MOCHIKO: โมจิความสุข
ช่วงก่อนออกพรรษาที่ผ่านมา นอกเหนือจากประเพณีไหว้พระจันทร์ ที่หลายคนบ่นผิดหวัง เพราะเมฆฝนบดบังทัศนียภาพจนไม่สามารถชื่นชมความสง่างามของจันทร์ได้ แต่เชื่อว่าหลายท่านคงได้ร่วมบำเพ็ญกุศลใหญ่ ทั้งเทศกาลสารทไทย หรือสารทเดือนสิบ ต่อเนื่องด้วยเทศกาลถือศีลกินผักเป็นการชำระจิตใจเทศกาลงานบุญแบบไทยๆ ที่มีทั้งขนมลาและกระยาสารท ทำให้นึกถึงอาหารญี่ปุ่น ที่กล่าวได้ว่าเป็นได้ทั้งอาหารหลักและของทานเล่นที่สะท้อนความเป็นญี่ปุ่นได้ดีที่สุดชนิดหนึ่ง อย่างโมจิ (Mochi) ไม่น้อยเลย ยิ่งในช่วงเทศกาลต่างๆ ของญี่ปุ่น Daifuku Mochi หรือขนมโมจิที่มีขนาดใหญ่เป็นพิเศษกลายเป็นของขวัญที่ส่งมอบให้แก่กันและกันอย่างกว้างขวาง ด้วยเหตุที่ Dai แปลว่าใหญ่ ส่วน fuku แปลว่าโชค Daifuku Mochi จึงอาจแปลเป็นไทยได้ประมาณว่า โมจิมหาโชค ซึ่งเป็นมงคลนามสำหรับเทศกาลแห่งความสุขจริงๆ แต่ท่านผู้อ่านอย่างเพิ่งพุ่งเป้าสรุปไปที่ โมจิ ที่เป็นชื่อเรียกขนมที่เราคุ้นเคยแต่โดยลำพังอย่างเดียว เพราะในความเป็นจริง Mochi กินความกว้างขวางไปถึงการแปรรูปข้าวให้กลายเป็นแป้ง หรือ Mochiko ด้วย ซึ่งนอกจากจะเป็นอาหารที่มีส่วนร่วมอยู่ในพิธีกรรมและเทศกาลสำคัญของญี่ปุ่นแล้วกระบวนการก่อนที่จะได้แป้งโมจิ (Mochiko) ยังสะท้อนวิธีคิดและสอดแทรกวิถีปฏิบัติสำหรับการอยู่ร่วมในชุมชนไว้อย่างแยบยล เพราะด้วยเหตุที่แป้งโมจิหรือ Mochiko แปรรูปมาจากการนำข้าวหุงสุกมาทุบโขกให้ละเอียดเป็นเนื้อเดียวกัน จนมีลักษณะเหนียวนุ่ม กรรมวิธีดังกล่าวจึงต้องอาศัยความร่วมมือร่วมใจและแรงงานในการประกอบไม่น้อย ช่วงเดือนกันยายนที่ผ่านมา ในประเทศไทยนอกจากจะมีสารทไทย หรืองานบุญเดือนสิบให้ได้ร่วมกันปรุงกระยาสารทแล้ว ยังมีเทศกาลไหว้พระจันทร์ ซึ่งในช่วงเดียวกันนี้ของญี่ปุ่นก็จะมีเทศกาลชมพระจันทร์ หรือ Otsukimi ซึ่งใกล้เคียงกับเทศกาลไหว้พระจันทร์ของชาวจีน ที่ญี่ปุ่นได้รับอิทธิพลทางประเพณีว่าด้วย
Read More