สมองล้า … อย่านิ่งนอนใจ
Column: Well – Being “เราทุกคนล้วนทำในสิ่งที่ทำให้สมองเหนื่อยล้า จากนั้นก็สงสัยว่าทำไมสมองของเราจึงไม่แจ่มใสเหมือนที่เคยเป็น” ดร.แซนดรา บอนด์ แชปแมน ผู้อำนวยการศูนย์สุขภาพสมองแห่งมหาวิทยาลัยเทกซัส เมืองดัลลัส ตั้งข้อสังเกต “เมื่อร่างกายของเราอ่อนล้า เรายังตระหนักได้ว่า เราจำเป็นต้องพักผ่อน แต่เมื่อสมองเหนื่อยล้าบ้าง เรามีแนวโน้มจะตะบี้ตะบันใช้งานต่อไป” ดร. เจสสิกา คัลด์เวลล์ นักประสาทวิทยาและผู้อำนวยการศูนย์ป้องกันโรคอัลไซเมอร์ในสตรีแห่งคลีฟแลนด์ คลินิก ก็ให้ความเห็นเช่นเดียวกันว่า “คนส่วนใหญ่มักคิดว่าอาการสมองล้าจะไม่เกิดขึ้นกับคุณจนกว่าคุณจะแก่ตัวมากกว่านี้ แต่ฉันกลับได้เห็นในคนไข้ทุกช่วงอายุ และมีความเครียดเป็นตัวการสำคัญ” ผู้เชี่ยวชาญต่างเห็นพ้องว่า ความเครียดเป็นปัจจัยสำคัญของความรู้สึกอ่อนล้า โดยความรู้สึกเครียดนิดๆ ก่อให้เกิดสารพิษที่สามารถสะสมในสมองของคุณ และส่งผลกระทบถึงความสามารถในการโฟกัส การมีสมาธิจดจ่อ และการจดจำสิ่งต่างๆ สมองล้าคืออะไร ดร. กายาตรี เทวี ศาสตราจารย์คลินิกด้านประสาทวิทยาแห่งศูนย์การแพทย์ดาวน์สเตท ซูนี อธิบายว่า สมองของเราประกอบด้วยเซลล์ประสาทหลายล้านล้านเซลล์ แต่มีเพียง 10,000 – 20,000 เซลล์ที่ทำหน้าที่หลั่งสารสื่อประสาท “โอเร็กซิน” ซึ่งผลการวิจัยบ่งชี้ว่า เป็นหนึ่งในบรรดาวงจรไฟฟ้าหลายตัวที่ควบคุมให้เราอยู่ในภาวะตื่นและตื่นตัว “เพราะภาวะตื่นและตื่นตัวของเราถูกควบคุมโดยเซลล์ประสาทจำนวนเล็กน้อยนี่เอง ทำให้เราเห็นได้ชัดว่า ระบบสมองส่วนนี้ได้รับผลกระทบง่ายดายเพียงใด” นิตยสาร Prevention กล่าวว่าสาเหตุของสมองล้ามาจากสิ่งที่เรากำลังประพฤติปฏิบัติกันอยู่ทุกวันนี้ ได้แก่ ความเครียด ร่างกายมนุษย์สามารถปรับตัวเมื่อเผชิญกับความเครียดได้อย่างน่าทึ่ง
Read More