อนิจจาน่าเสียดาย-Mottainai
ในยุคสมัยปัจจุบัน เชื่อว่าคงมี คำ ในภาษาญี่ปุ่นมากมายหลายคำที่เราท่านต่างคุ้นเคยกันดี แม้กระทั่งนำมาพูดคุยสื่อความในชีวิตประจำวันกันอยู่เนืองๆ ในด้านหนึ่งก็คงเป็นเพราะมีชาวญี่ปุ่นจำนวนมากเป็นผู้เผยแพร่ผ่านการท่องเที่ยว ขณะที่สื่อทั้งของไทยและญี่ปุ่นก็ทำหน้าที่ส่งเสริมการเรียนรู้ผ่านวัฒนธรรมไปพร้อมกันลองนึกถึงคำประมาณ Oishi ที่แปลว่าอร่อย ซึ่งกลายเป็นชื่อร้านอาหารและเครื่องดื่ม หรือ Arigato ที่กลายเป็นชื่อขนมขบเคี้ยว รวมไปถึง Sugoiที่อ่านออกเสียงแบบไทยๆ ได้หลากหลายอารมณ์เหลือเกิน และใช้แทนค่า ความรู้สึกได้อย่างไม่จำกัดสถานการณ์หากแต่คำอุทานในภาษาญี่ปุ่นที่ใช้กันจนคุ้นปากและแพร่หลายในวงกว้างอย่าง mottainai กลับกลายเป็นนิยามของแนวความคิดว่าด้วยการอนุรักษ์และพิทักษ์สิ่งแวดล้อม โดยมีหญิงชาวเคนยาคนหนึ่ง เป็นประหนึ่งกระบอกเสียงที่ช่วยกระจายนัยความหมายของถ้อยความคำนี้Mottainai ไม่ใช่คำญี่ปุ่นที่เพิ่งประดิษฐ์ขึ้นมาใหม่ หากแต่ในความเป็นจริง คำคำนี้ ซึมลึกอยู่ในสังคมญี่ปุ่นมานานแสนนาน โดยมีความหมายไปในทางที่สะท้อนความน่าเสียใจเสียดายต่อสิ่งมีคุณค่าที่ต้องถูกทิ้งให้เสียหายไปอย่างเปล่าประโยชน์ รวมถึงการใช้สิ่งมีค่าไปอย่างผิดวิธีฟังดูแล้ว อาจไม่ค่อยเข้ายุคเข้าสมัยสักเท่าใดใช่ไหม เพราะสังคมทุกวันนี้เห็นมีแต่เรื่องเปล่าเปลืองเป็นส่วนมาก โอกาสที่จะใช้คำว่า mottainai จึงดูเหมือนจะถูกบีบให้แคบลงไปอีกแต่หญิงชาวเคนยาที่ทำให้ mottainai แพร่หลายไปไกลคนนี้ เธอไม่ใช่ธรรมดา หากเป็นผู้ได้รับรางวัลโนเบลสาขาสันติภาพ หรือ Nobel Peace Prize เมื่อปี 2004 มาแล้วWangari Muta Maathai ชาวเคนยาคนนี้ เป็นผู้หญิงแอฟริกาคนแรกที่ได้รับรางวัลโนเบล และเป็นผู้รับรางวัลสาขาสันติภาพคนแรกที่มีปูมหลังเป็นนักสิ่งแวดล้อมอีกด้วยบทบาทและสถานะของเธอที่ผ่านมา ดูจะไม่ค่อยมีเหตุให้ต้องมาเกี่ยวข้องกับเรื่อง
Read More