Home > France

ปี François Mitterrand

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เคยกล่าวระหว่างการเลือกตั้งประธานาธิบดีรอบแรกและรอบสองในปี 2017 ว่า แนวทางที่เขาต้องการบริหารฝรั่งเศสเป็นแนวทาง gaullo-mitterrandien กล่าวคือ แนวทางตามแบบประธานาธิบดีชาร์ลส์ เดอ โกล (Charles de Gaulle) และประธานาธิบดีฟรองซัวส์ มิตแตรองด์ (François Mitterrand) ด้วยเหตุนี้ประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครงจึงอุทิศปี 2020 เป็นปีชาร์ลส์ เดอ โกล จัดงานรำลึกถึงชาร์ลส์ เดอ โกลในวาระต่างๆ กล่าวคือ วันที่ 18 มิถุนายน ซึ่งเป็นวันครบรอบ 80 ปีที่นายพลชาร์ลส์ เดอ โกลประกาศตั้งรัฐบาลพลัดถิ่นที่กรุงลอนดอน และเรียกร้องให้ชาวฝรั่งเศสลุกขึ้นต่อสู้พวกเยอรมันที่เข้าครอบครองประเทศ ชาวฝรั่งเศสหลายพันคนเดินทางไปสมทบกับนายพลเดอ โกล เพื่อก่อตั้งกองกำลังปลดแอกที่เรียกว่า Résistance อีกทั้งรำลึกถึงวันที่นายพลเดอ โกลประกาศแก่ชาวฝรั่งเศสว่า กรุงปารีสได้รับการปลดปล่อยแล้วในวันที่ 25 สิงหาคม

Read More

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: From Paris Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18

Read More

Notre-Dame de Paris, De Victor Hugo à Eugène Viollet-le-Duc

Column: From Paris ไฟไหม้ใหญ่วิหาร Notre-Dame de Paris ในวันที่ 15 เมษายน 2019 สร้างความตกตะลึงและปวดร้าวแก่ชาวฝรั่งเศสและประชาชนทั่วโลก เหตุการณ์ครั้งนั้นสร้างความเสียหายแก่วิหารแห่งนี้อย่างมาก ลูกศร Flèche ซึ่งเป็นผลงานของ Viollet-le-Duc ไหม้ถล่มลงบนหลังคาวิหาร หลังจากนั้นเกิดการถกเถียงกันว่าจะสร้าง Flèche ตามรูปแบบเดิมหรือจะเปลี่ยนให้เข้ากับสมัย สถาปนิกหลายคนออกแบบให้ดู บางแบบสวยมหัศจรรย์ แต่ดูเหมือนไม่เข้ากับรูปแบบสถาปัตยกรรมของวิหาร จนในที่สุด ประธานาธิบดี Emmanuel Macron ได้ประกาศว่ายังคงรูปแบบเดิม ไฟไหม้ครั้งนั้นทำให้โบราณวัตถุในห้องใต้ดินของวิหาร Crypte archéologique ได้รับความเสียหายจากควันไฟ จนต้องมีการจัดระบบกันใหม่ Crypte archéologique ได้เปิดให้สาธารณชนเข้าชมได้อีกตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2020 พร้อมกับจัดนิทรรศการ Notre-Dame de Paris, de Victor Hugo à Eugène Viollet-le-Duc เล่าความเป็นมาของวิหารจาก Victor

Read More

พิพิธภัณฑ์ในสถานการณ์ Covid-19

Column: From Paris เมื่อ Covid-19 เริ่มระบาดในฝรั่งเศส แปลกใจที่เห็นโรงภาพยนตร์และพิพิธภัณฑ์ยังเปิดให้บริการอยู่ จนประธานาธิบดีเอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) ประกาศเมื่อวันที่ 15 มีนาคม ให้ประชาชนเก็บตัวอยู่แต่ในที่พักอาศัย และปิดสถานบริการทั้งมวล ยกเว้นซูเปอร์มาร์เกต ไฮเปอร์มาร์เกต และร้านที่ขายสินค้าบริโภค พิพิธภัณฑ์ก็อยู่ในข่ายที่ต้องปิดด้วย เสียดายก็แต่บรรดานิทรรศการจรที่ลงทุนลงแรงจัด ก็ต้องยกเลิกไป ไม่ว่าจะเป็น Turner ที่ Musée Jacquemart–André ระหว่างวันที่ 13 มีนาคม-20 กรกฎาคม Monet, Renoir, Chagall … voyages en Méditerranée ที่ La Halle–Atelier des Lumières ระหว่างวันที่ 28 กุมภาพันธ์-31 ธันวาคม Otto Freundlich–La révélation de

Read More

แบร์นารด์ กาซเนิฟ ความหวังของพรรคสังคมนิยม

Column: From Paris เมื่อครั้งเกิดการก่อร้ายในกรุงปารีสในเดือนพฤศจิกายน 2015 ซึ่งเกิดในหลายจุด จุดแรกที่สนาม Stade de France ซึ่งกำลังมีการแข่งฟุตบอลกระชับมิตรระหว่างฝรั่งเศสและเยอรมนี ประธานาธิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ไปชมด้วย เห็นภาพเจ้าหน้าที่ไปกระซิบฟรองซัวส์ โอลลองด์ ซึ่งลุกไปรับฟังสถานการณ์ และกลับมานั่งชมการแข่งขันต่อจนจบ เพื่อไม่ให้เป็นที่ผิดสังเกต ระหว่างการแข่งขันมีเสียงระเบิดนอกสนาม แต่ผู้คนในสนามเข้าใจว่ามีการจุดประทัด อันเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นบ่อยๆ หากมีการแข่งฟุตบอลนัดสำคัญ จึงไม่ได้เอะใจ ฟรองซัวส์ โอลลองด์และเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องเลือกที่จะไม่ประกาศเลิกการแข่งขัน เพราะเกรงจะเกิดความโกลาหล และอาจเกิดวามเสียหายถึงชีวิตก็ได้ ความตื่นตกใจอาจทำให้เหยียบกันตายได้ ในตัวกรุงปารีสเองผู้ก่อการร้ายบุกเข้าไปยิงผู้ที่กำลังชมคอนเสิร์ต Eagles of Death Metal ในโรงมหรสพ Bataclan อีกทั้งร้านอาหารในบริเวณใกล้เคียง เป็นการก่อร้ายที่รุนแรงมาก มีผู้เสียชีวิตนับ 100 คน อีกทั้งผู้บาดเจ็บอีกมากมาย ชาวฝรั่งเศสชื่นชมการบริหารวิกฤตการณ์ของประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ และรัฐมนตรีมหาดไทย แบร์นารด์ กาซเนิฟ (Bernard Cazeneuve) เป็นครั้งแรกที่ได้เห็นความเงียบ สุขุมของรัฐมนตรีผู้นี้ และคิดว่าแบร์นารด์

Read More

ชองป์เซลีเซส์อาดูร

Column: From Paris ถนนชองป์เซลีเซส์ (avenue des Champs-Elysées) เป็นสัญลักษณ์ของกรุงปารีสที่ชาวฝรั่งเศสภาคภูมิใจ จุดเด่นอยู่ที่ประตูชัย (Arc de triomphe) ด้านหนึ่ง ซึ่งข้างใต้มีหลุมฝังศพของทหารนิรนาม และมีเพลิงไฟที่จุดอยู่ตลอดเวลา ณ ที่นี้เป็นสถานที่รัฐบาลฝรั่งเศสประกอบพิธีรำลึกที่เกี่ยวกับทหาร นอกจากนั้นชองป์เซลีเซส์ยังเป็นถนนที่ประธานาธิบดีทุกคนที่เมื่อได้รับมอบตำแหน่งแล้วจะนั่งรถยนต์ออกมาพบปะกับประชาชนที่มารอเฝ้าชมโฉมหน้าประธานาธิบดีคนใหม่ ประธานาธิบดีบางคนลงจากรถเพื่อไปสัมผัสมือกับประชาชน สร้างความปวดเศียรเวียนเกล้าแก่หน่วยรักษาความปลอดภัย เมื่อถึงวันชาติฝรั่งเศส 14 กรกฎาคม จะมีการสวนสนามไปตามถนนชองป์เซลีเซส์ ไปจบสิ้นที่ปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) อันเป็นที่ตั้งปะรำพิธี และเมื่อมีการฉลองที่เป็นความยินดีของชาวฝรั่งเศสทั้งมวล ไม่ว่าจะเป็นวันฉลองปีใหม่ การรวมตัวเพื่อแสดงความยินดีที่ฝรั่งเศสได้เป็นแชมป์บอลโลก หรือการแห่ถ้วยบอลโลกล้วนแต่มาที่ชองป์เซลีเซส์ทั้งสิ้น การแข่งจักรยาน Tour de France จะมาสิ้นสุดที่ชองป์เซลีเซส์ หรือแม้แต่การรวมตัวในวาระต่างๆ ถนนชองป์เซลีเซส์ก่อสร้างในยุคสมัยของกษัตริย์หลุยส์ 14 ที่ประสงค์จะเดินทางจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Palais des Tuileries) ไปยังแวร์ซายส์ (Versailles) ได้สะดวก เพราะกำลังก่อสร้างปราสาทที่แวร์ซายส์อยู่

Read More

Paris School of Economics

Column: FROM PARIS ฝรั่งเศสภูมิใจมากที่ Esther Duflo ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ในปี 2019 นี้ เพราะเธอเป็น “ผลผลิต” ของฝรั่งเศส Esther Duflo เกิดที่ปารีสในปี 1972 บิดาเป็นนักคณิตศาสตร์ ส่วนมารดาเป็นกุมารแพทย์ที่ไปร่วมทำงานด้านมนุษยธรรมอยู่เนืองๆ Esther Duflo จึงได้รับความบันดาลใจจากมารดา และเป็นจิตอาสาสำหรับ NGO หลายแห่ง เธอสอบเข้า Ecole normale supérieure ได้เป็นที่ 4 ได้ปริญญาโทด้านประวัติศาสตร์และเศรษฐศาสตร์ เพื่อนร่วมชั้นคือ Thomas Piketty แนะนำให้เธอเรียนเศรษฐศาสตร์ เธอได้ diplôme d’études approfondies จาก Ecole des hautes études en sciences sociales (EHESS) ได้ agrégation de sciences économiques

Read More

วิวาทะเรื่องดาวมิชแลง

Column: From Paris Michelin เป็นบริษัทผลิตยางรถยนต์ของฝรั่งเศส และยางสำหรับพาหนะอื่นๆ ด้วย รวมทั้งเครื่องบิน พนักงานขายของ Michelin ต้องเดินทางไปทั่วประเทศ จึงคิดทำแผนที่สำหรับการขับรถ และทำหนังสือคู่มือสำหรับนักท่องเที่ยวที่มีปกสีเขียว จึงเรียกว่า Guide vert แนะนำสถานที่ท่องเที่ยวในแต่ละเมือง และไหนๆ ก็ไหนๆ แล้ว พนักงานเหล่านี้ต้องไปพักแรมและรับประทานตามเมืองต่างๆ ที่เดินทางไป จึงเกิด Guide Michelin หรือที่เรียกกันว่า Guide rouge เพราะปกสีแดง แนะนำร้านอาหารตามหมู่บ้าน ตำบลหรือจังหวัดต่างๆ ของฝรั่งเศส และที่พัก ทั้งนี้ โดยแสดงความคิดเห็นด้วย กลายเป็นคู่มือของบรรดานักชิมอาหาร นับตั้งแต่ปี 1900 ถึง 2007 ขายได้ถึง 35 ล้านเล่ม ต่อมามีการให้ดาว Michelin สำหรับร้านอาหารอร่อย บรรยากาศดี การบริการยอดเยี่ยมในฝรั่งเศสและโมนาโก เฉพาะในปี 2016 มีร้านสามดาว 25

Read More

เหยื่อคนที่ 100 สร้างความตื่นตัวให้กับรัฐบาลฝรั่งเศส ในการแก้ไขปัญหาความรุนแรงในครอบครัว

Column: Women in wonderland ปัญหาความรุนแรงในครอบครัว เป็นปัญหาที่ไม่มีรัฐบาลไหนประสบความสำเร็จในการแก้ไข ทุกวันนี้มีผู้หญิงจำนวนมากที่ถูกทำร้ายทั้งร่างกายและจิตใจจากสามี อดีตสามี หรือสมาชิกในครอบครัว ความรุนแรงในครอบครัวไม่เหมือนปัญหาอื่นๆ เพราะสามารถเกิดขึ้นได้ในทุกสังคม ทุกชนชั้น และทุกศาสนา ดังนั้น แม้แต่ประเทศที่พัฒนาแล้วผู้หญิงก็ยังคงประสบกับความรุนแรงในครอบครัวเหมือนกัน องค์กร Organization for Security and Co-operation in Europe (OSCE) ได้เปิดเผยข้อมูลสถิติความรุนแรงในครอบครัว ในปี 2016 ว่า ผู้หญิงประมาณ 43,600 คนต่อปีจากทั่วโลกถูกฆาตกรรมโดยคนในครอบครัว 1 ใน 3 ของผู้หญิงทั่วโลกเคยถูกทำร้ายร่างกายหรือจิตใจจากคนในครอบครัวอย่างน้อย 1 ครั้งในชีวิต และมีเพียง 11% เท่านั้นที่มีการดำเนินคดีและแจ้งความกับเจ้าหน้าที่ตำรวจ คำว่า “การฆาตกรรมผู้หญิง” ภาษาอังกฤษใช้คำว่า Femicide ในที่นี้หมายถึงการฆาตกรรมที่ผู้ชายฆ่าผู้หญิงหรือเด็กหญิง เพราะพวกเธอเป็นผู้หญิง การฆาตกรรมนี้มักจะเกิดที่บ้าน ซึ่งเป็นผลกระทบมาจากความรุนแรงในครอบครัว OSCE ยังได้เปิดเผยข้อมูลเกี่ยวกับการฆาตกรรมหญิงว่า เกิดขึ้นในทุกประเทศ ที่เกิดมากคือ ประเทศรัสเซีย เอลซัลวาดอร์

Read More

ความแนบแน่นระหว่างมาครงและซาร์โกซี

Column: From Paris เอ็มมานูเอล มาครง (Emmanuel Macron) เข้าสู่เวทีการเมืองในยุคประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ (François Hollande) ด้วยการแนะนำของฌาคส์ อัตตาลี (Jacques Attali) ซึ่งเป็นที่ปรึกษาของฝ่ายหลัง และเป็นผู้ค้นพบความปราดเปรื่องของฝ่ายแรกเมื่อได้ทำงานด้วยกัน โดยฟรองซัวส์ โอลลองด์แต่งตั้งให้เอ็มมานูเอล มาครงเป็นรองเลขาธิการทำเนียบเอลีเซ (Palais de l’Elysée) อันเป็นทำเนียบประธานาธิบดี และเมื่อตำแหน่งรัฐมนตรีงบประมาณว่างลง ฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่ยอมแต่งตั้งเอ็มมานูเอล มาครงตามความปรารถนาของเจ้าตัว จึงเป็นที่มาของการลาออก หลังจากว่างานอยู่ไม่กี่เดือน ก็ถึงคราวปรับคณะรัฐมนตรี เอ็มมานูเอล มาครงได้รับการแต่งตั้งเป็นรัฐมนตรีเศรษฐกิจ อันเป็นตำแหน่งที่ใหญ่กว่าที่เคยปรารถนา ฟรองซัวส์ โอลลองด์จึงถือเอ็มมานูเอล มาครงเป็นเด็กสร้างของตน แต่แล้วเด็กสร้างก็ลาออกไปเพื่อเตรียมตัวลงสมัครรับเลือกตั้งประธานาธิบดีในปี 2017 แรกทีเดียวประธานาธิบดีฟรองซัวส์ โอลลองด์ไม่เชื่อว่าเอ็มมานูเอล มาครงจะทาบรอยเท้า มิไยที่บรรดาคนสนิทจะเตือนก็ตาม และเมื่อเอ็มมานูเอล มาครงประกาศอย่างเป็นทางการจะลงสมัครรับเลือกตั้ง และมีทีท่าว่าจะได้รับการสนับสนุนมาก ประธานาธิบดีในตำแหน่งมักจะลงสมัครเป็นวาระที่สอง ทว่าคนสนิทของฟรองซัวส์ โอลลองด์แนะนำว่าไม่ควรลง เพราะความปราชัยมองเห็นชัด เมื่อคำนึงถึงคะแนนนิยมที่ตกต่ำมาก เมื่อเอ็มมานูเอล มาครงได้รับเลือกตั้งเป็นประธานาธิบดี

Read More