Home > CP (Page 6)

“Kitchen of Myanmar” และนโยบาย 3 ประโยชน์ของซีพี

 ประเทศเมียนมาร์กำลังเป็นที่สนใจของนักลงทุนทั้งไทยและต่างประเทศ ในด้านหนึ่งเป็นเพราะเมียนมาร์มีทั้งความอุดมสมบูรณ์ของทรัพยากร ไม่ว่าจะเป็นป่าไม้ พลังงาน ก๊าซธรรมชาติ และแร่ธาตุต่างๆ ขณะเดียวกัน ถ้ามองในเชิงภูมิศาสตร์ ที่ตั้งของเมียนมาร์ก็มีความสำคัญอย่างมาก ด้วยว่ามีพรมแดนที่เชื่อมต่อถึง 5 ประเทศ ซึ่ง 2 ใน 5 ประเทศนั้น เป็นประเทศที่มีขนาดเศรษฐกิจใหญ่ติดอันดับโลก ทั้งจีนและอินเดีย นอกจากนี้ เมียนมาร์ยังมีทางออกสู่ทะเลอันดามันและอ่าวเบงกอล จึงทำให้สามารถเชื่อมโยงการขนส่งทางทะเลกับต่างประเทศได้สะดวก ดังนั้น หากมองในมิตินี้เมียนมาร์ก็จะสามารถเป็นฐานการผลิตและส่งออกที่ไม่แพ้ใครในอาเซียน และทำให้มีความได้เปรียบในเชิงการแข่งขันไม่ใช่น้อย มิติมุมมองว่าด้วยเมียนมาร์นี้ ยังประกอบส่วนด้วยความเป็นประเทศที่มีอัตราค่าจ้างแรงงานที่อยู่ในระดับต่ำ จึงเป็นฐานกำลังของอุตสาหกรรมที่ใช้แรงงานได้ดี ขณะเดียวกันก็เป็นประเทศที่มีกำลังซื้อ เนื่องด้วยมีจำนวนประชากรมากถึง 58 ล้านคน ถือได้ว่าเป็นตลาดที่ขนาดใหญ่ทีเดียว ซึ่งทั้งหมดนี้ทำให้เมียนมาร์เป็นแม่เหล็กดึงดูดความสนใจของนักลงทุนเป็นอย่างดี ประเด็นดังกล่าวทำให้พลันที่รัฐบาลเมียนมาร์ส่งสัญญาณเปิดประเทศและปฏิรูปประชาธิปไตย นักลงทุนจำนวนมากที่เล็งเห็นโอกาสนี้ก็เดินทางเข้าไปดูลู่ทาง และเริ่มหาพันธมิตรปักหลักทำธุรกิจกันเพิ่มมากขึ้น ซึ่งเป็นไปตามสัจธรรมที่ผู้คนในเครือข่ายของซีพี มักพูดกันเสมอๆ ว่า “ที่ใดมีหนอนเยอะที่นั่นก็ย่อมมีนกเยอะ” สำหรับเครือเจริญโภคภัณฑ์ หรือ ซีพี เข้าไปลงทุนในเมียนมาร์ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2539 จากการที่มองเห็นศักยภาพตลาดที่มีขนาดใหญ่ และมีความเพียบพร้อมของวัตถุดิบ ขณะที่ซีพีมีทั้งองค์ความรู้ และมีเทคโนโลยีในเกษตรอุตสาหกรรม พันธกิจของซีพีในเมียนมาร์กำหนดไว้ชัดเจนว่าจะมีเป้าหมายสู่การเป็น “Kitchen of Myanmar” และตลอดเวลาที่ผ่านมา

Read More

ซีพียกเครื่องธุรกิจค้าปลีกปรับกระบวนทัพโกอินเตอร์

“วัตถุดิบทั่วโลกเป็นของซีพี คนทั่วโลกเป็นของซีพี เงินทั่วโลกก็เป็นของซีพี อยู่ที่จะไปเอาเมื่อไหร่ วัตถุดิบไม่จำเป็นต้องเอาจากเมืองไทย ไปทำที่โน่นให้เป็นของซีพี ไปแต่กระเป๋าและความคิด ทำได้แล้ว” แนวคิดของ ธนินท์ เจียรวนนท์ ประธานกรรมการและประธานคณะผู้บริหารเครือเจริญโภคภัณฑ์ (ซีพี) ซึ่งตอกย้ำอยู่เสมอในที่ประชุมผู้บริหารของเครือซีพี ซึ่งจัดขึ้นทุกเดือนและถ่ายทอดไปยังผู้บริหารในเครือข่าย 60 ประเทศทั่วโลก สามารถสะท้อนเป้าหมายสำคัญของซีพีที่ไม่ใช่การยึดครองตลาดเมืองไทย ตลาดอาเซียน หรือเอเชีย แต่ขยายกว้างขวางออกไปทั่วโลกและมีนัยสำคัญ เพราะไม่ใช่แค่การสร้างยอดขายรายได้ แต่หมายถึงเงินกำไรที่มีสัดส่วนมากขึ้นกว่าการทำธุรกิจต้นน้ำแบบเดิมๆ  ล่าสุด ธนินท์เร่งปรับกระบวนทัพกลุ่มธุรกิจค้าปลีก เพื่อขยายรูปแบบร้านค้าหลากหลายและบุกทุกช่องทางการตลาด โดยโครงสร้างใหม่จัดแบ่งร้านต่างๆ ในเครือเป็น 2 กลุ่ม คือ กลุ่มร้านอาหาร(Restuarant) ได้แก่ เชสเตอร์กริลล์ ธุรกิจห้าดาว ร้านอาหารจานด่วน “ซีพีคิทเช่น” ร้านเดอะกริลล์ ร้านสเต๊กหมูคูโรบูตะ สเต๊กปลา ร้านสแน็กทูโก  อีกกลุ่ม คือ ค้าปลีกอาหาร (Food Retail) ได้แก่ ร้านซีพีเฟรชมาร์ท ซึ่งรวมถึงตู้เย็นชุมชน ร้านซีพีฟู้ดมาร์เก็ต และซีพีฟู้ดเวิลด์ โดยเฉพาะซีพีฟู้ดมาร์เก็ตถือเป็นโมเดลธุรกิจใหม่ที่เจ้าสัววางหมากไว้แก้โจทย์การขยายสาขาในต่างประเทศ หลังจากการเจรจาขอไลเซนส์กับ

Read More