Home > Energy (Page 5)

บ้านปูเพาเวอร์: ผู้นำธุรกิจพลังงาน รุกตลาด CLMV และเอเชียแปซิฟิก

   การแถลงข่าวประกาศขายหุ้นสามัญเพิ่มทุนของบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จำกัด (มหาชน) ในกลุ่มบ้านปู ที่พร้อมจะเปิดให้ประชาชนผู้สนใจจองซื้อหุ้นที่ราคาเสนอขายสุดท้ายได้ในวันระหว่างวันที่ 18-20 ตุลาคมนี้ หากจะพิจารณาถึงเหตุผลของการระดมทุนในครั้งนี้ นั่นคือการนำเงินที่จะได้มาชำระคืนเงินกู้จากบริษัทแม่ และนำเงินไปลงทุนขยายธุรกิจพลังงานทั้งในและต่างประเทศ เหตุผลดังกล่าวดูจะสะท้อนภาพที่แสดงถึงเจตนารมณ์ที่ชัดเจนถึงทิศทางในการเดินเกมก้าวต่อไปบนธุรกิจพลังงานของบ้านปู เพาเวอร์ คือนอกเหนือจากการปลดหนี้ที่มีต่อบริษัทแม่ อันมีสาเหตุมาจากการลงทุนในโรงไฟฟ้าหงสาที่มีมูลค่าหนี้มากกว่า 1 หมื่นล้านบาทแล้ว อีกเหตุผลหนึ่งอาจจะหมายถึงจุดเปลี่ยนสำคัญที่จะตามมาในอีกหลายมิติ หากแต่ในมิติที่กำลังดำเนินไปในครั้งนี้ดูน่าจับตามองเป็นพิเศษ เพราะการที่บ้านปู เพาเวอร์มีหมุดหมายสำคัญที่จะเบนเข็มและตั้งเป้าหมายที่ยิ่งใหญ่มากขึ้นในการรุกตลาด CLMV และตลาดที่ใหญ่กว่าอย่างกลุ่มประเทศในเอเชียแปซิฟิก ทั้งนี้หากมองในตัวเลขมูลค่าการเสนอขายที่น่าจะได้รับคือ 11,673–13,618 ล้านบาท ซึ่งแบ่งเป็นการชำระหนี้คืนต่อบริษัทแม่ 90 เปอร์เซ็นต์ นั่นหมายความว่าบริษัท บ้านปู เพาเวอร์ จะปลอดหนี้โดยสิ้นเชิง ส่งผลให้การใช้เม็ดเงินที่เหลืออีก 10 เปอร์เซ็นต์ในการลงทุนธุรกิจพลังงานในอนาคต เป้าหมายที่ว่าคือการขยายกำลังการผลิต 4,300 เมกะวัตต์ (เทียบเท่า) ภายในปี พ.ศ.2568 โดยมีตลาดใหญ่ที่บ้านปู เพาเวอร์ ให้ความสนใจและมีโครงการอยู่อย่างต่อเนื่องคือกลุ่มประเทศ CLMV ได้แก่ ประเทศกัมพูชา ประเทศเวียดนาม ประเทศเมียนมาร์ และประเทศลาว  ซึ่งวรวุฒิ ลีนานนท์ ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร

Read More

“ขยะ” วาระแห่งชาติ จากมูลฝอยสู่พลังงานทดแทน

  เหตุการณ์น้ำท่วมขังบนพื้นผิวถนนหลังจากฝนตกได้ไม่นาน แม้จะเป็นเรื่องที่เห็นจนชินตาและคาดเดาได้ง่าย รวมไปถึงต้นสายปลายเหตุที่รับรู้โดยทั่วกันว่ามาจากการสะสมของปริมาณขยะมูลฝอยบริเวณท่อระบายน้ำ แต่ดูเหมือนว่าปัญหาดังกล่าวไม่ได้รับการแก้ไขอย่างยั่งยืนเสียที อีกทั้งระบบการกำจัดขยะที่ไม่ถูกต้องตามมาตรฐานและขาดประสิทธิภาพ จึงเป็นการซ้ำเติมปัญหามลพิษให้รุนแรงมากขึ้น ดังที่ปรากฏให้เห็นมาแล้วจากการเกิดเพลิงไหม้บ่อขยะหลายแห่ง  จึงไม่น่าแปลกใจเมื่อรัฐบาลผู้ชอบแก้ไขออกประกาศให้กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมจัดทำโรดแมป เพื่อจัดการปัญหาขยะและของเสียอันตรายที่สั่งสมเป็นจำนวนมาก โดยทิศทางของรัฐบาลคือการแปรรูปขยะมาเป็นพลังงาน โดยมีเป้าหมายหลักอยู่ที่การสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานขยะจำนวน 53 โรงทั่วประเทศ แน่นอนว่าปัญหาในพื้นที่กรุงเทพมหานครน่าจะอยู่ภายใต้การดูแลของ กทม. หากแต่การหนีปัญหาด้วยการย้ายขึ้นไปอยู่บนดอยเพื่อที่จะไม่ต้องพบกับปัญหาน้ำท่วมขัง หรือการเชิญชวนให้ช่วยกันภาวนาให้ฝนตกเพื่อแก้ไขวิกฤตน้ำแล้ง ซึ่งปัญหาเหมือนจะรุนแรงมากกว่าปีที่ผ่านมา และนั่นไม่ใช่ทางออกที่ฉลาดนัก องค์กรความร่วมมือแห่งประเทศญี่ปุ่นหรือไจก้า ประมาณการว่าประเทศไทยผลิตขยะเฉลี่ย 13,000 ตันต่อวัน หรือประชากรหนึ่งคน ผลิตขยะประมาณ 1.2 กิโลกรัมต่อวัน ซึ่ง กทม. สามารถจัดเก็บขยะได้ประมาณ 9,000 ตันต่อวัน ซึ่งส่วนที่เหลือเป็นขยะตกค้างตามพื้นที่รกร้างว่างเปล่า ทั้งนี้สำนักสิ่งแวดล้อมจึงแก้ปัญหาการลักลอบทิ้งขยะบริเวณดังกล่าวโดยการจัดทำเป็นสวนหากพบว่าบริเวณนั้นมีการทิ้งขยะ  แนวทางดังกล่าวเป็นเพียงการแก้ปัญหาเพียงชั่วคราวเท่านั้น หากแต่การแก้ปัญหาขยะที่กำลังล้นเมืองอยู่ในขณะนี้นั้น หนทางที่อาจเรียกได้ว่าจีรังยั่งยืนคือการสร้างวินัยของคนไทย ให้รู้จักและเข้าใจแยกแยะขยะได้ ซึ่งจะนำไปสู่การคัดแยกก่อนทิ้งอย่างถูกต้อง ประเทศญี่ปุ่นนับเป็นแหล่งเรียนรู้ที่ดี นั่นเพราะญี่ปุ่นเคยประสบปัญหาวิกฤตขยะเมื่อ 30 ปีที่แล้ว ซึ่งญี่ปุ่นประกาศให้ปัญหาขยะเป็นวาระแห่งชาติไม่ต่างจากไทย  หากแต่การที่รัฐบาลญี่ปุ่นจัดทำ “คู่มือการอยู่อาศัย” ที่อธิบายถึงลักษณะของขยะแต่ละชิ้น และแยกแยะอย่างละเอียด ซึ่งประชาชนส่วนใหญ่ให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี  ทั้งนี้ญี่ปุ่นแบ่งประเภทของขยะดังนี้ ขยะเผาได้ เป็นวัสดุที่เผาไฟได้ ขนาดไม่ใหญ่เกินไป ขยะเหล่านี้จะถูกนำไปเผาในเตาเผาขยะและนำพลังงานความร้อนมาผลิตกระแสไฟฟ้าส่งขายให้การไฟฟ้า ขยะเผาไม่ได้ เช่น บรรจุภัณฑ์ที่ผลิตจากแก้ว ยาง

Read More

จับตา ปตท. ผนวก ราชบุรีโฮลดิ้ง พลังงานไทยในอาเซียน

 ภายใต้สถานการณ์ที่ประเทศไทยมีความต้องการใช้พลังงานที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่อง เมื่อสภาพอากาศทั้งไทยและทั่วโลกกำลังเปลี่ยนแปลงอย่างเห็นได้ชัด แต่เมื่อเทียบกับแหล่งพลังงานภายในประเทศที่มีอยู่อย่างจำกัด จำเป็นอย่างยิ่งที่ไทยต้องนำเข้าพลังงานจากต่างประเทศ ด้วยวิกฤตด้านพลังงานที่ไทยกำลังเผชิญอยู่ ทำให้หลายหน่วยงานออกมาตรการหรือกิจกรรมเพื่อรณรงค์การประหยัดพลังงาน รวมไปถึงการหาช่องทางที่จะนำพลังงานทดแทนทั้งพลังงานแสงอาทิตย์ พลังงานน้ำ พลังงานลม พลังงานจากขยะ มาใช้ หรืออีกหนึ่งทางเลือกคือการมองแหล่งพลังงานตามแนวตะเข็บชายแดนหรือประเทศเพื่อนบ้าน เช่นที่ บริษัท ปตท. จำกัด (มหาชน) และ บริษัท ผลิตไฟฟ้าราชบุรีโฮลดิ้ง จำกัด (มหาชน) เพิ่งจรดปากกาลงนามความร่วมมือลงทุนด้านพลังงานภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เมื่อวันที่ 24 มิถุนายน ที่ผ่านมา แม้หลักใหญ่ใจความของบันทึกความเข้าใจดังกล่าว จะมีเนื้อหาเพื่อศึกษาความเป็นไปได้ของการลงทุนโครงการด้านพลังงานในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ รองรับความต้องการใช้พลังงานของประเทศ เสริมสร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงานในอนาคต และสร้างความเข็มแข็งในการดำเนินธุรกิจในต่างประเทศร่วมกัน ดูเหมือนบันทึกความร่วมมือดังกล่าวจะเป็นไปเพื่อสร้างความมั่นคงให้แก่สองบริษัทที่มีความเชี่ยวชาญด้านพลังงาน มากกว่าจะเป็นดั่งสโลแกนที่ได้ยินจนคุ้นหูว่า “พลังไทย เพื่อไทย”  แน่นอนว่าความร่วมมือของทั้งสองบริษัทจะได้รับความเห็นชอบจากรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพลังงานอย่าง ดร.ณรงค์ชัย อัครเศรณี ที่นอกจากจะเป็นประธานในงานและพยานคนสำคัญแล้ว ยังให้ความเห็นที่เสมือนเป็นแรงสนับสนุนแก่บริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทยที่เป็นไปเพื่อรองรับอนาคตของประเทศ การศึกษาเพื่อดำเนินโครงการด้านพลังงานที่สำคัญและเป็นทิศทางพลังงานในอนาคตที่จำเป็นของไทย ทั้งก๊าซธรรมชาติเหลว และถ่านหิน “พลังความร่วมมือของแต่ละบริษัทจะสร้างความเชื่อมั่นให้แก่นักลงทุนที่อยู่ในไทยและในต่างประเทศได้ทั้งในวันนี้และอนาคต ที่สำคัญที่สุดคือเป็นการแสดงถึงศักยภาพของบริษัทพลังงานและบริษัทไฟฟ้าของไทย ที่สามารถสร้างโครงข่ายพลังงานในระดับชาติ ด้วยความมุ่งมั่นในบทบาทหน้าที่สร้างเสถียรภาพความมั่นคงด้านพลังงาน สร้างความมั่งคั่งทางเศรษฐกิจ และความยั่งยืนด้านพลังงานของสังคมไทย” แนวความคิดดังกล่าวดูเหมือนจะตรงกับสโลแกนของ คสช. ที่ว่า “มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน” การขยับของสองบริษัทที่มีธงนำด้านพลังงาน

Read More

พลังงานแสงอาทิตย์ โอกาสใหม่ของ “ชาร์ป”

 ความตื่นตัวว่าด้วยพลังงานสะอาดและพลังงานทดแทนในช่วงหลายปีที่ผ่านมา ทำให้ผู้ประกอบการจำนวนไม่น้อยต่างเร่งระดมสรรพกำลังในการพัฒนาเทคโนโลยีใหม่ๆ เพื่อรองรับกับการเติบโตของอุตสาหกรรมพลังงาน และดูเหมือนว่าผู้ประกอบการจากญี่ปุ่นจะเป็นอีกกลุ่มหนึ่งที่พยายามแสวงหาโอกาสทางธุรกิจใหม่จากปรากฏการณ์นี้ การปรากฏตัวขึ้นของโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ในรอบทศวรรษที่ผ่านมา แม้จะดำเนินไปท่ามกลางข้อถกเถียงถึงความคุ้มค่าการลงทุนและความเหมาะสมของการเป็นพลังงานทางเลือก ที่จะเข้ามามีบทบาทอย่างจริงจังสำหรับอนาคตในระดับมหภาค แต่สำหรับมิติมุมมองในทางธุรกิจแล้ว พลังงานแสงอาทิตย์ กำลังเป็นโอกาสที่เปิดกว้างสำหรับการลงทุนที่น่าจับตามองอย่างยิ่ง ความเคลื่อนไหวเช่นว่านี้ประเมินได้จากการลงนามข้อตกลงสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ในประเทศไทย ระหว่างชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น กับบริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัดเพื่อร่วมก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ขนาดใหญ่ ในจังหวัดลพบุรี โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ มีกำลังการผลิต 52 เมกะวัตต์ โดยเริ่มก่อสร้างในเดือนมกราคมที่ผ่านมา เพื่อให้แล้วเสร็จและดำเนินการได้ภายในสิ้นปี 2557 ซึ่งจะส่งผลให้กำลังการผลิตไฟฟ้าจากพลังงานแสงอาทิตย์ทั้งหมดของชาร์ปในประเทศไทยมีปริมาณมากกว่า 150 เมกะวัตต์ สำหรับการก่อสร้างโรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์แห่งนี้ บริษัท เสริมสร้างพลังงาน จำกัด ซึ่งเป็นผู้ดำเนินการได้มอบหมายให้บริษัท อิตาเลียนไทย ดีเวลลอปเมนต์ จำกัด (มหาชน) บริษัทผู้รับเหมา ก่อสร้างรายใหญ่ของประเทศไทย และบริษัท อิตัลไทยวิศวกรรม จํากัด ดูแลเรื่องงานก่อสร้างและการวางระบบไฟฟ้า  ขณะที่บริษัท ชาร์ป คอร์ปอเรชั่น ประเทศญี่ปุ่น จะทำหน้าที่จัดหาแผงเซลล์แสงอาทิตย์และควบคุมทุกขั้นตอนการก่อสร้าง โรงไฟฟ้าพลังงานแสงอาทิตย์ และการให้บริการบำรุงรักษาโรงไฟฟ้า ในฐานะที่เป็นเจ้าของและผู้พัฒนาเทคโนโลยี ชาร์ปเลือกที่จะใช้เทคโนโลยีที่ใช้เซลล์แสงอาทิตย์ชนิดฟิล์มบางหรือ Thin-film solar module ซึ่งเมื่อเปรียบเทียบกับเซลล์แสงอาทิตย์แบบผลึกแล้ว

Read More