องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ย้ำเร่งใส่ใจ ‘สวัสดิภาพสัตว์’ ห่วงผลกระทบจากวิกฤตโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร
ปัญหาวิกฤตหมูราคาแพงเกิดจากหลายสาเหตุแต่ปัจจัยที่สำคัญในขณะนี้คือโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร (African swine fever) หรือ เชื้อไวรัส "ASF" ไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดใน “หมู” ซึ่งกำลังเป็นประเด็นที่คนในสังคมตื่นตัว องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก จึงเรียกร้องให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องโดยเฉพาะหน่วยงานภาครัฐเร่งกำหนดแนวทางการจัดการที่ชัดเจนให้ความสำคัญกับสวัสดิภาพสัตว์ ในการจัดการโรคระบาด รวมถึงการกำจัดหมูที่ตายหรือติดโรคในฟาร์มจำนวนมหาศาล นายโชคดี สมิทธิ์กิตติผล ผู้จัดการโครงการสัตว์ฟาร์ม องค์กรพิทักษ์สัตว์แห่งโลก ประเทศไทย กล่าวว่า “จากข้อมูลเมื่อปี พ.ศ. 2562 มีการประเมินว่ามีหมูถึง 1 ใน 4 ทั่วโลกจะตายจากการระบาดของโรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร เมื่อระบาดจะกำจัดโรคได้ยาก เพราะในปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนในการป้องกัน หมูที่ติดเชื้อมีการตายเฉียบพลันเกือบทั้งหมด ตอนนี้ในประเทศไทย เราได้เห็นจากภาพข่าวมีซากหมูที่ถูกพบในลำน้ำสาธารณะ บริเวณพื้นที่รอบๆฟาร์มหมู ฯลฯ ที่ปรากฎในสื่อหลายสำนักข่าวตลอดช่วงที่ผ่านมา ทำให้เกิดคำถามถึงวิธีการจัดการที่เหมาะสม มีมนุษยธรรมที่สอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากลเพื่อลดความเสี่ยงในการระบาดของโรคได้อย่างมีประสิทธิภาพ จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะต้องใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ทั้งหมดเพื่อจัดการทำให้สัตว์ที่ได้รับผลกระทบให้ได้รับการปฏิบัติอย่างมีมนุษยธรรม เพราะหมูคือสิ่งมีชีวิตที่มีความรู้สึกกลัว เจ็บปวดและทรมาน ไม่ต่างจากคน และในฐานะที่ประเทศไทยได้เป็นสมาชิกขององค์การสุขภาพสัตว์โลก (OIE) เราจึงอยากเน้นย้ำให้ภาครัฐของไทยให้ความสำคัญกับแนวทางการจัดการอย่างมีมนุษยธรรมและสอดคล้องกับหลักปฏิบัติสากล (Humane Culling) ตามข้อแนะนำขององค์การสุขภาพสัตว์โลก เพื่อให้การควบคุมการระบาดของโรคเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพและลดความเจ็บปวดทรมานของสัตว์” องค์กรฯ ได้พบกรณีตัวอย่างที่เกิดขึ้นในต่างประเทศที่เราได้รับรายงานพบว่า มีการฝัง
Read More