Home > France (Page 5)

การค้าวันอาทิตย์

เพียงหกเดือนหลังจากเข้ารับตำแหน่ง ความนิยมในตัวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์(François Hollande) ก็ลดลงมากอย่างน่าใจหาย สองปีกว่าให้หลัง คะแนนนิยมต่ำกว่าร้อยละ 20 ซึ่งไม่เคยปรากฏมาก่อนในประวัติศาสตร์การเมืองของฝรั่งเศส สืบเนื่องมาจากชาวฝรั่งเศสพบว่าประธานาธิบดีไม่ได้ดำเนินนโยบาย “เปลี่ยนแปลง” ประเทศตามนโยบายหาเสียง แถมประเทศยังรุมเร้าด้วยปัญหาเศรษฐกิจ ไม่มีความเติบโต อัตราคนว่างงานมีแต่เพิ่มขึ้น แล้วก็ถึงเวลาปรับรัฐบาล ได้นายกรัฐมนตรีคนใหม่และรัฐมนตรีเศรษฐกิจคนใหม่ ซึ่งเป็นหนุ่มวัย 36 ปีชื่อ เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ซึ่งเคยเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) เอ็มมานูเอล มาครงมีหน้าที่จัดแผนนโยบายที่จะแก้ปัญหาเศรษฐกิจ หนึ่งในมาตรการคือการอนุญาตให้ร้านค้าเปิดทำการวันอาทิตย์ ในฝรั่งเศสห้ามทำการค้านอกเหนือจากร้านอาหารในวันอาทิตย์ ยกเว้นในย่านวัฒนธรรมและนักท่องเที่ยวต่างชาติ ดังเช่นย่านเลอ มาเรส์ (Le Marais) ซึ่งมีพิพิธภัณฑ์หลายแห่ง เลอ มาเรส์จึงคับคั่งด้วยผู้คนในวันอาทิตย์ มีทั้งชาวปารีสและนักท่องเที่ยว แบร์นารด์ อาร์โนลต์ (Bernard Arnault) ประธานกลุ่ม LVMHมองเห็นหนทางหาเงินเพิ่ม จึงลักไก่เปิดร้านหลุยส์ วุตตง (Louis Vuitton) ถนนชองป์เซลีเซส์

Read More

คฤหาสน์ในปารีส

 ในศตวรรษที่ 17 ปารีสมีคฤหาสน์ที่เรียกว่า hôtel particulier 2,000 กว่าหลัง แต่ปัจจุบันนี้เหลืออยู่เพียง 400 หลัง  hôtel particulier เป็นคฤหาสน์ของพวกขุนนาง ถึงกระนั้น hôtel particulier หลังแรกที่พบในฝรั่งเศสคือ hôtel Jacues Cœur ฌาคส์ เกอร์ (Jacques Cœur) เป็นพ่อค้าที่ทำธุรกิจกับต่างชาติ เขาจึงนำรูปแบบอาคารของอิตาลีมาสร้างที่เมืองบูร์จส์ (Bourges) เป็นช่วงยุคเรอแนสซองซ์ (Renaissance)  เมื่อราชสำนักอยู่ที่พระราชวังลูฟวร์ (Louvre) พวกขุนนางจึงสร้างบ้านอยู่ไม่ไกลจากพระราชวังในย่านเลอ มาเรส์ (Le Marais) และเกาะแซงต์-หลุยส์ (île Saint-Louis) ซึ่งอยู่คนละฟากแม่น้ำแซน (Seine) ย่านนี้จึงเต็มไปด้วย hôtels particuliers เรียกชื่อต่างๆ กันตามชื่อของผู้สร้างหรือผู้อยู่อาศัย ขุนนางสำคัญๆ ก็สร้าง hôtel particulier หลังใหญ่หน่อย คาร์ดินัล เดอ ริเชอลิเออ

Read More

ความรวยเป็นเหตุ

เบอร์นารด์ กุกเกนไฮม์ (Bernard Guggenheim) นายธนาคารชาวนิวยอร์ก แยกออกจากครอบครัวมาพำนักในปารีส ทำธุรกิจสร้างลิฟต์ ผลงานเด่นคือลิฟต์ของหอเอฟเฟล (Eiffel) แต่แล้วเดินทางไปกับเรือไททานิก (Titanic) จนเสียชีวิตในที่สุด ทิ้งสมบัติให้ลูก เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์ (Peggy Guggenheim) ได้มรดกอีกส่วนหนึ่งจากลุงคือโซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim) เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์เกิดในปี 1898 เดินทางไปมาระหว่างนิวยอร์ก ปารีส และลอนดอน ได้รู้จักกับอาร์ทิสต์อย่างกงสต็องแตง บรองกูซี (Constantin Brancusi) ฌอง ก็อกโต (Jean Cocteau) มาร์เซล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสะสมงานศิลป์ เธอไปเปิดอาร์ตแกลเลอรีที่ลอนดอน ในบั้นปลายชีวิตไปพำนักที่เมืองเวนิสริมฝั่ง Grand Canal และให้ทำบ้านของตนเป็นพิพิธภัณฑ์  เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์สะสมโมเดิร์นอาร์ต แอ็บสแทร็คและเซอร์เรียลิสต์ อันมีผลงานชิ้นเอกของปาโบล

Read More

Fondation Maeght

 ฝรั่งเศสมีพ่อค้างานศิลป์ดังๆ หลายคน แต่ไม่มีคนไหนที่จะหาญกล้าสร้าง “พิพิธภัณฑ์” ส่วนตัวแสดงผลงานอาร์ทิสต์ทั้งมวลที่ตนสะสมไว้ เอเม มากต์ (Aimé Maeght) เป็นเพียงหนึ่งเดียว เอเม มากต์ เกิดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส แถบเมืองลิล (Lille) พ่อไปสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้วหายสาบสูญ แม่พาลูกๆ หนีภัยเยอรมันไปทางใต้ใกล้เมืองนีมส์ (Nîmes) หลังจากเรียนด้านการพิมพ์ เอเม มากต์ไปทำงานในโรงพิมพ์แห่งหนึ่งที่เมืองกานส์ (Cannes) เป็นช่างทำแบบพิมพ์ เขาหางานได้ง่ายเพราะเป็นลูกของผู้หายสาบสูญหรือเสียชีวิตในสงคราม  และที่นี่เองเขาได้พบกับสาวน้อยวัย 17 ปี มาร์เกอริต เดอเวย์ (Marguerite Devaye) ลูกสาวพ่อค้าที่มั่งคั่ง ทั้งสองบังเอิญไปฟังคอนเสิร์ตนักร้องประสานเสียงเดียวกัน สาวเจ้านึกว่าหนุ่มเดินตาม จึงหันมาตบหน้าเสียนี่ แต่แล้ว ในที่สุดก็แต่งงานในปี 1928  ต่อมาในปี 1932เขาตั้งโรงพิมพ์ของตนเองชื่อ ARTE แถวหาด La Croisette พร้อมกับขายวิทยุด้วย  ในปี 1936 เอเมและมาเกอริต มากต์ได้พบกับจิตรกรปิแอร์ บอนนารด์

Read More

นิทรรศการจอร์จส์ บราค

 เมื่อจอร์จส์ บราค (Georges Braque) ถึงแก่กรรมในวันที่ 31 สิงหาคม 1963 รัฐบาลฝรั่งเศสจัดพิธีศพให้โดยมีอองเดร มัลโรซ์ (André Malraux) รัฐมนตรีวัฒนธรรมในขณะนั้นกล่าวคำสดุดี ถือเป็นจิตรกรคนเดียวที่รัฐให้ความสำคัญ จอร์จส์ บราคเกิดในปี 1882 ที่อาร์จองเตย (Argenteuil) พ่อเป็นช่างทาสี แต่ชอบเขียนรูปตอนวันหยุด เป็นรูปทิวทัศน์สไตล์อิมเพรสชั่นนิสต์ เมื่อครอบครัวย้ายไปเมืองเลอ อาฟวร์ (Le Havre) จอร์จส์ บราคชอบไปเตร็ดเตร่แถวท่าเรือ ถึงกระนั้นก็เข้าเรียนที่ Ecole supérieure d’art และเรียนเป่าขลุ่ยในเวลาเดียวกัน เขาเดินทางไปปารีสในปี 1900 ฝึกงานกับจิตรกรที่รับตกแต่งภายใน แล้วกลับมาเลอ อาฟวร์เพื่อรับราชการทหาร เมื่อออกประจำการ จึงเป็นจิตรกรเต็มตัว ในปี 1902 ไปปารีสอีก พำนักย่านมงต์มาร์ทร์ (Montmartre) จึงได้พบกับมารี โลรองแซง (Marie Laurencin) เขาพาเธอไป Bateau-Lavoir ซึ่งเป็นศูนย์รวมอาร์ติสต์ดังอย่างปาโบล ปิกัสโซ

Read More

พิพิธภัณฑ์ปิแอร์ ซูลาจส์

 ในปี 2009 ศูนย์ศิลปวัฒนธรรมแห่งชาติจอร์จส์ ปงปิดู (Centre national d’art et de culture Georges Pompidou) จัดนิทรรศการผลงานของปิแอร์ ซุลาจส์ (Pierre Soulages) จิตรกรร่วมสมัยชาวฝรั่งเศส เป็นนิทรรศการใหญ่ที่ศูนย์วัฒนธรรมแห่งนี้เคยจัดให้อาร์ติสต์ที่ยังมีชีวิตอยู่ ปิแอร์ ซูลาจส์ เกิดที่เมืองโรเดซ (Rodez) ในปี 1919 พ่อเสียชีวิตขณะเขาอายุ 5 ขวบ เขาจึงเติบโตมาภายใต้การดูแลของแม่และพี่สาว มีพรสวรรค์ด้านเขียนรูปโดยไม่รู้ตัว เมื่ออายุ 10 ขวบ เขาใช้หมึกดำเขียนบนกระดาษขาว เพื่อนของพี่สาวถามว่าทำอะไรอยู่ เขาตอบว่ากำลังวาดหิมะ เด็กคนนั้นทำหน้าประหลาดใจ ปิแอร์ ซูลาจส์กล่าวว่าเขาไม่ได้ต้องการท้าทายหรืออะไรทั้งสิ้น เพียงแต่กำลังแสวง “ประกายแสง” ความขาวของกระดาษเปรียบเสมือนสีหิมะ ตัดกับหมึกดำที่เขาวาดลงไป เขาได้รู้จักนักโบราณคดีผู้หนึ่ง และไปช่วยเขาทำงาน ทำให้เขาสนใจ “ของเก่าๆ” ครั้งหนึ่งครูพาไปทัศนศึกษาที่วัด Abbatiale Sainte-Foy de Conques เขาชื่นชอบศิลปะแบบโรมัน

Read More

พิพิธภัณฑ์ต่างจังหวัด

 ฝรั่งเศสให้ความสำคัญกับวัฒนธรรมมาก นักคิด นักเขียน อาร์ติสต์แขนงต่างๆ หรือแม้แต่นักการเมือง และผู้มีส่วนร่วมในการปกป้องประเทศ ล้วนมีค่าควรแก่การจดจำ ในฝรั่งเศสจึงมีพิพิธภัณฑ์เล็กๆ มากมาย กระจายไปตามเมืองต่างๆ กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) เป็นจิตรกรยุคก่อนอิมเพรสชั่นนิสต์ เป็นหนึ่งในผู้นำร่องในการแหกกฎของราชบัณฑิตยสภาสาขาวิจิตรศิลป์ ด้วยการเขียนรูปเกี่ยวกับชาวบ้านขนาดใหญ่ ซึ่งแต่เดิมสงวนให้แต่บุคคลสำคัญ นอกจากนั้นยังพันผูกกับการเมือง มีส่วนร่วมในการลุกฮือของชาวปารีสในยุคที่เรียกว่า Commune de Paris เคยเขียนหนังสือร้องเรียนไปยังรัฐให้ย้ายเสากลางปลาซ วองโดม (Place vendôme) ไปติดตั้งที่โอเต็ล เดแซงวาลีดส์ (Hôtel des Invalides) แทน เพราะเป็นเสาที่จารึกการสงครามของนโปเลอง (Napoléon) อันเป็นยุคจักรวรรดิ ไม่มีคุณค่าแต่อย่างใด ช่วง Commune de Paris ชาวปารีส เขาเกิดที่ออร์นองส์ (Ornans) เมืองนี้จึงทำบ้านที่เขาเคยพำนักเป็นพิพิธภัณฑ์ วินเซนต์ วาน โก๊ก (Vincent Van Gogh) เดินทางไปเมืองอาร์ลส์

Read More

Monuments men

Monuments men ภาพยนตร์ของจอร์จ คลูนีย์ สร้างจากหนังสือชื่อเดียวกันของโรเบิร์ต เอม เอดเซล (Robert M. Edsel) ที่พิมพ์ในปี 2009 Monuments men เป็นกลุ่มที่นายพลไอเซนฮาวร์ (Eisenhauer) ตั้งขึ้นเพื่อค้นหางานศิลป์ที่พวกนาซียึดไปจากพิพิธภัณฑ์ต่างๆ อาร์ตแกลเลอรีและครอบครัวชาวยิว เมื่อเยอรมันยึดครองฝรั่งเศส ก็ได้ “ปล้น” ทรัพยากรของฝรั่งเศส รวมทั้งงานศิลป์ด้วย ฮิตเลอร์เองนั้นอยากเป็นจิตรกร แต่ความสามารถไม่ถึง จึงได้แต่ชื่นชมงานศิลป์อยู่ห่างๆ ในปี 1939 ฮิตเลอร์สั่งให้สร้างพิพิธภัณฑ์ส่วนตัวที่เมืองลินซ์ (Linz) ในออสเตรีย ทว่าสงครามทำให้โครงการไม่แล้วเสร็จ ฮิตเลอร์เตรียมการไว้ล่วงหน้าไว้แล้วว่าหากยึดอัมสเตอร์ดัม บรัสเซลส์ และปารีสแล้ว จะฉกฉวยงานศิลป์ชิ้นใดบ้าง โดยเขาทำรายการไว้  อย่างไรก็ตาม ทุกประเทศที่มองเห็นมหันตภัยของนาซี พลันที่มีการประกาศสงครามในปี 1939 ในฝรั่งเศสได้มีการโยกย้ายงานศิลป์ชิ้นสำคัญๆ ไปเก็บซ่อนไว้ตามพิพิธภัณฑ์ในต่างจังหวัดหรือตามปราสาทของเอกชนในภาคตะวันตกและภาคตะวันตกเฉียงใต้ การโยกย้ายนั้นเต็มไปด้วยความยากลำยาก โดยเฉพาะอย่างยิ่งเมื่อเป็นงานศิลป์ขนาดใหญ่  พลันที่ฝรั่งเศสลงนามยอมแพ้เยอรมันในเดือนกรกฎาคม 1940 การปล้นงานศิลป์ก็เริ่มขึ้น จากการยึดพิพิธภัณฑ์รัฐมาเป็นฉกฉวยจากพ่อค้างานศิลป์และเอกชนที่เป็นชาวยิว โดยเฉพาะอย่างยิ่งเอกอัครราชทูตเยอรมันที่กรุงปารีสทำบัญชีรายชื่อผู้ที่น่าจะเป็นเป้าหมายแรกๆ เช่น ครอบครัว

Read More