หมดเวลาของถ่านหิน? อาเซียนเน้นพลังงานทดแทน
การแถลงผลประกอบการของบริษัท บ้านปู จำกัด (มหาชน) เมื่อเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา นอกจากจะมีจุดเด่นอยู่ที่ตัวเลขผลประกอบการที่มีกำไรในระดับหลายพันล้านบาทแล้ว ในอีกด้านหนึ่งยังปรากฏภาพของการกำหนดทิศทางของธุรกิจในอนาคตด้วยการลดสัดส่วนพลังงานถ่านหิน ซึ่งสะท้อนภาพภูมิทัศน์ที่ปรับเปลี่ยนไปของการใช้พลังงานในภูมิภาคอาเซียน ที่กำลังปรับเข้าหาพลังงานทดแทนมากขึ้น กรณีดังกล่าวสอดรับกับความเคลื่อนไหวของบี. กริม พาวเวอร์ ที่ร่วมกับธนาคารพัฒนาเอเชีย (ADB: Asian Development Bank) ประกาศความร่วมมือในการขยายธุรกิจพลังงานทดแทนในอาเซียน ผ่านการลงนามในสัญญาสนับสนุนเงินกู้ มูลค่า 235 ล้านเหรียญสหรัฐ หรือประมาณ 7.3 พันล้านบาท นัยความหมายของการลงนามสนับสนุนเงินกู้ระหว่างบี. กริม พาวเวอร์กับเอดีบี ครั้งนี้ นอกจากจะนับเป็นการสนับสนุนวงเงินกู้ที่มีมูลค่าสูงสุดที่เอดีบีเคยให้การสนับสนุนกับบริษัทในประเทศไทยแล้ว ในอีกมิติหนึ่งยังสะท้อนแนวทางการพัฒนาด้านพลังงานที่เอดีบีพยายามผลักดันให้เกิดขึ้นและสนองตอบต่อความต้องการใช้พลังงานของประเทศในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ หรืออาเซียน ซึ่งพลังงานได้รับการประเมินในฐานะที่เป็นปัจจัยสำคัญต่อการพัฒนาเศรษฐกิจ สังคม และสิ่งแวดล้อม พลังงานทางเลือกที่บี. กริมจะนำมาผลิตกระแสไฟฟ้าเพื่อรุกเข้าสู่ประเทศเพื่อนบ้านอาเซียน ภายใต้สัญญาสนับสนุนเงินกู้จากเอดีบี ประกอบด้วยการผลิตกระแสไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานลม พลังงานชีวมวล พลังงานจากขยะ พลังงานก๊าซธรรมชาติ รวมถึงการกักเก็บพลังงาน และโครงสร้างพื้นฐานอื่นๆ ที่เกี่ยวข้อง “เงินทุนของเอดีบีจะสนับสนุนการดำเนินงานของบี.กริม เพาเวอร์ ในการลงทุนโครงการผลิตไฟฟ้าตามพื้นที่ต่างๆ ในรูปแบบ Distributed Power Generation และโรงไฟฟ้าขนาดใหญ่
Read More