Home > Law

กฎหมายใหม่ของไอซ์แลนด์เพื่อยุติปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้ชายและผู้หญิง

Column: Women in wonderland ปัญหาช่องว่างระหว่างรายได้เป็นปัญหาที่เกิดขึ้นในทุกประเทศ รวมถึงประเทศที่พัฒนาแล้ว คำว่า ช่องว่างระหว่างรายได้ของผู้หญิงผู้ชาย หรือที่ภาษาอังกฤษใช้คำว่า “Gender Pay Gap” นั้นหมายถึง การที่ผู้หญิงผู้ชายเข้าทำงานในเวลาพร้อมกัน มีคุณสมบัติเหมือนกัน รับผิดชอบหน้าที่เหมือนกัน แต่กลับได้รับรายได้ไม่เท่ากันเพียงเพราะ “เพศ” แตกต่างกัน ปัญหาที่ดูเหมือนจะได้รับการแก้ไขและได้รับความสนใจจากรัฐบาลประเทศต่างๆ มีการผ่านกฎหมาย Equal Pay Act ในหลายๆ ประเทศ เช่น อเมริกา อังกฤษ และสหภาพยุโรป เป็นต้น และยังมีการกำหนดวัน Equal Pay Day ซึ่งจะมีประชาชนและนักเรียกร้องสิทธิออกมาเดินบนถนนเพื่อเรียกร้องให้รัฐบาลให้ความสนใจ ซึ่งวัน Equal Pay Day นี้ในแต่ละประเทศจะไม่เหมือนกัน อย่างที่เยอรมนี เป็นวันที่ 18 มีนาคม ขณะที่อังกฤษคือวันที่ 10 พฤศจิกายน อย่างในปีนี้ เมื่อวันที่ 18 มีนาคมที่ผ่านมา

Read More

พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงานฉบับใหม่ ฤๅเป็นเพียงฝันค้างที่แสนหวาน

ข่าวการลงมติเห็นชอบร่างพระราชบัญญัติคุ้มครองแรงงาน พ.ศ... โดยที่ประชุมคณะรัฐมนตรี เมื่อต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา นอกจากจะเป็นการปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานเพื่อทดแทน พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน พ.ศ. 2541 ที่ใช้มานานกว่า 20 ปีแล้ว ยังมีการกำหนดเพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” และสาระสำคัญที่ดูเหมือนการเพิ่มสิทธิให้แก่ลูกจ้างอีกด้วย ความพยายามที่จะปรับแก้กฎหมายคุ้มครองแรงงานให้มีความทันสมัยและสอดคล้องกับสถานการณ์และบริบททางเศรษฐกิจสังคมที่เปลี่ยนไป นับเป็นเรื่องที่น่าชื่นชม เพราะตลอดเวลานับตั้งแต่มีการบังคับใช้ พ.ร.บ. คุ้มครองแรงงาน เมื่อปี 2541 ยังพบว่ามีช่องโหว่ทำให้ลูกจ้างไม่ได้รับความเป็นธรรม โดยเฉพาะการถูกเลิกจ้าง จนนำไปสู่ปัญหาการร้องเรียน และกลายเป็นกรณีพิพาทระหว่างนายจ้างและลูกจ้าง ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของลูกจ้างมาโดยตลอด หากแต่สภาพข้อเท็จจริงและการปฏิบัติตามข้อบังคับของการใช้กฎหมายฉบับใหม่ที่ว่านี้ อาจจะดูเป็นเพียง “ฝันค้างที่แสนหวาน” และหลักประกันที่อาจไม่มีการรับรองให้เกิดผลได้จริงสำหรับลูกจ้าง เมื่อต้องเผชิญสภาพเลวร้ายจากการล่มสลายของนายจ้างที่ทำให้ต้องบอกเลิกการจ้างงานอย่างจริงจังอีกครั้งหนึ่ง สาระสำคัญที่เพิ่มเติมและมีประเด็นให้พิจารณาในกฎหมายดังกล่าว นอกจากจะอยู่ที่ประเด็นสิทธิพื้นฐานว่าด้วย กำหนดให้ลูกจ้างมีสิทธิลากิจธุระอันจำเป็นปีหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างในวันลาเพื่อกิจธุระอันจำเป็นหนึ่งไม่น้อยกว่า 3 วันทำงาน หรือการกำหนดให้ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงมีครรภ์มีสิทธิลาเพื่อตรวจครรภ์ในระหว่างตั้งครรภ์ได้ โดยเมื่อรวมกับการลาเพื่อคลอดบุตรแล้วครรภ์หนึ่งไม่เกิน 90 วัน และกำหนดให้นายจ้างจ่ายค่าจ้างให้แก่ลูกจ้างซึ่งเป็นหญิงในวันลาเพื่อตรวจครรภ์และเพื่อคลอดบุตรเท่ากับค่าจ้างในวันทำงานตลอดระยะเวลาที่ลา แต่ไม่เกิน 45 วัน และกำหนดให้งานที่มีคุณค่าเท่ากันลูกจ้างชายหรือหญิงได้รับค่าจ้างเท่าเทียมกัน แต่ประเด็นที่เป็นจุดใหญ่ใจความของร่าง พ.ร.บ. ฉบับใหม่นี้อยู่ที่การกำหนดให้เพิ่มเติมนิยาม “ค่าตอบแทน” ในมาตรา 5

Read More

พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว 2560 ความล้มเหลวในการบริหารนโยบาย?

การประกาศใช้พระราชกำหนดการบริหารจัดการการทำงานของคนต่างด้าว พ.ศ.2560 (พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว) เมื่อช่วงปลายเดือนมิถุนายนที่ผ่านมา นอกจากจะกลายเป็นประเด็นร้อน ที่ส่งผลสะเทือนต่อแวดวงธุรกิจ อุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องหลากหลายแล้ว กรณีดังกล่าวยังเป็นประหนึ่งภาพสะท้อนและตอกย้ำความล้มเหลวในการบริหารจัดการนโยบายสาธารณะที่รัฐบาลภายใต้การดูแลของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ผลิตซ้ำและละเลยที่จะเรียนรู้อีกด้วย สถานการณ์ของแรงงานต่างด้าวภายหลังการประกาศบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าว พ.ศ.2560 เมื่อวันที่ 23 มิถุนายน 2560 ติดตามมาด้วยความตื่นตระหนกและหวาดวิตกทั้งในส่วนของผู้ประกอบการและแรงงานต่างด้าว เนื่องเพราะในกฎหมายฉบับดังกล่าวระบุบทลงโทษในกรณีที่นายจ้างรับคนต่างด้าวทํางานที่ห้ามคนต่างด้าวทํา หรือรับคนต่างด้าวที่ไม่มีใบอนุญาตทำงานเข้าทํางาน มีโทษปรับตั้งแต่ 400,000-800,000 บาท ต่อคนต่างด้าวที่จ้าง 1 คน นายจ้างให้คนต่างด้าวทำงานไม่ตรงตามที่กำหนดไว้ในใบอนุญาตมีโทษปรับไม่เกิน 400,000 บาทต่อคนต่างด้าว 1 คน ภาพของคลื่นแรงงานต่างด้าวที่ไหลบ่าเดินทางกลับประเทศบ้านเกิดตามแนวและจุดผ่านแดนไทยกับเพื่อนบ้านปรากฏให้เห็นทันทีเมื่อข่าวการบังคับใช้กฎหมายนี้เผยแพร่ออกไป และทำให้ภาคธุรกิจอุตสาหกรรมต้องขาดแคลนแรงงานฉับพลัน สร้างความสูญเสียทางเศรษฐกิจและความเชื่อมั่นในการประกอบกิจการไปโดยปริยาย ความสูญเสียทางเศรษฐกิจและผลกระทบจากการบังคับใช้ พ.ร.ก.แรงงานต่างด้าวได้รับการประเมินว่าในกรณีที่กระทบน้อยที่สุดจะมีมูลค่าความเสียหายไม่ต่ำกว่า 1.24 หมื่นล้านบาท หรือคิดเป็นร้อยละ 0.08 ของผลิตภัณฑ์มวลรวมภายในประเทศ (GDP) และอาจขยายความเสียหายไปสู่ระดับปานกลางที่ร้อยละ 0.2 ของ GDP คิดเป็นมูลค่า 2.84 หมื่นล้านบาท หรือในกรณีกระทบรุนแรงจะส่งผลเสียหายเป็นมูลค่า 4.65 หมื่นล้านบาท หรือในระดับร้อยละ

Read More

จาก พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ สู่การปรับตัวครั้งใหญ่

ภูมิทัศน์ในแวดวงสื่อสารมวลชนกำลังได้รับแรงสั่นสะเทือนครั้งใหม่ เมื่อกลไกรัฐพยายามอย่างแข็งขันที่จะผ่าน พ.ร.บ. การคุ้มครองสิทธิ เสรีภาพ ส่งเสริมจริยธรรมและมาตรฐานวิชาชีพสื่อมวลชน พ.ศ....ที่มีนัยของการ ควบคุม มากกว่าการคุ้มครองและส่งเสริม ตามชื่อเรียกของ พ.ร.บ. จนเป็นเหตุให้ร่างกฎหมายฉบับนี้ถูกเรียกขานในนาม พ.ร.บ. ควบคุมสื่อ พร้อมกับได้รับการวิพากษ์ว่าเป็นร่างกฎหมายที่ตั้งอยู่บนฐานความคิดของ พ.ร.บ. การพิมพ์ พ.ศ.2484 และประกาศของคณะปฏิวัติของกลุ่มเผด็จการทหารที่สืบทอดเป็นมรดกทางความคิดต่อเนื่องออกมาอีกหลายฉบับในเวลาต่อๆ มา ประหนึ่งเป็นความพยายามของผู้มีและยึดกุมอำนาจรัฐที่เติบโตผ่านยุคสมัยอนาล็อก ที่กำลังต้องดำเนินชีวิตอยู่กับโลกดิจิทัลสมัยใหม่ เพื่อรักษาสถานภาพดั้งเดิมไว้ให้นานที่สุดเท่าที่โอกาสแห่งอำนาจจะอำนวยให้ได้ ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจมากก็คือ กลไกทางกฎหมายที่คอยกำกับและควบคุมสื่อในเงื้อมมือของรัฐไทยในปัจจุบัน ดูจะมีจำนวนมากเพียงพออยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นพระราชบัญญัติว่าด้วยการกระทําความผิดเกี่ยวกับคอมพิวเตอร์ (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2560 รวมถึงมาตรา 37 แห่งพระราชบัญญัติการประกอบกิจการกระจายเสียงและกิจการโทรทัศน์ พ.ศ.2551 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 97/2557 และฉบับที่ 103/2557 ที่ให้อำนาจเบ็ดเสร็จแก่ กสทช. ในการพิจารณาออกมาตรการทางปกครองและลงโทษสถานีวิทยุและโทรทัศน์เป็นจำนวนมาก แต่นั่นอาจไม่ใช่เงื่อนไขหลักที่ทำให้สื่อต้องมีการปรับตัวครั้งใหญ่ในห้วงเวลาปัจจุบัน เท่ากับการที่ต้องเผชิญหน้ากับการแข่งขันและความท้าทายในการเปลี่ยนผ่านช่องทางในการสื่อสาร รวมถึงข้อจำกัดด้านรายได้จากเม็ดเงินโฆษณาที่หดหาย ทั้งในบริบทของสื่อสิ่งพิมพ์ที่นำไปสู่ปรากฏการณ์การปิดตัวลงของนิตยสารหลายฉบับในช่วงก่อนหน้านี้ ขณะที่สื่อสิ่งพิมพ์รายวันกำลังดิ้นรนไปสู่การจัดวางคอนเทนต์ในแพลตฟอร์มใหม่ ส่วนสมรภูมิทีวีก็มีการปรับเปลี่ยนขนานใหญ่หลังจากการมาถึงของทีวีดิจิทัล และการแทรกตัวเข้ามาของอุปกรณ์ดิจิทัลสมัยใหม่ ที่เปิดโอกาสให้สามารถชมคลิปย้อนหลังได้อย่างหลากหลาย จนสื่อโทรทัศน์กำลังจะกลายเป็นเพียงของประดับบ้านที่ไม่มีใครสนใจ การปรับตัวของสื่อโทรทัศน์ในห้วงเวลาปัจจุบัน ทำให้หลายช่องต้องพยายามจัดเตรียมคอนเทนต์ ให้มีความหลากหลายและขยับปรับเวลาของแต่ละช่วงให้สั้นลง พร้อมที่จะขยายต่อในช่องทางสื่ออื่นๆ ในลักษณะของคลิปรายการย้อนหลัง ซึ่งเป็นอีกช่องทางหนึ่งในการสื่อสารกับผู้ชมและแหล่งรายได้ใหม่บนแพลตฟอร์มที่เปลี่ยนไป ความเป็นไปในมิติที่ว่านี้ ช่อง

Read More

อนาคตรถกระบะแคป บนมาตรการที่คลุมเครือ

ข่าวว่าด้วยมาตรการของรัฐในการป้องกันและแก้ไขปัญหาอุบัติเหตุทางถนนในช่วงเทศกาลสงกรานต์ตามคำสั่งมาตรา 44 ที่ 14-15/2560 ของหัวหน้า คสช.ไม่เพียงแต่จะสร้างกระแสวิพากษ์วิจารณ์อย่างกว้างขวางโดยเฉพาะในสื่อออนไลน์และโลกโซเชียลมีเดีย จนทำให้รัฐบาลต้องออกคำสั่งชะลอการบังคับใช้อย่างเข้มงวดออกไปก่อน หากแต่ในอีกด้านหนึ่ง กรณีดังกล่าวอาจเป็นระเบิดเวลาที่พร้อมจะสั่นคลอนความเป็นไปและยอดการจำหน่ายรถยนต์กระบะ ซึ่งถือเป็นรถยนต์ยอดนิยมของสังคมไทยในอนาคตอีกด้วย ด้วยคุณลักษณะของความเป็นรถยนต์อเนกประสงค์ที่สามารถเติมเต็มวิถีชีวิตแบบสังคมเกษตรกรรมกึ่งสังคมเมือง รถยนต์กระบะกลายเป็นยานพาหนะที่พร้อมจะตอบโจทย์ความต้องการของสังคมได้อย่างลงตัวไม่ว่าจะเป็นในมิติของการขนส่งสิ่งของ หรือเคลื่อนย้ายผู้คน ที่ทำให้รถยนต์กระบะกลายเป็นทางเลือกแรกๆ ที่ได้รับการนึกถึง และส่งผลให้ยอดการจำหน่ายรถยนต์ในกลุ่มนี้มีสัดส่วนมากถึงกว่าร้อยละ 43-50 ของยอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทรวมกันในแต่ละปี จากตัวเลขยอดจำหน่ายรถยนต์รวมในปี 2559 ที่ผ่านมา พบว่ามียอดจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทรวม 770,000 คัน โดยในจำนวนนี้เป็นรถยนต์กระบะขนาด 1 ตัน รวม 335,000 คันหรือคิดเป็นร้อยละ 43.5 ของยอดจำหน่ายรถยนต์รวมตลอดทั้งปี ขณะที่ตัวเลขยอดการจำหน่ายรถยนต์ในเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ 2560 ที่ผ่านมา พบว่ายอดการจำหน่ายรถยนต์ทุกประเภทรวมอยู่ที่จำนวน 125,689 คัน โดยเป็นรถยนต์กระบะรวม 65,092 คัน หรือคิดเป็นร้อยละ 51.8 ซึ่งเป็นภาพสะท้อนความนิยมและนัยสำคัญของรถยนต์กระบะในอุตสาหกรรมยานยนต์ไทยได้เป็นอย่างดี ประเด็นที่น่าสนใจประการหนึ่งของการประกาศใช้มาตรการคุมเข้มด้านจราจรที่ออกมาในช่วงต้นเดือนเมษายน เพื่อรองรับกับเทศกาลสงกรานต์อยู่ที่การประกาศมาตรการที่ว่านี้ อยู่ในช่วงเวลาคาบเกี่ยวและต่อเนื่องกับกระแสข่าวเชิงลบว่าด้วยการจัดซื้อยุทโธปกรณ์ และข่าวเกี่ยวกับบ่อนกาสิโนบริเวณชายแดนไทย-กัมพูชา ที่ทำให้ความสนใจในข่าวทั้งสองนี้ถูกบดบังลงไปโดยปริยาย ขณะเดียวกันในอีกด้านหนึ่งข่าวมาตรการคุมเข้มจราจรที่ว่านี้ยังอยู่ในช่วงเวลาที่สังคมไทยและค่ายรถยนต์ทุกค่ายกำลังอยู่ในช่วงของมหกรรมงานบางกอก อินเตอร์เนชั่นแนล มอเตอร์โชว์ ครั้งที่ 38 และกำลังเร่งส่งเสริมการขายกันอย่างหนักหน่วง โดยผู้จัดงานตั้งเป้าที่จะมียอดการจองรถยนต์ในงานนี้รวม

Read More

ร่างกฎหมายต่อต้านเรื่องเพศและเชื้อชาติในการทำแท้งในประเทศอเมริกา

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าประเทศอเมริกานั้นการทำแท้งถือเป็นเรื่องที่ถูกกฎหมาย รัฐบาลอเมริกามองว่าการทำแท้งเป็นสิทธิที่เสมอภาคกันของผู้หญิง ผู้หญิงจึงมีสิทธิ์ในการตัดสินใจว่าต้องการที่จะเก็บทารกไว้ต่อไป หรือต้องการที่จะทำแท้งเมื่อทราบว่าตัวเองตั้งครรภ์และอาจจะยังไม่พร้อมในการมีบุตร กฎหมายของแต่ละรัฐในประเทศอเมริกานั้นมีการอนุญาตให้ทำแท้งได้อย่างถูกกฎหมายตามระยะเวลาการตั้งครรภ์ ซึ่งจะถูกกำหนดไว้แตกต่างกันในแต่ละรัฐ การเลือกเพศทารกในครรภ์นั้นมีมานานแล้ว โดยเฉพาะที่ประเทศจีนและอินเดีย ที่พ่อแม่ส่วนใหญ่อยากได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว หลายคนน่าจะยังจำได้ว่าที่ประเทศจีนนั้น ก่อนหน้านี้รัฐบาลอนุญาตให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้แค่คนเดียวเท่านั้น เพื่อเป็นการคุมจำนวนประชากร คนจีนในหลายครอบครัวที่รู้ว่าได้ลูกสาวก็เลือกที่จะไม่แจ้งรัฐบาลว่ามีลูกและให้เด็กคนนั้นอยู่แบบผิดกฎหมาย หรือเลือกที่จะฆ่าเด็กทิ้ง และตั้งท้องใหม่จนกว่าจะได้ลูกชาย  ในปัจจุบันเรื่องการคุมจำนวนประชากรของแต่ละประเทศไม่ได้เป็นเรื่องที่สำคัญมากแล้ว อย่างประเทศจีนเองก็ยกเลิกให้แต่ละครอบครัวมีลูกได้แค่หนึ่งคนเท่านั้น แต่เรื่องที่มีความสำคัญต่อจำนวนบุตรในแต่ละครอบครัวคือการเติบโตทางเศรษฐกิจของแต่ละประเทศ ยิ่งในช่วงเวลาที่เศรษฐกิจอยู่ในช่วงขาลงอย่างเวลานี้ แต่ละครอบครัวก็จะมีการวางแผนมากขึ้นว่าควรจะมีลูกกี่คน ซึ่งส่วนใหญ่ก็จะมีลูกน้อยลงประมาณ 1–2 คนต่อครอบครัว ในขณะเดียวกันด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้ามากขึ้น ทำให้สามารถอัลตราซาวด์เพื่อดูการเจริญเติบโตของทารกในครรภ์และดูเพศของทารกได้ การที่พ่อแม่รู้เพศของทารกได้ก่อนและด้วยสภาพเศรษฐกิจทำให้หลายครอบครัวตัดสินใจทำแท้งหลังจากรู้ว่ากำลังจะได้ลูกสาว อย่างที่ประเทศอินเดียก็มีค่านิยมรักและอยากได้ลูกชายมากกว่าลูกสาว ดังนั้นในอินเดียจึงมีการทำแท้งที่มีสาเหตุมาจากการเลือกเพศทารกในครรภ์จำนวนมาก Sital Kalantry ได้ทำการศึกษาเกี่ยวกับเรื่องการเลือกเพศทารกในอินเดียและอเมริกาพบว่า จากสถิติในช่วง 10–20 ปีมานี้ จำนวนเด็กหญิงที่เกิดมานั้นลดลงอย่างเห็นได้ชัดเจน โดยเฉพาะในอินเดียที่สัดส่วนการเกิดระหว่างเด็กชายและหญิงต่างกันอย่างเห็นได้ชัด ซึ่งสัดส่วนที่ต่างกันนี้น่าจะมาจากการที่คนอินเดียเลือกที่จะมีลูกผู้ชายมากกว่าลูกผู้หญิง โดยตัดสินใจทำแท้งถ้าหากทราบว่าทารกในครรภ์นั้นเป็นเพศหญิง ในช่วง 5–6 ปีที่ผ่านมานี้ หลายรัฐในอเมริกาได้มีการพูดกันถึงเรื่องการเลือกเพศทารกในการทำแท้ง เพราะมีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่ตัดสินใจทำแท้งหลังจากที่รู้ว่าตัวเองตั้งครรภ์และทารกในครรภ์มีเพศที่ไม่ตรงกับที่ตัวเองต้องการก็จะตัดสินใจทำแท้ง ความคิดนี้ทำให้นักสิทธิมนุษยชนในหลายองค์กรเริ่มเรียกร้องไม่ให้มีการทำแท้งเกิดขึ้นในกรณีเหล่านี้  มากกว่า 25 รัฐในประเทศอเมริกาที่มีการพูดกันในร่างกฎหมายฉบับใหม่เกี่ยวกับการทำแท้ง และในปัจจุบันมีอยู่ 5 รัฐที่ห้ามไม่ให้ทำแท้งเพราะการเลือกเพศ คือรัฐเพนซิลเวเนีย อิลลินอยส์ โอคลาโฮมา

Read More

อีกหนึ่งก้าวสำคัญของผู้หญิงซาอุดีอาระเบียในการเลือกตั้งท้องถิ่น

 Column: Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่าผู้หญิงในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ในสังคมเป็นอย่างมาก ถึงแม้ว่าซาอุดีอาระเบียจะมีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติเหมือนกับประเทศอื่นๆ แต่กฎหมายในประเทศซาอุดีอาระเบียนั้น เป็นกฎหมายที่เข้มงวดมากๆ สำหรับสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม โดยเฉพาะเมื่อเทียบกับกฎหมายในประเทศอื่นๆ ที่มีศาสนาอิสลามเป็นศาสนาประจำชาติ หรือจะกล่าวได้ว่าในสังคมของประเทศซาอุดีอาระเบียนั้นเป็นสังคมที่ผู้ชายเป็นใหญ่และเป็นผู้มีอำนาจมากที่สุดในสังคม ในช่วงหลายปีมานี้เราจะได้ยินข่าวต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับการถูกจำกัดสิทธิต่างๆ ของผู้หญิงในสังคม อย่างเช่นเมื่อเดือนมิถุนายน 2554 ที่มีข่าวว่า ซาอุดีอาระเบียเป็นประเทศเดียวในโลกที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้ สาเหตุที่ข่าวนี้ได้รับความสนใจจากทั่วทุกมุมโลกก็เพราะมีผู้หญิงซาอุดีอาระเบียกลุ่มหนึ่งรวมตัวกันเรียกร้องสิทธิในการขับรถ และมีการรณรงค์ผ่านเฟซบุ๊ก ยูทูป และทวิตเตอร์ ให้ผู้หญิงออกมาขับรถพร้อมกันในโครงการ Women 2 Drive และจะมีการจัดกิจกรรมนี้ขึ้นเรื่อยๆ จนกว่าผู้หญิงจะได้รับอนุญาตให้ขับรถได้ ซึ่งโครงการนี้ก็ได้รับความสนใจและมีผู้หญิงเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก  สำหรับเรื่องนี้ประเทศซาอุดีอาระเบียให้เหตุผลว่า สาเหตุที่ไม่อนุญาตให้ผู้หญิงขับรถเองได้เป็นเพราะกลัวผู้หญิงจะได้รับอันตรายจากการเดินทางไปไหนคนเดียว ก่อนอื่นคุณผู้อ่านต้องเข้าใจก่อนว่าที่ซาอุดีอาระเบียนั้นมีกฎหมายห้ามอย่างชัดเจนว่า ห้ามผู้หญิงใช้ระบบขนส่งสาธารณะ และห้ามเดินทางคนเดียวโดยที่ไม่มีผู้ชายที่เป็นญาติเดินทางไปด้วย กฎเหล่านี้ทำให้ผู้หญิงในซาอุดีอาระเบียค่อนข้างลำบากเวลาที่ต้องการเดินทางไปโรงเรียน ไปทำงาน หรือไปซื้อของ เพราะพวกเธอต้องพึ่งพาญาติที่เป็นผู้ชายให้เดินทางไปด้วย หรือไม่ก็ต้องจ้างคนขับรถ และไม่ใช่ผู้หญิงทุกคนที่จะสามารถจ้างคนขับรถได้ เพราะสำหรับบางครอบครัวที่มีรายได้น้อยนั้น การจ้างคนขับรถถือเป็นค่าใช้จ่ายที่สูงมากๆ ในแต่ละปีประเทศซาอุดีอาระเบียต้องเสียเงินถึงปีละ 3,200 ร้อยล้านดอลลาร์ (ประมาณ 96,000 ล้านบาท) ในการจ้างคนต่างประเทศเข้ามาทำงานเป็นคนขับรถ ต่อมาในเดือนพฤศจิกายน 2557

Read More

ไอร์แลนด์เหนือที่สุดของกฎหมายการทำแท้ง

 Column: Women in Wonderland ประเทศไอร์แลนด์เหนือ (Northern Ireland) เป็นหนึ่งในสี่ประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักร (United Kingdom) ส่วนที่เหลืออีก 3 ประเทศนั้นประกอบไปด้วย อังกฤษ (England) สกอตแลนด์ (Scotland) และเวลส์ (Wales) เมืองหลวงของไอร์แลนด์เหนือคือ เมืองเบลฟัสต์ (Belfast) และประชาชนส่วนใหญ่นับถือศาสนาคริสต์ การปกครองในไอร์แลนด์เหนือนั้นได้รับการถ่ายโอนอำนาจทางการเมืองและการบริหารในกิจการภายในของประเทศให้อยู่ในความรับผิดชอบของสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ ซึ่งมีสมาชิกที่มาจากการเลือกตั้ง ถึงแม้ว่าสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือจะได้รับการถ่ายโอนอำนาจมาจากรัฐบาลส่วนกลาง แต่รัฐบาลส่วนกลางก็ยังคงมีอำนาจเหนือสภาแห่งไอร์แลนด์เหนือ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อย ในการออกและผ่านกฎหมายต่างๆ สำหรับการปกครองภายในประเทศนั้น สภาแห่งไอร์แลนด์เหนือมีอำนาจเต็มที่ในการกำหนดและผลักดันนโยบายต่างๆ ในการบริหารประเทศไอร์แลนด์เหนือ นี่เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้กฎหมายที่บังคับใช้ใน 4 ประเทศที่อยู่ภายใต้การปกครองของสหราชอาณาจักรมีความแตกต่างกัน กฎหมายที่จะพูดถึงในวันนี้คือ กฎหมายการทำแท้งในไอร์แลนด์เหนือ ในปัจจุบันไอร์แลนด์เหนือยังคงเป็นประเทศเดียวในสหราชอาณาจักรที่ไม่อนุญาตให้มีการทำแท้งได้ นอกจากการตั้งครรภ์นั้นอาจจะทำให้ผู้ตั้งครรภ์เสียชีวิตลงได้ หรือในกรณีที่การตั้งครรภ์นี้จะส่งผลเสียอย่างรุนแรงต่อร่างกายและจิตใจของผู้ที่ตั้งครรภ์ในระยะยาวหรือตลอดไป ซึ่งในกรณีนี้ไม่รวมถึงการตั้งครรภ์ที่เกิดจากการถูกข่มขืน ในขณะที่อีกสามประเทศภายใต้สหราชอาณาจักรได้ผ่านกฎหมายให้มีการทำแท้งอย่างเสรีได้ The Abortion Act 1967 หรือกฎหมายการทำแท้งอย่างเสรี ได้มีการประกาศใช้และมีผลบังคับใช้ในสหราชอาณาจักรตั้งแต่วันที่ 27 เมษายน 2511 แต่กฎหมายนี้ยกเว้นการบังคับใช้ในไอร์แลนด์เหนือ  The Abortion Act 1967

Read More

กฎหมายใหม่สำหรับการจ้างงานนางแบบที่เป็นเด็กในนิวยอร์ก

 นครนิวยอร์ก ประเทศสหรัฐอเมริกา ถือได้ว่าเป็นศูนย์กลางแฟชั่นจากทั่วทุกมุมโลก จึงไม่เป็นที่น่าแปลกใจนักที่นิวยอร์กจะมีนางแบบมากมายและมีหลากหลายอายุด้วยกัน ในขณะเดียวกันก็มีผู้คนจำนวนไม่น้อยที่มีความฝันว่าอยากเป็นนางแบบและมาอาศัยอยู่ในนิวยอร์กเพื่อตามหาฝันของตัวเอง และเด็กที่มีอยุระหว่าง 13–18 ปีก็เป็นคนกลุ่มหนึ่งที่มีความใฝ่ฝันอยากจะมีอาชีพเป็นนางแบบด้วยเช่นกันแต่ตามกฎหมายแรงงานของนครนิวยอร์กนั้นไม่มีการคุ้มครองและปกป้องสิทธิของคนทำงานเป็นนางแบบที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปี ซึ่งกฎหมายนี้มีการใช้มานานมากแล้ว จนถึงปัจจุบันนี้ก็ยังไม่มีการแก้ไข ดังนั้นสมาชิกวุฒิสภาและสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรในนครนิวยอร์กจึงมีความเห็นตรงกันว่า น่าจะมีกฎหมายแรงงานที่ปกป้องและคุ้มครองสิทธิของคนทำงานเป็นนางแบบที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีนี่จึงเป็นที่มาของกฎหมายแรงงานฉบับใหม่ที่มีการประกาศใช้ในนครนิวยอร์ก เพื่อปกป้องและคุ้มครองสิทธิของเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 18 ปีในการทำงานเป็นนางแบบสาเหตุที่ทำให้หลายๆ ฝ่ายในนิวยอร์กหันมาให้ความสนใจกับกฎหมายที่จะคุ้มครองแรงงานเด็กในการเป็นนางแบบนั้นคือ หนังสารคดีเรื่อง Girl Model ที่มีการเผยแพร่สู่สาธารณชนเมื่อปีที่แล้วสารคดีเรื่อง Girl Model มีเนื้อเรื่องอยู่ว่า Ashley ผู้ทำหน้าที่เป็นแมวมองหานางแบบหน้าใหม่ๆ ให้กับบริษัทจัดหานางแบบ ได้มาตามหานางแบบตามเมืองต่างๆ ของประเทศไซบีเรียเพื่อส่งนางแบบเหล่านี้ไปทำงานที่ญี่ปุ่น และวันหนึ่ง Ashley ก็ได้พบกับ Nadya เด็กหญิงอายุ 13 ปี ที่อาศัยอยู่ในเมืองหนึ่งในเขตชนบทของไซบีเรีย Ashley จึงชักชวนให้ Nadya ไปเป็นนางแบบที่ประเทศญี่ปุ่นAshley ได้ให้สัญญากับ Nadya ว่าเธอจะมีอาชีพนางแบบที่รุ่งโรจน์ในประเทศญี่ปุ่น และมีเงินจำนวนมากมายเพื่อส่งกลับมาให้ที่บ้านใช้จากการเป็นนางแบบของเธอ Nadya จึงตัดสินใจว่าเธออยากจะไปเป็นนางแบบที่ประเทศญี่ปุ่น

Read More

ข่มขืนผู้เยาว์ไม่ผิด กฎหมายที่กำลังจะถูกแก้ไขในโมร็อกโก

 โดยปกติแล้ว กฎหมายของประเทศส่วนใหญ่หรือแทบจะทุกประเทศเลยก็ว่าได้ จะมีบทลงโทษผู้ที่ข่มขืนผู้เยาว์ ซึ่งบทลงโทษก็ขึ้นอยู่กับกฎหมายของแต่ละประเทศ ในทางตรงกันข้ามที่ประเทศโมร็อกโกมีกฎหมายเกี่ยวกับการข่มขืนที่แปลกไปจากประเทศอื่นๆ อยู่อย่างหนึ่งคือ ถ้าหากเกิดคดีข่มขืนผู้เยาว์ขึ้น ผู้ที่ทำการข่มขืนจะไม่ถูกลงโทษใดๆ ถ้าหากว่าผู้ที่ข่มขืนยินดีที่จะแต่งงานกับผู้ที่ตกเป็นเหยื่อในครั้งนี้ ผู้เยาว์ในประเทศโมร็อกโกหมายถึงเด็กที่มีอายุน้อยกว่า 15 ปีกฎหมายครอบครัวว่าด้วยเรื่องของการแต่งงานและการข่มขืนของประเทศโมร็อกโก มาตราที่ 475 ระบุไว้ว่า (1) บุคคลใดก็ตามที่ทำความผิดในการลักพาตัวหรือหลอกผู้อื่น โดยที่ไม่มีการใช้ความรุนแรงใดๆ รวมไปถึงการข่มขู่คุกคาม จะต้องได้รับโทษให้ติดคุกเป็นเวลา 1-5 ปี (2) ในกรณีของการข่มขืนผู้เยาว์ ถ้าหากผู้ที่ตกเป็นเหยื่อยอมตกลงที่จะแต่งงานกับผู้ที่ลงมือข่มขืนเธอ ผู้ที่ทำการข่มขืนจะถือว่าไม่มีความผิดใดๆ ยกเว้นแต่ในกรณีที่มีบุคคลที่มีอำนาจ เช่น พ่อแม่หรือผู้ปกครองของเหยื่อ และผู้พิพากษาต้องการยกเลิกการแต่งงานในครั้งนี้ และมีการประกาศว่าจะไม่มีการแต่งงานเกิดขึ้น การแต่งงานถึงจะถูกยกเลิกได้ เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ผู้ที่ทำการข่มขืนหลบหนีจากความผิดที่ได้กระทำไว้จากมาตราที่ 475 นี้ หมายความว่า ผู้ที่ทำการข่มขืนผู้เยาว์จะกลายเป็นบุคคลที่ไม่มีความผิดใดๆ ก็ต่อเมื่อเหยื่อและผู้ปกครองตกลงว่าจะให้มีการแต่งงานเกิดขึ้นระหว่างผู้ที่เป็นคนร้ายในคดีข่มขืนผู้เยาว์กับผู้เยาว์ที่ตกเป็นเหยื่อของการข่มขืน ซึ่งผู้ที่เป็นคนร้ายไม่สามารถขอยกเลิกการแต่งงานนี้ได้ แต่ถ้าหากภายหลังผู้ปกครองเกิดเปลี่ยนใจขึ้นมาและไม่ต้องการให้มีการแต่งงานนี้เกิดขึ้นก็ยังสามารถยกเลิกการแต่งงานในครั้งนี้ได้ในกรณีการข่มขืนผู้เยาว์ส่วนใหญ่ที่เกิดขึ้นในประเทศโมร็อกโก ผู้ที่ตกเป็นเหยื่อจะยินยอมที่จะแต่งงานกับผู้ที่ลงมือข่มขืนเธอ และพ่อแม่หรือผู้ปกครองของเธอก็ไม่ได้คิดที่จะคัดค้านการแต่งงานแต่อย่างไร เนื่องจากในสังคมของโมร็อกโกนั้นมีความเชื่อว่า ผู้หญิงที่มีเพศสัมพันธ์กับผู้ชายก่อนแต่งงาน ถือเป็นความอัปยศในสังคม และยิ่งเมื่อผู้ที่ตกเป็นเหยื่อถูกข่มขืนมา ศาลและพ่อแม่ส่วนใหญ่มักมีความเห็นที่ตรงกันว่า เหยื่อควรจะตกลงแต่งงานกับผู้ที่ลงมือข่มขืนเธอ เพราะทั้งสองคนได้มีเพศสัมพันธ์กันไปแล้วก่อนอื่นต้องเข้าใจก่อนว่า สิทธิของผู้หญิงในประเทศโมร็อกโกนั้นมีอยู่น้อยมากๆ

Read More