ประเมินอนาคต EEC หลังทุนใหญ่ย้ายฐานการผลิต
การประกาศยุติการประกอบกิจการ และเลิกทำการผลิตรถยนต์ Chevrolet ของค่ารถยนต์ยักษ์ใหญ่นาม GM หรือ General Motors (ประเทศไทย) เมื่อช่วงกลางเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นข่าวเด่นข่าวดังในระดับสากลแล้ว กรณีดังกล่าวยังส่งผลกระทบและในอีกด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนสภาพเศรษฐกิจและการผลิตในภาคอุตสาหกรรมของสังคมไทย ที่มุ่งเน้นจะผลักดันให้โครงการพัฒนาระเบียงเศรษฐกิจพิเศษภาคตะวันออก (EEC) เป็นประหนึ่งหัวรถจักรที่จะฉุดลากเศรษฐกิจไทยอยู่ในสถานการณ์ที่น่ากังวลใจไม่น้อยเลย แม้ว่าการหายไปของโรงงานผลิตรถยนต์ของ GM อาจถูกแทนที่ด้วยการเข้ามาของผู้ประกอบการรายใหม่ในนาม Great Wall Motors (GWM) แต่นั่นไม่ได้หมายความถึงการเป็นสมการของการเข้ามาแทนที่ทดแทนกันในรูปการณ์แบบเดิม เพราะภายใต้โครงสร้างการผลิตของ “ศูนย์การผลิตรถยนต์และเครื่องยนต์ของจีเอ็ม ประเทศไทย” หรือ “โรงงานผลิตรถยนต์” ที่จังหวัดระยอง ซึ่งเริ่มสายการผลิตมาตั้งแต่ปี 2543 หรือเมื่อ 20 ปีที่ผ่านมา พัฒนาการของระบบการผลิต รวมถึงเทคโนโลยีในการประกอบรถยนต์ในปัจจุบัน การเข้ามาของ GWM อาจไม่ได้เติมเต็มช่องว่างของการว่างงานที่เกิดขึ้นในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจยิ่งขึ้นไปอีกนอกจากผลกระทบในเรื่องแรงงานของ GM โดยตรงแล้ว สิ่งที่ยังน่าเป็นกังวลหลังจากการหยุดการผลิตรถยนต์ของเชฟโรเลตคือ ความหวาดวิตกของพนักงานจำนวนนับพันคน ที่อยู่ในกลุ่ม Supplier สายการผลิตชิ้นส่วนอะไหล่ และอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยในภาพรวม ยังไม่นับผู้ประกอบการในฐานะตัวแทนจำหน่ายที่กำลังจะสูญเสียธุรกิจที่ได้ลงทุนไปแล้วโดยปริยาย ก่อนหน้านี้ GWM ได้ประกาศว่าบริษัทมีแผนที่จะสร้างโรงงานบนพื้นที่ 800,000
Read More