Home > อาลีบาบา

New Retail: วิสัยทัศน์ Daniel Zhang อนาคตของ Alibaba?

แม้ว่าการประกาศวางมือของ Jack Ma และการส่งมอบตำแหน่งประธานกรรมการบริหาร Alibaba ให้กับ Daniel Zhang เมื่อสัปดาห์ที่ผ่านมาจะทำให้ผู้คนจำนวนมากฉงนฉงายและสืบเสาะประวัติความเป็นมาเป็นไปเพื่อทำความรู้จักกับ Daniel Zhang บุรุษที่จะก้าวขึ้นมากุมบังเหียนอาณาจักรธุรกิจมูลค่าหลายล้านล้านบาทคนนี้ให้มากขึ้น หากแต่ในความเป็นจริงกระบวนการในการส่งผ่านและเปลี่ยนถ่ายอำนาจใน Alibaba ดูจะได้รับการออกแบบและวางแผนมาแล้วเป็นอย่างดี เป็นกระบวนการที่ดำเนินการอย่างมีรูปธรรมและต่อเนื่องมาไม่น้อยกว่า 5 ปี นับตั้งแต่เมื่อครั้งที่ Jack Ma มอบตำแหน่ง CEO ให้กับ Jonathan Lu ในช่วงปี 2013-2015 ซึ่ง Alibaba กำลังจะเข้าจดทะเบียนใน NYSE ในห้วงเวลาขณะนั้น Daniel Zhang ซึ่งเข้าร่วมเป็นส่วนหนึ่งของ Alibaba ตั้งแต่ปี 2007 ด้วยการดำรงตำแหน่ง CFO ของ Taobao Marketplace เว็บไซต์ขายของออนไลน์ของ Alibaba ที่ในขณะนั้นยังไม่ทำกำไร และมีผู้ใช้งานบนแพลตฟอร์ม 10 ล้านคนต่อวัน กำลังสร้างปรากฏการณ์และได้รับการขนานนามให้เป็น “ผู้เปลี่ยนโฉมหน้าการชอปปิ้งของคนจีน” แม้จะได้รับมอบหมายตำแหน่งเป็น

Read More

แจ็ค หม่า อำลา Alibaba สะท้อนพัฒนาการเอกชนจีน?

การประกาศของ Jack Ma เพื่อก้าวลงจากตำแหน่งประธานกรรมการบริษัท Alibaba เมื่อช่วงสัปดาห์ที่ผ่านมา ในด้านหนึ่งอาจเป็นข่าวที่สร้างความตื่นตาตื่นใจและดึงความสนใจต่อสาธารณชนวงกว้างว่า การเปลี่ยนผ่านของอาณาจักรธุรกิจขนาดใหญ่ที่มีมูลค่ามากกว่า 4 แสนล้านเหรียญสหรัฐ หรือมากกว่า 13 ล้านล้านบาทแห่งนี้จะดำเนินไปอย่างไร ขณะเดียวกันความเคลื่อนไหวครั้งสำคัญนี้ ย่อมไม่ใช่สิ่งที่อยู่เหนือความคาดหมาย เพราะก่อนหน้านี้ Jack Ma ได้ขยับบทบาทด้วยการส่งมอบตำแหน่งประธานเจ้าหน้าที่บริหาร (CEO) ของ Alibaba ให้กับ Jonathan Lu เมื่อปี 2013-2015 ในช่วงขณะที่ Alibaba กำลังยื่นขอเป็นบริษัทจดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก (NYSE) และเสนอขายหุ้นให้กับประชาชนทั่วไป (IPO) ซึ่งทำให้ Alibaba สามารถระดมทุนได้มากถึง 2.5 หมื่นล้านเหรียญสหรัฐ และกลายเป็นการระดมทุนครั้งยิ่งใหญ่ที่สุดครั้งหนึ่งของตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์กอีกด้วย แต่ความสำเร็จของการเข้าระดมทุนในตลาดหลักทรัพย์นิวยอร์ก ไม่ใช่หลักประกันในความสำเร็จและความท้าทายของ Alibaba ในอนาคต และเป็นเหตุให้ Jack Ma ผลักดัน Daniel Zhang ให้ขึ้นมาเป็น CEO แทน

Read More

พืชมงคลและ Alibaba ความหวังเกษตรกรไทยยุค 4.0

พระราชพิธีพืชมงคลจรดพระนังคัลแรกนาขวัญ ประจำปี 2561 ที่ดำเนินต่อเนื่องตั้งแต่วันที่ 13 พฤษภาคมและวันที่ 14 พฤษภาคม นอกจากจะเป็นประหนึ่งสัญญาณของการเริ่มต้นฤดูกาลเพาะปลูกครั้งใหม่ที่เปี่ยมไปด้วยขวัญและกำลังใจสำหรับเกษตรกร วันดังกล่าวยังถือเป็นวันเกษตรกรไทย ที่สะท้อนคุณค่าความหมายและความสำคัญของการประกอบสัมมาชีพกสิกรรมหล่อเลี้ยงสังคมอีกด้วย ผลของการเสี่ยงทายจากพระโค ที่ได้รับการแปลนิยามความหมายในแต่ละปีในด้านหนึ่งเป็นภาพสะท้อนหลักวิธีคิดของการเกษตรกรรมที่ต้องพึ่งพาฟ้าฝน และดำเนินอยู่ท่ามกลางเหตุปัจจัยหลากหลาย ซึ่งบ่อยครั้งอาจอยู่นอกเหนือความสามารถในการบังคับควบคุม หากแต่ในยุคสมัยปัจจุบันที่เทคนิควิทยาการได้เจริญรุดหน้าไปมาก ดูเหมือนว่าวาทกรรมว่าด้วยการบริหารจัดการจะได้รับการกล่าวถึงอย่างต่อเนื่องไม่นับรวมกรณีว่าด้วย Smart Farming และการจัดการเกษตรแปลงใหญ่ที่เป็นกระแสครึกโครมในช่วงปีที่ผ่านมา แต่สำหรับในปีนี้ ดูเหมือนว่าเกษตรกรไทยจะได้รับความหวังและแนวทางการประกอบอาชีพครั้งใหม่ เมื่อผู้ประกอบการธุรกิจการค้าออนไลน์ในนาม อาลีบาบากรุ๊ป ลงนามกับรัฐบาลไทยในการนำพาผลิตผลทางการเกษตรหลากหลายของไทยออกไปสู่ตลาดโลกผ่านช่องทางและเครือข่ายของ Alibaba ซึ่งดูเหมือนจะช่วยตอบรับกับความพยายามของภาครัฐที่จะกระตุ้นเศรษฐกิจไทยผ่านการค้าในระบบ e-commerce และการหนุนนำ digital economy ไม่น้อยเลย กระนั้นก็ดี ประเด็นปัญหาของเกษตรกรไทยตลอดช่วงเวลาที่ผ่านมา มิได้จำกัดอยู่เพียงประเด็นว่าด้วยช่องทางการจัดจำหน่าย หรือกรณีว่าด้วยการเพิ่มผลผลิตหรือการปรับโครงสร้างราคาพืชผลทางการเกษตรให้สอดรับกับต้นทุนการผลิตเท่านั้น หากยังมีปัจจัยว่าด้วยความสามารถในการแข่งขันเพื่อการส่งออกไปยังตลาดระดับนานาชาติ และการบริหารจัดการในเชิงยุทธศาสตร์ว่าด้วยชนิดและประเภทของผลิตผลทางการเกษตรเป้าหมายด้วย การมาถึงของอาลีบาบาในการแสดงบทบาทสถานะการเป็นช่องทางการค้าขนาดใหญ่ให้กับผลิตผลทางการเกษตรของไทย ในด้านหนึ่งจึงอาจเป็นเพียงข้อต่อข้อสุดท้ายที่จะเชื่อมโยงเกษตรกรไทยเข้ากับตลาดขนาดใหญ่ของโลก แต่ย่อมไม่ใช่ข้อต่อที่สำคัญที่สุดในกระบวนการที่เกี่ยวเนื่องถึงกันในฐานะที่เป็นห่วงโซ่อุปทาน (supply chain) และเป็นห่วงโซ่แห่งคุณค่า (value chain) ที่รัฐไทยควรจะตระหนักและดำเนินมาตรการผลักดันให้เกิดขึ้นจากฐานความคิดและภูมิปัญญาของสังคมไทยมากกว่าการรอหรือหวังพึ่งการช่วยเหลือจากภายนอก ประเด็นสำคัญจึงอยู่ที่ว่ารัฐไทยประเมินและให้ความสำคัญต่อ “คุณค่า” ของผลิตผลทางการเกษตรของไทยไว้อย่างไร เพราะนอกจาก “คุณค่า” จะเกิดขึ้นเมื่อมีการเสนอสินค้าหรือบริการให้กับผู้ที่ต้องการในช่วงเวลาใดช่วงเวลาหนึ่งแล้ว การวิเคราะห์มูลค่าของ “คุณค่า”

Read More

รัฐไทยพึ่งคาถา Alibaba หวังเสก “ดิจิทัลฮับ” ปลุก EEC

การเดินทางเยือนไทยของ Angel Zhao Ying ประธานกลุ่มความเป็นผู้นำด้านโลกาภิวัตน์ อาลีบาบา (Alibaba Globalization Leadership Group) เมื่อช่วงต้นเดือนมีนาคมที่ผ่านมา ดูจะได้รับความสนใจและพยายามประเมินค่าในฐานะที่เป็นประหนึ่งการปลุกประกายความหวังของรัฐบาลในการผลักดันโครงการระเบียงเศรษฐกิจภาคจะวันออก หรือ EEC ไม่น้อยเลย โดยเฉพาะอย่างยิ่งหากพิจารณาจากถ้อยแถลงของสมคิด จาตุศรีพิทักษ์ รองนายกรัฐมนตรี หลังจากที่คณะผู้บริหารบริษัท อาลีบาบา กรุ๊ป จำกัด เข้าเยี่ยมคารวะ ซึ่งระบุว่า อาลีบาบายืนยันจะเข้ามาลงทุนในไทย เพื่อให้ไทยเป็นศูนย์กลางในภูมิภาค และจะตัดสินใจเลือกพื้นที่เพื่อทำเป็น Startup Digital Hub CLMVT ในเร็ววันนี้ ก่อนที่สมคิดจะระบุว่า การที่อาลีบาบาตัดสินใจจะเข้ามาลงทุนในไทยจะมีส่วนช่วยในการส่งเสริมภาพลักษณ์ของไทย และเชื่อว่าบริษัทยักษ์ใหญ่อื่นๆ ก็จะเข้ามาลงทุนในไทยเพิ่มขึ้นอีกด้วย ถ้อยแถลงดังกล่าว หากพิจารณาอย่างผิวเผินก็คงไม่มีประเด็นใดๆ น่าเสียหาย แต่เมื่อพิจารณาอย่างละเอียดและลึกลงไปในข้อเท็จจริง อาลีบาบาซึ่งเป็นเพียงผู้ประกอบการธุรกิจรายหนึ่ง กลับมีความเคลื่อนไหวหรือการตัดสินใจที่มีบทบาทอิทธิพลและสามารถสร้างความน่าเชื่อถือให้กับรัฐไทยมากเสียยิ่งกว่าความพยายามของรัฐไทยในการสื่อสารและสร้างความเชื่อมั่นให้กับประชาคมโลกไปเสียแล้ว ประเด็นดังกล่าว ทำให้อาลีบาบาอยู่ในสถานะประหนึ่ง change agent ที่รัฐไทยกำลังต้องพึ่งพา หลังจากที่ตลอดระยะเวลาหลายปีที่ผ่านมายังไม่สามารถกอบกู้ภาพลักษณ์และความเชื่อมั่นจากนักลงทุนได้มากนัก แม้จะพยายามระดมมาตรการส่งเสริม และขายฝันโครงการ EEC เพื่อดึงดูดนักลงทุนจากทั่วโลกแล้วก็ตาม มิติความคิดที่สะท้อนผ่านการให้สัมภาษณ์สื่อของสมคิด รองนายกรัฐมนตรี ที่รับผิดชอบงานด้านเศรษฐกิจของรัฐบาล ครั้งล่าสุด ยังเป็นการตอกย้ำภาพการพัฒนาและอนาคตที่น่ากังวลของไทย เพราะบทบาทและสถานะของอาลีบาบาในอีกด้านหนึ่งก็คือการเป็นเพียงผู้ประกอบการที่มีฐานะเป็นคนกลางขนาดใหญ่ ที่ไม่เพียงแต่จะไม่มีวัตถุดิบหรือระบบการผลิตสินค้าใดๆ หากแต่สิ่งที่อาลีบาบามีและสื่อแสดงอย่างเด่นชัด ก็คือแนวความคิดที่สอดรับกับการแบ่งงานกันทำ (division

Read More