Home > แอ๊บบอต

แอ๊บบอต ยกระดับความตระหนักรู้ด้านสุขภาพกล้ามเนื้อ จัดกิจกรรม Walk Rally: สูงวัย Young ไหวชัวร์

แอ๊บบอต ประเทศไทย ยกระดับความตระหนักรู้ด้านสุขภาพกล้ามเนื้อ จับมือ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทยฯ จัดกิจกรรม Walk Rally: สูงวัย Young ไหวชัวร์ แอ๊บบอต ร่วมกับ กรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข และสมาคมโภชนาการแห่งประเทศไทย ในพระราชูปถัมภ์สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา ฯ สยามบรมราชกุมารี จัดกิจกรรม “Walk Rally: สูงวัย Young ไหวชัวร์” เพื่อส่งเสริมแนวทางการสูงวัยอย่างมีสุขภาพดีแบบองค์รวม โดยมุ่งเน้นการปลูกฝังและให้ความรู้เกี่ยวกับสุขภาพมวลกล้ามเนื้อรวมถึงการดูแล-ป้องกันสุขภาพในผู้สูงอายุ โดยทั่วไปสุขภาพมวลกล้ามเนื้อจะลดลงตามอายุ ซึ่งผู้สูงอายุกว่า 3 ล้านคนมีความเสี่ยงจากการสูญเสียมวลกล้ามเนื้อ และกว่า 265,000 คน มีความเสี่ยงต่อภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) ขั้นรุนแรง ซึ่งส่งผลกระทบโดยตรงในการใช้ชีวิตประจำวันอย่าง การเคลื่อนไหว การทรงตัว ความแข็งแรงของร่างกาย หรือการรักษาบาดแผล เป็นต้น นั่นเป็นเหตุผลที่แสดงให้เห็นถึงความสำคัญของการมีสุขภาพมวลกล้ามเนื้อที่ดี มีบทบาทสำคัญที่ส่งผลในการสูงวัยอย่างมีคุณภาพ “ในปัจจุบันผู้สูงอายุไทยที่มีอายุมากกว่า 60 ปี ที่มีจำนวนกว่า 12 ล้านคน

Read More

ผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าผู้ชายสูงอายุถึงเกือบ 2 เท่า

ผู้หญิงสูงอายุมีความเสี่ยงที่จะเกิดภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยมากกว่าผู้ชายสูงอายุถึงเกือบ 2 เท่า โภชนาการที่ดีมีส่วนช่วยส่งเสริมการสูงวัยอย่างมีคุณภาพได้ ในแต่ละวัน เราต่างก็แก่ตัวลงเรื่อย ๆ ซึ่งถือเป็นเรื่องธรรมชาติที่ไม่ช้าก็เร็วเราทุกคนต้องเผชิญ แต่เราสามารถดูแลตัวเองและคนที่เรารักเพื่อให้มีสุขภาพที่ดีได้ตั้งแต่วันนี้ ซึ่งหัวใจสำคัญที่มีส่วนช่วยชะลอสภาวะร่างกายที่เสื่อมถอยให้ช้าลงได้คือ “โภชนาการอาหาร” ที่ได้รับแต่ละวัน ผู้หญิงที่เข้าสู่ช่วงวัยหมดประจำเดือน ต้องเผชิญกับความเหนื่อยล้าทั้งจากการใช้ชีวิตและการเปลี่ยนแปลงของร่างกาย ซึ่งการได้รับโภชนาการที่ดีและปรับเปลี่ยนรูปแบบการใช้ชีวิตมีส่วนช่วยให้มีสุขภาพกล้ามเนื้อ ข้อต่อ และกระดูกที่แข็งแรงได้ การสร้างความเข้าใจว่าโภชนาการส่งผลต่อการสูงวัยอย่างไร สามารถช่วยให้ผู้หญิงออกแบบการดูแลสุขภาพของตนเองได้อย่างเหมาะสมมากขึ้น อายุที่มากขึ้นส่งผลต่อสุขภาพของผู้หญิงอย่างไร? เมื่อเริ่มเข้าสู่วัยหมดประจำเดือนในช่วงอายุ 45 – 55 ปี สุขภาพและร่างกายของผู้หญิงจะเริ่มแสดงอาการเสื่อมถอยอย่างรวดเร็ว – ซึ่งจะเร็วกว่าประมาณ 10 ปีหรือมากกว่าเมื่อเทียบกับผู้ชาย โดยจะเริ่มแสดงอาการเปลี่ยนแปลงต่าง ๆ อาทิ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อมากถึง 33% ภาวะกระดูกอ่อนเสื่อมถึง 23% หรือแม้แต่การสูญเสียโปรตีนซึ่งเป็นโครงสร้างของผิวหนังมากถึง 30% เป็นต้น ภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อย (Sarcopenia) หรือ การสูญเสียมวลกล้ามเนื้อและการทำงานของกล้ามเนื้อที่ถดถอยไปตามอายุ มีสาเหตุส่วนหนึ่งจากการขยับร่างกายน้อย การขาดโภชนาการ รวมถึงการเปลี่ยนแปลงของฮอร์โมนในร่างกาย โดยหลายงานวิจัยแสดงให้เห็นถึงผลกระทบต่อสุขภาพจากภาวะมวลกล้ามเนื้อน้อยในผู้หญิงสูงอายุ ซึ่งประกอบไปด้วย • งานวิจัยในกลุ่มผู้สูงอายุอายุระหว่าง 60 – 89 ปีจำนวน

Read More