Home > Cambodia

ชีวิตของแม่บ้านในกัมพูชา

 Women in Wonderland อย่างที่ทราบกันดีว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่ถูกจัดให้อยู่ในกลุ่มประเทศด้อยพัฒนา และมีรายได้ของประเทศอยู่ในระดับต่ำ (low income countries) หมายความว่ากัมพูชาเป็นประเทศที่ประชาชนมีรายได้ต่อหัวอยู่ในระดับต่ำ โดยมีรายได้เฉลี่ยต่อหัวน้อยกว่า 675 เหรียญสหรัฐต่อปี (หรือประมาณ 22,030 บาทต่อปี ถ้าคิดเป็นรายเดือนก็ตกเดือนละ 1,835 บาท) อาชีพหลักๆ ของชาวกัมพูชายังคงเป็นอาชีพเกษตรกรรม แต่ในช่วงหลังๆ มานี้ อุตสาหกรรมการผลิตเสื้อผ้า การก่อสร้าง และการท่องเที่ยว มีการเจริญเติบโตมากขึ้น และทำให้ผลิตภัณฑ์มวลรวมในประเทศ (Gross Domestic Product หรือที่เรียกย่อๆ ว่า GDP) เพิ่มขึ้นมากกว่า 7% ในแต่ละปี  ในกัมพูชาผู้หญิงมีหน้าที่ทำความสะอาดบ้าน ทำอาหาร และดูแลทุกๆ คนในครอบครัว งานบ้านทุกอย่างถูกมองว่าเป็นงานสำหรับผู้หญิง ในขณะที่ผู้ชายจะออกไปทำงานนอกบ้านเพื่อหาเงินมาเลี้ยงดูครอบครัว แต่ปัจจุบันสังคมในประเทศกัมพูชาเริ่มเปลี่ยนไป ผู้หญิงออกมาทำงานนอกบ้านมากขึ้นเพื่อเพิ่มรายได้อีกทางหนึ่งให้กับครอบครัว และหนึ่งในอาชีพที่ผู้หญิงหลายคนเลือกทำก็คือ อาชีพแม่บ้าน ทำหน้าที่ทำความสะอาด ซักเสื้อผ้า และทำกับข้าว โดยเฉพาะผู้หญิงที่ย้ายมาจากต่างจังหวัดเพื่อเข้ามาหางานทำในเมืองพนมเปญ ซึ่งเป็นเมืองหลวงของประเทศกัมพูชา  ขณะนี้อาชีพแม่บ้านเป็นอาชีพที่มีความต้องการสูงและหางานได้ง่ายในประเทศกัมพูชา เพราะ

Read More

“เมเจอร์” ทศวรรษที่ 3 ปรับสูตรสยายปีก

 “วิชา พูลวรลักษณ์” ทุ่มทุนสร้างอาณาจักรธุรกิจเอ็นเตอร์เมนต์ที่ครอบคลุมทุกไลฟ์สไตล์ แต่ประสบการณ์และบทเรียนตลอด 20 ปีที่ผ่านมา ปรับเปลี่ยนบิสสิเนสโมเดลจาก “Total Entertainment Lifestyle Company” สู่ความเป็นเมืองหนังและศูนย์รวมความบันเทิงระดับโลก ที่มีเป้าหมายใหญ่ชัดเจนมากขึ้น ภายใต้ 2 กลยุทธ์หลัก  ด้านหนึ่ง ปูพรมสาขาโรงภาพยนตร์เพื่อเป็นสะพานต่อยอดธุรกิจภาพยนตร์ อีกด้านหนึ่ง ปลุกปั้นธุรกิจภาพยนตร์ลงสาขาที่จะมีมากถึง 1,000 โรง ทั้งในและต่างประเทศ   ความสำเร็จของวิชา  คือ “โรงหนังโต หนังโต รายได้โตดับเบิ้ลอีกหลายเท่า” ที่สำคัญ เป้าหมายการก้าวเข้าสู่ปีที่ 21 ไม่ใช่แค่ตลาดในประเทศไทย แต่ขยายสู่สมรภูมิต่างประเทศ ทั้งตลาดอาเซียนและเอเชีย หลังชิมลางครั้งแรกเมื่อ 5 ปีก่อน โดยร่วมถือหุ้นในบริษัท พีวีอาร์ (PVR) บริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์ประเทศอินเดีย ตั้งบริษัทร่วมทุนดำเนินธุรกิจโรงภาพยนตร์และโบว์ลิ่ง แต่ดีลครั้งนั้นวิชาไม่ได้เข้าบริหารโดยตรง  จนล่าสุด ในปี 2557 บริษัท เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ้ป จำกัด (มหาชน)

Read More

เยือนเสียมเรียบ (2) สำรวจเมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย

 AEC Leisure จากด่านพรมแดนปอยเปต จุดเชื่อมแดนระหว่างประเทศไทยกับกัมพูชาไปอีกราวๆ 160 กิโลเมตร ใช้เวลาเดินทางประมาณ 3 ชั่วโมง เราจะพบกับ “เสียมเรียบ” เมืองที่เป็นที่ตั้งของมรดกโลกอย่างนครวัด เมืองที่รั้งตำแหน่งที่สองของเมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย ประจำปี 2557 เป็นเมืองที่สร้างรายได้หลักด้านการท่องเที่ยวให้กับกัมพูชา และเป็นจุดหมายปลายทางของ AEC Leisure ในครั้งนี้ สภาพของถนนจากด่านพรมแดนปอยเปต มุ่งตรงยังเมืองเสียมเรียบ ณ ปัจจุบัน เป็นถนนลาดยางอย่างดี ต่างจากสมัยก่อนที่ถนนขรุขระ เป็นหลุมเป็นบ่อ ฝุ่นตลบอบอวล นั่งรถกันที 5-6 ชั่วโมงเป็นอย่างต่ำ ปัจจุบันระยะทางเท่าเดิมแต่ระยะเวลาการเดินทางสั้นลง เหลือเพียงแค่ 2-3 ชั่วโมงเท่านั้น เพราะสภาพถนนที่ดีขึ้น เดินทางกันสบายๆ แถมไม่ต้องผจญกับฝุ่นตลบแบบเมื่อก่อน ตลอดสองข้างทางเป็นนาข้าวสลับกับบ้านเรือนที่มีอยู่เป็นระยะ แทบจะไม่มีภูเขาสูงให้เห็น ภาพนาข้าวผืนใหญ่ที่เห็นตลอดเส้นทาง ทำให้ไม่แปลกใจเลยว่า ทำไม “ข้าว” จึงเป็นพืชเศรษฐกิจที่สำคัญของกัมพูชา โดยสภาพภูมิประเทศและภูมิอากาศของกัมพูชาเหมาะแก่การเพาะปลูกพืชเศรษฐกิจหลากหลายชนิด มีดินและน้ำที่อุดมสมบูรณ์ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำการเกษตร พืชเศรษฐกิจที่สำคัญอื่นๆ นอกจากข้าวแล้วยังมี ข้าวโพด ถั่ว งา

Read More

เยือนเสียมเรียบ เมืองน่าเที่ยวแห่งเอเชีย (1) ผ่านด่านปอยเปต

AEC Leisure ผลสำรวจเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียประจำปี 2557 ของนิตยสารทราเวล แอนด์ เลเชอร์  (Travel & Leisure) นิตยสารด้านการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมสูงสุดในสหรัฐอเมริกา พบว่า กรุงเทพฯ ซึ่งเคยครองแชมป์ อันดับ 1 เมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชียมาหลายสมัย กลับเสียแชมป์ให้กับเกียวโตของญี่ปุ่น ที่ขึ้นมานั่งแท่นอับดับ 1 แทน โดยมี “เสียมเรียบ” เมืองท่องเที่ยวของกัมพูชา ขยับขึ้นมาอยู่อันดับ 2 จากอันดับ 4 ในปีก่อน ส่งผลให้กรุงเทพฯ แชมป์เก่าตกไปอยู่อันดับ 3           โดย 5 อันดับเมืองท่องเที่ยวที่ดีที่สุดในเอเชีย ปี 2557 ตามผลสำรวจของนิตยสารดังกล่าวมีดังนี้ อันดับที่หนึ่งได้แก่เมืองเกียวโต ประเทศญี่ปุ่น ตามมาด้วยอันดับที่ 2 เมืองเสียมเรียบ กัมพูชา อันดับ 3 แชมป์เก่า

Read More

NEDA: เพื่อนบ้านมั่นคง เมืองไทยมั่งคั่ง

 พุทธศักราช 2558 ปีที่ประเทศไทยจะก้าวเข้าสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน (ASEAN Economic Community) หรือ AEC มุ่งให้เกิดการรวมตัวทางเศรษฐกิจและการอำนวยความสะดวกในการติดต่อค้าขายระหว่างกัน อันจะทำให้ประเทศในภูมิภาคนี้มีความเจริญมั่งคั่ง และสามารถแข่งขันกับภูมิภาคอื่นๆ ได้เพื่อความอยู่ดี กินดีของประชาชนในประเทศอาเซียน ซึ่งประเทศในกลุ่มอาเซียนที่เหลืออีก 9 ประเทศได้แก่ อินโดนีเซีย มาเลเซีย ฟิลิปปินส์ สิงคโปร์ บรูไนดารุสซาลาม เวียดนาม พม่า ลาว และกัมพูชา  สำหรับประเทศไทยในฐานะที่เป็นผู้นำในการก่อตั้งสมาคมอาเซียน มีศักยภาพในการเป็นแกนนำในการสร้างประชาคมอาเซียนให้เข้มแข็ง จึงต้องเตรียมความพร้อมเพื่อการก้าวเข้าสู่การเป็นประชาคมอาเซียน โดยมุ่งเน้นเรื่องการศึกษา ซึ่งจัดอยู่ในประชาคมสังคมและวัฒนธรรม ที่จะส่งเสริมให้ประชาคมด้านอื่นๆ มีความเข้มแข็ง เพราะการศึกษานับเป็นรากฐานสำคัญของการพัฒนาในด้านอื่นๆ  สำนักงานความร่วมมือพัฒนาเศรษฐกิจกับประเทศเพื่อนบ้าน (องค์การมหาชน) (สพพ.) หรือ Neighbouring Countries Economic Development Cooperation Agency (Public Organization-NEDA) ขึ้นตรงต่อกระทรวงการคลัง มีภารกิจในการให้ความช่วยเหลือด้านการเงินและวิชาการแก่ประเทศเพื่อนบ้าน ทั้งเพื่อสนับสนุนการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคม ที่จะก่อให้เกิดประโยชน์ร่วมกันระหว่างไทยและเพื่อนบ้าน  บทบาทของ NEDA ดูเหมือนจะสอดคล้องต่อความมุ่งหมายของประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน โดยล่าสุดไทยให้ความช่วยเหลือด้านเงินกู้เงื่อนไขผ่อนปรน

Read More

ท่า(ที)ใหม่ของสีหนุวิลล์ ตลาดใหม่ของ AEC

 ท่าเรือแหลมฉบัง ท่าเรือน้ำลึกของประเทศไทยที่ได้รับการพัฒนาให้เป็นเขตเศรษฐกิจแหลมฉบัง ซึ่งใช้เป็นท่าเทียบเรือในการขนส่งสินค้าทั้งนำเข้าและส่งออกระหว่างประเทศที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ จนกลายเป็นต้นแบบให้กับท่าเรือสีหนุวิลล์ ท่าเรือน้ำลึกทางทะเลเพียงแห่งเดียวของประเทศกัมพูชา กัมปงโสม ชื่อเดิมของสีหนุวิลล์ ซึ่งมีความหมายว่า เมืองที่ติดน้ำ กระทั่งมีการเปลี่ยนชื่อมาเป็น สีหนุวิลล์ หรือกรุงพระสีหนุ เมื่อมีการยกสถานะขึ้นเป็นจังหวัดในปี ค.ศ.2008 และเพื่อเทิดพระเกียรติแด่เจ้านโรดมสีหนุ ซึ่งพระองค์เคยใช้ชีวิตในช่วงทรงพระเยาว์ที่เมืองนี้ ด้วยความที่สีหนุวิลล์เป็นเมืองชายทะเลที่ขึ้นชื่อว่าสวยที่สุดของประเทศกัมพูชา รัฐบาลจึงต้องการจะพัฒนาให้สีหนุวิลล์เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางเลือกใหม่ นอกจากแหล่งท่องเที่ยวทางอารยธรรมอย่างเสียมราฐ กระทั่งความวุ่นวายภายในประเทศทำให้โครงการต้องชะงักไป กระทั่งสถานการณ์สงบ รัฐจึงเร่งจัดทำแผนแม่บทแบ่งเขตต่างๆ ในสีหนุวิลล์ เพื่อพัฒนาเมืองทั้งการท่องเที่ยว อุตสาหกรรม การค้า และการขนส่ง  ท่าเรือสีหนุวิลล์อยู่ภายใต้การกำกับดูแลของกระทรวงโยธาธิการและการขนส่งของรัฐบาลกัมพูชา ซึ่งมี Lou Kim Chhun ดำรงตำแหน่ง Chairman & CEO รับหน้าที่คุมพังงาของท่าเรือน้ำลึกแห่งนี้ ด้วยระดับน้ำชายฝั่งที่มีความลึกตั้งแต่ระดับ 8.5 เมตร ถึง 13 เมตร ซึ่งสามารถรองรับเรือบรรทุกสินค้าและเรือเดินสมุทรได้ถึง 4 ลำพร้อมกัน ท่าเรือสีหนุวิลล์แห่งนี้จึงกลายเป็นความหวังทางธุรกิจและเป้าหมายหลักในการพัฒนาเศรษฐกิจของรัฐบาลกัมพูชา ความต้องการที่จะให้ท่าเรือแห่งนี้เป็นมากกว่าฮับในภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และมากกว่าการเป็นตัวสำรองในน่านน้ำทะเลอ่าวไทย รัฐบาลกัมพูชาพัฒนาท่าเรือเพื่อใช้ในการรองรับเรือบรรทุกสินค้าตั้งแต่ปี ค.ศ. 1956 สำหรับเฟสแรก

Read More

Southern Coastal Corridor เส้นทางติดปีกสีหนุวิลล์

 หลังจากทำพิธีด่านศุลกากรและประทับตรวจลงตรา ลงบนหนังสือเดินทางที่จุดผ่านแดนถาวรบ้านหาดเล็ก อำเภอคลองใหญ่ จังหวัดตราด ก้าวแรกที่เหยียบผืนดินจังหวัดเกาะกงของกัมพูชา เมืองที่ใครๆ มองว่า เป็นเมืองที่เต็มไปด้วยบ่อนกาสิโนสำหรับนักเสี่ยงโชค  วิถีชีวิตผู้คนของทั้งสองประเทศบริเวณจุดผ่านแดนถาวรที่เราสามารถเห็นได้จนชินตา ไม่ว่าจะการเดินทางไปมาหาสู่กันเสมือนญาติมิตร หรือสัมมาอาชีพที่เน้นหนักไปทางค้าขาย จึงทำให้เราเห็นแรงงานเขมรหรือแรงงานไทยเข็นรถบรรทุกสินค้าข้ามแดนกันไปมาตลอดเวลากระทั่งด่านปิด ซึ่งรถเข็นเหล่านั้นบรรจุสินค้าอุปโภคบริโภค ผัก ผลไม้จากฝั่งไทยซึ่งดูจะได้รับความนิยมในหมู่ชาวกัมพูชา  เสียงตะโกนสั่งงานลูกจ้างของเถ้าแก่มีทั้งภาษาพื้นถิ่นอย่างเขมร ขณะเดียวกันก็ได้ยินเสียงเอื้อนเอ่ยภาษาไทยในบางช่วงเวลา ประชาชนทั้งสองจังหวัดชายแดนบางส่วนสามารถสื่อสารได้ 2 ภาษา ทั้งภาษาไทยและภาษาเขมร หากชาวเกาะกงพูดภาษาไทยได้ดูจะไม่ใช่เรื่องแปลก นั่นเพราะ ไทยและเขมรมีประวัติศาสตร์ที่เกี่ยวข้องกันมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4-5 กระทั่งสยามได้ลงนามในอนุสัญญาฝรั่งเศสสยาม เมื่อวันที่ 13 กุมภาพันธ์ 1904 ซึ่งทำให้ไทยต้องเสียเกาะกง หรือ ปัจจันตคีรีเขตร์ ในสมัยนั้นให้แก่กัมพูชา ซึ่งถูกปกครองด้วยประเทศฝรั่งเศส ซึ่งชาวสยามที่อยู่บนเกาะกงบางส่วนไม่ได้ย้ายกลับมายังแผ่นดินเกิด จึงมีชื่อเรียกเฉพาะ ผู้ที่สืบเชื้อสายไทยที่อาศัยอยู่ในเกาะกงว่า “ไทย-เกาะกง”  สองข้างทางบริเวณทางเข้าเกาะกง บนถนนสาย 48 ส่วนหนึ่งของเส้นทาง R10 (Southern Coastal Corridor) วิถีชีวิตที่ค่อนข้างจะแปลกตาสำหรับชาวสยามอย่างเรา คือ บรรดาพ่อค้าแม่ขายที่กำลังลำเลียงผลไม้ที่ขนข้ามมาจากฝั่งไทย จัดวางบนรถตู้ซึ่งภายในรถถูกปรับแต่งโดยการนำเบาะโดยสารรถออกเพื่อเพิ่มพื้นที่สำหรับบรรทุกสินค้าอย่างพืชผักผลไม้ หรืออะไรก็ตามที่สามารถขนใส่ภายในรถตู้ได้ ส่วนเหตุผลที่พ่อค้าแม่ค้าชาวเขมรนิยมใช้รถตู้มากกว่าจะเป็นรถกระบะอย่างบ้านเรา

Read More

เจ้าพ่อธุรกิจโรงหนังไทยบนเส้นทางแห่งอาเซียน

หลังจากเก็บตัวเงียบอยู่พักใหญ่ตั้งแต่กลางปีที่แล้ว มาต้นปีนี้ “วิชา พูลวรลักษณ์” ประธานกรรมการบริหารแห่ง “เมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กรุ๊ป” ได้กลับมาเรียกเสียงฮือฮาจากสื่อมวลชนและนักลงทุนอีกครั้ง กับการประกาศแผนขยายธุรกิจเข้าสู่ตลาดกัมพูชา ซึ่งถือเป็นก้าวแรกของเมเจอร์ที่รุกเข้าสู่ตลาดอาเซียน และเป็นครั้งแรกที่เมเจอร์ขยายธุรกิจออกนอกประเทศอย่างครบวงจรเมื่อวันที่ 12 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมา เมเจอร์ฯ เป็นเจ้าภาพจัดงานแถลงข่าวการลงนามขยายธุรกิจร่วมกันระหว่างเมเจอร์ ซีนีเพล็กซ์ กับบริษัท อิออน มอลล์ กัมพูชา จำกัด บริษัทลูกของ “อิออน มอลล์” บริษัทพัฒนาห้างสรรพสินค้าขนาดใหญ่สัญชาติญี่ปุ่น ซึ่งได้พัฒนาห้างมาแล้วกว่า 100 แห่งในประเทศญี่ปุ่น รวมถึงพันธมิตรจากประเทศไทยรายอื่น ได้แก่ บริษัท ไอ.ซี.ซี. อินเตอร์เนชั่นแนล, บริษัท เอส แอนด์ พี ซินดิเคท และบริษัท แบล็คแคนยอน (ประเทศไทย)ทั้งนี้  “อิออน มอลล์ กัมพูชา” วางแผนที่จะพัฒนาห้างอิออน มอลล์ ในกรุงพนมเปญ ให้เป็นโครงการศูนย์การค้าที่ทันสมัยและใหญ่ที่สุดในประเทศกัมพูชา

Read More

ท่องเที่ยวเขมรฉุดไม่อยู่ รุดขยายสนามบินรองรับเพิ่ม

 ธุรกิจการท่องเที่ยวในกัมพูชายังคงเติบโตและทวีบทบาทสำคัญในการดึงดูดเงินตราจากนักท่องเที่ยวต่างประเทศต่อเนื่อง ขณะที่ผลพวงจากประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน หรือ AEC กำลังหนุนเสริมให้รัฐบาลกัมพูชาประกาศเป้าหมายเพิ่มจำนวนนักท่องเที่ยวและลงทุนสร้างสาธารณูปโภครองรับการขยายตัวนี้ แนวโน้มดังกล่าวเป็นปรากฏการณ์ที่ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง หลังจากที่กัมพูชาพัฒนาศักยภาพของสนามบินนานาชาติจังหวัดเสียมเรียบเมื่อปี 2006 เพื่อให้สามารถรองรับกับจำนวนและขนาดของเครื่องบินที่บินตรงจากทุกสารทิศเข้าสู่จุดหมายปลายทางเพื่อการเยี่ยมชมสถานที่มรดกโลกในเสียมเรียบ ซึ่งมี นครวัด และนครธม เป็นจุดหมายสำคัญ สถิติของสนามบินนานาชาติเสียมเรียบระบุว่า ในช่วง 10 ปีที่ผ่านมาจำนวนนักท่องเที่ยวที่เดินทางเข้าสู่เสียบเรียบทางเครื่องบินเพิ่มมากขึ้นถึงกว่า 300% คือเพิ่มจากระดับ 551,000 คนในปี 2003 มาสู่ระดับ 1.7 ล้านคนในปี 2012  ขณะที่จำนวนนักท่องเที่ยวในช่วง 9 เดือนแรกของปี 2012 มีนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศเดินทางเข้าสู่กัมพูชารวมกว่า 2.57 ล้านคนเพิ่มขึ้นจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าถึง 24% และทำให้ยอดรวมนักท่องเที่ยวจากต่างประเทศตลอดทั้งปี เพิ่มขึ้นจาก 2.88 ล้านคนในปี 2011 มาอยู่ที่ระดับ 3.3-3.5 ล้านคนในปี 2012 ซึ่งประมาณการว่าจะสามารถสร้างงานและรายได้ให้กับกัมพูชารวมมูลค่ามากกว่า 2 พันล้านเหรียญสหรัฐหรือประมาณ 6 หมื่นล้านบาทด้วย ประเด็นที่น่าสนใจส่วนหนึ่งอยู่ที่จำนวนนักท่องเที่ยวที่เพิ่มมากขึ้นนี้ นักท่องเที่ยวจากเวียดนามกลายเป็น กลุ่มลูกค้ากลุ่มใหญ่ด้วยจำนวนมากถึง 5.8 แสนคนเพิ่มขึ้นจากปีก่อนหน้าถึงร้อยละ 25

Read More