Home > Art

นิทรรศการ Paris romantique 1815-1848

Column: From Paris Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอ็กซ์โปนานาชาติปี 1900 ปัจจุบันเป็นพิพิธภัณฑ์ Musée des beaux-arts de la Ville de Paris ขึ้นกับเมืองปารีส ในฤดูร้อนปี 2019 จัดนิทรรศการ Paris romantique 1815-1848 ปารีสโรแมนติก ระหว่างปี 1815-1848 อันช่วงที่นโปเลอง (Napoléon) หมดอำนาจจนถึงช่วงปฏิวัติปี 1848 Paris romantique 1815-1848 สะท้อนกรุงปารีสระหว่างปี 815-1848 ทั้งด้านสังคม ศิลปะ และความคิดอ่าน นิทรรศการนี้นำผลงานกว่า 600 ชิ้นมาแสดง มีทั้งภาพเขียน ประติมากรรม เครื่องเรือน objets d’art สะท้อนความเคลื่อนไหวด้านศิลปะ วัฒนธรรม และการเมืองในยุคนั้น เริ่มจากพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuileries) ซึ่งเป็นพระราชวังที่กษัตริย์หลุยส์ 18

Read More

ประติมากรรมฝาท่อระบายน้ำ ศิลปะสุดชิคปรับโฉมกรุงเทพฯ

แนวคิดที่ว่าประติมากรรมเป็นองค์ประกอบหนึ่งของเมืองและช่วยให้เมืองมีความงดงาม เป็นแนวคิดทางศิลปะและการจัดผังเมืองที่สังคมไทยได้อิทธิพลจากตะวันตก ในระยะแรกประติมากรรมบนที่สาธารณะของเมืองเกิดขึ้นโดยการจัดการของรัฐ ซึ่งมีการเตรียมพื้นที่สำหรับติดตั้งอย่างเหมาะสม และโครงการมักถูกผนวกเป็นส่วนหนึ่งของการจัดผังเมือง เช่น ตั้งอยู่บนลานพระราชวัง หรือตั้งบนแยกถนนที่ตัดขึ้นใหม่ งานประติมากรรมสาธารณะในช่วงเริ่มต้นของไทยมักเป็นอนุสาวรีย์หรือเป็นส่วนประดับสะพาน น้ำพุ หรืออาจเป็นส่วนประดับอาคารของราชการ การจัดการอย่างชัดเจนในระยะแรก ๆ โดยรัฐ ทำให้ประติมากรรมบนที่สาธารณะมีทางสุนทรีย์ และสื่อความหมายของผลงานถึงสาธารณชนได้ดี ทั้งยังเป็นหมุดหมายที่ส่งเสริมภูมิทัศน์ของเมือง อย่างไรก็ดี ในช่วงเวลาหลายทศวรรษที่ผ่านมามีการขยายตัวของเขตเมืองอย่างรวดเร็ว การจัดการเมืองไม่ทันต่อสถานการณ์ได้ทำลายทัศนียภาพของเมืองที่เคยงดงามในอดีต การขยายถนนได้รื้อทำลายสะพานซึ่งมีอายุกว่า 100 ปีลงมาก งานศิลปกรรมประดับตกแต่งสะพานรวมไปถึงน้ำพุประดับตามแยกถนนสายสำคัญจึงถูกรื้อทำลายลงด้วย ปัจจุบันกรุงเทพมหานครมีความแออัด การจัดสรรพื้นที่ในเมืองให้เป็นที่สาธารณะใหม่ขึ้น เช่น ลานคนเมือง จัตุรัสเมือง หรือสวนหย่อมทำได้ยาก สภาพเมืองปัจจุบันจึงไม่เอื้ออำนวยต่อโครงงานประติมากรรมบนที่สาธารณะเช่นในอดีต กรุงเทพมหานครมีแนวคิดและความพยายามแทรกงานศิลปะลงบนพื้นที่เมือง โดยริเริ่มโครงการติดตั้งงานประติมากรรมถาวรตามจุดตัดของถนนหลายแห่ง แต่เป็นที่น่าเสียดายที่ไม่สามารถจัดสรรพื้นที่เหมาะสมให้แก่ผลงานประติมากรรม ผลงานบางชิ้นถูกรื้อทิ้งเมื่อมีการปรับปรุงผิวจราจร บางชิ้นถูกปล่อยให้ทรุดโทรมเพราะขาดการดูแล กรุงเทพมหานครจึงมักเลือกสวนสาธารณะเป็นที่ติดตั้งโครงการประติมากรรม แต่ก็ไม่ได้มีส่วนช่วยให้พื้นที่ชุมชนและภูมิทัศน์ของเมืองมีทัศนียภาพโดยรวมที่ดีขึ้นมากนัก ปัจจุบันมีภาคธุรกิจ องค์กร และเอกชนหลายรายนำประติมากรรมมาติดตั้งหน้าอาคารสำนักงานของตัวเอง ช่วยสร้างทัศนียภาพของเมืองให้งดงามไปพร้อมกับการส่งเสริมภาพลักษณ์เชิงธุรกิจขององค์กร เป็นที่น่าสังเกตว่าโครงการเหล่านี้มักเกิดในย่านธุรกิจสำคัญบนพื้นที่ ซึ่งเจ้าของเป็นผู้ดูแลรักษาให้งานประติมากรรมอยู่ในสภาพดีอยู่เสมอ ส่วนในย่านชุมชนที่มีงานประติมากรรมติดตั้ง หากไม่อยู่ในพื้นที่ของหน่วยงานราชการมักขาดผู้ดูแลรับผิดชอบ ทำให้ผลงานเหล่านั้นเสื่อมโทรมในเวลาไม่นานและมักถูกรื้อถอนไป ผลลัพธ์ของการจัดการที่ผ่านมาชี้ชัดว่าการจัดการทัศนียภาพของเมืองขนาดมหานครโดยรัฐฝ่ายเดียวไม่เพียงพออีกต่อไป การปรับปรุงภูมิทัศน์ในเมืองให้งดงามขึ้นจึงต้องการความร่วมมือจากหลายฝ่าย โครงการประติมากรรมบนพื้นที่สาธารณะที่จะประสบผลสำเร็จต้องการการมีส่วนร่วมอย่างจริงจังระหว่างภาครัฐ ภาคธุรกิจ ศิลปิน และชุมชน ฝ่ายมนุษยศาสตร์

Read More

Origine du monde กำเนิดของโลก

Column: From Paris กุสตาฟ กูร์เบต์ (Gustave Courbet) เป็นจิตรกรชื่อดังชาวฝรั่งเศสของศตวรรษที่ 19 เป็นจิตรกรคนแรกที่ “ขบถ” ต่อกฎเกณฑ์ของราชบัณฑิตสาขาวิจิตรศิลป์ ที่กำหนดให้การเขียนภาพขนาดใหญ่ต้องเป็นเรื่องราวของเจ้านายและศาสนาเท่านั้น เขาเป็นคนแรกที่เขียนภาพขนาดใหญ่เกี่ยวกับวิถีของชาวบ้าน เมื่อนโปเลองที่ 3 (Napoléon III) พ่ายแพ้สงครามกับปรัสเซีย ปรัสเซีย และเยอรมนีจึงกรีธาทัพเข้ายึดฝรั่งเศส ชาวกรุงปารีสยอมรับไม่ได้ จึงลุกขึ้นต่อต้านเป็นเวลา 4 เดือน แต่ในที่สุดก็ต้องยอมแพ้ ฝรั่งเศสจัดการเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎรที่มีแต่ผู้ชายเท่านั้นที่สามารถลงคะแนนเสียง ได้สมาชิกสภาที่นิยมเจ้าถึง 400 คน และแต่งตั้งผู้นิยมนโปเลองในรัฐบาลหลายคน ชาวกรุงปารีสส่วนหนึ่งที่ต้องการเป็นสาธารณรัฐ ลุกฮือต่อต้านรัฐบาลที่แวร์ซายส์ (Versailles) เป็นยุค Commune de Paris เกิดการต่อสู้ระหว่างปารีสและแวร์ซายส์ พวก Commune ที่เรียกว่า Communard เผาทำลายสถานที่หลายแห่งที่เป็นสัญลักษณ์ของนโปเลองและสถาบันกษัตริย์ รวมทั้งพระราชวังตุยเลอรีส์ (Tuilleries) และเสาวองโดม-Colonne de Vendôme ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ชัยชนะของนโปเลองที่ 1 ในการสงคราม กุสตาฟ

Read More

นิทรรศการ Expressionnisme

Column: From Paris Expressionnisme เป็นศิลปะกระแสหนึ่งซึ่งเกิดในต้นศตวรรษที่ 20 ในยุโรปเหนือ และโดยเฉพาะอย่างยิ่งเยอรมัน ทั้งในด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรม วรรณกรรม การละคร ภาพยนตร์ ดนตรี และการเต้นรำ แต่เป็นศิลปะที่พวกนาซีประณาม บ้างก็ว่า Expressionnisme ในจิตรกรรมไม่ใช่กระแสแต่เป็นปฏิกริยาต่อต้าน Impressionnisme ของฝรั่งเศส ซึ่งสะท้อนภาพจริงที่ได้เห็น ทว่า Expressionnisme เขียนภาพอย่างที่ใจของอาร์ทิสต์ต้องการแสดงออก Expressionnisme จึงแรงกว่า Aggressive กว่า ใช้สีแรง เสมือนเป็นกระแสที่สืบต่อจาก Fauvisme ดังอาร์ทิสต์อย่างอองรี มาติส (Henri Matisse) เคส วาน โดนเกน (Kees Van Dongen) อัลแบรต์ มาร์เกต์ (Albert Marquet) จอร์จส์ บราค (Georges Braque) อองเดร เดอแรง

Read More

อิมเพรสชั่นนิสต์ที่ลอนดอน

Column: From Paris Paris Plages เป็นกิจกรรมฤดูร้อนที่เทศบาลกรุงปารีสจัดระหว่างวันที่ 20 กรกฎาคมถึงสิ้นเดือนสิงหาคม เป็นการแปลงริมแม่น้ำแซน (Seine) ช่วงหนึ่งให้เป็นชายหาด สำหรับคนที่ไม่มีโอกาสไปพักร้อน และเป็นสีสันสำหรับนักท่องเที่ยว แต่เดิมจะนำทรายมาเท ตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด บางหาดก็ปูหญ้าเทียม มีกิจกรรมสำหรับเด็กๆ สระว่ายน้ำ หน้าศาลากลางกรุงปารีส (Hôtel de ville) เททราย ขึงเน็ตสำหรับกีฬาวอลเลย์บอลชายหาด ทว่านั่นกลายเป็นอดีตไปแล้ว เพราะนายกเทศมนตรีกรุงปารีสคนปัจจุบันลดกิจกรรมหมดทุกอย่าง ยกเว้นการตั้งเก้าอี้ผ้าใบและร่มกันแดด มีกิจกรรมสำหรับเด็กเล็ก ผลก็คือ ผู้คนบางตา ไปเดินริมแม่น้ำแซนบ่อยๆ วันหนึ่งเห็นบอร์ดติดรีโปรดักชั่นภาพเขียนของจิตรกรอิมเพรสชั่นนิสต์ (impressionniste) หลายภาพด้วยกัน จึงได้ทราบว่ากำลังมีนิทรรศการอิมเพรสชั่นนิสต์ที่เปอติต์ ปาเลส์ (Petit Palais) Petit Palais เป็นอาคารที่สร้างขึ้นเพื่อรองรับงานเอกซ์โปนานาชาติปี 1900 ต่อมาเป็นพิพิธภัณฑ์วิจิตรศิลป์ ขึ้นอยู่กับเทศบาลกรุงปารีส Musée des beaux-arts de la Ville de Paris มีงานศิลป์มากมาย

Read More

กลโกงสมบัติปิกัสโซ

Column: From Paris เห็นผลงานของปาโปล ปิกัสโซ (Pablo Picasso) เมื่อไปเที่ยววัลโลริส (Vallauris) เมืองเล็กๆ ทางใต้ของฝรั่งเศส ความพิเศษอยู่ที่ปาโบล ปิกัสโซเคยมาใช้ชีวิตที่เมืองนี้ และเขียนภาพฝาผนังให้โบสถ์ด้วย ชื่อ La guerre et la paix สงครามและสันติภาพ ปาโบล ปิกัสโซมีผู้หญิงหลายคนในชีวิต คือโอลกา โคคลอฟวา (Olga Khokhlova) มีลูกชื่อ Paolo ต่อมา Marie-Thérèse Walter มีลูกนอกสมรสชื่อ Maya ส่วนฟรองซ็วส จีโลต์ (Françoise Gilot) มีลูกนอกสมรส 2 คนคือ โคล้ด (Claude) และปาโลมา (Paloma) และสมรสกับฌาคเกอลีน รอค (Jacqueline Roque) ดังนั้นเมื่อปาโบล ปิกัสโซถึงแก่กรรมในปี 1973

Read More

ฌอง ก็อกโต อาร์ทิสต์หลากแขนง

Column: From Paris ชอบแหวนของการ์ทีเอร์ (Cartier) รุ่นหนึ่ง เป็นทองสามสีไขว้กัน วงหนึ่งเป็นทองขาว อีกวงหนึ่งเป็นทองคำสีเหลืองและวงสุดท้ายเป็นทองสีชมพู เป็นรุ่นชื่อ Trinity รู้สึกว่าเท่ดี ร้านเพชรที่เคยคุ้นในอดีตทำเป็นแหวนก้อยให้ น่ารักมาก จำไม่ได้ว่ายกให้สาวคนไหนแล้ว Trinity เป็นผลงานการออกแบบของฌอง ก็อกโต (Jean Cocteau) แล้วให้ห้างการ์ทีเอร์ทำให้ บางกระแสก็บอกว่าการ์ทีเอร์ทำออกมา บังเอิญให้ฌอง ก็อกโตไปเห็นเข้า เขาชอบใจจึงสั่งทำหลายวง สำหรับสวมเองและมอบเป็นของขวัญใครบางคน ฌอง ก็อกโตเป็นอาร์ทิสต์หลากแขนง เขาเริ่มจากการเขียนบทกวี หนังสือบทกวีเล่มแรกของเขาคือ La lampe d’Aladin เอดูอารด์ เดอ มักซ์ (Edouard de Max) ชอบใจบทกวีของเขา จึงจัดให้มีการอ่านบทกวีที่โรงละครเฟมีนา (Fémina) ผู้ชมชอบใจ ฌอง ก็อกโตในฐานะกวีจึงดังนับแต่นั้น เขาชอบเข้าสังคมคนดัง และกลายเป็นหนุ่มสำอางชื่อดังในยุคนั้น ฌอง ก็อกโตชอบใจผลงานของแซร์จ เดอ ดีอากีเลฟ (Serge de Diaghilev)

Read More

นิทรรศการเอมีล แบร์นารด์

 Column: From Paris ญาติมิตรมาเที่ยวปารีส จะแนะนำให้ไปที่พิพิธภัณฑ์ออรองเจอรี (Musée de l’Orangerie) ซึ่งอยู่ในบริเวณสวนตุยเลอรีส์ (Jardin des Tuileries) การเดินทางไปที่ง่ายที่สุดคือนั่งรถใต้ดินสาย 1 ไปขึ้นสถานี Concorde เดินออกทางป้ายที่บ่งว่า Musée de l’Orangerie โผล่ขึ้นจะเป็นปลาซ เดอ ลา กงกอร์ด (Place de la Concorde) ที่มีแท่งหินโอเบลิสค์ (Obélisque) ของอียิปต์ กำแพงที่เห็นเป็นกำแพงสวนตุยเลอรีส์ Musée de l’Orangerie จะอยู่ทางขวามือ ต้องเดินเข้าสักนิด แล้วจะเห็นทางเดินขึ้นสูงไป หน้าพิพิธภัณฑ์ตั้งรูปปั้น Le baiser ของโอกุสต์ โรแดง (Auguste Rodin) ไป Musée de l’Orangerie ครั้งสุดท้ายเมื่อเพื่อนมาเยือน ชมภาพสวนบัวขนาดใหญ่ที่โคล้ด โมเนต์

Read More

ความรวยเป็นเหตุ

เบอร์นารด์ กุกเกนไฮม์ (Bernard Guggenheim) นายธนาคารชาวนิวยอร์ก แยกออกจากครอบครัวมาพำนักในปารีส ทำธุรกิจสร้างลิฟต์ ผลงานเด่นคือลิฟต์ของหอเอฟเฟล (Eiffel) แต่แล้วเดินทางไปกับเรือไททานิก (Titanic) จนเสียชีวิตในที่สุด ทิ้งสมบัติให้ลูก เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์ (Peggy Guggenheim) ได้มรดกอีกส่วนหนึ่งจากลุงคือโซโลมอน อาร์. กุกเกนไฮม์ (Solomon R. Guggenheim) เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์เกิดในปี 1898 เดินทางไปมาระหว่างนิวยอร์ก ปารีส และลอนดอน ได้รู้จักกับอาร์ทิสต์อย่างกงสต็องแตง บรองกูซี (Constantin Brancusi) ฌอง ก็อกโต (Jean Cocteau) มาร์เซล ดูชองป์ (Marcel Duchamp) ซึ่งให้คำแนะนำเกี่ยวกับการสะสมงานศิลป์ เธอไปเปิดอาร์ตแกลเลอรีที่ลอนดอน ในบั้นปลายชีวิตไปพำนักที่เมืองเวนิสริมฝั่ง Grand Canal และให้ทำบ้านของตนเป็นพิพิธภัณฑ์  เพ็กกี้ กุกเกนไฮม์สะสมโมเดิร์นอาร์ต แอ็บสแทร็คและเซอร์เรียลิสต์ อันมีผลงานชิ้นเอกของปาโบล

Read More

Fondation Maeght

 ฝรั่งเศสมีพ่อค้างานศิลป์ดังๆ หลายคน แต่ไม่มีคนไหนที่จะหาญกล้าสร้าง “พิพิธภัณฑ์” ส่วนตัวแสดงผลงานอาร์ทิสต์ทั้งมวลที่ตนสะสมไว้ เอเม มากต์ (Aimé Maeght) เป็นเพียงหนึ่งเดียว เอเม มากต์ เกิดทางตอนเหนือของฝรั่งเศส แถบเมืองลิล (Lille) พ่อไปสงครามโลกครั้งที่หนึ่งแล้วหายสาบสูญ แม่พาลูกๆ หนีภัยเยอรมันไปทางใต้ใกล้เมืองนีมส์ (Nîmes) หลังจากเรียนด้านการพิมพ์ เอเม มากต์ไปทำงานในโรงพิมพ์แห่งหนึ่งที่เมืองกานส์ (Cannes) เป็นช่างทำแบบพิมพ์ เขาหางานได้ง่ายเพราะเป็นลูกของผู้หายสาบสูญหรือเสียชีวิตในสงคราม  และที่นี่เองเขาได้พบกับสาวน้อยวัย 17 ปี มาร์เกอริต เดอเวย์ (Marguerite Devaye) ลูกสาวพ่อค้าที่มั่งคั่ง ทั้งสองบังเอิญไปฟังคอนเสิร์ตนักร้องประสานเสียงเดียวกัน สาวเจ้านึกว่าหนุ่มเดินตาม จึงหันมาตบหน้าเสียนี่ แต่แล้ว ในที่สุดก็แต่งงานในปี 1928  ต่อมาในปี 1932เขาตั้งโรงพิมพ์ของตนเองชื่อ ARTE แถวหาด La Croisette พร้อมกับขายวิทยุด้วย  ในปี 1936 เอเมและมาเกอริต มากต์ได้พบกับจิตรกรปิแอร์ บอนนารด์

Read More