แบ่งเบาภาระ “คุณหมอ” ฝึก คุณหมา ดมกลิ่น COVID-19
ความหนักหน่วงของการแพร่ระบาดเชื้อ COVID-19 ที่ดำเนินไปท่ามกลางการระบาดระลอกใหม่และการกลายพันธุ์ของเชื้อที่ทำให้สถานการณ์ของโรคที่ส่งผลกระทบต่อประชากรทั่วโลกยังเป็นไปอย่างน่าเป็นห่วง ขณะที่ความหวังว่าด้วยวัคซีนในฐานะที่เป็นเครื่องมือในการยับยั้งดูจะกลายเป็นสิ่งที่อาจไม่เพียงพอสำหรับสถานการณ์ที่เป็นอยู่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งความสับสนว่าด้วยปริมาณของวัคซีนที่จะจัดหาได้ในระยะถัดจากนี้ และคุณภาพของวัคซีนที่มีอยู่ว่าจะสามารถสร้างความเชื่อมั่นให้กับสาธารณชนได้มากน้อยเพียงใด ข้อกังวลใจในการควบคุมการแพร่ระบาดของโรคอีกประการหนึ่งที่กำลังเป็นที่สนใจในขณะนี้อยู่ที่การคัดกรองกลุ่มผู้ป่วยที่ไม่แสดงอาการ ที่อาจเดินทางไปตามสถานที่ต่างๆ และก่อให้เกิดความเสี่ยงที่จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดในฐานะที่เป็นคลัสเตอร์ใหม่ๆ อย่างต่อเนื่องไม่สิ้นสุด ดังที่ปรากฏเป็นการแพร่ระบาดระลอกใหม่ๆ อยู่ในห้วงเวลาปัจจุบัน ความพยายามที่จะหาเครื่องมือหรือตัวช่วยที่เป็นทางเลือกในการคัดกรองและตรวจหาผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่ไม่แสดงอาการ ดูจะได้รับความสนใจจากนานาประเทศและได้ทำการวิจัยทดลองในหลายประเทศไปก่อนหน้านี้ ไม่ว่าจะเป็นที่ ฝรั่งเศส เยอรมนี สวิตเซอร์แลนด์ อิตาลี รวมถึงในสหราชอาณาจักร ซึ่งพบว่าสุนัขดมกลิ่นที่ได้รับการฝึกฝนสามารถจำแนกและระบุตัวบุคคลที่ติดเชื้อ COVID-19 ได้ และทำให้การนำสุนัขดมกลิ่นมาใช้อาจเป็นทางเลือกในการช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ที่มีต้นทุนลดลง มีความเป็นมิตรและเข้าถึงได้ง่าย ที่อาจเป็นอีกส่วนหนึ่งที่ช่วยยับยั้งหรือชะลอการแพร่ระบาดของโรคไว้ได้ ข้อเท็จจริงที่เกิดขึ้นจากการแพร่ระบาดของโรคและเชื้อ COVID-19 ในช่วงที่ผ่านมาก็คือการตรวจคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 ด้วยอุปกรณ์วัดอุณหภูมิแบบต่างๆ เป็นวิธีการคัดกรองเบื้องต้นและได้ผลสำหรับผู้ที่ติดเชื้อและแสดงอาการแล้วเท่านั้น ส่วนผู้ที่ติดเชื้อแต่ยังไม่แสดงอาการ เครื่องมือเหล่านี้ยังไม่สามารถตรวจพบได้ แต่สุนัขที่ได้รับการฝึกมาแล้วสามารถทำสิ่งนี้ได้ ข้อมูลทางการแพทย์ที่สนับสนุนวิธีการดังกล่าวนี้ อยู่บนฐานของข้อเท็จจริงที่ว่าในอดีตที่ผ่านมา วงการแพทย์เคยมีการใช้สุนัขดมกลิ่นเพื่อตรวจหาผู้ป่วยในหลายโรคมาก่อนแล้ว ไม่ว่าจะเป็น โรคมะเร็ง โรคเบาหวาน โรคมาลาเรีย รวมถึงโรคอื่นๆ ที่เกิดจากการติดเชื้อแบคทีเรียและไวรัส การนำสุนัขดมกลิ่นมาช่วยคัดกรองผู้ติดเชื้อ COVID-19 มาใช้ในประเทศไทย ดูจะเป็นอีกก้าวหนึ่งของการใช้วิทยาศาสตร์เข้ามามีบทบาทในการควบคุมและยับยั้งชะลอการแพร่ระบาดของโรคเมื่อคณะวิจัยจากคณะสัตวแพทยศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์ และคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
Read More