Home > ASEAN SUMMIT

อาเซียนกับความหวัง RCEP จุดเปลี่ยนผ่านยุทธศาสตร์มหาอำนาจ

แม้ว่าการประชุมสุดยอดอาเซียนครั้งที่ 35 (ASEAN Summit 35th) ซึ่งประเทศไทยรับหน้าที่เป็นประธานและเจ้าภาพการประชุมจะปิดฉากลงไปแล้วตั้งแต่เมื่อช่วงต้นเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ท่ามกลางความพยายามของรัฐไทยที่โหมประโคมและมุ่งเน้นสื่อสารความคืบหน้าของการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค The Regional Comprehensive Economic Partnership หรือ RCEP ในฐานะที่เป็นประหนึ่งดัชนีบ่งชี้ถึงความสำเร็จในการประชุมครั้งนี้อย่างขะมักเขม้น การมุ่งเน้นกับความเป็นไปของ RCEP ของไทยดูจะทำให้ประเด็นแวดล้อมอื่นๆ ของอาเซียนในการประชุมครั้งสำคัญนี้ ไม่ว่าจะเป็นกรณีพิพาทในทะเลจีนใต้ กรณีว่าด้วยผู้ลี้ภัยชาวโรฮิงญา ที่สื่อต่างประเทศให้ความสนใจและนำเสนออย่างต่อเนื่อง หรือแม้แต่ประเด็นความร่วมมือด้านอื่นๆ ถูกกดทับไปจากการรับรู้ของสังคมไทยโดยสิ้นเชิง ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจต่อเนื่องจากกรณีดังกล่าวอีกด้านหนึ่งก็คือ ความพยายามที่จะผลักดันการเจรจาความตกลงหุ้นส่วนทางเศรษฐกิจระดับภูมิภาค (RCEP) ที่ยืดเยื้อยาวนานกว่า 7 ปี เพื่อผนึก 10 ประเทศอาเซียนและพันธมิตร 6 ประเทศที่มีทั้ง จีน เกาหลีใต้ ญี่ปุ่น ออสเตรเลีย นิวซีแลนด์ และอินเดีย ท่ามกลางความผันผวนของเศรษฐกิจโลกจากสงครามการค้า มิได้ดำเนินอยู่บนเส้นทางที่ราบเรียบไร้อุปสรรค ท่าทีของอินเดีย หนึ่งในสมาชิกของ RCEP ที่ขอเจรจาปรับรายการภาษีบางสินค้าใหม่ในช่วงสรุปผลการเจรจาใน 20 ประเด็นให้ได้ตามกำหนดเวลาเป้าหมาย ทำให้เหลือสมาชิก RCEP เพียง 15

Read More

ไทยในฐานะประธานอาเซียน ก้าวไปข้างหน้า หรือ ย่ำอยู่กับที่

แม้ว่าพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งนายกรัฐมนตรีคนที่ 29 วาระที่ 2 ตามบทบัญญัติแห่งมาตรา 158 ของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย 2560 จะดำเนินการเสร็จสิ้นไปแล้วเมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา หากแต่กำหนดเวลาว่าด้วยการจัดสรรตำแหน่งระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลเพื่อการจัดตั้งคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ ที่จะต้องผ่านพิธีการเข้าถวายสัตย์ปฏิญาณและการแถลงนโยบายรัฐบาลต่อรัฐสภา ก่อนที่สังคมไทยจะมีรัฐบาลใหม่ที่จะขับเคลื่อนเดินหน้าประเทศไทยอีกครั้ง ดูจะเป็นเรื่องที่ไกลออกไปอย่างน้อยก็อาจต้องใช้เวลานานรวมกว่าอีก 1 เดือนนับจากนี้ เป็นที่คาดหมายว่าการจัดสรรบุคลากรเพื่อจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่จะสามารถกระทำได้เสร็จสิ้นภายในเดือนมิถุนายน ก่อนที่จะได้รับการโปรดเกล้าฯ แต่งตั้งและเข้าพิธีถวายสัตย์ปฏิญาณ ในช่วงต้นเดือนกรกฎาคม โดยการแถลงนโยบายต่อรัฐสภาน่าจะดำเนินการได้ในช่วงกลางเดือนกรกฎาคม เป็นลำดับถัดมา ภารกิจของรัฐบาลชุดใหม่ นอกเหนือจากการนำพาความเชื่อมั่นให้เกิดขึ้นกับทั้งผู้คนในสังคมไทยและประชาคมนานาชาติแล้ว ประเด็นปัญหาที่สังคมไทยเผชิญอยู่เบื้องหน้าว่าด้วยภาวะเศรษฐกิจที่ตกต่ำและปัญหาปากท้องของประชาชนในระดับฐานรากแล้ว ยังผูกพันอยู่กับการจัดทำร่างพระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปี 2563 ที่เป็นประหนึ่งภาพสะท้อนในเชิงนโยบายและทิศทางที่รัฐไทยภายใต้คณะรัฐมนตรีชุดใหม่ประสงค์จะก้าวเดินเพื่อมุ่งหน้าสู่การรังสรรค์ประเทศไทย ให้มีที่อยู่ที่ยืนในประชาคมโลกอย่างสง่างามกว่าที่เป็นอยู่ในขณะนี้ ประเด็นที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง ก็คือกรอบเวลาแห่งความเป็นไปของคณะรัฐมนตรีชุดใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้นในอนาคตอันใกล้นี้ เกิดขึ้นท่ามกลางวาระและกำหนดการประชุมสุดยอดโดยคณะผู้นำจากสมาคมประชาชาติแห่งเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ครั้งที่ 34 (34th ASEAN SUMMIT) ที่จะจัดให้มีขึ้นระหว่างวันที่ 20-23 มิถุนายน 2562 โดยมีประเทศไทยดำรงสถานะเป็นทั้งเจ้าภาพจัดการประชุมและเป็นประธานอาเซียน ตามระบบหมุนเวียนระหว่างสมาชิกอีกด้วย ก่อนหน้านี้ ผู้นำรัฐบาลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ได้ประกาศในพิธีรับมอบตำแหน่งประธานอาเซียนต่อจากสิงคโปร์เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2561 ถึงความพร้อมในการจัดการประชุมสุดยอดอาเซียนหรือ ASEAN SUMMIT และเสนอแนวคิดหลัก (theme) ของการเป็นประธานอาเซียนของไทยไว้ที่ “ร่วมมือ

Read More