ย้อนพินิจ 4 ปี คสช. เศรษฐกิจไทยในร่างแห??
ความเป็นไปของภาวะเศรษฐกิจไทยในยุคสมัยของคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ซึ่งดำรงสถานะและดำเนินต่อเนื่องมาจนครบ 4 ปี ในช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ดูเหมือนจะได้รับการโหมประโคมว่าดำเนินมาอย่างถูกทิศถูกทางและกำลังปรับฟื้นตัวขึ้นอย่างมีอนาคตสดใส ควบคู่กับการเปิดเผยตัวเลขการเติบโตทางเศรษฐกิจในช่วงไตรมาสที่ 1 ของปี 2561 ซึ่งสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ระบุว่ามีอัตราขยายตัวที่ระดับร้อยละ 4.8 ซึ่งเป็นการเติบโตที่สูงที่สุดในรอบ 5 ปี หากแต่ภายใต้ตัวเลขสวยหรูที่หน่วยงานภาครัฐพยายามฉายภาพให้สังคมได้รับรู้ กลับยิ่งสะท้อนความเป็นไปที่ขัดต่อความรู้สึกนึกคิดและแตกต่างจากข้อเท็จจริงที่ประชาชนทั่วไปได้สัมผัสอย่างไม่อาจเทียบเคียงกันได้เลย ข้อเท็จจริงที่น่าสนใจประการหนึ่งก็คืออัตราการขยายตัวทางภาวะเศรษฐกิจของไทยที่รวบรวมโดยธนาคารแห่งประเทศไทยระบุว่าอัตราการขยายตัวทางเศรษฐกิจของไทยนับตั้งแต่ปี 2555 อยู่ในระดับร้อยละ 6.5 ก่อนที่จะถดถอยลงมาเหลือการขยายตัวเพียงร้อยละ2.9 ในปี 2556 และตกต่ำลงไปอยู่ที่ระดับร้อยละ 0.8 ในปี 2557 และปรับขึ้นมาเป็นร้อยละ 2.9 ในปี 2559 และร้อยละ 3.2 ในปี 2559 ขณะที่รายงานภาวะเศรษฐกิจไทยปี 2560 ระบุว่ามีการขยายตัวขึ้นร้อยละ 3.9 ตามการส่งออกสินค้าและการท่องเที่ยว สอดคล้องกับเศรษฐกิจโลกที่ฟื้นตัวชัดเจนและกระจายตัวมากขึ้น อุปสงค์ในประเทศขยายตัวอย่างค่อยเป็นค่อยไป ขณะที่แรงขับเคลื่อนเศรษฐกิจจากภาครัฐชะลอลงจากปีก่อน เศรษฐกิจไทยขยายตัวดีโดยได้รับแรงส่งสำคัญตลอดทั้งปีจากการส่งออกสินค้าที่ดีขึ้นทั้งในมิติของประเภทสินค้าและตลาด ตามเศรษฐกิจประเทศคู่ค้าและปริมาณการค้าโลกที่ขยายตัวดีต่อเนื่อง ความมั่นใจในภาวะเศรษฐกิจไทยของหน่วยงานภาครัฐได้รับการตอกย้ำหนักแน่นยิ่งขึ้นจากตัวเลขล่าสุดของสำนักงานคณะกรรมการพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ที่นอกจากจะระบุว่าเศรษฐกิจไทยในไตรมาสที่ 1
Read More