Home > Telecommunication

หัวเว่ยชี้ปีหน้าเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญของไทย พร้อมดึง 5G Cloud และ AI หนุนเศรษฐกิจดิจิทัล

ปฏิเสธไม่ได้ว่าวินาทีนี้ทั่วโลกกำลังจับตามองการมาถึงของ 5G ที่คาดการณ์กันว่าจะปฏิวัติโลกของเราในทุกๆ ด้าน นายอาเบล เติ้ง ประธานกรรมการบริหาร บริษัท หัวเว่ย เทคโนโลยี่ (ประเทศไทย) จำกัด ได้เข้าร่วมการบรรยายในงานสัมมนา “5G The New Beginning พลิกโฉมเศรษฐกิจไทย” ณ โรงแรมแกรนด์ ไฮแอท เอราวัณ โดยนายอาเบล ยืนยันว่าเทคโนโลยี 5G จะสร้างการเปลี่ยนแปลงระบบเศรษฐกิจและสังคมโดยรวมทั้งหมด อีกทั้งเน้นย้ำว่า 5G จะสำเร็จได้ ก็ต้องอาศัยความร่วมมือระหว่างภาครัฐ อุตสาหกรรม และประชาชนอย่างเต็มรูปแบบ ที่ผ่านมาวิวัฒนาการของเทคโนโลยีใช้เวลานานกว่า 20 ปี นับตั้งแต่ 2G มาจนถึง 4G แต่การมาถึงของเทคโนโลยีไอซีทีใหม่ๆ ตั้งแต่เทคโนโลยี AI Cloud และ 5G นั้นเกิดขึ้นเร็วกว่านั้นหลายเท่า และจะมีบทบาททั้งด้านการสนับสนุนโครงสร้างพื้นฐาน การตัดสินใจขององค์กรธุรกิจ ไปจนถึงการขับเคลื่อนเศรษฐกิจระดับประเทศ “เรามองว่าปี 2020

Read More

คลื่นความถี่ไม่มีพรมแดน

 ข่าวการประมูลคลื่นความถี่ในประเทศไทยเมื่อไม่นานมานี้ คงต้องถือเป็นข่าวใหญ่ประจำปี ซึ่งอาจจะมีผลต่อเนื่องไปสู่การปรับภูมิทัศน์ของอุตสาหกรรมสื่อสารโทรคมนาคมของไทยในอนาคตไม่น้อย แต่สำหรับศรีลังกาประเทศที่มีประชากรประมาณ 21 ล้านคนบนพื้นที่ 6.56 หมื่นตารางกิโลเมตรแห่งนี้ ประเด็นว่าด้วยเทคโนโลยี 2G หรือ 3G ดูจะเป็นสิ่งที่โพ้นไปจากความสนใจในการสนทนามานานแล้ว โดยศรีลังกานับเป็นประเทศแรกๆ ในภูมิภาคเอเชียใต้ที่ได้รับบริการจากระบบ 4G-LTE มาตั้งแต่เมื่อปี 2012-2013 แล้ว ตัวเลขที่น่าสนใจจากการสำรวจในช่วงปีที่ผ่านมาก็คือ ศรีลังกามีจำนวนคู่สายของโทรศัพท์ติดตั้งตามบ้าน (fixed landline) อยู่เพียง 2.6 ล้านเลขหมาย ซึ่งถือเป็นความเข้มข้น (teledensity) ในสัดส่วน 13: 100 หลังคาเรือนซึ่งถือว่าอยู่ในระดับที่ค่อนข้างน้อยมาก หากแต่จำนวนหมายเลขโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกากลับมีมากถึง 22 ล้านเลขหมาย ซึ่งทำให้สัดส่วนของประชากรต่อจำนวนผู้ใช้บริการมีสัดส่วนเป็น 100:107 ซึ่งสะท้อนภาพการเติบโตของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่ของศรีลังกาได้เป็นอย่างดี ความเป็นไปของตลาดโทรศัพท์เคลื่อนที่หรือโทรศัพท์มือถือในศรีลังกาในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนการแข่งขันของผู้ประกอบการระดับภูมิภาคที่มีนัยความหมายกว้างไกลชวนให้สนใจติดตาม เพราะด้วยขนาดของตลาดที่ดูเหมือนจะจำกัดอยู่ด้วยประชากร 20 ล้านคนนี้ กลับปรากฏว่าสมรภูมิโทรศัพท์มือถือของศรีลังกากลายเป็นสนามแข่งขันที่มีผู้สนใจเข้าลงทุนอย่างต่อเนื่อง Sri Lanka Telecom ซึ่งมีสถานะวิสาหกิจของรัฐและเป็นผู้ดูแลโครงข่ายโทรคมนาคมหลักของประเทศ เป็นผู้ให้บริการที่ครอบคลุมทั้ง fixed line และโทรศัพท์เคลื่อนที่ในนาม Mobitel ซึ่งถือเป็นผู้ประกอบการโทรศัพท์เคลื่อนที่รายแรกๆ ของศรีลังกา มาตั้งแต่เมื่อปี

Read More

ความหวังครั้งใหม่ บนธุรกิจเก่าของ SAMART

“ธุรกิจอื่นอาจล้มได้ แต่ธุรกิจนี้ล้มไม่ได้ นับตั้งแต่ปีหน้า เราจะกลับมารุกในธุรกิจแรกเริ่มของกลุ่มสามารถที่คุณพ่อก่อตั้งไว้ให้กลับมารุ่งเรืองอีกครั้ง”คำกล่าวของ วัฒน์ชัย วิไลลักษณ์ กรรมการผู้จัดการใหญ่ บริษัท สามารถคอร์ปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) หรือ SAMART หลังเสร็จสิ้นงานแถลงผลประกอบการไตรมาส 3 ปี 2556 เมื่อวันที่ 13 พ.ย. พร้อมกับใช้โอกาสนี้แถลงข่าวเปิดจำหน่ายเสาอากาศและกล่องรับสัญญาณดิจิตอลทีวี (Set Top Box) อย่างเป็นทางการ ซึ่งจะมีขึ้นในวันถัดไป“ธุรกิจดั้งเดิมของ SAMART ที่ทำมาเกือบ 60 ปี คือธุรกิจเสาอากาศและจานดาวเทียม แม้ว่ากว่าช่วง 5 ปีมานี้ ธุรกิจจานดาวเทียมของเราอาจจะไม่ได้เป็นพระเอกเหมือนตอนแรก แต่เมื่อมีการผลัดเปลี่ยนเทคโนโลยีมาสู่ทีวีดิจิตอล ซึ่งจะทำให้ธุรกิจเสาอากาศที่ SAMART มีชื่อเสียงกลับมา นี่ก็น่าจะเป็นโอกาสดีที่เราจะกลับมาให้ความสำคัญกับธุรกิจบรรพบุรุษอย่างจริงจังอีกครั้ง”อาณาจักรของกลุ่ม SAMART วันนี้ มีจุดเริ่มต้นจากธุรกิจร้านให้บริการซ่อมนาฬิกา วิทยุ และติดตั้งเสาอากาศวิทยุ โทรทัศน์ ที่จังหวัดสระบุรี ก่อนจะขยายกิจการไปสร้างโรงงานผลิตเสาอากาศโทรทัศน์ ในปี 2509

Read More