Home > Politic

เกาหลีเหนือ จากความไม่แคร์ สู่ภัยคุกคาม

หากจะมีผู้นำประเทศรายใดที่มีสไตล์และภาพลักษณ์เป็นที่น่าจดจำอย่างโดดเด่น เชื่อแน่ว่า คิม จองอึน ผู้นำเกาหลีเหนือคนปัจจุบัน จะถูกจัดให้เป็นหนึ่งในผู้นำที่ผู้คนกล่าวขวัญถึงมากที่สุดรายหนึ่ง ซึ่งทั้งหมดอาจไม่ใช่เพราะความสามารถในการบริหาร หรือทักษะด้านใดๆ ที่สื่อแสดงให้ได้เห็นเป็นประจักษ์ หากแต่เป็นผลมาจากความไม่แคร์ หรือไยไพต่อความเป็นไปของโลกต่างหากที่ทำให้ผู้นำรายนี้มีความน่าสนใจอย่างพิเศษ ความตึงเครียดในคาบสมุทรเกาหลีในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ก็บังเกิดขึ้นจากผลของความไม่สนใจความเป็นไปในระดับนานาชาติ และเป็นความท้าทายที่สุ่มเสี่ยงที่จะก่อให้เกิดเป็นชนวนสงครามครั้งใหม่ ที่อาจไม่ได้จำกัดพื้นที่ความเสียหายอยู่ในวงแคบๆ เท่านั้น ความเป็นไปของสังคมเกาหลีเหนือนับตั้งแต่ยุคของ คิม อิลซุง (15 เมษายน พ.ศ. 2455–8 กรกฎาคม พ.ศ. 2537) ซึ่งก้าวขึ้นเป็นผู้นำเกาหลีเหนือบนตำแหน่งนายกรัฐมนตรีตั้งแต่เมื่อเริ่มก่อตั้งประเทศในปี 2491 และก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีคนแรกในปี 2515 นอกจากจะดำเนินไปบนหนทางของความยากลำบากผ่านทั้งสงครามโลกครั้งที่ 2 สงครามเกาหลี และยุคสมัยแห่งสงครามเย็น ยังประกอบส่วนด้วยลัทธิบูชาบุคคล (cult of personality) ที่ทำให้เมื่อคิม อิลซุง ถึงแก่อสัญกรรม จะได้รับการสถาปนาและมอบสมญานามให้เป็นประธานาธิบดีตลอดกาล (Eternal President) การขึ้นสู่อำนาจของคิม จองอิล (16 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2484–17 ธันวาคม พ.ศ.2554) สืบต่อจาก คิม

Read More

ชะตาชีวิตท่านผู้นำสตรี

 Column: AYUBOWAN ข่าวความเป็นไปในช่วงเดือนพฤศจิกายนที่ผ่านมา ดูเหมือนว่าสังคมรอบข้างจะให้ความสำคัญกับจังหวะก้าวของ “ผู้นำสตรี” ที่อาจจะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงที่สื่อแสดงให้เห็นอนาคตครั้งใหม่ในเมียนมา หรือแม้กระทั่ง “ผู้นำสตรี” ที่อาจถูกพิจารณาคดีจากผลแห่งนโยบายในอดีต ขณะเดียวกัน ถ้อยความในลักษณะ “คนคำนวณหรือจะสู้ฟ้าลิขิต” ก็อาจวาบแวบเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งที่บ่งบอกชะตาชีวิตว่าช่างไม่มีสิ่งใดแน่นอน และอาจกลับดำเป็นขาว เปลี่ยนความสว่างให้กลายเป็นความมืดบอด ได้อย่างง่ายดาย ราวกับการพลิกฝ่ามือของพระเป็นเจ้าที่มีอำนาจเหนือสรรพสิ่งทั้งปวง ซึ่งความเป็นไปของ Sirimavo Bandaranaike (17 เมษายน 1916-10 ตุลาคม 2000) ก็คงเป็นไปในท่วงทำนองที่ว่านี้ ในช่วงทศวรรษ 1960 ชื่อของ Sirimavo Bandaranaike ถือเป็นประหนึ่งแม่เหล็กที่ดึงดูดความสนใจของผู้คนทั่วโลก เมื่อเธอก้าวเข้าสู่เส้นทางการเมืองและก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งนายกรัฐมนตรีหญิงคนแรกของศรีลังกาและของโลก เมื่อวันที่ 21 กรกฎาคม 1960  แม้ว่า Sirimavo Bandaranaike จะเกิดในครอบครัวชนชั้นนำของศรีลังกาและมีความเกี่ยวพันกับการเมืองและความเป็นไปของศรีลังกามาอย่างยาวนาน หากแต่ภายใต้บทบาทสุภาพสตรีหมายเลขหนึ่ง ในฐานะภริยาท่านนายกรัฐมนตรี ดูเหมือนจะเพียงพอและเป็นที่พึงใจสำหรับเธอแล้ว แต่พลันที่ Solomon West Ridgeway Dias (S.W.R.D.) Bandaranaike (8 มกราคม 1899-26 กันยายน

Read More

ถอดรหัสเลือกตั้งเมียนมา “ประชาธิปไตยแบบมีวินัย”

 โฉมหน้าทางการเมืองของประเทศเพื่อนบ้านทางทิศตะวันตกของไทย ในนามเมียนมา กำลังเข้าสู่ห้วงเวลาที่น่าสนใจติดตาม ซึ่งอาจเป็นการกำหนดบทบาทและทิศทางการขับเคลื่อนประเทศบนหนทางประชาธิปไตยที่สำคัญที่สุดอีกครั้งหนึ่ง การเลือกตั้งทั่วไปที่กำหนดให้มีขึ้นในวันที่ 8 พฤศจิกายน 2558 ได้รับความสนใจและเป็นที่จับตามองจากประชาคมนานาชาติว่าจะดำเนินไปอย่างสุจริตเที่ยงธรรมและเป็นประชาธิปไตยมากน้อยเพียงใด ซึ่งความคาดหวังเหล่านี้อาจเป็นเพียงแนวคิดอุดมคติ เพราะในความเป็นจริงที่ปรากฏในปัจจุบัน กระบวนการเปลี่ยนผ่านตาม Roadmap to Discipline-flourishing Democracy ของเมียนมาที่ประกาศไว้ตั้งแต่เมื่อปี 2003 ยังต้องเผชิญกับอุปสรรคและความไม่แน่นอนอยู่พอสมควร เงื่อนไขสำคัญอีกประการหนึ่งที่เป็นเสมือนเครื่องหมายของการกระชับอำนาจของฝ่ายทหารในการรักษาอำนาจไว้ก็คือ บทบัญญัติของรัฐธรรมนูญที่ระบุให้มีการแต่งตั้งสมาชิกรัฐสภาในสัดส่วนที่มากถึงหนึ่งในสี่ของจำนวนสมาชิกที่พึงมี โดยสมาชิกแต่งตั้งเหล่านี้มีสิทธิที่จะยับยั้งการแก้ไขรัฐธรรมนูญที่ฝ่ายทหารเป็นผู้ยกร่างอีกด้วย แม้ความเป็นไปในบทบัญญัตินี้จะได้การวิพากษ์และท้วงติงจากประชาคมประชาธิปไตย แต่ฝ่ายกุมอำนาจในเมียนมา ระบุว่านี่คือการสร้างประชาธิปไตยแบบมีวินัย หรือ Discipline-flourishing Democracy ซึ่งทำให้ผลการเลือกตั้งที่กำลังจะเกิดขึ้น นอกจากจะได้รับการประเมินในมิติของความโปร่งใสและสะท้อนเจตจำนงที่แท้จริงของประชาชนเมียนมาเพียงใดแล้ว ยังต้องประเมินต่อไปอีกว่าจะสามารถมีนัยความหมายมากพอที่จะสร้างกระบวนการประชาธิปไตยที่แท้จริงให้เกิดขึ้นได้หรือไม่ ขณะเดียวกัน ท่ามกลางพรรคการเมืองจำนวนมากถึง 91 พรรค พรรค NLD (National League for Democracy) ที่นำโดยออง ซาน ซู จี (Aung San Suu Kyi) ผู้นำฝ่ายค้านคนสำคัญ ได้รับการคาดหมายว่าจะได้รับคะแนนเสียงท่วมท้น แต่นั่นก็เป็นการคาดการณ์จากผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อครั้งที่เกิดขึ้นในปี 1990 ที่

Read More

มาเลือกตั้งกันเถอะ

 Column: AYUBOWAN ขณะที่ความเป็นไปในแวดวงการเมืองไทยยังมีสภาพประหนึ่งติดบ่วงให้ต้องละล้าละลังและชะงักงันไม่สามารถเคลื่อนไปข้างหน้าได้อย่างตั้งใจ ภายใต้คำถามว่าจำเป็นต้องปฏิรูปก่อนการเลือกตั้งหรือไม่ และจะปฏิรูปสิ่งใด อย่างไรให้เกิดเป็นรูปธรรมที่ชัดเจน ซึ่งดูเหมือนว่ากำหนดการเลือกตั้งที่ผู้คนในสังคมจำนวนหนึ่งรอคอยจะไม่ได้ถูกบรรจุในปฏิทินไปอีกนานทีเดียว แต่สำหรับสังคมศรีลังกา ซึ่งเพิ่งผ่านการเปลี่ยนแปลงอำนาจของผู้นำในตำแหน่งประธานาธิบดีตามระบอบประชาธิปไตยครั้งใหญ่เมื่อเดือนมกราคมที่ผ่านมา พวกเขากำลังเดินหน้าเข้าสู่คูหาเลือกตั้งอีกครั้งเพื่อลงคะแนนเสียงในการเลือกตั้งทั่วไปเพื่อสรรหาสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรจำนวน 225 ที่นั่งมาทำหน้าที่ในสภานิติบัญญัติ ไม่ได้หมายความว่าตลอดเวลาที่ผ่านมาศรีลังกา เป็นบ้านป่าเมืองเถื่อนที่ไม่ได้มีสภานิติบัญญัตินะคะ หากแต่ไมตรีพละ สิริเสนา (Maithripala Sirisena) ประธานาธิบดีคนปัจจุบันประกาศยุบสภาเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน ที่ผ่านมา เพื่อให้เกิดมีการเลือกตั้งก่อนกำหนดครบวาระ โดยจะเลือกตั้งกันในวันที่ 17 สิงหาคม 2558 นี้ มูลเหตุที่ทำให้ศรีลังกามีการเลือกตั้งทั่วไปครั้งใหม่เร็วขึ้นกว่ากำหนดถึงกว่า 10 เดือน โดยการเลือกตั้งทั่วไปครั้งล่าสุดคือเมื่อเมษายน 2010 และมีวาระ 6 ปีก็คือ คำมั่นสัญญาว่าด้วยการปฏิรูปทางการเมืองของไมตรีพละ สิริเสนา เมื่อต้นปี 2015 หลังจากครองชัยชนะในการเลือกตั้งตำแหน่งประธานาธิบดี ซึ่งสามารถโค่น Mahinda Rajapaksa ให้ต้องพ้นจากตำแหน่งไปท่ามกลางความแปลกใจของผู้สังเกตการณ์แต่ละกลุ่ม การก้าวขึ้นสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีของไมตรีพละ สิริเสนา หลังการเลือกตั้งประชาธิปไตยเมื่อเดือนมกราคม 2015 ติดตามมาด้วยคำมั่นสัญญาและแผนปฏิรูป 100 วัน เพื่อแก้ไขข้อกำหนดบางประการในรัฐธรรมนูญ โดยเฉพาะวาระและอำนาจหน้าที่ของประธานาธิบดี ที่ก่อนหน้านี้

Read More

ศรีลังกา: ชัยชนะของประชาชน?

 ผลการเลือกตั้งประธานาธิบดีศรีลังกาเมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมากำลังส่งสัญญาณให้ผู้มีอำนาจในหลายประเทศได้ตระหนักว่าการสืบทอดอำนาจทางการเมืองในห้วงเวลานับจากนี้ ไม่สามารถกระทำได้โดยผลของการเจรจาต่อรองอย่างลับๆ ในหมู่ชนชั้นนำ โดยปราศจากความเห็นชอบของประชาชนได้อีกต่อไปแล้ว เพราะในความเป็นจริงพลังของประชาชนต่างหากที่จะเป็นผู้กำหนดและเลือกหนทางเดินเพื่อความเป็นไปของประเทศชาติและพวกเขาเอง ก่อนหน้าที่ศรีลังกาจะเข้าสู่กระบวนการเลือกตั้งครั้งนี้ อดีตประธานาธิบดี Mahinda Rajapaksa ซึ่งครองอำนาจมาอย่างยาวนานนับตั้งแต่ปี 2004 ในตำแหน่งนายกรัฐมนตรีและก้าวสู่ตำแหน่งประธานาธิบดีในปี 2005 และถือเป็นผู้นำทางการเมืองที่ครองตำแหน่งและบทบาทอำนาจยาวนานที่สุดคนหนึ่งในเอเชียใต้ในปัจจุบัน จะมีความมั่นใจเต็มเปี่ยมว่าจะสามารถครองชัยชนะ และสามารถกลับมาดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีอีกครั้งเป็นวาระที่ 3 ได้ในการเลือกตั้งครั้งใหม่ได้อย่างง่ายดาย ความมั่นใจของ Mahinda Rajapaksa ที่ประกอบส่วนด้วยผลงานการยุติสงครามกลางเมืองกับกลุ่มทมิฬ จากผลของการปราบปรามรุนแรง และการดำรงอำนาจที่ต่อเนื่องยาวนาน สอดคล้องกับการประเมินของสื่อและนักวิเคราะห์การเมืองจากหลายสำนักที่ว่า หากไม่ใช่ Mahinda Rajapaksa แล้ว ศรีลังกามีทางเลือกอื่นๆ อีกหรือไม่ ซึ่งกลายเป็นคำถามที่ท้าทายมากในสังคมศรีลังกาตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา โดยเฉพาะจากข้อเท็จจริงที่ว่า แม้ความนิยมในตัว Mahinda Rajapaksa อาจจะลดลงแต่ในฐานะผู้คุมกลไกอำนาจ Mahinda Rajapaksa คงไม่ยอมพ่ายแพ้การเลือกตั้งก่อนกำหนดที่เขาคาดหวังจะใช้เป็นโอกาสในการต่ออายุและหลีกหนีจากข้อจำกัดของการครองอำนาจตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญที่ระบุให้ดำรงตำแหน่งประธานาธิบดีได้เพียง 2 วาระเท่านั้น และการเลือกตั้งครั้งนี้คงเป็นเพียงพิธีกรรมที่ทำรองรับความชอบธรรมให้ Mahinda Rajapaksa อยู่ในตำแหน่งต่อไปได้อย่างไม่ยากเย็น แต่การณ์กลับกลายเป็นการเลือกตั้งที่มีการแข่งขันแหลมคมและใกล้เคียงอย่างที่สุด เพราะพลันที่ Mahinda Rajapaksa ประกาศในเดือนพฤศจิกายน 2014 ให้มีการเลือกตั้งประธานาธิบดีในวันที่ 8 มกราคม

Read More

ภรรยาท่านนายกฯ

 ความเป็นไปของสังคมการเมืองในประเทศไทยชั่วโมงนี้ เชื่อว่าจุดสนใจคงบ่ายเบนออกไปจากเรื่องของการจัดระเบียบกำลังพลภายใต้กลไกแห่งอำนาจออกไปมากแล้ว หลังจากที่ประเด็นต่างๆ เริ่มคลี่คลายและปรากฏชัดเจนว่าใครเป็นใครในเกมแห่งอำนาจนี้ แต่การปรากฏตัวของสตรีนางหนึ่งในฐานะภริยาท่านผู้นำ อาจกระตุกต่อมความอยากรู้อยากเห็น  ก่อนจะนำไปสู่การถามไถ่ถึงที่มาและบทบาทในช่วงก่อนหน้านี้ สิ่งที่เกิดขึ้นในสังคมไทยในช่วงเวลานี้ ทำให้นึกย้อนกลับไปถึงท่วงทำนองของ โนบูโกะ คัง (Nobuko Kan) ภรรยาของ นาโอโตะ คัง (Naoto Kan) อดีตนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น เพราะตามปกติธรรมดา ผู้คนในแวดวงการเมืองมักเรียกขานภรรยาของท่านผู้นำทั้งหลายในฐานะสตรีหมายเลขหนึ่ง หากแต่เธอผู้นี้ไม่ประสงค์ที่จะถูกเรียกขานในฐานะ สตรีหมายเลขหนึ่งเท่าใดนัก “เรียกฉันว่า ภรรยาของนายกรัฐมนตรี ก็เพียงพอแล้ว” เธอบอกกับสื่อมวลชนในวันแถลงข่าวเปิดตัวหนังสือ “อะไรในโลกนี้จะเปลี่ยนไปหรือถ้าคุณเป็นนายกรัฐมนตรีญี่ปุ่น” เมื่อปี 2011 โนบูโกะ คัง ได้ชื่อว่าเป็น “หลังบ้าน” ที่มีบทบาทสูงมากคนหนึ่ง ในสังคมการเมืองญี่ปุ่นเลยก็ว่าได้ ซึ่งเรื่องนี้ นาโอโตะ คัง คงตระหนักดีและเป็นผู้ยืนยันต่อสาธารณะด้วยว่า ภรรยาของเขา คือผู้สนับสนุนที่ทรงอำนาจและเป็นผู้มีสิทธิออกเสียงที่วิพากษ์วิจารณ์เขาหนักหน่วงที่สุดด้วย “หากนโยบายที่สามีของฉันนำเสนอ ไม่สามารถสร้างความประทับใจ หรืออธิบายให้ฉันเห็นได้ว่านโยบายที่ว่านี้ดีอย่างไร ก็อย่าไปหวังว่าผู้มีสิทธิเลือกตั้งคนอื่นจะชื่นชมและตัดสินใจเลือกลงคะแนนให้เลย” นั่นเป็นเหตุให้ คู่สมรสคู่นี้มีวิวาทะเผ็ดร้อนอย่างต่อเนื่องโดยเฉพาะอย่างยิ่งในมิติของการร่างและนำเสนอนโยบาย  ขณะเดียวกันด้วยท่าทีที่ชัดเจน ตรงไปตรงมา และพร้อมจะกระโจนลงไปสู่การปฏิบัติ ด้วยทัศนะทางการเมืองที่แหลมคม ทำให้ผู้คนในวงการเมืองญี่ปุ่นยกให้ โนบูโกะ คัง เป็น

Read More

ชัยชนะของ ชินโซ อาเบะ และการกลับมาของ “ความเป็นญี่ปุ่น”

ชัยชนะอย่างท่วมท้นของพรรคเสรีนิยมประชาธิปไตย หรือ LDP (Liberal Democratic Party) จากผลการเลือกตั้งทั่วไปเมื่อวันที่ 16 ธันวาคม 2555 ที่ผ่านมา ซึ่งทำให้พรรค LDP มีที่นั่งในสภาญี่ปุ่นมากถึง 294 ที่นั่งจากจำนวนรวม 480 ที่นั่ง ซึ่งเมื่อผนวกกับพันธมิตรจากพรรคนิว โคเมะโตะ (New Komeito) ที่ได้รับเลือกอีก 31 ที่นั่ง ก็หมายความว่าพรรครัฐบาลใหม่ของญี่ปุ่น ภายใต้การนำของชินโซ อาเบะ (Shinzo Abe) จะมีจำนวนเสียงมากถึง 325 ที่นั่ง ซึ่งเกินกว่า 2 ใน 3 ที่เป็นสัดส่วนสำคัญในการผลักดันกฎหมายและนโยบายในอนาคตได้อย่างสะดวกด้วย ผลการเลือกตั้งของญี่ปุ่นที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งสะท้อนความคิดและความหวังที่ชาวญี่ปุ่นปรารถนาจะให้รัฐนาวาลำใหม่ของชินโซ อาเบะ ต่อสู้กับภาวะเศรษฐกิจถดถอยซึ่งเรื้อรังต่อเนื่องมานานนับทศวรรษ โดยชินโซ อาเบะ ซึ่งเคยดำรงตำแหน่งนายกรัฐมนตรี ระหว่างกันยายน 2549-กันยายน 2550 มาแล้วหนึ่งครั้ง ประกาศตลอดการรณรงค์หาเสียงในปี 2555 ว่า

Read More