Home > Alzheimer’s disease

ความหวังใหม่ … ความจำเสื่อมฟื้นฟูได้

Column: Well – Being ถ้าคุณได้พบเห็นคนที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ คุณจะรู้ว่ามันเป็นโรคที่ไม่ทำให้สภาพภายนอกของผู้ป่วยเปลี่ยนแปลงหรือทรุดโทรม หากแต่ได้ปล้นเอาความทรงจำและตัวตนของพวกเขาไปจนหมดสิ้น เป็นโรคที่ไม่เพียงทำให้ผู้ป่วยปวดหัวใจและเจ็บปวดในช่วงเริ่มแรก หากรวมถึงครอบครัวของพวกเขาผู้ซึ่งทำได้เพียงแค่เฝ้าดูผู้ป่วยซึ่งเป็นคนที่พวกเขารักและรู้จัก ค่อยๆ กลายสภาพเป็นเพียงโครงร่างของคนคนนั้นโดยไม่สามารถช่วยอะไรได้เลย จวบจนปัจจุบัน วงการแพทย์ยังไม่สามารถค้นพบยาหรือวิธีรักษาเพื่อฟื้นความจำที่เสื่อมถอยอันเกี่ยวเนื่องกับโรคอัลไซเมอร์ได้ อย่างไรก็ตาม นิตยสาร GoodHealth รายงานว่า ขณะนี้เริ่มมีความหวังใหม่ๆ ที่ช่วยฟื้นอาการความจำเสื่อมได้ อัลไซเมอร์คืออะไร ถ้าคุณมองเข้าไปในสมองของคนที่ป่วยเป็นอัลไซเมอร์ คุณจะเห็นคราบโปรตีนที่เรียกว่า อะไมลอยด์ จับตัวจนหนาเกาะอยู่ตรงที่ว่างระหว่างเซลล์สมอง เซลล์สมองสามารถสื่อสารกันได้ผ่านที่ว่างเหล่านี้ แต่เมื่อโปรตีนอะไมลอยด์เข้าไปขัดขวาง ทำให้การสื่อสารระหว่างเซลล์สมองไม่สามารถเกิดขึ้นได้ เมื่อมีการสื่อสารกันน้อยลงหรือไม่สามารถสื่อสารกันได้ เซลล์สมองจะค่อยๆ สูญเสียการทำหน้าที่ ซึ่งเป็นผลให้เกิดการสูญเสียความทรงจำและเกิดความสับสนขึ้นแทน ภาวะที่เซลล์สมองถูกล็อกเอาไว้ และไม่สามารถสื่อสารกับเซลล์สมองอื่นๆ ได้นั้น สถานการณ์ยิ่งเลวร้ายลงเมื่อเซลล์สมองถูกโจมตีโดยโปรตีนอีกตัวหนึ่งที่เรียกว่า เทา (tau) ซึ่งมีลักษณะเป็นเส้นใยและมีบทบาทสำคัญในการทำลายเซลล์สมอง ความหวังใหม่จากวิธีอัลตราซาวด์ การวิจัยของศาสตราจารย์เจอร์เกน กอตซ์ และ ดร.รีเบคกา นิสเบท แห่งสถาบันสมองควีนส์แลนด์ ระบุว่า มีความเป็นไปได้ในการรักษาให้อาการอัลไซเมอร์ดีขึ้น และฟื้นฟูความทรงจำให้กลับมา หัวใจหลักของการวิจัยของพวกเขาคือ ถ้าสามารถส่งตัวยาหรือสารภูมิต้านทานเข้าไปที่คราบอะไมลอยด์ได้โดยตรง และทำให้โปรตีนเทาด้อยประสิทธิภาพลง จะสามารถทำให้ความทรงจำฟื้นคืนขึ้นมาใหม่ได้ อย่างไรก็ตาม การทำอย่างนี้ไม่ใช่เรื่องง่าย เพราะสมองถูกปกป้องด้วยแนวกั้นระหว่างเลือดและสมอง (blood brain barrier

Read More