จาก Offshore สู่ Onshore: การเปลี่ยนแปลงของโครงสร้างเศรษฐกิจโลก
คนในรุ่นผม เริ่มเห็นการเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญของเศรษฐกิจไทย ซึ่งเชื่อมโยงกับเศรษฐกิจโลกผ่านการโยกย้ายฐานการผลิตของบริษัทยักษ์ใหญ่ทั่วโลก โดยเฉพาะนักลงทุนจากประเทศญี่ปุ่น ที่ทนกับต้นทุนค่าแรงและค่าใช้จ่ายจำนวนมหาศาลในประเทศญี่ปุ่นเองไม่ไหว และออกมามองหาแหล่งลงทุนใหม่ๆ ซึ่งประเทศไทยก็เป็นแหล่งลงทุนชั้นดี ประกอบกับการผลักดันทางด้านเศรษฐกิจและสังคมผ่านแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติตั้งแต่ฉบับที่ 1 เป็นต้นมา การโยกย้ายฐานการผลิตจึงเป็นเป้าหมายของบริษัทไทยหลายๆ ราย ที่วันหนึ่งจะออกไปหาแหล่งแรงงานถูกเหมือนเหล่านักลงทุนในอดีต แต่ปัจจุบันความเชื่อเหล่านี้กำลังจะหมดไป การย้ายฐานการผลิตกลับสู่บ้านเกิดเมืองนอน หรือการมองปัจจัยอื่นแทนข้อได้เปรียบเรื่องค่าแรงงานกลายเป็นความเชื่อใหม่ ที่ทำให้บริษัทผู้ผลิตสินค้าและนักลงทุนระดับโลกกำลังมุ่งหน้าไป นิตยสาร The Economist เพิ่งทำรายงานพิเศษเกี่ยวกับความเปลี่ยนแปลงครั้งสำคัญนี้ ผมจึงถือโอกาสนำมาเผยแพร่ต่อ เพราะนี่อาจจะเป็นจุดหัวเลี้ยวหัวต่อครั้งสำคัญอีกครั้งหนึ่งของเศรษฐกิจโลกก็ได้ นิตยสาร The Economist เริ่มต้นรายงานเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในช่วงต้นเดือนกุมภาพันธ์ ซึ่งเหล่าผู้มีหน้ามีตาในท้องถิ่นเมือง Whisett รัฐนอร์ทแคโรไลนา มารวมตัวกันเพื่อตัดริบบิ้นเปิดไลน์การผลิตคอมพิวเตอร์ส่วนบุคคลใหม่อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งไม่คาดว่าจะเกิดขึ้นในประเทศสหรัฐอเมริกาเป็นเวลานานแล้ว โดยที่ไลน์การผลิตคอมพิวเตอร์สำหรับผู้ใช้งานทั่วไปได้โยกย้ายออกจากประเทศสหรัฐอเมริกามากว่า 30 ปีแล้ว โดยส่วนใหญ่จะผลิตในทวีปเอเชีย อย่างเช่นเดลล์ได้ปิดโรงงานขนาดใหญ่ในประเทศอเมริกาตั้งแต่ปี 2008 และปี 2010 โดยย้ายฐานการผลิตไปสู่ประเทศจีน ในขณะที่ HP มีเฉพาะการผลิตคอมพิวเตอร์ตั้งโต๊ะสำหรับการใช้งานในธุรกิจบางประเภทจำนวนเล็กน้อยในประเทศหรัฐอเมริกาเท่านั้น อย่างไรก็ตาม ไลน์ผลิตใหม่นี้ไม่ได้สร้างขึ้นโดยบริษัทสัญชาติอเมริกัน แต่เป็นของ Lenovo ซึ่งเป็นกลุ่มลงทุนด้านเทคโนโลยีที่ประสบความสำเร็จอย่างสูงของคนจีน ซึ่งก่อตั้งขึ้นในปี 1984 โดยวิศวกรชาวจีนจำนวน 11
Read More