาเหตุที่ชัดเจนได้ แต่ ดร.มุยเรียนน์ ไอริช นักประสาทวิทยาศาสตร์การรู้คิดจากสถาบันวิจัยประสาทวิทยาศาสตร์ออสเตรเลีย

Read More

ไข้เลือดออก

 Column: AYUBOWAN  “อาโรคฺยปรมา ลาภา” ความไม่มีโรค เป็นลาภอันประเสริฐ เป็นพุทธปรัชญาที่เชื่อว่าท่านผู้อ่านทุกท่านคงตระหนักและเข้าใจเป็นอย่างดี ซึ่งในสังคมศรีลังกาที่ถือพุทธศาสนาเป็นศาสนาหลักก็คงถือคตินี้ไม่แตกต่างกัน หากแต่ช่วงที่ผ่านมา หลังจากที่ได้รับมรสุมจนเกิดเหตุน้ำท่วมและดินถล่มในหลายพื้นที่ สิ่งที่ติดตามมาก็คือปริมาณน้ำที่ท่วมขังในแต่ละจุดกลายเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ยุง โดยเฉพาะยุงลาย ซึ่งเป็นพาหะนำพาโรคไข้เลือดออก หรือ Dengue fever อีกด้วย ภาวะการระบาดของไข้เลือดออกในศรีลังกาโดยปกติจะดำเนินเป็นประหนึ่งวงรอบที่มีการระบาดชุกชุมในช่วงปลายฝนต้นหนาวที่เริ่มมีการระบาดหนาแน่นตั้งแต่เดือนตุลาคมต่อเนื่องมาจนถึงกุมภาพันธ์ โดยมีเดือนธันวาคมและมกราคมเป็นช่วงที่มีการรายงานเกี่ยวกับผู้ป่วยไข้เลือดออกมากที่สุด จากสถิติของสำนักระบาดวิทยา กระทรวงสาธารณสุขศรีลังการะบุว่า ในช่วงปี 2014 พบว่ามีผู้ป่วยด้วยไข้เลือดออกสูงมากถึง 47,500 ราย โดยในจำนวนที่ว่านี้เป็นผู้ป่วยในเขตกรุงโคลัมโบมากถึง 15,000 ราย เรียกได้ว่าผู้ป่วยจำนวนกว่า 1 ใน 3 เป็นผู้ป่วยในเขตเมือง ความจริงในเรื่องดังกล่าวนี้อาจแยกพิจารณาได้เป็นสองกรณีคือเขตเมืองเป็นพื้นที่เสี่ยงต่อการระบาดกับอีกด้านหนึ่งก็คือผู้คนในเขตเมืองมีโอกาสเข้ารับการรักษาพยาบาลมากกว่าผู้คนในเขตห่างไกล ทำให้สถิติเหล่านี้กระจุกตัวอยู่ในกลุ่มประชากรชาวโคลัมโบ อย่างไรก็ดี การควบคุมโรคไข้เลือดออกของศรีลังกาในช่วงปีถัดมานับว่าประสบผลสำเร็จพอสมควรเพราะในปี 2015 จำนวนผู้ป่วยด้วยไข้ dengue ลดลงเหลือเพียง 30,000 รายหรือลดลงจากปีก่อนหน้ามากกว่าร้อยละ 30 เลยทีเดียว กระบวนการในการติดตามโรคของศรีลังกานับว่าอยู่ในเกณฑ์ที่น่าพอใจ เพราะนอกจากจะติดตามความคืบหน้าอาการป่วยของผู้ติดเชื้อแต่ละรายผ่านโครงข่ายโรงพยาบาลและเจ้าหน้าที่ควบคุมโรคกระทรวงสาธารณสุขแล้ว หน่วยงานเทศบาลในพื้นที่ก็ทำงานประสานเพื่อป้องกันการระบาดอย่างต่อเนื่อง ด้วยการฉีดพ่นสารเคมีเพื่อทำลายแหล่งเพาะพันธุ์ยุงในพื้นที่เสี่ยงด้วย แต่สำหรับปี 2016 ดูเหมือนว่าสถานการณ์ไข้ Dengue ในศรีลังกาจะกลับเข้าสู่ภาวะที่ต้องวิตกกังวลมากขึ้นเมื่อปรากฏว่าเพียงระยะเวลา 6 เดือนของครึ่งปีแรกก็มีจำนวนผู้ป่วยไข้ Dengue

Read More