“ครัวไทยสู่โลก” เข็มมุ่งของผู้ประกอบการไทย
การประกาศรุกตลาดต่างประเทศของผู้ประกอบการด้านอาหารของไทย ดูจะกลายเป็นยุทธศาสตร์และแนวโน้มที่ไม่อาจเลี่ยงได้ในอนาคต หลังจากที่ประเทศไทยวางยุทธศาสตร์ประเทศไว้ที่การเป็นครัวของโลกมานาน เกือบทศวรรษที่ผ่านมา เครือเจริญโภคภัณฑ์รุกเข้าไปลงทุนและวางโครงข่ายการผลิตในประเทศเพื่อนบ้านอย่างต่อเนื่อง และนับเป็นทุนไทย หรือผู้ประกอบการไทย ที่มีลำดับขั้นการพัฒนาทางธุรกิจสอดรับกับยุทธศาสตร์ของชาติมากที่สุดหลายหนึ่ง ก่อนหน้านี้ CPF เคยรุกตลาดญี่ปุ่นด้วยการร่วมลงทุนกับ Yonekyu Corp. บรรษัทผู้ประกอบการผลิตและแปรรูปเนื้อสัตว์ขนาดกลางจากญี่ปุ่น ด้วยการจัดตั้งบริษัท CP-Yonekyu เมื่อช่วงปลายปี 2004 เพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับผลิตภัณฑ์ของ CPF ภายใต้ความมุ่งหวังว่าระดับการพัฒนาและเทคโนโลยีทางการผลิตของ Yonekyu อาจช่วยลดทอนระยะเวลาและเพิ่มขีดความสามารถในการเข้าสู่ตลาดญี่ปุ่นในอนาคต หลังจากที่ CPF ต้องได้รับผลกระทบจากวิกฤตการณ์ไข้หวัดนก ในช่วงก่อนหน้านั้นข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คือ ในแต่ละปีญี่ปุ่นนำเข้าไก่สดแช่เย็น-แช่แข็ง และไก่แปรรูปจากประเทศไทยมีมูลค่าเฉลี่ยกว่า 16,000 ล้านบาท ซึ่งถือเป็นสัดส่วนกว่าร้อยละ 47-52 ของมูลค่าการส่งออกเนื้อไก่ของไทย การสูญเสียตลาดส่งออกไก่ดังกล่าวได้ส่งผลให้ผู้ประกอบการไทยต้องปรับเปลี่ยนกระบวนการผลิตและแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่ๆ ขึ้นมารองรับกับรายได้ที่หดหายไปด้วยแต่การปรับตัวของผู้ประกอบการไทย ย่อมมิได้เกิดขึ้นโดยลำพัง ท่ามกลางสุญญากาศที่ปราศจากคู่แข่งขันในการช่วงชิงช่องทางธุรกิจนี้ เพราะผู้ประกอบการเลี้ยงสุกรทั้งจากยุโรปและอเมริกา ต่างติดตามสถานการณ์และความเชื่อที่ว่า “วิกฤตของไก่คือโอกาสของหมู”CPF พยายามขยายบริบททางธุรกิจให้กว้างขวางออกไปจากปริมณฑลของไก่ โดยได้ขยายบริบททางธุรกิจเข้าสู่ Aquaculture และการขยายฐานรายได้ในหมวด Hams & Sausages รวมถึงธุรกิจแปรรูปอาหาร (processed foods) อีกหลากหลายที่กำลังมีบทบาทสำคัญและเป็นส่วนหนึ่งในความสำเร็จของ
Read More